สินค้าคงเหลือปลายงวด บันทึกบัญชี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานในการยินยอมให้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในข้อบังคับการทำงาน ระเบียบข้อบังคับการทํางาน 2563 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน บริษัท ปตท ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 2564 แบบฟอร์ม ตัวอย่าง กฎ ระเบียบบริษัท ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 2564 ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ภาษาอังกฤษ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน pdf ตัวอย่างข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 2564 word

ในการประกอบกิจการใด ๆสถานะความมั่นคงและสภาพคล่องทางการเงินสามารถวัดได้จากสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ ซึ่งต้องมีจำนวนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียนจึงจะหมายความว่ากิจการนั้น ๆมีสถานะภาพทางการเงินที่แข็งแรง ดำเนินธุรกิจได้ดีและมีความสามารถในการชำระหนี้

สินค้าคงเหลือ

อย่างไรก็ตาม ในรายการสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญนอกจากจะประกอบไปด้วยเงินสด ลูกหนี้การค้าและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแล้ว ยังมีสินทรัพย์อีกรายการหนึ่งที่สำคัญต่อการหารายได้ และส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินในงบดุลของกิจการ นั่นก็คือ “สินค้าคงเหลือ” ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่เจ้าของกิจการควรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถบริหารจัดการตีมูลค่าได้ ดังต่อไปนี้

ความสำคัญของสินค้าคงเหลือ

สินค้าคงเหลือโดยทั่วไปหมายถึงสินค้าสำเร็จรูปได้ผ่านขั้นตอนการผลิตมาอย่างสมบูรณ์ เตรียมพร้อมสำหรับการขาย แต่ในทางบัญชีสินค้าคงเหลือ แบ่งได้ดังนี้

  • สินค้าสำเร็จรูปคือ สินค้าที่ผลิตโดยสมบูรณ์อยู่ในสภาพพร้อมขาย โดยมีต้นทุนประกอบด้วยวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต
  • สินค้าระหว่างการผลิตคือ สินค้าที่กำลังอยู่ในกระบวนการผลิต ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยมีต้นทุนเช่นเดียวกับสินค้าสำเร็จรูป
  • วัตถุดิบทางตรงคือ สิ่งที่กิจการซื้อเพื่อนำมาแปรสภาพหรือผลิตสินค้าสำเร็จรูป เช่น ไม้ เหล็ก เม็ดพลาสติก เป็นต้น
  • วัตถุดิบทางอ้อมหรือวัสดุโรงงานเป็นสิ่งที่ใช้ในการผลิตแต่ไม่ใช่ส่วนประกอบโดยตรงของสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งยากแก่การคำนวณ โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีคำนวณเป็นงวดๆการผลิตและส่วนที่เหลืออยู่ให้ถือเป็นสินค้าคงเหลือของงวดนั้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สินค้าคงเหลือในทางบัญชี ประกอบด้วย  4 รายการหลัก ซึ่งจำเป็นต้องวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือเหล่านี้และแสดงในงบการเงินให้ถูกต้อง โดยราคาที่ใช้ในการบันทึกสินค้าคงเหลือ จะต้องเป็นราคาทุนซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆที่เกิดขึ้นในการจัดหาหรือผลิตสินค้านั้น ๆ โดยประกอบไปด้วย

  • ค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยอ้างอิงจากราคาที่ซื้อตามใบกำกับภาษีจากผู้ขาย หักด้วยประมาณการของส่วนลดการค้า(จากผู้ขาย)
  • ค่าแรงในการผลิต ให้คิดคำนวณจากค่าจ้างรายวันหรือรายเดือน นำมาคำนวณเป็นต้นทุนในการผลิต
  • ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้านั้นมา เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยสินค้าระหว่างขนส่ง ค่าภาษีอากร เป็นต้น

สินค้าคงเหลือ ตามคำนิยาม หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ตามปกติของกิจการ
  2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย
  3. อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต สินค้าหรือให้บริการ

