ตําแหน่งประเภทบริหาร คือ ตําแหน่งใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินทรธนูข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับอำนวยการสูง ประกอบกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการสีกากี

ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน ซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน[1] (ฉบับปัจจุบันคือ พ.ศ. 2551) โดยการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือในบางกรณีอาจมีการมอบหมายให้กรมต้นสังกัด เป็นผู้ดำเนินการคัดเลือกฯ ซึ่งการสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)

ประวัติ[แก้]

ก่อนจะมีการจัดระบบการบริหารราชการ และระบบข้าราชการในประเทศไทย ได้กำหนดให้ข้าราชการมีบรรดาศักดิ์ มีลักษณะเป็นเป็นชั้นยศ (Rank) โดยแบ่งออกเป็น 9 ชั้น คือ

  • บรรดาศักดิ์ชั้น "นาย"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "พัน" หรือ "หมื่น"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "ขุน" (เป็นข้าราชการสัญญาบัตร)
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "หลวง"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "พระ"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "พระยา"
  • บรรดาศักดิ์ชั้น "เจ้าพระยา"
  • ส่วนบรรดาศักดิ์ "สมเด็จเจ้าพระยา" นั้น ต้องยกเป็นตำแหน่งพิเศษออกไป เพราะพระราชทานพิเศษเฉพาะตัวจำนวนไม่มาก จึงเป็นกรณีพิเศษ

กระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเป็นผู้วางรากฐานของข้าราชการพลเรือน ซึ่งทรงวางระเบียบข้าราชการพลเรือนเป็นครั้งแรก ให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472[2] จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันข้าราชการพลเรือน

การวางระเบียบข้าราชการพลเรือน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกสรรผู้มีความรู้และความสามารถเข้ารับราชการ โดยกำหนดให้มีข้าราชการ 3 ประเภท คือ

  • ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่รัฐบาลบรรจุแต่งตั้งไว้ตามระเบียบฯ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
    • ชั้นสัญญาบัตร (รองอำมาตย์ตรีขึ้นไป)
    • ชั้นราชบุรุษ
  • ข้าราชการพลเรือนวิสามัญ คือ บุคคลที่รัฐบาลจ้างไว้ให้ทำการเฉพาะอย่าง หรือระยะเวลาชั่วคราว
  • เสมียนพนักงาน คือ ข้าราชการชั้นต่ำ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามอัตราที่ตั้งไว้

การแบ่งระดับข้าราชการ[แก้]

อินทรธนูข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบัน

ในอดีตระบบราชการ ใช้การแบ่งระดับข้าราชการในรูปแบบของระบบศักดินา กระทั่งมีการวางระบบข้าราชการพลเรือนสามัญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 จึงเริ่มมีการวางรูปแบบระดับข้าราชการใหม่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ

ยุคระบบชั้นยศ[แก้]

เป็นการแบ่งระดับข้าราชการออกเป็นชั้นยศต่างๆ โดยข้าราชการพลเรือนสามัญจะแบ่งเป็น 5 ชั้น คือ ชั้นจัตวา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก และชั้นพิเศษ ส่วนข้าราชการพลเรือนวิสามัญจะแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ วิสามัญประจำราชการ ชั้นจัตวา และวิสามัญกิตติมศักดิ์ ยึดระบบชั้นยศ ลำดับอาวุโส และคุณสมบัติของบุคคลเป็นหลัก (Rank in Person)[3]

ยุคมาตรฐานกลาง 11 ระดับ[แก้]

เป็นการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยการใช้ระบบจำแนกตำแหน่งตามลักษณะงาน คุณภาพและความยุ่งยากของงานแต่ละตำแหน่ง หรือที่เรียกว่าระบบ PC (Position Classification) โดยกำหนดเป็นระดับตำแหน่งเป็นมาตรฐานกลาง (Common level) 11 ระดับ หรือ "ซี" เพื่อไว้ใช้ในการเปรียบเทียบค่างานในแต่ละส่วนราชการให้เป็นไปตามมาตรฐานกลางนี้ เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และเมื่อมีการปฏิรูปการทำงานในภาคราชการพลเรือน ให้ข้าราชการมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่กว้างขึ้น จึงได้มีการเปลี่ยนระดับมาตรฐานกลางใหม่ แต่มิได้มีการยกเลิกระบบ PC แต่อย่างใด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป

ยุคระบบลักษณะประเภทตำแหน่ง[แก้]

