ฐานในการจัดเก็บภาษีได้แก่ข้อใด

Contents

โครงสร้างภาษี

68,348 views

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ภาษี  ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด จะมี 6 องค์ประกอบพื้นฐาน ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับภาษีอากรทุกประเภท เพราะแม้รายละเอียดจะแตกต่าง แต่ในเชิงโครงสร้างแล้วล้วนประกอบด้วย 6 ส่วนต่อไปนี้ทั้งสิ้น

1. ผู้เสียภาษี

กฎหมายต้องกําหนดว่า ผู้เสียภาษี เป็นใคร เพื่อให้คนนั้นรู้ว่าเขามีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ซึ่ง ภาษีแต่ละประเภทก็จะกําหนดตัวผู้เสียภาษีแตกต่างกันไป เช่น

  • ผู้มีเงินได้มีหน้าที่เสีย ภาษีเงินได้
  • ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

ดังนั้น คนคนเดียวอาจจะเสียภาษีมากกว่า 1 ประเภทก็ได้ ถ้ากฎหมายกําหนดเช่นนั้น

2. ฐานภาษี

เมื่อเราทราบแล้วว่าผู้เสียภาษี เป็นใคร ฐานภาษีจะเป็นตัวกําหนดว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เขาต้องเสียภาษีตามแต่ที่กฎหมายกําหนด เช่น

  • ภาษีเงินได้ กําหนดให้ฐานภาษี คือ รายได้
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม กําหนดให้ฐานภาษี คือ สินค้าหรือบริการซึ่งฐานภาษีจะเป็นตัวตั้งในการคํานวณภาษีต่อไป

3. อัตราภาษี

ส่วนนี้สําคัญมาก เพราะเราจะเสียภาษีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ อัตราภาษี ที่จะใช้คํานวณกับฐานภาษีประเภทนั้น อัตราภาษีก็มีได้หลายแบบ เช่น

  • อัตราก้าวหน้า บางครั้งเรียกว่าอัตราภาษีแบบขั้นบันได โดยอัตราภาษีจะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้นตามลําดับแบบขั้นบันได กล่าวคือ ถ้าฐานภาษีสูงขึ้นระดับหนึ่ง ผู้เสียภาษีก็จะรับภาระภาษีในสัดส่วนที่สูงขึ้นกว่าเดิมไปเรื่อยๆ อัตราก้าวหน้านี้จะยิ่งทําให้คนที่มีฐานภาษีสูงๆ ต้องรับภาระหนักขึ้นเรื่อยๆ
  • อัตราถดถอย จะตรงกันข้ามกับอัตราก้าวหน้า คือ ฐานภาษียิ่งสูง อัตราภาษียิ่งต่ำ นั่นหมายความว่าคนที่มีฐานภาษีสูงๆ จะรับภาระน้อยลงเรื่อยๆ
  • อัตราคงที่ คือ มีเพียงอัตราเดียวสำหรับฐานภาษีโดยไม่แปรผันขึ้นลงตามฐานภาษี
  • เหมาจ่าย คือ เก็บภาษีแบบเหมาเป็นเงินจำนวนที่แน่นอนโดยไม่สนว่าจะฐานภาษีอย่างไร

4. วิธีการเสียภาษี

เสียภาษีเท่าไหร่ว่าสําคัญแล้ว แต่การเสียภาษีต้องทําอย่างไรก็สําคัญไม่แพ้กัน เพราะหากไม่ทําให้ถูกต้องอาจพบปัญหาได้ วิธีการเสียภาษีนั้น กฎหมายจะกําหนดเอาไว้อีกเช่นกันว่า ผู้เสียภาษีต้องดําเนินการอย่างไรจึงจะเรียกได้ว่าเสียภาษีถูกต้องแล้ว

เช่น กฎหมายอาจจะกําหนดให้เราต้องประเมินภาษีด้วยตัวเอง เตรียมแบบฟอร์มให้ถูกต้องเอง คําานวณตัวเลขเอง ยื่นแบบฟอร์มเอง ชําาระเงินเอง แต่ถ้าคํานวณผิด จ่ายภาษีไม่ครบก็มีบทลงโทษหรือกฎหมายจะใช้วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วจบเลยก็ได้ หรือใช้ [วิธีประเมินภาษี] โดยเจ้าพนักงานก็ได้ แล้วแต่กรณี