สินค้าคงเหลือยังแบบประเภทได้ตามนี้ 

  1. สินค้าที่ซื้อมาและขายต่อ
  2. สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ หรือวัสดุที่ใช้ในการผลิต
  3. ต้นทุนงานให้บริการสำหรับกิจการผู้ให้บริการ ซึ่งยังไม่ได้มีการรับรู้รายได้ตามมาตรฐาน (การบัญชี ฉบับที่ 18 เรื่อง รายได้)

วิธีนับสินค้าคงเหลือ

และเนื่องจากสินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญเพราะเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้และผลกำไร/ขาดทุนโดยตรงให้กิจการ ดังนั้นก่อนการทำบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ นักบัญชีควรเลือกวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือให้เหมาะสม โดยมีให้เลือกหลายวิธี เช่น

  1. วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First-in , First –out) วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากเพราะเข้าใจได้ง่าย โดยสินค้าที่เข้ามาก่อนย่อมต้องออกไปก่อนทุกครั้ง ดังนั้นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนจะเป็นต้นทุนขายและต้นทุนสินค้าที่เข้ามาทีหลังจึงเป็นสินค้าคงเหลือ หากทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆเมื่อใกล้สิ้นปีสินค้าคงเหลือจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับตลาดมากที่สุดสะท้อนฐานะทางการเงินของกิจการได้ใกล้เคียงกับความจริง
  1. วิธีคิดราคาทุนที่ระบุเฉพาะ เป็นการคิดมูลค่าของสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับสินค้ามูลค่าสูงมีการขายไม่บ่อยนัก เช่น เครื่องเพชร สินค้าสั่งทำจำเพาะ รถยนต์ หรือเครื่องจักรชนิดพิเศษ เป็นต้น ซึ่งการบันทึกสินค้าคงเหลือด้วยวิธีนี้ต้องเลือกสินค้าให้เหมาะสม เพราะอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็นในงบการเงิน ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์สถานะการเงินของกิจการได้
  1.  วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เป็นวิธีเฉลี่ยต้นทุนให้กับสินค้าทุกหน่วยหน่วยละเท่า ๆกัน โดยนำผลรวมราคาทุนของสินค้าทั้งหมดหารด้วยจำนวนหน่วยสินค้าที่ขาย จากนั้นนำมาถ่วงน้ำหนักในแต่หน่วยสินค้า ซึ่งเหมาะกับสินค้าย่อยปริมาณมาก ๆที่ปะปนกัน แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถสะท้อนราคาที่แท้จริงของตลาดได้ ซึ่งอาจทำให้งบการเงินมีความคลาดเคลื่อน

กล่าวโดยสรุป สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่สะท้อนถึงสถานะทางการเงินของกิจการผ่านรายงานแสดงงบดุล ดังนั้นผู้ประกอบกิจการควรมีความรู้ความใจสามารถบริหารสินค้าคงเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเลือกวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือได้เหมาะสมกับประเภทของกิจการ ซึ่งจะช่วยแสดงฐานะทางการเงินทางการเงินของกิจการได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดเพื่อประโยชน์ในการนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงการดำเนินงานของกิจการต่อไป

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี สินค้าคงเหลือ

บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ

ลักษณะทั่วไปของสินค้าคงเหลือ

มาตราฐานรายงานทางการเงิน เรื่องสินค้าคงเหลือ ได้ให้นิยามความหมายของคำว่า “สินค้าคงเหลือ” (Merchandise Inventory)

  1. ถือไว้เพื่อขายตามลักษระการประกอบธุรกิจตามปกติ หรือ
  2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย หรือ
  3. อยู่ในรูปวัตุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในการบวนการผลิตสินค้าหรืให้บริการ

***หากเข้าข้อใดข้อหนึ่งให้ถือว่าเป็นสินค้าคงเหลือในกิจการ 

ธุรกิจที่มีสินค้าคงเหลือ หลักๆ คือ

ธุรกิจที่มีสินค้าคงเหลือ

1.ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย สินค้าคงเหลือ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท สินค้าคงเหลือ มีอะไรบ้าง

  1. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)
  2. งานระหว่างทำ (Work in Process)
  3. วัตถุดิบ (Raw Meterial)
  4. วัสดุสิ่งห่อหรือเพื่อการผลิต

