อะไรคือจุดมุ่งหมายของการออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นเรื่องที่สำคัญมากนะคะ รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย จะยิ่งช่วยดึงดูดให้ลูกค้าอยากใช้สินค้า และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของเราในที่สุดค่ะ เอาหล่ะค่ะ เรามาดูกันว่าการออกแบบที่ดีนั้น มีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์อย่างไรกันบ้างค่ะ

♣ ความสำคัญในด้านคุณค่าทางศิลปะ งานออกแบบที่ดีทำให้ผลิตภัณฑ์ มีความงามดึงดูดใจ สามารถตอบสนองรสนิยมของผู้บริโภคได้

♣ มีคุณภาพทางการบริโภค ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบที่ดี มีการใช้วัสดุที่ดี มีกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทน และมีความปลอดภัยในการใช้สอยอีกด้วยค่ะ

♣ มีศักยภาพในการแข่งขันทางพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์ที่มีความงาม ความคงทนและความปลอดภัย จะเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้มียอดขายสูงสามารถแข่งขันทางการค้า กับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันของบริษัทอื่นได้

♣ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เมื่อบริษัทมีกำไรจากการขายผลิตภัณฑ์ ที่มีการออกแบบที่ดี บริษัทจะนำผลกำไรมาลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม หรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์เดิม

♣ มีศักยภาพในการรักษาลูกค้าเดิม การปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม หรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่เกี่ยวพันธ์กันขึ้นด้วย การออกแบบที่ดีจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้ ในขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ที่มีรสนิยมอย่างเดียวกันได้ด้วย

♣ สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับบริษัท ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีการออกแบบที่ดี เป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับบริษัท จะได้รับการยกย่อง ได้รับความไว้วางใจและเป็นที่ต้องการของลูกค้าอยู่เสมอค่ะ

หากเรารู้จักพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ของเราให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราก็จะเป็นผู้นำทางการตลาด และประสบความสำเร็จในที่สุดค่ะ

#SMEsGoOnlineByOSMEP  #RMUTT #SMEs
…………………………………………………………………
โครงการส่งเสริมพัฒนาตลาดอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับ SMEs โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกับ สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 549 4004

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Home


//www.facebook.com/smeRMUTT/

กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์
THE PROCESS OF PRODUCT DESIGN

          ตามความหมายที่กล่าวมาแล้วว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์คือ การกำหนดรูปแบบของผลิตผล หรือ ผลของการสร้างรูปวัตถุให้เกิดเป็นลักษณะต่าง ๆ ออกมาให้สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏเห็นเป็นรูปร่างลักษณะที่มองเห็น ( Visual From ) ดังกล่าวนั้นจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ทางการออกแบบ (Design process ) และการผลิต ( production ) มาก่อนซึ่งต้องมีลำดับขั้นตอนและการแก้ปัญหา ( Problem - Solving ) กันอย่างเนื่อง จนให้สามารถสนองความต้องการทั้งทางหน้าที่ทางกายภาพ( Physical Function ) และสื่อความหมายทางการสร้างสรรค์ได้
          การออกแบบผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่จะพิจารณาเรื่องของการออกแบบในแง่ของสีและรูปร่างเนื่องจากว่าสีและรูปร่างเป็นลักษณะของ
การออกแบบที่มองเห็นได้อย่างโดดเด่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
          แต่ก็น่าคิดกันต่อไปว่าสีสันและรูปร่างเท่านั้นหรือที่จะเป็นหลักใหญ่ใจความของการออกแบบในการออกแบบสีและรูปร่างของผลิตภัณฑ์แน่นอนย่อมจะต้องมี " ศิลปะ" เข้ามาเกี่ยวข้องแต่ " ศิลปะ" และ "การออกแบบ" ก็ยังแตกต่างกันด้วยเหตุที่ว่าเรื่องของศิลปะนั้นในแง่ของผู้บริโภคยังดูจะมีวัตถุประสงค์คลุมเครือ แต่สำหรับเรื่องการออกแบบแล้ว ดูจะมีวัตถุประสงค์ที่จะแจ้งชัดเจนมากกว่าตามหลัก 5 W และ 2 H คือ Why ?,WHO ?, WHERE, HOW?, HOW, MUCH ?. คือออกแบบไปทำไม เพื่อใคร เมื่อไร ที่ไหน อะไร อย่างไร และมูลค่าเท่าไร ดังนั้นเมื่อมีการ "ออกแบบ"สีสันและรูปร่างของผลิตภัณฑ์จึงต้อง พิจารณาตามเจตนาดังกล่าวนี้ด้วย ดังนั้นเมื่อนักออกแบบจะเริ่มงานออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย สิ่งสำดัญจึงอยู่ที่จะต้องรู้จักนำเอาวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่ว่ามานั้นผสมผสานความคิดกันเพื่อให้สินค้าที่มีสีสันและรูปทรงที่เหมาะสม
          การออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น กระบวนการดำเนินงาน อาจจะสลับซับซ้อนมีความยุ่งยากและอาศัยข้อมูลประกอบ หลายระดับ ขึ้นอยู่กับว่า วัตถุประสงค์ของการออกแบบนั้นมีความต้องการและการลงทุน ในระดับใดซึ่งอาจจเป็นการผลิตรายย่อยแบบกึ่งอุตสาหกรรมหรือระบบอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ที่มีระบบสายงานและกำลังการผลิตจำนวนมาก ๆ ก็เป็นได้ แต่ในที่นี้ผู้เขียนใครขอเสนอรูปแบบของกระบวนการออกแบบที่เป็นระบบตาม
แบบอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตเป็นจำนวนมาก ๆ ซึ่งในกระบวนการทำงานการออกแบบและการผลิตนั้นจำเป็นต้องมีการปรึกษาหรืออาศัยข้อมูลต่างๆ ที่แน่นอนมากมายมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพตรงตามความต้องการในการผลิตออกมา
          ในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์มักจะประกอบขึ้นด้วย 2 กระบวนการคือ
             1. กระบวนการของการศึกษาวิจัยเบื้องต้น ( Process of Preliminary Research ) เป็นกระบวนการอันดับแรกของการเตรียมแผนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การค้นคว้าวิจัย และข้อมูลจากด้านต่าง ๆ เพื่อนำมากำหนดเป็นมโนทัศน์ ( Concept ) ของผลิตภัณฑ์ อันได้แก่
             1.1 การกำหนดนโยบาย ( Policy Formulation ) ได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ของการผลิต , กลยุทธ
ทางการค้า , ขอบเขตของ วัน / เวลาการลงทุน และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดจนการกำหนดสถานะของผลิตภัณฑ์ ( Situation ) ที่จะผลิตนั้น ๆ ด้วย          1.2 ความต้องการด้านโครงสร้าง ( Structural Requiremenrs ) ได้แก่การกำหนด โครงสร้างและหน้าที่ทางกายภาพ ( Physical Structural Function ) ของผลิตภัณฑ์ว่าจะทำอะไรได้บ้าง ( What it HAS TO DO ) มีรูปร่างอย่างไร รูปแบบ ( STYLE ) สมัยใหม่ที่เรียบง่าย หรือมีการ ตกแต่งลวดลายตามสไตล์งานหัตถกรรมส่วนประกอบในโครงสร้างมีการรับน้ำหนัก หรือเอื้อ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างไร ฯลฯ เช่น การกำหนดความต้องการทางโครงสร้างของ ผลิตภัณฑ์เก้าอี้ว่านอกจากจะแข็งแรงใช้นั่งได้แล้วจึงยังสามารถปรับพนักพิงหลังให้เอนนอนได้ด้วย เป็นต้น