5. การระงับข้อพิพาท

ความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องภาษี ดังนั้น หากเจ้าพนักงานเห็นว่าคุณคํานวณภาษีผิดพลาด จ่ายไม่ครบ เจ้าพนักงานก็ย่อมมีอํานาจโต้แย้งไม่เห็นด้วย

ในทางกลับกัน หากเจ้าพนักงานประเมินภาษี มาให้คุณแล้ว แต่คุณไม่เห็นด้วย คุณก็ย่อมมีสิทธิ์โต้แย้งไม่เห็นด้วยได้เช่นเดียวกัน การระงับข้อพิพาทจึงเป็นทางออกของความขัดแย้งเหล่านี้ว่าจะทําอย่างไรเพื่อให้ปัญหายุติ ซึ่งกฎหมายก็ได้กําหนดลําดับขั้นของการพิจารณาสําหรับภาษีแต่ละประเภท ซึ่งก็มีตั้งแต่ยอมรับและจ่ายภาษีไปตามนั้น จนไปถึงขนาดเป็นคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลกันเลยก็มี

6. การบังคับคดี

ในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายเองก็จะกําหนดขั้นตอนว่าในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่จ่ายจะทําอะไรได้บ้าง ซึ่งอาจจะรุนแรงถึงขั้นยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาจ่ายภาษีเลยก็ได้

ภาษีอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากไปสักหน่อย น่าปวดหัวไปสักนิด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เราทุกคนย่อมหนีเรื่องน่าปวดหัวนี้ไม่พ้น และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่รู้สึกว่า การคำนวณภาษีหรือวางแผนภาษีเป็นเรื่องน่าวุ่นวาย เราอยากให้คุณวางใจได้ เพราะ iTAX จะช่วยให้ปัญหาน่าปวดหัวเหล่านี้หมดไป เพราะคุณสามารถ คำนวณภาษี วางแผนภาษี พร้อมค้นหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี iTAX shop ได้แค่คลิกเดียว

ประเด็นสำคัญทางภาษี

          ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้า หรือ ให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ประกอบการค้าขายที่มีหน้าร้านทั่วไป ต้องนำรายได้นั้นมารวมคำนวณยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และมีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

          ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก
e-Commerce ไปรวมคำนวณกับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภ.ง.ด.94 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของ
ปีถัดไป

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่าย(เลือก)
หักค่าลดหย่อนตามกฎหมายจากการขายสินค้า1. เป็นการเหมา1. ส่วนตัวจาการให้บริการ2. ตามความจำเป็นและสมควร2. คู่สมรส
(หักค่าใช้จ่ายจริง)3. บุตร
4. เบี้ยประกันชีวิต
5. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
6. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
7. เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
8. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
9. ค่าลดหย่อนบิดา มารดา
10. ค่าเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตรพิการหรือทุพพลภาพ
11. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา12. เงินบริจาค13. อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

คำนวณภาษีวิธีที่ 1 อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1-150,000 บาท

150,001-300,000 บาท

300,001-500,000 บาท

10%

500,001-750,000 บาท
750,001-1,00,000 บาท
1,000,001-2,000,000 บาท
2,000,001-5,000,000 บาท5,000,001 ขึ้นไป

รายละเอียดตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป

คำนวณภาษีวิธีที่ 2

กรณีเงินได้ทุกประเภทไม่รวมเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร มีจำนวนรวมตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้นำยอดเงินได้
คูณด้วย 0.005
คำนวณภาษีจาก 2 วิธี แล้วให้ชำระจากยอดที่มากกว่า
เว้นแต่คำนวณภาษวีธีที่ 2 แล้วมีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท ให้ชำระตามวิธีที่ 1

          ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยเสียภาษีจากำไรสุทธิ ตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบแสดงรายการ
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละไม่เกิน 300,000 บาท
ยกเว้น300,001-3,000,000 บาท
15%3,000,001 บาทขึ้นไป20%

รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 603) พ.ศ. 2559 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

2. กิจการ SMEs มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้จากการขายหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้จดแจ้งการจัดทำบัญชีและ
งบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละ1 - 300,000 บาท
ยกเว้น300,001 บาทขึ้นไป
10%

รายละเอียดตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 595) พ.ศ. 2558 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560 เสียภาษีจาก
กำไรสุทธิ

3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีทั่วไป ที่ไม่ใช่กิจการ SMEs

กำไรสุทธิอัตราภาษี ร้อยละจำนวนกำไรสุทธิ
20%

รายละเอียดตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 42 เสียภาษีจากกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป

         ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ

ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้