2.ธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า สินค้าคงเหลือ คือ สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมขาย ( จะอยู่ในรูปแบบที่มีไว้เพื่อขายสำหรับไว้ค้าปลีกและถือไว้เพื่อขายเท่านั้น )

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ

กิจการซื้อขายสินค้าจะมีการซื้อสินค้ามาเพื่อขายให้เพียงพอและมีการสำรองสินค้าไว้เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากิจการมีสินค้าพร้อมขายตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีจึงต้องมีการตรวจนับและตีราคาสินค้าว่าคงเหลืออยู่เป็นจำนวนเงินเท่าใด จะบันทึกเป็น “สินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดบัญชี หรือสินค้าคงเหลือปลายงวด” นำไปแสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุล

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้ามี 2 วิธี คือ

  1. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง ( Perpetual Inventory Method )
  2. วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด ( Periodic Inventory Method 

วิธีที่ 1 บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง ( Perpetual Inventory Method )

วิธีนี้กิจการจะเปิด “บัญชีสินค้าคงเหลือ”ขึ้นเพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดปีดำเนินงาน โดยบันทึกมูลค่าของสินค้าไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าการส่งคืนรับคืนดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือคือ สินค้าที่ยังเหลืออยู่และยังมิได้ขายซึ่งจะทำให้ทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา วิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่ขายสินค้าราคาแพง ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำให้สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา จากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยไม่ต้องมีการตรวจนับสินค้า ข้อเสีย คือ การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินค้า
นั้นจะทำให้มีการบันทึกบัญชีค่อนข้างมาก

การบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้า

    • ซื้อสินค้า
    • ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
    • การส่งคืน
    • ส่วนลดรับ
  1. ซื้อสินค้า เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาเพื่อขายจะมีผลกระทบต่อบัญชีสินค้าคงเหลือ นั่นคือมีจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้น
  2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายนำเข้า ค่าภาษีขาเข้า ฯลฯ เมื่อกิจการซื้อสินค้า ตามวิธีนี้ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในบัญชีสินค้าคงเหลือทางด้านเดบิต เนื่องจากทำให้สินค้ามีต้นทุนเพิ่มขึ้น
  3. การส่งคืน การส่งคืนสินค้าเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ถูกต้องตามที่สั่งซื้อ ตามวิธีนี้จะบันทึกการส่งคืนเข้าบัญชีสินค้าคงเหลือทางเครดิต เนื่องจากมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าลดลง
  4. ส่วนลดรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ขายมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขส่วนลดเงินสด ตามวิธีจะบันทึกเข้าบัญชีสินค้าคงเหลือทางด้านเครดิต เนื่องจากมีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อลดลง

การบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับการขายสินค้า

    • บันทึกการขาย
    • บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขาย
    • ค่าใช้จ่ายในการขาย
    • รับคืนสินค้า
    • ส่วนลดจ่าย
  1. ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้าจะบันทึกเข้าบัญชีขาย การขายสินค้าตามวิธีนี้ ต้องบันทึกต้นทุนสินค้าที่ขายทุกครั้งที่มีการขาย
  2. บันทึกต้นทุนสินค้าที่ขาย
  3. ค่าใช้จ่ายในการขาย กิจการขายสินค้า และเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการขายต่างๆเช่น ค่าขนส่ง กิจการ จะบันทึกเข้าบัญชีค่าใช้จ่ายในการขาย เป็นบัญชีหมวดค่าใช้จ่าย
  4. รับคืนสินค้า ในระหว่างการขนส่ง สินค้าอาจจะชำรุดเสียหาย ผิดขนาด คุณภาพไม่ตรงตามที่ระบุหรือสินค้ามีตำหนิ การบันทึกบัญชีตามวิธีนี้ จะบันทึก 2 ขั้นตอน โดยบันทึกการรับคืนสินค้าในราคาขาย และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่รับคืน
  5. ส่วนลดจ่าย กรณีที่ผู้ขายขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ ผู้ขายจะให้ส่วนลดเงินสดแก่ผู้ซื้อ โดยจะบันทึกในบัญชี “ส่วนลดจ่าย” ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าขายสินค้าลดลง

ตามวิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่องทุกครั้งที่มีรายการขายสินค้าการบันทึกต้นทุนสินค้าขายด้วยและเมื่อมีการรับคืนจะบันทึกลดยอดต้นทุนสินค้าที่ขาย โดยต้นทุนสินค้าที่ขายนี้ จะบันทึก “ต้นทุนขาย” วันสิ้นงวด บัญชีต้นทุนขายจะถูกปิดไปเข้าบัญชีกำไรขาดทุน

วิธีที่ 2 บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด ( Periodic Inventory Method )

วิธีนี้จะไม่มีการบันทึก “บัญชีสินค้าคงเหลือ” ในระหว่างงวดดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือจะเป็นยอดของสินค้าคงเหลือ ณ วันต้นงวดและจะไม่บันทึกต้นทุนขายของสินค้าทุกครั้งที่มีการขาย วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดนี้ เมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือของสินค้า ณ วันใดวันหนึ่ง จะต้องทำการตรวจนับและตีราคาสินค้าคงเหลือ และถ้าต้องการทราบต้นทุนของสินค้าที่ขายต้องทำการคำนวณ

ดังนั้นเมื่อถึงวันสิ้นงวดจึงต้องทำการตรวจนับบัญชีสินค้าคงเหลือเพื่อนำมาบันทึกเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดวิธีนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีการขายในปริมาณมากเช่นห้างสรรพสินค้าข้อดีของวิธีนี้คือการบันทึกบัญชีทำได้ง่ายและประหยัดเวลาข้อเสียคือไม่สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าคงเหลือได้ทันทีต้องทำการตรวจนับ

การบันทึกบัญชีเกี่ยวข้องกับซื้อสินค้า

    • ซื้อสินค้า
    • ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
    • ส่งคืนสินค้า
    • ส่วนลดรับ
  1. ซื้อสินค้า เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาจะบันทึกเข้าบัญชีซื้อด้วยราคาทุนที่ซื้อ
  2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อ เช่น ค่าขนส่งเข้า ค่าใช้จ่ายนำเข้า ค่าภาษีขาเข้า ฯลฯ เมื่อกิจการซื้อสินค้า ตามวิธีนี้ จะบันทึกค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในบัญชีค่าใช้จ่ายประเภทนั้นๆ ทางด้านเดบิต
  3. ส่งคืนสินค้า การส่งคืนสินค้าเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ซื้อได้รับสินค้าไม่ถูกต้องโดยจะบันทึกเข้าบัญชีส่งคืน
  4. ส่วนลดรับ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ขายมีเงื่อนไขในการให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด

การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการขายสินค้า

    • ขายสินค้า
    • ค่าใช้จ่ายในการขาย
    • รับคืนสินค้า
    • ส่วนลดจ่าย
  1. ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้าจะบันทึกเข้าบัญชีขาย และไม่ต้องบันทึกต้นทุนขายทุกครั้งที่มีการขาย
  2. ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น ค่าขนส่ง เมื่อกิจการขายสินค้าเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งจะบันทึกเข้าบัญชีค่าขนส่งออก
  3. รับคืนสินค้า จะบันทึกเพียงรับคืนสินค้าในราคาขายเท่านั้น
  4. ส่วนลดจ่าย ในกรณีที่ผู้ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และมีเงื่อนไขให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดตามเงื่อนไขส่วนลดเงินสด โดยจะบันทึกในบัญชี “ส่วนลดจ่าย”

การคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขาย (Cost of Goods’ sold)

บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด จะไม่มีการบันทึกต้นทุนขายเมื่อมีการขายหรือรับคืน ดังนั้นเมื่อต้องการทราบต้นทุนสินค้าที่ขายจึงต้องคำนวณ ดังนี้

ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด

และ ซื้อสุทธิ = ซื้อ + ค่าใช้จ่ายในการซื้อ – ส่งคืน – ส่วนลดรับ

โดยสินค้าคงเหลือต้นงวดได้มาจากยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือ ส่วนสินค้าคงเหลือปลายงวดได้มาจากการตรวจนับและตีราคาสินค้า ณ วันสิ้นงวด