ในปัจจุบันข้าราชการพลเรือนสามัญ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีมาตรฐานกลางแต่ละระดับตำแหน่งแยกออกจากกัน และได้ยกเลิกมาตรฐานกลาง 11 ระดับเดิมที่ไม่ได้แยกประเภทตำแหน่ง (ยกเลิก ซี) แต่ยังคงมีการกำหนดตำแหน่งตามลักษณะของงาน และความยุ่งยากซับซ้อนของงานแต่ละตำแหน่ง (ระบบจำแนกตำแหน่ง) ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีผลตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ได้แก่

  • ประเภทบริหาร
    • ระดับสูง
    • ระดับต้น
  • ประเภทอำนวยการ
    • ระดับสูง
    • ระดับต้น
  • ประเภทวิชาการ
    • ระดับทรงคุณวุฒิ
    • ระดับเชี่ยวชาญ
    • ระดับชำนาญการพิเศษ
    • ระดับชำนาญการ
    • ระดับปฏิบัติการ
  • ประเภททั่วไป
    • ระดับทักษะพิเศษ
    • ระดับอาวุโส
    • ระดับชำนาญงาน
    • ระดับปฏิบัติงาน

การบรรจุแต่งตั้ง[แก้]

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ให้บรรจุและแต่งตั้งจากผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งนั้น โดยบรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

การสอบแข่งขัน การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ซึ่ง ก.พ. กำหนดโดย หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1004.1/ ว15 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2551

อัตราเงินเดือน[แก้]

ข้าราชการพลเรือนสามัญ ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจะได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราที่กำหนดไว้ ตามคุณวุฒิที่บรรจุแต่งตั้ง เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557[4] ซึ่งกำหนดอัตราเงินเดือนไว้ 34 คุณวุฒิ ประกอบด้วยคุณวุฒิหลัก เช่น

  • ปริญญาเอก บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 21,000 - 23,100 บาท
  • ปริญญาโท บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 17,500 - 19,250 บาท
  • ปริญญาตรี บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 15,000 - 16,500 บาท (ปริญญาตรี 5 ปี อัตราเงินเดือน 15,800 - 17,380 บาท)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 11,500 - 12,650 บาท
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 9,400 - 10,340 บาท

คุณสมบัติของบุคคลที่จะบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ[แก้]

ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

และไม่มีลักษณะต้องห้ามลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยให้แก่ข้าราชการพลเรือน ต้องมีระยะเวลาในการรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนถึงวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยมีแนวทางยึดตามระดับตำแหน่ง ดังนี้[5]

ประเภททั่วไป[แก้]

  • ระดับปฏิบัติงาน เริ่มขอ บ.ม. ถึง จ.ช.
  • ระดับชำนาญงาน เริ่มขอ ต.ม. (ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ต.ช.)
  • ระดับอาวุโส เริ่มขอ ท.ม. (ดำรงตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ท.ช.)
  • ระดับทักษะพิเศษ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช.)

ประเภทวิชาการ[แก้]

  • ระดับปฏิบัติการ เริ่มขอ ต.ม.
  • ระดับชำนาญการ เริ่มขอ ต.ช. (ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษ ขอ ท.ม.- ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับชำนาญการพิเศษมาแล้ว 5 ปี ขอ ท.ช.)
  • ระดับชำนาญการพิเศษ เริ่มขอ ท.ช. (ได้รับเงินเดือนขั้นสูงและได้ ท.ช. มาแล้ว 5 ปี ขอ ป.ม.)
  • ระดับเชี่ยวชาญ ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)
  • ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 13,000 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก)
  • ระดับทรงคุณวุฒิที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 15,600 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา เว้นกรณีลาออก)

ประเภทอำนวยการ[แก้]

  • ระดับต้น เริ่มขอ ท.ช. (ได้รับเงินเดือนขั้นสูงและได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ม.)
  • ระดับสูง ได้ ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)

ประเภทบริหาร[แก้]

  • ระดับต้น ได้ ท.ช. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ม. - ได้ ป.ม. มาแล้ว 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้ว 5 ปี ขอ ม.ว.ม. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. เว้นกรณีลาออก)
  • ระดับสูงที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 14,500 บาท เลื่อนชั้นตราตามลำดับได้ทุกปีจนถึง ป.ม. ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. เว้นกรณีลาออก)
  • ระดับสูงที่ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 21,000 บาท ได้ ป.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ป.ช. - ได้ ป.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ว.ม. - ได้ ม.ว.ม. มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ขอ ม.ป.ช. (ในปีที่เกษียณอายุราชการขอพระราชทานได้อีก 1 ชั้นตรา เว้นกรณีลาออก)

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
  2. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471
  3. //www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb/view.jsp?contentID=CNT0000358[ลิงก์เสีย]
  4. "หนังสือสำนักงาน ด่วนที่สุด ที่ นร 1008.1/ว20 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 เรื่องการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2014-01-07.
  5. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ยศข้าราชการพลเรือนของไทยในอดีต

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้