รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูปแบบ

การปกครองท้องถิ่น (Local Government)

    การปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน ดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในท้องถิ่นที่เห็นสมควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง อันเป็นการดำเนินการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ และได้กำหนดให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

2. เทศบาล 

3. สุขาภิบาล 

4. ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนด 

   ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จะมีรูปแบบการปกครองท้องถิ่น 3 รูปแบบด้วยกันคือ 

องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนดได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองเฉพาะที่ และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นล่าสุด 

    ดังนั้นการปกครองท้องถิ่นของไทย จึงมี 6 รูปแบบด้วยกันคือ 

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

2. เทศบาล 

3. สุขาภิบาล

4. กรุงเทพมหานคร 

5. เมืองพัทยา 

6. องค์การบริหารส่วนตำบล 

     1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

    ประกอบด้วยฝ่านนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ เรียกว่า สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ฝ่ายบริหาร เรียกว่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับสมาชิกจะมีจำนวนแตกต่างกันออกไปตามจำนวนของประชาการในแต่ละเขตเลือกตั้ง

นายกองค์การบริการส่วนจังหวัด ทำหน้าที่ในการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เช่น

    - จัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะมูลฝอย

    - ดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม     - รักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น     - ส่งเสริมการท่องเที่ยว และการลงทุนในท้องถิ่น     -ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัด

        2.เทศบาล

   กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งได้กำหนดไว้ ตามประเภทของเทศบาลคือ 

1.     เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล

2.     เทศบาลเมือง   ได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด  หรือท้องถิ่นชุมชนที่มีประชาชนตั้งแต่  10,000  คน ขึ้นไป  ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง

3.     เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมชนที่มีประชาชน ตั้งแต่  50,000  คน ขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนคร

โครงสร้างของเทศบาล

เทศบาลมีโครงสร้างที่สำคัญแบ่งเป็น  2  ฝ่าย  คือ

1.  สภาเทศบาลเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของเทศบาล มีหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติ อนุมัติงบประมาณประจำปีของเทศบาล และควบคุมการบริหารกิจการของเทศบาล คณะเทศมนตรี  สมาชิกสภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี โดยมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาล ดังนี้

1. เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 12  คน 

2.  เทศบาลเมือง ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 18  คน 

3.  เทศบาลนคร ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 24  คน 

2.  นายกเทศมนตรี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี มีจำนวนกำหนดไว้ตามประเภทของเทศบาล ดังนี้ 

1.  เทศบาลตำบล มีนายกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรี 2 คน 

2.   เทศบาลเมือง มีนายกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรี 2 คน แต่ในกรณีที่เทศบาลเมืองแห่งใด มีรายได้จัดเก็บตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ให้มีเทศมนตรีเพิ่มได้อีก 1 คน 

3.   เทศบาลนคร มีนายกเทศมนตรี 1 คนและเทศมนตรีอีก 4 คน 

นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน  2  วาระไม่ได้ 

ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี จากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ด้วยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาล คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า

         3.องค์การบริหารส่วนตำบล

ประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติเรียกว่า สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และฝ่ายบริหารเรียกว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

- สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละ 2 คน - ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น -ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีเพียงหนึ่งหมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวน 6 คน ถ้ามี 2 หมู่บ้านจะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละ 3 คน

    นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่ในการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่ง เช่น

- รักษาความสะอาดของถนนหนทางและกำจัดขยะมูลฝอย

 - ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

- ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

- คุ้มครอง ดูแล และบำรุงักษาทรัพยากรธรรชาติและสิ่งแวดล้อม

        ารปกครองพิเศษ

     

 

            1.กรุงเทพมหานคร
 กรุงเทพมหานครเป็นองค์การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีขนาดใหญ่ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
 โครงสร้างของกรุงเทพมหานคร
 กรุงเทพมหานครแบ่งโครงสร้างออกเป็น  2  ฝ่าย  คือ
     1.  สภากรุงเทพมหานคร ( ฝ่ายนิติบัญญัติ ) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  กำหนดให้ประชาชนในแต่ละเขตปกครองเลือกสภากรุงเทพมหานครได้เขตละ  1  คน  ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมี  50  เขตปกครอง  มีสภากรุงเทพมหานครได้  50  คน
ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเบอร์เดียว  สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ทางนิติบัญญัติ  รวมทั้งควบคุมและตรวจสอบการทำงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร


     2.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ( ฝ่ายบริหาร )  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครใช้ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเบอร์เดียว  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นตามกฎหมาย โดยมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกิน  4  คน  ช่วยในการบริหารงานตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย

พื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็นเขตและแขวง ในแต่ละเขตจะมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหาร โดยมีสภาเขต ( สข.)  เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนภายในเขตนั้น ซึ่งแต่ละเขตมีสมาชิกสภาเขตอย่างน้อยเขตละ  7  คน  ถ้าเขตใดมีประชากรเกิน 100,000  คน  ให้มีสมาชิกสภาเขตได้เพิ่มอีก  1  คน  เศษของแสนถ้าเกิน  50,000  คน  ให้นับเป็น  100,000  คน  มีวารการดำรงตำแหน่งคราวละ  4  ปี

 

            2. เมืองพัทยา
  พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง  20  ปี  ที่ผ่านมา จึงทำให้ประชากรต่างถิ่นอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มจำนวนมาก  ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ผังเมือง  อาชญากรรม  และอื่น ๆ  เพื่อให้การบริหารเมืองมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว  รัฐบาลจึงกำหนดให้พัทยามีการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ เรียกว่า เมืองพัทยา  และมีตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  พ.ศ.  2542  กำหนดให้การบริการเมืองพัทยาประกอบด้วย สภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยา
  

โครงสร้างของเมืองพัทยา
  เมืองพัทยาแบ่งโครงสร้างออกเป็น  2  ฝ่าย
 1.  สภาเมืองพัทยา  ( ฝ่ายนิติบัญญัติ ) ประกอบด้วยสมาชิกสภาเมืองพัทยา  จำนวน  24  คน  มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา  มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี สภาเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ  รวมทั้งควบคุม และตรวจสอบการทำงานของนายกเมืองพัทยา
 2.  นายกเมืองพัทยา  ( ฝ่ายบริหาร ) มาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 วาระไม่ได้  นายกเมืองพัทยามีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของพัทยา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างเมืองพัทยา

แหล่งที่มา ://www.thaigoodview.com/node/16620?page=0,4

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้