รัชกาลที่ 1 มีการปกครองแบบใด

ในรัชกาลที่ 1 แม้ชนชั้นนำจะมีความคิดที่มีลักษณะมนุษยนิยม สัจจนิยม และเหตุผลนิยมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถสลัดความคิดที่เชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติออกไปได้อย่างสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้จึงยังคงมีการพูดถึงเหตุนิมิตต่าง ๆ

เช่นมีจดหมายเหตุว่าด้วยมดดำมดแดงและนกกระจาบกระทำให้บังเกิดเป็นมงคลนิมิตรใน พ.ศ. 2335 มีจดหมายเหตุเรื่องขุนสุระคำแหงถึงแก่กรรมและฟื้นขึ้นมาเล่าเหตุนิมิตรต่าง ๆ ใน พ.ศ. 2337 มีหนังสือผู้วิเศษมาแต่ถ้ำวัวแดงถวายคำแนะนำแก่พระมหากษัตริย์ใน พ.ศ. 2344 มีพระราชพิธีปลุกเศกเครื่องคงกระพันที่วัดไชยชนะสงครามขันธ์ มีการเสี่ยงทายพระธรรมบทเพื่อทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น สำเภาหูส่งจะเข้ามาหรือไม่ พม่าจะแพ้หรือไม่ และเจ้าอังวะจะตายหรือไม่

มีการคัดลอก “จุททสคาถา” อันประกอบด้วยพุทธมนตร์คาถา 14 บท ซึ่งเชื่อว่าถ้าจารึกลงไว้ในแผ่นเงินแผ่นทองแล้วติดไว้ตามที่ที่กำหนดจะช่วยให้บังเกิดผลตามปรารถนา และถ้าใช้ผ้าขาวทำธงสามหางลงยันต์แลคาถายกขึ้นบูชาพระพุทธเจ้า ก็จพให้จําเริญพระศิริยศเดชานุภาพปรากฏไป ทุกประเทศก็จะมาอ่อนน้อมถวายลาภต่าง ๆ และใน พ.ศ. 2351 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯ ให้สมเด็จพระพนรัตน์ พระพุทธโฆษา พระเทพเมาลี ประกอบพระราชพิธีมหาสวัสดิรักษาแด่กรมหลวงศรีสุนทรเทพซึ่งกำลังประชวรหนัก

นอกจากนี้ยังมีการทำพิธีสาบานต่าง ๆ นอกเหนือจากพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเพื่อผลในการควบคุมสังคม เช่นใน พ.ศ. 2335 มีพิธีสาบานของพวกเมืองทะวายว่าจะไม่คิดกบฎและจะทำราชการโดยสัจสุจริต มีการทำพิธีสาบานของทหารในกองทัพพระยายมราชซึ่งยกไปตีทะวายว่าถ้าได้ทรัพย์สมบัติมาจะถวายจนสิ้นเชิง มีพิธีสาบานของเจ้าพญาอภัยภูเบศร พญากลาโหมเขมร และพญาพระเขมรทั้งปวงว่ามิได้มีจิตรฉันทาโทษาเวรพยาบาทแก่กันแล้ว จะตั้งใจคิดอ่านปรึกษาราชการตัดสินกิจสุขทุกข์ของอนาประชาราษฎรประนีประนอมให้พร้อมมูลกัน ฉลองพระเดชพระคุณโดยสุจริต

แม้เมื่อสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็โปรดฯ ให้พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยกระทำสัจสาบานต่อกัน เพื่อ “จะดำรงราชสุจริตรักษาพระวงษมิให้จุลาจลวิปริตผิดลำดับไป”

เบื้องหลังของพิธีสาบานเหล่านี้คือความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติว่าสามารถดลบันดาลให้เกิดผลดีหรือผลร้ายได้ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าคำสาบานส่วนใหญ่อยู่ภายในกรอบความคิดของพุทธศาสนา กล่าวคือเน้นถึงผลที่ว่าขอให้ได้พบพระรัตนตรัยในภายภาคหน้าหรือไม่มากกว่าผลที่มาจากการดลบันดาลของอำนาจเหนือธรรมชาติอื่น ๆ

ในท่ามกลางความคิดทางศาสนาที่เกิดจากการผสมผสานความคิดความเชื่อแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ราชสำนักได้เน้นพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยมจนเด่นชัดขึ้น