            1.3 ความต้องการด้านการสื่อสารความหมาย ( COMMUNICATIVE REQUIRE - MENTS ) โดยปกติ แล้วผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จออกมา โครงสร้างทางรูปร่างหน้าตาของผลิตภัณฑ์จะเป็นสื่อแสดงความ หมายแทนตัวของมันเองให้ผู้ใช้ทราบโดยทันทีอยู่แล้วว่ามันคืออะไร และใช้ในภาระกิจแบบไหน เช่นว่าเรามองเห็นผลิตภัณฑ์รูปทรงกระบอกทรงสูง ภายในกลวง มีพวยริน ( Spout ) ยื่นออกมา จากขอบบนมีฝาปิด มีหูสำหรับจับถือ เราก็สามารถรับรู้ได้ว่านั่นคือ กาน้ำใช้สำหรับบรรจุของ เหลว ทั้งนี้เพราะมนุษย์เราเกิด การเรียนรู้เคยเห็น เคยใช้มาแล้วดังนั้นจึงง่ายแก่การรับรู้หรือ
            การระลึกขึ้นมาได้ง่าย แต่ในบางกรณีผู้ผลิตและผู้ออกแบบต้องการสร้างความแปลกใหม่ในรูปร่าง ลักษณะของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นกลยุทธทางการค้า ให้สามารถดึงดูดความสนใจผู้ใช้ให้เกิดความ
            รู้สึกใหม่ด้วยการใช้รูปลักษณะอื่น ๆ สีสันและโครงสร้างที่แปลกไปจากมโนทัศน์เดิม และในขณะ เดียวกันก็ต้องการใช้ข้อมูลข้อความต่าง ๆ เพื่อเห็นการบอกกล่าวให้ทราบถึง ชนิด ประเภท วิธี การใช้ ตลอดจนเครื่องหมายการค้า ตรายี่ห้อ ชื่อผู้ผลิตเข้ามาช่วยสื่อความหมายในตัวผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ ด้วย ดังนั้น ความต้องการด้านสื่อความหมาย จึงเป็นไปอย่างควบคู่กันกับโครงสร้างของ ผลิตภัณฑ์ซึ่งจะขาดเสียมิได้
            1.4 การศึกษาชนิดและประเภทของวัสดุ ( Materials ) ที่จะนำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์นักออกแบบจึง ควรศึกษาเกี่ยวกับชนิด รูปร่าง และ ขนาดต่าง ๆ ของวัสดุที่มีขายในท้องตลาด หรือแหล่งของ วัตถุดิบสามารถจัดหาได้ง่ายหรือไม่ มีจำนวนและปริมาณเท่าใด มีคุณสมบัติและโครงสร้างทาง กายภาพในแต่ละชนิดเป็นอย่างไร ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อว่า ผู้ออกแบบจะได้เลือกใช้วัสดุได้ถูกต้องกับ ชนิดของงานสามารถกำหนดหรือซื้อวัสดุได้ถูกต้องตามแบบที่ต้องการ เช่น การทดสอบการรับ
            น้ำหนักของวัสดุ ความทนทานต่อการดัด , โค้ง , งอ หรือง่ายต่อการขึ้นรูป เป็นต้น            1.5 การศึกษากระบวนการผลิต ( Production Process ) การศึกษาขั้นนี้นับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่นักออกแบบจำเป็นต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้( Feasidility Study ) ในกรรมวิธีของการสร้าง ผลิตภัณฑ์อันจะต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นเทคนิคการจัดทำ
( Technical Performance )
           1.6 การศึกษาเศรษฐศาสตร์ ( Economics ) เป็นการศึกษาพื้นฐานการใช้จ่ายตลอดจนศึกษาวิธี ประหยัดและการลงทุนการผลิตในปัจจัยต่าง ๆ ที่จะต้องนำมาประเมินราคาร่วมกับราคาขายผลิตภัณฑ์อันไดัแก่
            - วิธีการนำวัสดุมาใช้ให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด ( Minimum wastage from raw material )
            - วิธีการประหยัดในวิธีการผลิตและกระบวนการทางโครงสร้าง ( Economy of Production method and Structural Process )
            - วิธีการประหยัดในการเก็บรักษา , การบรรจุ และการขนส่ง ( Economy of Storage / Packing Transport ) 

