การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีควรเป็นอย่างไร

6 วิธีการประเมินผลพนักงาน ปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร

การประเมินผลงาน หรือ Performance Review เป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรและพนักงานทราบถึงประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งสิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดการพัฒนาขึ้นภายในองค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีวิธีในการประเมินผลพนักงานที่แตกต่างกัน ดังนี้

6 วิธีการประเมินผลพนักงาน วัดจากอะไรได้บ้าง

สำหรับการประเมินผลงานสามารถวัดได้จากหลากหลายปัจจัย ตั้งแต่การตั้ง OKRs, การวัดผลงานจากตำแหน่งไปจนถึงการประเมินจากความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งแต่ละวิธีมีรายละเอียด ดังนี้

  1. วัดจาก OKRs

    OKRs (Objective and Key Results) คือ เครื่องมือในการตั้งเป้าหมายและกำหนดตัววัดผล โดยการตั้ง OKRs มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากบรรลุความสำเร็จ ซึ่งสามารถตั้งเป้าหมายหลักและแยกหัวข้อออกเป็น 3-5 เป้าหมายย่อย โดยเป้าหมายย่อยเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงาน สิ่งที่สำคัญในการตั้ง OKRs คือ พนักงานในทุกระดับขององค์กรจะต้องมีส่วนร่วมเพื่อทำให้เป้าหมายขององค์กรหรือทีมมีความชัดเจน โปร่งใส และเห็นพ้องต้องกันในการนำพาองค์กรให้บรรลุความสำเร็จตาม OKRs ที่ตั้งไว้ได้

    โดยการประเมินผลงานจาก OKRs นั้น จะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จตาม OKRs ครบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นการวัดผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้ประมาณ 60-70% เพื่อให้พนักงานมีแรงขับเคลื่อนที่จะทำตามเป้าหมายตลอดเวลา

  2. วัดจากผลงานตามตำแหน่ง

    ในแต่ละตำแหน่งมีภาระหน้าที่และความยากง่ายในการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้น เกณฑ์ที่ใช้วัดผลจึงไม่สามารถใช้เกณฑ์เดียวกันได้ทั้งหมด เช่น เกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ในตำแหน่งของสายงานครีเอทีฟหรืองานกราฟิกไม่สามารถนำไปปรับใช้กับตำแหน่งบัญชีที่ไม่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานเป็นหลัก

    ดังนั้น ในแต่ละตำแหน่งควรมีเกณฑ์บางประเภทที่แยกออกมาชัดเจน เพื่อให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อาจจะมีแก่นในการประเมินพื้นฐานเพื่อช่วยให้การประเมินง่ายและเห็นภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเกณฑ์ต่อไปนี้

    • Achieve Result: ความสำเร็จของผลงาน ทั้งความถูกต้องและความรวดเร็วในการทำงาน
    • Problem Solving: ทักษะการแก้ไขปัญหา
    • Communication: ทักษะการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร
    • Leadership: คุณสมบัติความเป็นผู้นำ

  1. วัดจากการประเมินตนเอง

    การประเมินตนเอง (Self Evaluation) คือ การให้พนักงานแต่ละคนประเมินตนเองในด้านต่างๆ ตามเกณฑ์ที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น รวมทั้งให้เขียนบรรยาย แสดงความเห็นถึงตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์กร โดยการประเมินตนเองจะทำให้องค์กรทราบว่า พนักงานคนนี้มองเห็นข้อดีและข้อบกพร่องของตัวเองหรือไม่ เพื่อที่จะได้ทราบแนวทางการสื่อสารกับพนักงานต่อไป

  2. วัดจากเพื่อนร่วมงาน

    การวัดผลจากเพื่อนร่วมงานจะทำให้เห็นภาพรวมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความลำเอียงและทัศนคติส่วนตัวต่อผู้ถูกประเมิน โดยการเลือกเพื่อนร่วมงานในการประเมินควรเลือกจากผู้ที่เคยทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ ในการวัดผลจากเพื่อนร่วมงานนั้น ผู้ถูกประเมินจะไม่รู้ว่าใครเป็นคนเขียนประเมิน แต่สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดผลการประเมินได้ เพื่อให้เกิดความเป็นกลาง ลดอคติที่อาจจะเกิดขึ้นขณะอ่านผลการประเมิน

    สำหรับเมเนเจอร์หรือหัวหน้า ผลการประเมินจากเพื่อนร่วมงานสามารถนำมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในการประเมินพนักงานได้ เนื่องจากบางองค์กรที่มีทีมขนาดใหญ่อาจจะทำให้รายละเอียดการทำงานบาง อย่างตกหล่นหรือดูแลได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้น เสียงประเมินจากคนรอบข้างจะเป็นสิ่งที่สะท้อนได้ดีถึงผลลัพธ์และพฤติกรรมการทำงานของพนักงานที่ถูกประเมิน

  3. วัดจากผลงานของทีม

    หลังจากทราบแล้วว่า พนักงานแต่ละคนมีความเห็นอย่างไรต่อผู้ถูกประเมิน สิ่งที่ต้องทำในลำดับต่อไป คือ การวัดจากผลงานของทีม โดยผลงานภาพรวมของทีมและผลงานของแต่ละบุคคลจะช่วยให้หัวหน้าทราบว่าคนในทีมทำงานร่วมกันได้ดีหรือไม่ เพราะบางครั้งผลงานส่วนตัวอาจจะดี แต่ผลงานโดยรวมของทีมอาจจะไม่ดี จนต้องมีการปรับเปลี่ยนทีมเพื่อกระตุ้นการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น

