ข้อมูลส่วนตัวที่สามารถเปิดเผยได้

     พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 24 ได้กำหนดห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความดูแลของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น หรือผู้อื่น โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้

เว้นแต่เป็นการนำไปเปิดเผยในกรณีดังต่อไปนี้

     1. การเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตน เพื่อนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น (มาตรา 24 (1))

         ข้อยกเว้นให้เปิดเผยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนหรือที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานเดียวกันนี้ถือได้ว่าเป็นข้อยกเว้นที่มีความชัดเจน เพราะวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพื่อการนำมาใช้งานตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ และในการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ย่อมต้องมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่งคน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลร่วมกัน

เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ จึงได้กำหนดข้อยกเว้นตามข้อนี้ไว้ อย่างไรก็ตามยังมีบางกรณี เช่น เมื่อสมาชิกสภาองค์การบริหารราชการ

ส่วนท้องถิ่น ได้ขอฝ่ายบริหารเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการซึ่งมีข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลอยู่ จึงอาจมีข้อสงสัยว่าผู้ที่ขอให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนี้ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนตามข้อยกเว้นในข้อนี้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

สาขาสังคมการบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย ได้มีคำวินิจฉัยที่ สค ๑๓/๒๕๔๔ ว่าผู้อุทธรณ์เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จึงสามารถนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ได้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่ฝ่ายบริหารจัดเก็บไว้จึงได้รับยกเว้นให้เปิดเผยแก่สมาชิกสภาฯ ได้ตามข้อยกเว้นในข้อนี้

     2. การเปิดเผยซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลตามปกติตามวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล (มาตรา 24 (2))

         ข้อยกเว้นตามข้อนี้จะสอดคล้องกับการที่พระราชบัญญัติได้กำหนดหน้าที่และหลักการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่หน่วยงานของรัฐจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้และลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกตินี้หน่วยงานของรัฐยังต้องนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อเผยแพร่ให้ทราบเป็นการทั่วไปอีกด้วย ดังนั้นหากกรณีการเปิดเผยยังคงอยู่ในขอบเขตของการใช้ข้อมูลตามปกติภายในวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนั้นก็ถือได้ว่าเป็นไปตามข้อยกเว้นของหลักเกณฑ์ตามข้อนี้

     3. การเปิดเผยต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านการวางแผนหรือการสถิติหรือสำมะโนต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น (มาตรา 24 (3))

         การปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านการวางแผนหรือการสถิติหรือสำมะโนต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์จัดทำเป็นสถิติหรือการวางแผนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือประชากร ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลให้กับหน่วยงานของรัฐดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็น รวมทั้งหน่วยงานของรัฐเหล่านี้ก็มีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อื่น

     4. การเปิดเผยซึ่งเป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย โดยไม่ระบุชื่อ หรือส่วนที่ทำให้รู้ว่าเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบุคคลใด

(มาตรา 24 (4))

         พระราชบัญญัติได้กำหนดข้อจำกัดการเปิดเผยไว้โดยให้สามารถเปิดเผยได้แต่ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยจะต้องไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้รู้ว่า

เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้ใด ซึ่งจะทำให้ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยไม่มีสภาพของการเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามนัยมาตรา 4

แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 การเปิดเผยในกรณีนี้จึงสามารถตอบสนองประโยชน์ของการศึกษาวิจัยได้รวมทั้งการเปิดเผยนี้ก็ไม่เป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลเกินสมควรแต่อย่างไรด้วย

     5. การเปิดเผยต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา (มาตรา 24 (5))

         การเปิดเผยต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่คัดเลือกข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้าเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ การมีข้อยกเว้นให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต่อหน่วยงานดังกล่าวเพื่อตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษาคือ ทำให้สามารถพิจารณาได้ว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

ดังกล่าวอยู่ในหลักเกณฑ์ ที่สมควรจะเก็บรักษาไว้เป็นเอกสารประวัติศาสตร์หรือไม่ ขั้นตอนตามข้อยกเว้นนี้ยังไม่ใช่การพิจารณาว่าจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนี้เพื่อการศึกษาค้นคว้าหรือไม่ การพิจารณาดังกล่าวจะต้องมีการพิจารณาเป็นขั้นตอนต่อไป โดยจะต้องเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติไว้ด้วย

     6. การเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดี ไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม (มาตรา 24(6))

         การเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อนำข้อมูลไปใช้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์การดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับ

การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลนี้จึงมีหน้าที่ต้องคุ้มครองข้อมูลมิให้ถูกนำไปใช้นอกวัตถุประสงค์ด้วย

     7. การเปิดเผยที่เป็นการใช้ซึ่งจำเป็นเพื่อป้องกัน หรือระงับอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคล (มาตรา 24 (7))

         กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพื่อป้องกันหรือระงับมิให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคลซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ พระราชบัญญัติจึงยกเว้นให้เปิดเผยได้โดยไม่ต้องรับคำยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

     8. การเปิดเผยต่อศาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว (มาตรา 24 (8))

         เมื่อผู้ที่ขอให้เปิดเผยเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น ศาลใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และยังมีตัวอย่างอื่น ๆ ที่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้มีคำวินิจฉัยไว้ เช่น คำวินิจฉัยที่ สค ๓๒/๒๕๔๕

     9. การเปิดเผยในกรณีอื่นที่กำหนดเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฏีกา (มาตรา 24 (9))

     หมายเหตุ หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลข่าวสารของราชการอยู่ในความควบคุมดูแลของตนและได้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในลักษณะตามข้อ 3-9 มาตรา 24 วรรคสอง ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐนี้จะต้องจัดทำบัญชีแสดงการเปิดเผยกำกับไว้กับข้อมูลข่าวสารนั้น

ข้อมูลส่วนบุคคลเปิดเผยได้ไหม

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีผลบังคับใช้ 27 พ.ค.นี้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ ระวังโทษหนัก จำคุก 1 ปี ปรับ 3 ล้านบาท จ่ายค่าเสียหาย 2 เท่า

อะไรบ้างที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล

ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) มีอะไรบ้าง ที่อยู่, อีเมล์, เลขโทรศัพท์ ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP address, MAC address, Cookie ID. ข้อมูลทางชีวมิติ (Biometric) เช่น รูปภาพใบหน้า, ลายนิ้วมือ, ฟิล์มเอกซเรย์, ข้อมูลสแกนม่านตา, ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง, ข้อมูลพันธุกรรม

ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสําคัญอย่างไร

ข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อมูลส่วนนี้สามารถนำไปประมวลผลได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้งาน หรือเพิ่มความน่าสนใจให้กับการใช้งานนั้นๆ นอกจากนี้แล้ว ข้อมูลส่วนบุคคลยังสามารถนำไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเจ้าของ ...

ข้อมูลส่วนบุคคลกรณีไหนที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม

โดยกรณีต่าง ๆ ที่ข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมจากเจ้าของ โดยไม่ต้องขอความยินยอมมีดังนี้ กรณีป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูล หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ป้องกันโรคระบาด ผู้ควบคุมสามารถประมวลผล (เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย) ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้