          1.7 การศึกษาขนาดสัดส่วนในการอำนวยความสะดวกสบายด้านต่าง ๆ ( Size Opertional Ergonoics ) อันได้แก่การศึกษาขนาดสัดส่วนของมนุษย์ ( Humam scale ) การวัดขนาด ขนาดของผู้ใช้และการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ( Users' measurements and Human movement เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบและการกำหนดรูปร่างรูปทรงตลอดจนส่วนประกอบต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น การถือ การจับ นั่ง เดิน ยืน นอน ในขณะที่เกิดพฤติกรรมร่วมกับผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           นอกจากจะศึกษาถึงขนาดสัดส่วนสรีระร่างกายของมนุษย์แล้วนักออกแบบยังจะต้องศึกษาขนาดสัดส่วนของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รอบกาย ( Environ mental Scale ) เช่น สภาพธรรมชาติ ขนาดบ้านเรือน ที่พักอาศัย สัดส่วนในการขนส่ง การเก็บรักษา การบรรจุตลอดจนน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่จะ ผลิตออกมาอีกด้วย
              1.8 การสำรวจและวิจัยถึงความต้องการของผู้ใช้ ( Consumer Pequire ments ) เช่น
           - ความต้องการของผู้ใช้หรือผู้บริโภค ( Consmer / User Needs )
           - จุดมุ่งหมายเฉพาะทางการตลาด ( Specific Market Destination )
           - ระดับชนชั้นในสังคม ( Social Class Group )
           - กลุ่มอายุหรือเพศของผู้ใช้ ( Age / Sex Group )
           - ระดับรายได้ ( Income Group )
           - ระยะเวลาหรืออายุของผลิตภัณฑ์ ( Intended duration of Product ) เช่น ใช้ชั่วคราว ( Short term ) ถาวร ( Permanent ) หรือใช้หมดไป               ( Disposable )
           - สถานที่นำไปใช้ ( Operational Location ) ซึ่งต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปจะนำ ไปใช้ในสถานที่ใด และภาวะการณ์เช่นไร
           - พฤติกรรมของผู้บริโภค ( Consumer Behaviors )
          1.9 การศึกษากฏหมายและหลักสุขอนามัยสภาพแวดล้อม ด้านกฏหมายจะต้องศึกษาถึงข้อบัญญัติต่าง ๆ กฏหมายลิขสิทธิ์การคุ้มครองผลงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์การประกันสินค้า ตราเครื่องหมาย ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ บริโภค เช่น อันตรายจากวัตถุที่มีพิษ การบาดเจ็บอันเนื่องมาจากโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ตลอดจนการเกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย

          จากขั้นตอนและวิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าขั้นของการกำหนดรูปแบบทางมโนทัศน์ (concept) ของผลิตภัณฑ์นั้นต้องอาศัยข้อมูล และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ มาประกอบเป็นแนวความคิด ( Idea) เพื่อการสร้างสรรค์ ที่มากมายหลายด้าน มีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวพัน กับบุคลากรผู้ชำนาญการต่าง ๆ มากมายในอันที่นำมาใช้กำหนดแบบการสื่อความหมายความเข้าใจซึ่งกันและกันในขั้นตอนของการออกแบบและการผลิตต่อไป

             2. กระบวนการออกแบบ THE PROCESS OF DESIGN
             หลังจากที่นักออกแบบได้ศึกษาข้อมูลได้แนวคิดของชนิดและประเภทของผลิตภัณฑ์แล้วนักออกแบบจึงดำเนินการออกแบบโดยมีลำดับขั้นตอนของ
การทำงานคือ
             2.1. การพัฒนาแนวความคิดของการออกแบบ ด้วยการสร้างสรรค์ Concept ออกมาในรูปของหน้าที่การใช้งานและรูปทรง ซึ่งอาจจะ เริ่มต้นด้วยการร่างภาพอย่างหยาบ ๆ ( Rough Sketch ) หรือทดลองสร้างหุ่นจำลองขึ้นมาอย่างง่าย ๆ ( Mode Making ) เพราะลักษณะของ ผลิตภัณฑ์นั้นบางครั้งการเขียนแสดงให้เห็นเป็นเพียง 2 มิติ นักออกแบบอาจจะผิดพลาดในเรื่องของขนาดสัดส่วน รูปร่างและโครงสร้างที่แท้จริงไป หรือผู้ร่วมงานไม่อาจจะมองภาพออกและไม่เข้าใจใน coneept ที่แสดงไว้ ดังนั้นการสร้างหุ่นจำลองประกอ บหรืออธิบายแบบในรูป 3 มิติ จะทำให้ง่ายแก่การมองและช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจในแนวความคิดได้ง่ายขึ้นอีก ทั้งยังเป็นการศึกษาทดลองรูปแบบ ของโครงสร้างและรูปร่างอย่าวคร่าว ๆ ที่มีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาในกระบวนการออกแบบ ซึ่งในการสร้างหุ่นจำลองง่าย ๆ นี้ส่วนใหญ่มักใช้วัสดุที่สามารถดัดแปลงรูปได้ง่ายรวดเร็ว เช่น ใช้ดินเหนียว ดินน้ำมัน หรือกระดาษ เป็นต้น การออกแบบในขั้นนี้จึงกล่าวได้ว่าเป็นขั้นของการศึกษาปัญหาและพัฒนาแนวความคิดเบื้องต้น ( Preliminary Ideas ) เพื่อกำหนดปัญหาโดยชี้เฉพาะในสิ่งที่ต้องการ ( Problem Definition By Tdentification of Needs ) อันได้แก่
             1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล ( Collect data and Information )
             1.2 การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่ได้มา ( Assess / Analyse information )
             1.3 ตั้งรายการของความต้องการเป็นลำดับขั้นตอน (Establish and list Needs in order of Priority)
             1.4 ตั้งเกณฑ์สำหรับการประเมินผล ( Establish Criteria for Evaluation )

             ทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าวก็เป็นผลเนื่องมาจากกระบวนการศึกษาวิจัยเบื้องต้อน ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นโดย
ที่นักออกแบบจะนำผลที่ได้มาตั้งเป็นแนวสมมุติฐานในการออกแบบแล้วกำหนดขึ้นเป็นโครงร่างภาพตามแนวความคิด ( Sketch Ideas ) หลาย ๆ แบบด้วยการเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันในตลาด ทดสอบทดลองและประเมินผลแบบเพื่อการปรับปรุงดัดแปลงและวิเคราะห์ความสำคัญตามเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นตอนลำดับต่อมา

              - การศึกษาวิธีการใช้งานและมิติของผลิตภัณฑ์ ในสถานการณ์ที่จำกัด รูปทรง ที่บรรจุของเหลวข้น เช่น กาว หรือ ครีม ฯลฯ ว่าเครื่องมือลักษณะรูปร่างแบบใดที่ใช้ตัก , ควัก เอาเนื้อผลิตภัณฑ์ภาย ในออกมาได้หมดและเหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด
              - ภาพแสดงรูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องมือที่ใช้หลาย ๆ แบบที่เหมาะสมกับรูปร่างของบรรจุ ภัณฑ์และการใช้งานภายใน   

           - การสร้างหุ่นจำลองแบบง่าย ๆ ( รูป ) ด้วยกระดาษแข็งเพื่อศึกษาขนาด , สัดส่วนของตัวผลิตภัณฑ์
               - การศึกษารูปแบบของด้านกระทะที่ต้องการให้มีรูปร่างกระชับมือ และรับกับขนาดของอุ้งมือในขณะ
จับถือ ด้วยการทำหุ่นจำลองอย่างง่าย ๆ โดยใช้ดินน้ำมันห่อหุ้มแกนของด้ามจับ ( Clay study ) เพื่อการศึกษาร่องรอยและขนาดที่ปรากฏบนดินน้ำมันจริง ซึ่งทั้งนี้ก็ยังต้องศึกษาถึงขนาดของมือผู้ใช้ ด้วยว่ามีอายุเท่าใด เพื่อจะได้กำหนด ขนาด , สัดส่วนของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ได้ถูกต้อง

          2. ขั้นตอนการพัฒนาแบบ ( Desing Refine ment ) คือขั้นตอนของการขัดเกลาแบบร่างที่จะต้องมีการทดลอง ทดสอบ แนวความคิด อย่างพินิจพิจารณาตัดสินว่าจะยอมรับไม่ยอมรับหรือต้องแก้ไขปรับปรุง แแบบอย่างไรถ้าไม่ผ่านการยอมรับก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ ถ้าผ่านการยอมรับก็จะต้องเข้าสู่ขั้นการพัฒนาแบบด้วยการรายละเอียดของการจัดทำ ( Expand Performance Speci fication ) เช่น
          2.1 พัฒนาส่วนปลีกย่อยของแบบ ( Develop detailed desing )
          2.2 จัดเตรียมข้อมูลเอกสารประกอบการออกแบบ ( Preparem design documentation )
          2.3 คิดเทคนิคการจัดทำและคำนวณต้นทุน ( Predict technical performance and product costs )

          ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในแง่ของการผลิต ( Feasibility Study ) ว่าแบบที่เลือกขึ้นมาพิจารณานั้น มีความเหมาะสมและสัมพันธ์กันใน ขนาด สัดส่วน โครงสร้าง หน้าที่ใช้สอย วัสดุ กรรมวิธีการผลิต การลงทุนและการจัดการด้านอื่น ๆ มากน้อยเพียงใด เช่น
          - ผลิตภัณฑ์มีรูปร่างสวยงามดี แต่ใช้วัสดุสิ้นเปลืองมากหรือเกิดเศษวัสดุโดยเปล่าประโยชน์ มากเกินไป โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุสำเร็จรูป ในลักษณะคงรูปและจำกัดขนาด ดังเช่น แผนผนัง แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะ ท่อ แท่ง ท่อน แผ่นไม้ เป็นต้น ดังนั้นนักออกแบบจึงต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้สัมพันธ์กับข้อจำของวัสดุดังกล่าวด้วย
          - ผลิตภัณฑ์มีรูปร่างของส่วนยื่น ( Spine ) ส่วนเว้า ( Curve ) หรือลวดลายมากมายเกินไป อาจไม่เหมาะสมกับการสร้างแม่พิมพ์หรือการขัดเกลา ( Finishing ) ครั้งสุดท้ายทำให้เสีย เวลา เสียค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งก็หมายถึงต้นทุนการผลิตและการผลิตและราคาจำหน่ายต่อหน่วยจะ สูงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่ต้องขึ้นรูปด้วยการหล่อการฉีดวัสดุเหลวเข้าไปใน แม่พิมพ์ เช่น แก้ว หรือโลหะเป็นต้น ดังนั้น นักออกแบบก็ต้องคำนึงถึงความ เป็นไปได้ของกำลังการผลิต กรรมวิธีตลอดจนเรื่องจักรกลต่าง ๆ ในโรงงานผลิตด้วย
          - ผลิตภัณฑ์มีโครงสร้างดี แข็งแรงทนทานใช้วัสดุได้เหมาะสมแต่อาจจะมีน้ำหนักมากหรือมี ขนาดสัดส่วนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการบรรจุ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดซาก ซึ่งอาจ จะต้องมีการใช้วัสดุอื่นแทนหรือดัดแปลงโครงสร้างให้มีน้ำหนักเบาลงแต่ยังคงรักษาความแข็ง แรงและรับน้ำหนักได้เช่น เดิม หรือไม่ก็ปรับปรุงให้มีโครงสร้างที่ง่ายต่อการเก็บรักษา สามารถเรียงซ้อนหรือเรียงบรรจุได้อย่างประหยัดเนื้อที่ในการขนส่งเป็นต้น

- ภาพแสดงการพัฒนาโครงสร้างของโต๊ะที่สามารถแปรผัน ขนาดรูปร่างส่วนประกอบและ วัสดุ เพื่อหาความเหมาะสมสัมพันธ์กันระหว่างโครงสร้าง - ขนาด - น้ำหนัก - วัสดุ ที่มี ประสิทธิถาพและความงามที่ปรากฏออกมาได้ดีกว่า
          การให้ข้อมูลหรือรายละเอียดประกอบการออกแบบดังกล่าว จึงเท่ากับว่าเป็นการนำเสนอเพื่อการตัดสินใจในเบื้องต้น ( Preliminary Decision ) ที่ผู้ออกแบบจะต้องสื่อแสดงรายละเอียดของความคิดและมโนภาพต่าง ๆ เพื่อการชี้แจงให้ผู้อื่นได้ทราบถึงลักษณะ ของรูปลักษณะหน้าตา ( Feature ) สี ( Color ) ขนาดสัดส่วน ( Propoetion ) ของผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นหรือนำไปพัฒนาแบบด้วยการเขียนแบบสร้างจริง ( Working Drawing ) เพื่อการผลิตจริงในลำดับต่อไป
          3. การนำเสนอผลงานการออกแบบ ( Design Prosentation )
          ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบ ผู้ร่วมงาน ที่ปรึกษา และผู้ผลิตมีความเห็นชอบในแบบที่แก้ไขและพัฒนาแบบแล้ว ผ่านขั้นตอนการ ตัดสินใจที่แน่นอนแล้ว ในลำดับต่อมานักออกแบบจะต้องมีการนำเสนอแบบจริง ที่จะต้องนำมาซึ่งการสื่อความหมายความเข้าใจ อ่านแบบได้ และมีรายละเอียด ประกอบอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่ออธิบายแบบ หรือทำเสนอต่อผู้ที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตหรือร่วมออกแบบ ซึ่งอาจจะได้แก่ ผู้ผลิต วิศวกร นักการตลาด นักกฏหมาย ช่างเทคนิค ช่างฝีมือ และทีมงานฝ่ายโรงงานการผลิต ฯลฯ ให้เกิดความเข้าใจในแบบที่ทำเสนอได้ตรงกันจวบจนสิ้นกระบวนการ
         โดยปกติทั่วไป นักออกแบบผลิตภัณฑ์มักมีวิธีการนำเสนอผลงานการออกแบบอยู่ 2 ประการ ที่เป็นหลักใหญ่ คือ

           3.1 การนำเสนอในลักษณะ 2 มิติ ( Two Dimension )
           การนำเสนอแบบ 2 มิตินี้ตามปกติเป็นการออกแบบที่กินพื้นที่บนแผ่นระนาบที่รองรับ สามารถตรวจสอบความกว้าง ความยาวของระนาบที่รองรับได้ ออกมาตามตราส่วนที่กำหนด ( Scale ) แต่ไม่สามารถตรวจสอบความสูง หนา หรือลึกได้ โดยทั่วไปการนำเสนอในลักษณะ 2 มิติ นิยมใช้กระดาษเป็น ที่รองรับ ด้วยวิธีการเขียนแบบ ( Mechanical Drawing ) ลายเส้นแสดงโครงสร้างและสัดส่วนตลอดจนการขยายรายละเอียดแบบ ( Details ) ภาพตัด ( Section ) ภาพแสดงการประกอบ ( Assembly ) ของชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบความเข้าใจหรือสื่อความหมายให้ชัดเจน
           วิธีการเขียนสำหรับงานออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการนำเสนอ
การออกแบบ ( Design ) และการเขียนแบบ ( Mechanical Drawing ) เป็นกระบวนการทำงานที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เป็นการสานต่อจากการร่างภาพ ที่ต้องนำแนวความคิดสร้างสรรค์ในผลิตภัณฑ์ที่คิดไว้อย่างหยาบ ๆ มาเขียนแสดงให้เห็นรูปร่าง ที่ชัดเจนขึ้นบนพื้นระนาบของกระดาษ โดยการแสดงรูปร่าง ลักษณะขนาดสัดส่วน สัญลักษณ์ แสดงรายละเอียด ตลอดจนคำบรรยายต่าง ๆ ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถนำไปเป็นต้นแบบ ย่อ - ขยาย ทำเป็นของจริงขึ้นมาได้ การเขียนแบบจึงต้องมีการกำหนดมาตราส่วนบอกขนาดสัดส่วนต่าง ๆ ของรูปร่างผลิตภัณฑ์เอาไว้ด้วย