การตีราคาสินค้าคงเหลือ

ไม่ว่าจะบันทึกสินค้าด้วยวิธีใดก็ตาม จำนวนเงินของสินค้าคงเหลือปลายงวดจะต้องตีราคาให้ถูกต้องและเหมาะสม การตีราคาสินค้าคงเหลือ ตามมาตรฐานการบัญชี ให้ใช้ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า (Lower of cost or Net realizable Value)

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable Value) หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะขายได้ หัก ต้นทุนส่วนเพิ่มที่จะผลิตต่อให้เสร็จ (กรณีที่เป็นสินค้าที่อยู่ในระหว่างผลิต) และค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

การคำนวณราคาทุนของสินค้าคงเหลือ

วิธีคำนวณหาราคาทุนของสินค้าคงเหลือได้ 4 วิธีดังนี้

  1. Specific Identification Method (วิธีราคาเจาะจง)
  2. First in – First out Method หรือ FIFO (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน)
  3. Weighted Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก)
  4. Moving Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่)

Specific Identification Method (วิธีราคาเจาะจง)

วิธีราคาเจาะจงเหมาะสำหรับกิจการที่จำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่มากๆ หรือสินค้าราคาสูงมากและมีสินค้าจำหน่ายในท้องตลาดจำนวนไม่มาก เช่น เครื่องบิน เครื่องจักร หม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งสามารถชี้เฉพาะเจาะจงลงไปได้ว่าสินค้าชิ้นนั้นมีราคาทุนเท่าใด วิธีราคาเจาะจงนี้ใช้ได้ทั้งกรณีที่กิจการบันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory และ Perpetual Inventory ซึ่งทั้งสองวิธีนั้นจะคำนวณเช่นเดียวกัน

First in – First out Method หรือ FIFO (วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน)

วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน เป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับกิจการที่มีสินค้าจำนวนมาก การตีราคาสินค้าตามวิธีนี้ถือว่าสินค้าใดซื้อมาก่อนจะถูกนำไปขายก่อน สินค้าที่เหลืออยู่จะเป็นสินค้าที่ซื้อมาครั้งหลังสุดตามลำดับย้อนขึ้นไป ส่วนต้นทุนสินค้าที่ขายจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาจากครั้งแรกสุดไล่ลงมาตามลำดับการซื้อ

Weighted Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก)

วิธีนี้ถือว่าราคาทุนถัวเฉลี่ยของสินค้าต่อหน่วยเป็นจำนวนเงินของสินค้าที่ไว้ขายทั้งสิ้น ซึ่งยกมาจากต้นงวด บวก สินค้าที่ซื้อมาระหว่างงวด หารด้วยจำนวนหน่วยของสินค้าที่มีไว้ขายทั้งสิ้น จำนวนเงินของสินค้าคงเหลือคำนวณได้โดยนำจำนวนสินค้าที่เหลือคูณกับราคาทุนถัวเฉลี่ยต่อหน่วย วิธีนี้มีข้อจำกัดคือ ใช้ได้เฉพาะกิจการที่บันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory Method เท่านั้น

Moving Average Method (วิธีถัวเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่)

วิธีนี้จะต้องคำนวณราคาทุนของสินค้าต่อหน่วยทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้ามา ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะใช้ราคาทุนต่อหน่วยซึ่งคำนวณไว้ในครั้งสุดท้ายก่อนการขายนั้น ข้อจำกัดของวิธีนี้ คือ ใช้ได้เฉพาะกิจการที่บันทึกบัญชีสินค้าแบบ Perpetual Inventory Method เท่านั้น

การปรับราคาทุนที่ลดลงเนื่องจากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน

เมื่อกิจการซื้อสินค้ามาขายไม่ว่าจะบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic Inventory Method หรือ Perpetual Inventory Method ณ วันสิ้นงวดบัญชีกิจการต้องตีราคาสินค้าในราคาทุน หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่อย่างใดจะต่ำกว่า กรณีที่มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Net realizable Value) ต่ำกว่า ต้องทำการปรับปรุงราคาทุนที่ลดลง