โดยบุคลิกภาพส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงมีความคิดอย่างกระฎมพีชัดเจน คือไม่ถือเคร่งครัดในเรื่องโชคลางและจารีตประเพณีเก่า ๆ หากแต่เชื่อมั่นอย่างมากในสติปัญญาของมนุษย์ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จในโลกนี้ได้ ความไม่ถือเคร่งครัดในโชคลางและจารีตประเพณีเห็นได้ชัดเมื่อทรงพระราชดำริที่จะให้เอาพระศพสมเด็จพระนารายณ์ธิบดี กษัตริย์กัมพูชาเข้ามากรุงเทพฯ ในขณะที่ขุนนางผู้ใหญ่คัดค้านเกรงจะเป็นอุบาทว์แก่บ้านเมือง

ต่อมาเมื่ออัญเชิญพระศรีสรรเพชญ์ซึ่งชำรุดมากมาจากกรุงเก่า ทรงพระราชดำริจะเอาทองหลอมรวมหล่อเป็นพระพุทธรูปขึ้นใหม่ พระราชาคณะถวายพระพรว่าไม่สมควร เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาพระคลัง (สน) ลงไปส่งสำเภาข้ามสันดอนมีใบบอกเข้ามาขอหัวหมูและบายศรีก็ทรงรับสั่งว่าเลอะเทอะหนักแล้วโปรดฯ ให้ถอดเสีย

และในปลายรัชกาลมีพระราชดำรัสสั่งให้เชิญพระโกศเข้ามาตั้งถวายทอดพระเนตร มีเรื่องเล่าว่า “คุณเสือสนมเอกทูลห้ามปรามว่าทรงอะไรเช่นนั้นน่ากลัวเป็นลาง…รับสั่งว่ากูไม่ถือ” อนึ่ง มีพระราชกำหนด พ.ศ. 2327 ปกป้องคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นกระสือกระหัง ซึ่งแสดงว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกไม่ทรงเชื่อในเรื่องนี้

ในเมื่อทรงมีพื้นฐานความคิดดังกล่าวมาข้างต้น ในด้านศาสนาจึงทรงให้ความสำคัญแก่ลักษณะที่เป็นพิธีกรรมน้อยลงมาก แต่จะให้ความสำคัญแก่ศาสนาที่มีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์ตามที่เป็นจริงมากขึ้น เห็นได้ชัดว่าทรงมีพระบรมราโชบายที่จะเปลี่ยนมาเน้นการสั่งสอนให้เกิดปัญญาความรู้ ให้สามารถพิจารณาสภาวะต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผลจนเกิดความเข้าใจหลักคำสอนทางศาสนาแล้วจึงนำมาปฏิบัติเพื่อจะได้มี “ชีวิตที่ดี” ในโลกนี้ กิจกรรมทางพุทธศาสนาของราชสำนักส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น

ในปีแรก ๆ ที่สถาปนาราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ทรงตราพระราชกำหนดบทพระไอยการหลายฉบับเพื่อ “อธิบาย” หลักคำสอนของพุทธศาสนาแก่

…เจ้าพญาแลพญาพระหลวงเมือง เจ้าราชนิกุลขุนหมื่นพันทนายฝ่ายทหารพลเรือนมหาดเลกขอเฝ้าเชาที่ข้าเจ้าต่างกรมฝ่ายหน้าฝ่ายในฝ่ายหลัง แลข้าหลวงกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการเมืองปากไต้ฝ่ายเหนือ อะนาประชาราษฎรทั้งปวง…

ตลอดจน “สังกะรีธรรมการราชาคณะ พระสงฆ์เจ้าอธิการอนุจร ฝ่ายคันทธุระวิปัสนาธุระอรัญวาสีคามวาสี” พระราชกำหนดใหม่ลงวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 2325 ทรงมีพระราชโองการให้คนทั้งหลายรักษาศีล และการที่จะรักษาศีลนี้ “ให้รู้เนื้อความภาษาไทยในพระบาฬีนั้นจงทุก ๆ สิกขาบท…ให้เข้าใจในภาษาไทย” แล้วทรงอธิบาย ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบโดยละเอียด พร้อมทั้งยกตัวอย่างที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง แล้วทรงในตอนท้ายว่า “แลลักษณะศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ดังพรรณาโปรดมาทั้งนี้ ให้ข้าทูลอองทุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง พิจารณาดูให้ขึ้นปากขึ้นใจ ไถ่ถามให้สิ้นความสงไศรย แล้วจึ่งให้สมาธาร”