ลักษณะของการเขียนแบบสำหรับงานออกแบบผลิตภัณฑ์
           - การเขียนแบบ Orthographic Projection คือการเขียนภาพฉายเพื่อแยกให้เห็นมุมมองด้านต่าง ๆ ของวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ออกมาให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมทั้งมีการกำหนดที่แน่นอน เพื่อสามารถนำไปสร้างเป็นของจริงได้ มุมมองต่าง ๆ ที่ต้องแสดงได้แก่
           ก. ภาพด้านบนหรือแปลน ( Plan or Top View )
           ข. ภาพด้านหน้า ( Front Elevation )
           ค. ภาพด้านหลัง ( Back Elevation )
           ง. ภาพ ด้านข้าง ( Side Elevation )
           - การเขียนแบบ Pictorial Drawing
           เป็นการเขียนแบบเพื่องแสดงปริมาตรของรูปวัตถุในมุมมองต่าง ๆ กันซึ่งยังสามารถมองต่าง ๆ และด้านต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กัน และควรแสดงประกอบกันไปพร้อมกับการเขียนแบบ Orthographic Projectionเพื่อแสดงภาพลวงตา ( Illusion ) ออกมาในลักษณะแบบมองเห็นเป็นรูป 3 มิติ การเขียนแบบประเภทนี้นิยมที่จะแสดงอยู่ 3 วิธีการคือ
           ก. การเขียนแบบ Oblique คือการเขียนแบบที่แสดงปริมาตรของรูปวัตถุโดยเน้นด้านหน้าวางอยู่บนเส้นระดับ ตามมาตรส่วน และเห็นด้านบนด้านข้าง ด้านใด ด้านหนึ่ง โดยที่ด้านข้าง ( Side Elevation ) จะทำมุม 30 , 45 หรือ 60 องศากับเส้นระดับ การเขียนแบบในวิธีนี้สามารถจะฉายภาพ ( Project ) จากด้านหน้าไปด้านหลัง ในแนวขนานตามมุมองศาที่เท่ากันตลอดได้เลย ภาพที่แสดงจึงมีลักษณะเย้หรือเอียงไปเพียงข้างใดข้างหนึ่ง แต่สามารถวัดขนาดและ ตรวจสอบมาตราส่วนได้จริง เช่นเดียวกับขนาดของภาพแสดงรูปด้านต่าง ๆ           ข. การเขียนแบบ Isometric คือการเขียนแบบที่แสดงปริมาตรของวัตถุจากที่อยู่ใกล้ที่สุด มีลักษณะเย้หรือกางออกทั้งสองข้าง โดยทำมุม 120 องศาหรือเป็นภาพที่แสดงมุมบนเส้นระดับ 30 องศา ทั้งซ้าย - ขวาของเส้นตั้งฉากหรือ - 30 องศา - 60 องศา สามารถวัดขนาดได้จริง ตามส่วนมาตรา ส่วนของแบบ
            ค. การเขียนแบบ Perspective หรือการเขียนทัศนียภาพ คือการเขียนแบบที่เน้นการมองเห็นรูปวัตถุจริง ๆ ตามสายตาที่มองเห็น ด้วยการสมมุติการทำให้ไม่สามารถวัดขนาด และตรวจสอบมาตราส่วนที่แท้จริงในการเขียนภาพแสดงประกอบวิธีการอื่น ๆ ที่กล่าวมาเพื่อให้เห็นเป็นภาพ ที่ใกล้เคียงอัตราของจริง ตามสายตาที่มอง เพราะสามารถสร้างบรรยากาศแห่งการมองได้เป็นอย่างดี การเขียนแบบทัศนียภาพนี้ นิยมนำเสนอ 3 วิธีการดังเช่น
             - ทัศนียภาพแบบจุดเดียว ( One - Point Perspective ) เป็นการเขียนแบบที่แสดงด้านหน้าตรง และด้านบน ด้านข้างเล็กลงสู่จุดรวมสายตา เพื่อจุดสุดสายตา ( Vanishing Point ) ที่กำหนดไว้เพียงจุดเดียว           - ทัศนียภาพแบบ 2จุด ( Two - Point Perspective ) เป็นหลักการเขียนภาพทัศนียภาพที่เกิดขึ้นจากจุดรวมสายตา 2 จุด ซ้าย - ขวา
             - ทัศนียภาพแบบ 3 จุด ( Three - Point Perspective ) เป็นการเขียนแบบทัศนียภาพที่แสดงมุมมองใกล้ที่สุดและเน้นด้านบนหรือด้านล่างด้านใด ด้านหนึ่งของวัตถุให้เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ที่สุด เมื่อด้านข้าง สองด้านเล็กลงไปสู่จุดสายตา 2 จุดนั้น ด้านบนหรือด้านล่างที่ตรงกันข้ามกัยด้านที่มองเห็นใกล้ ยิ่งเล็กลงไปสู่จุดสุดสายตาอีกหนึ่งด้วย ทำให้การเขียนแบบ ทัศนียภาพในลักษณะนี้มี จุดสายตาร่วม 3 จุด ด้วยกัน โดย 2 จุดอยู่บนเส้นระดับสายตาและอีกจุดอยู่ตอนบนหรือตอนล่างของเส้นระดับสายตานั้น3.2 การนำเสนอแบบ 3 มิติ ( Three Dimension )
             การนำเสนอแบบ 3 มิติ นี้คือ การนำเสนอที่แสดงประมาตรของรูปทรงให้สามารถตรวจสอบหรือสัมผัสไดด้วยการสัมผัส โดย กินเนื้อที่ว่างในอากาศมองเห็นได้รอบด้าน ลักษณะของผลิตภัณฑ์นั้นบางครั้งนักออกแบบให้ดูอย่างเดียวก็อาจจะไม่สร้างความกระจ่างชัดความเข้าใจและสื่อความหมาย ให้เห็นรูปทรงที่แท้จริงได้ดี ดังนั้นนักออกแบบจึงควรที่จะต้องสร้างหุ่นจำลอง ( Model Making ) ขึ้นมาประกอบการอธิบายในลักษณะ 3 มิติดังกล่าว ซึ่งจะทำให้มองเห็นได้ง่ายเข้าใจได้เร็วขึ้น
            - วิธีสร้างหุ่นจำลอง ( Model Making )
           ก. การขึ้นรูปแบบอย่างง่าย ๆ ( Clay Studies ) หุ่นจำลองชนิดที่สร้างขึ้นอย่างง่าย ๆ นี้ไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียด และขนาดสัดส่วนที่ถูกต้อง อาจจะมีขนาดสัดส่วนเล็กกว่า ใหญ่กว่าความเป็นจริงก็ได้ เป็นการกำหนดโครงสร้างและรูปร่างที่เน้นให้เห็นรูปแบบของผลิตภัณฑ์อย่างคร่าว ๆ เพื่อเริ่มต้นศึกษาแบบของผลิตภัณฑ์ถึงโครงสร้างทั่วไป หน้าที่ใชสอย ความเหมาะสมกับสรีระร่างกาย และสัดส่วนของมนุษย์ ฯลฯ ซึ่งในการสร้างหุ่นจำลองในขั้นนี้มักใช้วัสดุที่สามารถเปลี่ยนรูป ปั้นเพิ่ม - ลด รูปทรงได้ง่ายเช่นการให้ดินน้ำมันปั้นแบบเป็นต้น
          ข. หุ่นจำลองเพื่อการศึกษารายละเอียด ( Scale Model ) เป็นหุ่นจำลองที่เน้นเฉพาะการศึกษาหาข้อมูลโดยเฉพาะคือหุ่นจำลองที่มีสัดส่วนแน่นอนจะเป็นการย่อส่วนให้เล็กลงหรือ
ขยายให้ใหญ่ขึ้นก็เป็นได้ สร้างขึ้นเพื่อการศึกษารายละเอียดเฉพาะอย่าง เช่น ประสิทธิภาพ การทำงาน หรือ เพื่อการศึกษารูปร่าง การทำแม่พิมพ์ ฯลฯ ซึ่งจะทำด้วยวัสดุประเภทใดก็ได้เช่น ดิน ปูน พลาสติค กระดาษ ไม้ ฯลฯ
          ค. หุ่นจำลองใกล้เคียงของจริง ( Mock up )เป็นหุ่นจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อนำมาแสดงโครงสร้าง ส่วนประกอบ รูปร่าง สีวัน ที่มีขนาดเท่าจริงหรือเลียบแนนให้เหมือนของจริงมากที่สุด เพื่อให้เป็นรูปลักษณ์ที่ปรากฏ ( Visval Form ) ที่อาจจะใช้เพื่อทดสอบความรู้สึกเกี่ยวกับสีสันหรือการประกอบกันกับลักษณะงาน
กราฟฟิค ที่สำเร็จรูป
          ง. หุ่นจำลองต้นแบบ ( Prototype ) เป็นหุ่นจำลองขั้นสุดท้าย ซึ่งจะใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบของขนาดวัสดุ ส่วนประกอบ และรายละเอียดอื่น ๆ ต้องเหมือนจริงทุกประการ เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปทดสอบทัศนคติของผู้บริโภคได้ ส่วนในกระบวนการผลิต แบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาจจะมี การผลิตผลิตภัณฑ์ทดสอบ ซึ่งเรียกว่า Pre - Production Prototype โดยการผลิตออกมาโดยเครื่องจักรและวัสดุเป็นจำนวนมาก ๆ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบในขั้นนี้ทดลองวางตลาด ทดสอบความรู้สึกของผู้บริโภค เกี่ยวกับสีสันรูปร่าง หรือประสิทธิภาพการทำงานจริง ( Workability ) ที่อาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย เช่น สีสันหรือลักษณะของการออกแบบกราฟฟิค ที่ประกอบในตัวผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