  1. วัดจากความพึงพอใจลูกค้า

    ไม่เพียงแต่ข้อมูลภายในองค์กรเท่านั้นที่สามารถนำมาประเมินผลพนักงาน แต่บุคคลภายนอกอย่างลูกค้าก็เป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อนที่สำคัญต่อผลงานของพนักงาน โดยการประเมินผลงานสามารถทำได้ผ่านการส่งแบบสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า จากนั้นจึงนำมารวบรวมคะแนนและใช้เป็นหนึ่งในเกณฑ์ประเมินผลงานของทีม

แนวทางการปรับใช้วิธีการประเมินผลให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร

การดำเนินงานของแต่ละองค์กรย่อมมีแนวทางที่แตกต่างกัน ดังนั้น การนำวิธีประเมินผลมาปรับใช้ควรเลือกให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับแต่ละองค์กร โดยแนวทางการปรับใช้มีดังนี้

องค์กรขนาดใหญ่

สำหรับการประเมินผลในองค์กรขนาดใหญ่ควรมุ่งเน้นที่การบริหารภาพรวม โดยให้หัวหน้าในแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละทีมเป็นผู้ประเมินผล เนื่องจากการประเมินจากผู้บริหารฝ่ายเดียวอาจทำให้ตกหล่นในรายละเอียดบางประการที่อาจส่งผลต่อภาพรวมขององค์กรได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • การตั้ง OKRs ควรตั้งในระดับที่ย่อยลงมา เช่น OKRs ในระดับฝ่ายไล่ลงมาจนถึง OKRs ในระดับทีม ซึ่งการตั้งเป้าหมายในแต่ละส่วนควรสอดคล้องกับ OKRs หลักขององค์กร และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการบรรลุเป้าหมายหลักของทีมและองค์กร
  • การวัดผลจากเพื่อนร่วมงาน เมเนเจอร์หรือหัวหน้าทีมควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพื่อสำรวจเสียงสะท้อนในการทำงาน เนื่องจากโอกาสในการเข้าถึงผู้บริหารของพนักงานเป็นไปได้ยาก ดังนั้น การวัดผลจากเพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่จะช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นปัญหาและแนวทางการพัฒนาพนักงานต่อไป
  • การวัดผลงานของทีม ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีทีมหลากหลายควรให้ความสำคัญกับผลงานของทีมโดยเปรียบเทียบกับผลงานส่วนตัวและความพึงพอใจของพนักงานในการทำงานร่วมกับทีม เพื่อจัดสรรทีมงานให้เหมาะสมและพร้อมในการพัฒนาผลงานของทีมต่อไปในอนาคต

องค์กรขนาดกลางและเล็ก

ในส่วนขององค์กรขนาดกลางและเล็กอย่าง Startup และ SME การประเมินผลพนักงานจะส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตขององค์กร ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรเข้ามามีบทบาทในการประเมินผลเองและสื่อสารกับพนักงานโดยตรง เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ขององค์กรอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างเช่น

  • การกำหนด OKRs ในองค์กรขนาดเล็กมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของบริษัท ดังนั้น ควรตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาธุรกิจ และให้ความสำคัญกับกระบวนการในระดับรายบุคคลที่จะช่วยให้บรรลุ OKRs และทำให้ธุรกิจเติบโตได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
  • การวัดความพึงพอใจของลูกค้า ในองค์กรขนาดเล็กสามารถทำได้ด้วยการจัดทำแบบสอบถาม หรือการนัดประชุมกับลูกค้าในช่วงส่งมอบงาน เพื่อหาทางพัฒนาธุรกิจต่อไป อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากความพึงพอใจของลูกค้า ควรสอบถามความพึงพอใจของทีมด้วย เพื่อนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ที่แท้จริงในการดำเนินงาน
  • การวัดผลงานของทีม ควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแนวคิดการทำงานแบบทีม ผ่านการตั้งเป้าหมายร่วมกัน มีระบบการทำงานที่ชัดเจน และมี Teamwork ที่พร้อมเป็นพลังให้แก่กัน ทำให้ทีมมีความแข็งแกร่งพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
  • การแจ้งผลการประเมิน ในองค์กรขนาดเล็กผู้บริหารควรนัดประชุมแบบตัวต่อตัวกับพนักงานทุกคน ในการแจ้งผลการประเมินและพูดคุยกับพนักงาน เพื่อสอบถามและรับฟังความเห็นของพนักงานแต่ละคนเกี่ยวกับผลการประเมินที่ได้รับ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ แนวทางการพัฒนาตนเอง รวมถึงแนวทางการทำงานในอนาคตด้วย

สรุป

วิธีการประเมินผลพนักงานเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ทราบถึงผลลัพธ์ของการทำงานและความเป็นอยู่ของพนักงาน ซึ่งทำได้หลากหลายวิธีตั้งแต่การวัดจาก OKRs ไปจนถึงการวัดจากความพึงพอใจของลูกค้า โดยในแต่ละองค์กรควรปรับใช้วิธีการประเมินผลให้เหมาะสม เพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์สูงสุดที่องค์กรจะได้รับ

หากสนใจมอบสวัสดิการดีๆ ให้พนักงานในองค์กรของคุณทำงานได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพด้วยแผนประกันสุขภาพและอุบัติเหตุกลุ่มสุดคุ้มของ Cigna อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนประกันกลุ่มจากซิกน่า

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้