ถ้ากิจการบันทึกสินค้าแบบ Periodic Inventory Method ทำได้ 3 วิธี คือ

วิธีการบัญทึกบัญชีปรับราคาทุนที่ลดลงทำได้ ดังนี้

  1. ผลขาดทุนเนื่องจากมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุน ไม่แสดงแยกต่างหาก ให้รวมอยู่ในส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย

จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต สินค้าคงเหลือ (งบดุล) xx

เครดิต การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน) xx (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

  1. แสดงผลขาดทุนแยกต่างหากในบัญชีขาดทุนจากการลดราคาสินค้า

จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต สินค้าคงเหลือ (งบดุล) xx

ขาดทุนจากการลดราคาสินค้า (งบกำไรขาดทุน) xx

เครดิต การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน) xx (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

  1. แสดงผลขาดทุนแยกต่างหากในบัญชีขาดทุนจากการลดราคาสินค้า โดยปรับปรุงคู่กับการตั้งบัญชีค่าเผื่อการลดราคาสินค้า

จะบันทึกบัญชีโดย

เดบิต สินค้าคงเหลือ (งบดุล) xx

เครดิต การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ (งบกำไรขาดทุน) xx (สินค้าคงเหลือต้นงวด – ปลายงวด)

ซึ่งอาจอยู่เดบิตหรือเครดิตก็ได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าปลายงวดเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากต้นงวด

เดบิต ขาดทุนจากการลดราคาสินค้า (งบกำไรขาดทุน) xx

เครดิต ค่าเผื่อการลดราคาสินค้า (งบดุล) xx

วิธีนี้จะแสดงสินค้าคงเหลือปลายงวดในราคาทุน โดยนำผลขาดทุนจากการลดราคาสินค้าไปหักออกจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน ส่วนบัญชีค่าเผื่อการลดราคาสินค้านั้นจะนำไปหักออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือในงบดุล

สินค้าคงเหลือปลายงวดบันทึกยังไง

บันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวด จะไม่มีการบันทึกต้นทุนขายเมื่อมีการขายหรือรับคืน ดังนั้นเมื่อต้องการทราบต้นทุนสินค้าที่ขายจึงต้องคำนวณ ดังนี้ ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด และ ซื้อสุทธิ = ซื้อ + ค่าใช้จ่ายในการซื้อ – ส่งคืน – ส่วนลดรับ

ระบบบัญชีสินค้าคงเหลือที่บันทึกเมื่อวันสิ้นงวด หมายถึงอะไร

วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าแบบสิ้นงวด ( Periodic Inventory Method ) เหมาะสำหรับธุรกิจขายปลีก มีสินค้าจำนวนมากหลากหลายประเภทและสินค้าส่วนใหญ่มีราคาไม่สูง ราคาต่อหน่วยต่ำ ปริมาณในการขายในแต่ละวันมีจำนวนมากและมีการขายบ่อยครั้ง เช่น ขายยา เครื่องเขียน เป็นต้น วิธีนี้กิจการจะทราบยอดสินค้าคงเหลือวันใดวันหนึ่ง หรือ ณ วันสิ้น ...

วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือมีกี่วิธี

วิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือมี 2 วิธีคือวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) และวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ แบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) วิธีแรกเหมาะส าหรับกิจการที่จ าหน่าย สินค้าที่มีประมาณมาก เช่น ร้านมินิมาร์ท 7-11 Eleven ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ...

ระบบบัญชีสินค้าคงเหลือที่บันทึกแบบต่อเนื่องมีลักษณะอย่างไร

ระบบบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory System) ∎ระบบนี้จะมีการบันทึกในบัญชีสินค้าคงเหลือ เมื่อมี การซื้อ ขาย รับคืน ส่งคืนสินค้า รวมทั้งการได้รับ ส่วนลดระหว่างงวด ซึ่งจะท าให้บัญชีสินค้าคงเหลือ แสดงยอดที่เป็นปัจจุบันเสมอ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้