          4. กระบวนการผลิต ( Production ) ในกระบวนการผลิตนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตที่ได้รับงานเขียนแบบที่นักออกแบบนำเสนอ
มาให้แล้วซึ่งต้องดำเนินการผลิตตามแบบและข้อกำหนดต่าง ๆ ในรายละเอียดที่อธิบายประกอบไว้ หน้าที่ของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ในขั้นตอนนี้ จึงมีเพียงเป็นผู้ควบคุมคุณภาพการผลิต คอยติดตามแก้ปัญหาหรือข้อข้องใจที่ไม่แจ่มชัดที่อาจจะสื่อความหมายไม่ตรงกันทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จออก
มามีคุณค่าและเป็นไปตามความต้องการที่กำหนดร่วมกันไว้
           5. การประเมินค่า ( Appraisal )
ในขั้นนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายใในกระบวนการผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ในอันที่จะต้องมีการประเมินค่าของผลงานออกแบบว่า เมื่อสร้างจริงและนำไปใช้แล้วเกิดผลเช่นไร ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเสียค่าใช้จ่ายเท่า และการกำหนดราคาขายเท่าใดจึงจะเหมาะสม ดังนั้นหลักการตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การขนส่ง การบรรจุหีบห่อ และปัจจัยพิเศษอื่น ๆ จะเข้ามาเกี่ยวข้อง และปะทะสัมพันธ์ในกระบวนการสุดท้ายนี้ ผลที่ไดรับจากการประเมินค่า ประเมินราคา จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานทั้งหมดที่ดำเนินมา และจะมีค่าต่อการนำกลับไปปรับปรุงหรือข้อควรพิจารณาในการผลิตและออกแบบอีกต่อไป
หลักเกณฑ์ในการประเมินค่างานออกแบบพิจารณษได้ตามหลักการดังต่อไปนี้
             1. Functional คือการพิจารณาตามหน้าที่ใช้สอยที่ผลิตภัณฑ์มีคุณลักษณะ และลักษณะตามที่ได้กำหนดไว้ ได้แก่
             - หน้าที่การใช้งาน
             - ความสะดวกสบาย
             - ความปลอดภัย
             - ความเหมาะสมกับภาวะการใช้งาน
             - ประโยชน์ใช้สอย
            2. Structure คือการพิจารณาตามโครงสร้างโดยพิจารณาถึง รูปร่างลักษณะ, น้ำหนัก, ความแข็งแรงทนทาน , มีความคงทนในการใช้สอยมากน้อยเพียงใด
            3. Durability คือการพิจารณาถึงอายุหรือระยะเวลาของผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ใช้ในการออกแบบว่ามี
ความเหมาะประหยัด คุ้มค่า กับระยะเวลาและการใช้นานเพียงใด
            4. Ergonomic คือการพิจารณา ถึงการเอื้ออำนวยความสะดวกสบายของงานออกแบบที่มีผลต่อการทำไปใช้ และความเหมาะสมกับสรีระร่างกายสัดส่วนหรือความเคลื่อนไหวของมนุษย์
            5. Production คือการพิจารณาถึงคุณภาพของการผลิต เช่น
            - ความประณีตเรียบร้อยของผลงาน
            - มีการประสานงานที่ดี
            - แบบและรายละเอียดถูกต้องตามที่กำหนด
            - คุณภาพของผลผลิต
           6. Economics เป็นการพิจารณาถึงต้นทุนการผลิต เศรษฐกิจของการลงทุน ความคุ้มทุน หรือผลกำไร เป็นต้น
           7. Association คือการพิจารณามในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่าผลงานที่ออกแบบมานั้นสามารถสื่อความหมายได้ดี ต่อผู้ใช้ผู้พบเห็น มีการเผยแพร่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันอย่างได้ผล
           8. Asthetios คือการพิจารณาด้านความงามของผลิตภัณฑ์ เช่น โครงสร้าง สัดส่วน สีสัน การดึงดูด ความสนใจต่อผู้ใช้ ฯลฯ เป็นต้น
           หลักการทั้งแปดอย่างนี้เป็นเพียงแนวทางกว้าง ๆ ที่จะนำมาเป็นหลักการพิจารณาซึ่งอาจจะแตกแขนง แยกสาขาที่ละเอียดกว่านี้ ก็แล้วแต่ว่าผู้ผลิต ผู้ออกแบบต้องการความรัดกุม การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงใด หรืออาจจะขึ้นอยู่กับการเน้นเพียงข้อใดข้อหนึ่งให้เด่นเป็นพิเศษ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจจะผกผันขั้นตอนไปได้ ตามความต้องการหรือความเหมาะสมที่สามารถจะกระทำได้.