ต่อมาในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนเดียวกัน ทรงตราพระราชกำหนดใหม่อธิบายหลักธรรม 3 ข้อที่เป็นสาระสำคัญของพุทธศาสนา คือให้ละเว้นความชั่ว ให้ทำความดี และอุตสาหะหมั่นทรมานจิตอันร้ายชั่วนั้นให้ดีขึ้น “ธรรมสามประการนี้ชื่อว่าพระพุทธสาศนา เหตุธรรมทั้งสามบทนี้รวบกองศีลคือพระวิไนย สมาธิคือพระสูตร ปัญญาคือพระบรมัด…ผู้ใดปรฏิบัติได้ ๆ ชื่อว่าภบบำรุงพุทธศาสนาฯ” ทรงยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่าจะปฏิบัติตามหลักธรรมทั้ง 3 ประการนี้ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นการชี้แนะแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในชีวิตประจําวัน

ในเดือน 9 ปีเดียวกัน ทรงตราพระราชกำหนดอีกฉบับหนึ่งเพื่อลดความนับถือผีสางเทวดาและอำนาจลี้ลับอื่น ๆ ในหมู่คนทั่วไป ทรงพระราชดำริว่า

…ทุกวันนี้สัตวทังปวงเปนโลกี ครั้นมีทุกขขึ้นมาน้ำจิตรนั้นก็ผันแปรไปจากพระรัตนะตะยาธิคุณไปถือผีสางเทพารักษต่าง ๆ …ครั้นจะให้ห้ามเสียไม่ให้ถือผีสางเทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์เล่าก็มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ในสัตปริยหารริยธรรมเจดปรการอันจะให้บ้านเมืองสมบูรรณขึ้นว่า ให้สมเดจพระมหากษัตราธิราชเจ้าบำรุงเทพารักษ์…จึ่งมีพระราชโองการดำหรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า

แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าให้…ถวายสิ่งซึ่งอันสมควรแก่เทพารักษ์ แต่อย่านับถือว่ายิ่งกว่าพระไตรสระณาคม ห้ามอย่าให้พลีกำม์ด้วยสัตวต่าง ๆ มีโค กระบือ สุกร เปด ไก่ เป็นต้น บูชา…

แต่ซึ่งสารเทพารักษาอันเอาไม้ทำเปนเพศบุรุษลึงใหญ่น้อยต่าง ๆ หญิงชายชวนกันนับถือนั้น ทรงพระกรรุณาให้นักปราชญราชบัณฑิตยค้นดูในพระไตรปิฎกก็มิได้มีหย่าง…จึ่งทรงพระวิจารณเหนว่าแรกเหตุนี้จะมีมาเพราะคนพาลกักขะละหยาบช้า…สืบมาหญิงชายผู้หาปัญามิได้ก็เอาเยื่องหย่างนับถือสืบมา…อันหนึ่งเปนที่แขกเมืองนานาปรเทษไปมาค้าขายได้เหนจะดูหมิ่นถิ่นแคลนกรุงเทพพระมหานครอันกอปด้วยเกียติยศ…ห้ามอย่าให้มีเพศบุรุษลึงอันลามกอัประมงคลไว้ในสารเทพารักษ์เป็นอันขาดทีเดียว…

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

หมายเหตุ : คัดเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ “พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. 2325-2352)” เขียนโดย สายชล สัตยานุรักษ์ (สำนักพิมพ์มติชน, 2546) ***ตัดทอนเอกสารอ้างอิงเพื่อความกระชับ โปรดดูเชิงอรรถในเล่ม***

กรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1 ปกครองแบบใด

การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จนถึง รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยโดยมีมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิด การปกครอง คือ มูลเหตุที่ทำให้มีการปรับปรุงการปกครอง

รัชกาลที่ 1 เด่นเรื่องใด

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร (หรือกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นราชธานี และทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีปกครองราชอาณาจักรไทยเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 (วันจักรี) ภายหลังการเสด็จเสวยราชย์แล้ว พระองค์ทรงมีพระราชกรณีกิจที่สำคัญยิ่ง คือ การป้องกันราชอาณาจักรให้ปลอดภัยและทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกตกทอดมา ...

ร.1 มีพระราชกรณียากิจใดบ้าง

พระราชกรณียกิจสำคัญ คือ 1.การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎร พระองค์ได้ทรงแก้ไขวิธีการเก็บภาษีอากรแบบเดิม 2.ทรงทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับประเทศอังกฤษในปีพ.ศ. 2369. 3.ด้านศาสนา ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดและพระพุทธรูปจำนวนมาก อันทำให้เกิดความ เจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาและศิลปกรรมต่าง ๆ

รัชกาลที่1

พระองค์ยังคงทรงปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และคงรูปแบบการบริหารประเทศเหมือนเดิม แต่พระองค์ได้พยายามพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมอารยประเทศ โดยเปิดสัมพันธไมตรียอมรับวัฒนธรรมตะวันตก อีกทั้งทรงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกประเพณีบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่เข้ามาในประเทศ เช่น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้