ที่มา : //www.prachid.8m.com


บรรณานุกรม 
ภาษาไทย 
พิชิต เลี่ยมพิวัฒน์ . การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กระดาษบางปะอิน, 2518 .
วิรุณ ตั้งเจริญ . การออกแบบ . กรุงเทพมหานคร : สำหนักพิมพ์วิณเวลอาร์ต , 2527
สาคร คันธโชติ . การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ . กรุงเทพมหานคร : สำหนักงานพิมพ์โอเดียนสโตร์ ,
2528 . 
ภาษาอังกฤษ 
Carpenter, Edwad K . Design Review . New York : Watson - Guptill Publication , 1979 .
Green , Peter . Design Education . London : The anchor Press Ltd , 1979
Gorp , Peter , ed . Living by design . London : Lund Humphries Publlshers Ltd . , 1978 .
Herz , Rodolf . Architects ' Data . London : Crosby Lockwood Staples , 1970
Heskett , John . Industrial Desigm . London : Thames and Fludon Ltd , 1980
Lorenz , Christopher . THE DESIGN DIMENSION Product Strategy and The Challenge of Glodal Maketing . New Yok : Basil Blratwell Inc . , 1986 . 
Schneider , Rita Marie . Interior Design Careers . New Jersey : Prentice Hall , Inc . , 1977
Sparke , Penny . An introduction to DESLGN AND CULTURE in the Twentieth Century . London : Allen & Unwin ( Publishers ) Ltd . , 1986 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้