การกระทําอันไม่เป็นธรรม มีกรณีใดบ้าง

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2562 มาตรา 118 , 120 , 121 และ 122

เอกสารแนบ

  • กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 287 : ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิรับเงินอะไรบ้าง? ดูแล้ว 985 ครั้ง

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรม

ท่านคิดว่าข้อมูลข่าวสารนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวนี้มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ส่งข้อมูล

✺วันนี้ตามที่ได้ไปให้คำปรึกษา (ขณะเขียน 02.04.2562) เป็นกรณีตามคำพิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีแรงงานที่ 10565/2559 พอดี และเช่นเคยครับ อาจารย์ขอแยกแยะอธิบายวิเคราะห์ ดังนี้

(1) ✎ผู้ที่ฟ้องคดีนี้ (โจทก์) เป็นลูกจ้าง และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซะด้วย ถูกข้อหาละทิ้งหน้าที่  ก่อเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงาน   ให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจซึ่งนายจ้างมองว่าเป็นกรณีร้ายแรง   จึงเลิกจ้างลูกจ้างรายนี้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ซึ่งเรื่องของเรื่องตัวลูกจ้างเองใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ว่านายจ้างเลิกจ้างเป็นการฝ่าฝืน พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 เรื่อง "การกระทำอันไม่เป็นธรรม" (ฅนละเรื่องกับ "การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม" ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522  มาตรา 49 นะ)

 

(2) คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณา และวินิจฉัยว่า  การที่นายจ้างไปเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 จึงไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของลูกจ้างซะ แต่ทว่าไม่ยอมครับ ลูกจ้างเห็นว่า คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย   จึงได้นำไปยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง  ซึ่งศาลแรงงานกลางได้พิพากษาว่า...   

2.1 การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างเป็นกรณีขณะเกิดเหตุ ลูกจ้างได้หยุดพักเครื่องจักร  โดยไม่ได้ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย  จึงไม่ถือว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรง  และ

2.2 เพื่อนร่วมงานซึ่งได้รับอันตรายจากการที่ลูกจ้างรายนี้ไปชกต่อย ก็ไม่ถึงขั้นบาดเจ็บร้ายแรง  

2.3 เหตุที่เกิดก็เพียงชั่วครู่ จิ๊บจ๊อย อย่าคิดเยอะว่างั้นเถอะ 

2.4 ภายหลังเกิดเหตุตัวลูกจ้างเองก็ยังกลับไปทำงานต่อ  

 

(3) ศาลแรงงานกลาง เห็นว่าไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในกรณีร้ายแรง   การที่นายจ้างไปเลิกจ้างลูกจ้างจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 123  เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม   เห็นสมควรให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง และพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ 

แน่นอนครับว่านายจ้างไม่ยอม ก็เลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา   

     

(4) ศาลฎีกา แผนกคดีแรงงานเห็นว่า...  

4.1 การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างโดยการปิดเครื่องจักรแล้วไปก่อเหตุหาเรื่องชกต่อย ทำให้เพื่อนร่วมงานได้รับบาดเจ็บ   และผู้ร่วมงานมิได้ตอบโต้  อันเป็นการกระทำความผิดอาญาข้อหาทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ  

4.2 พฤติกรรมดังกล่าวย่อมเป็นการให้เกิดความเสียหายแก่การปกครอง แตกแยกสามัคคี ผิดศีลธรรมอันดี  ทำให้จำเลยเสียหายเป็นกรณีร้ายแรง  

4.3 การที่นายจ้างออกระเบียบข้อบังคับฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติและดูแลบริหารจัดการพนักงานจำนวนมากให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข    และเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ย่อมแสดงให้เห็นว่า นายจ้างเองไม่ประสงค์ให้พนักงานทุกระดับกระทำการดังกล่าว และถือเป็นกรณีร้ายแรง    

4.4 การที่ตัวลูกจ้างได้เก็บความไม่พอใจไว้แล้วละทิ้งงานถึง 3 วัน  (แม้ไม่ใช่ 3 วันทำงานติดต่อกันฯ อันจะเลิกจ้างได้เลยก็ตาม) และเข้าทำร้ายเพื่อนร่วมงาน โดยไม่สนใจต่อกฎระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ไม่มีความยำเกรงต่อผู้บังคับบัญชา  จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกรณีร้ายแรง  การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม   พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องครับ 

 

✺ชนะในศาลแรงงานกลางอันเป็นศาลชั้นต้น แต่มาตกม้าตายแพ้ในศาลฎีกา คดีท้าทายอำนาจการปกครองบังคับบัญชาสั่งการนี่ ศาลฎีกาถือเป็นบรรทัดฐานมานมนานแล้วว่ามันเป็นเรื่องร้ายแรงถึงไล่ออกไม่จ่ายทั้งค่าบอกกล่าวล่วงหน้า (พคร.มาตรา 17 วรรคท้าย) และค่าชดเชย (พคร.มาตรา 119)

 

✎ข้อกฎหมายจากคำพิพากษาศาลฯ และเพิ่มเติมจากอาจารย์กฤษฎ์ในการวิเคราะห์ :

⚖️ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) (4) กรณีคดีนี้ร้ายแรงครับ (อาจารย์ขอยกมาทั้งมาตรา)

▫️(วรรค 1) : "นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จําเป็นต้องตักเตือน

หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร

(6) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก

ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย"

▪️(วรรค 2) : "การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอัน เป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้"2

 

⚖️ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2468 มาตรา 583

▫️ "ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือ ละเลยไม่นําพาต่อคําสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทําความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือ ทําประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้"

 

⚖️ ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 295

▪️ "ผู้ใดทําร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ" [อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560]

 

⚖️ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518  มาตรา 123 (3)  (อาจารย์ขอยกมาทั้งมาตรา)

▫️ "ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคําชี้ขาดมีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จําต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้ข้อบังคับ ระเบียบหรือคําสั่งนั้นต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดําเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง หรือ

(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทํางานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

(5) กระทําการใด ๆ เป็นการยุยง สนับสนุน หรือชักชวนให้มีการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคําชี้ขาด"

 

⚖️ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ.2477 มาตรา 57 (3)  (อาจารย์ขอยกมาทั้งมาตรา)

▪️(วรรค 1) :  "บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด

(1) ด้วยความสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจําเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือเมื่อตนมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยยื่นคําร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น

(2) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้นโดยยื่นคําร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคําพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจําต้องผูกพันตนโดยคําพิพากษาของศาลทุกประการเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย

(3) ด้วยถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดี (ก) ตามคําขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทําเป็นคําร้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีหรือ (ข) โดยคําสั่งของศาลเมื่อศาลนั้นเห็นสมควร หรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคําขอ ในกรณีที่กฎหมายบังคับให้บุคคลภายนอกเข้ามาในคดีหรือศาลเห็นจําเป็นที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีดังกล่าว แล้วให้เรียกด้วยวิธียื่นคําร้องเพื่อให้หมายเรียกพร้อมกับคําฟ้องหรือคําให้การ หรือในเวลาใด ๆ ต่อมาก่อนมีคําพิพากษาโดยได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อศาลเป็นที่พอใจว่าคําร้องนั้นไม่อาจยื่นก่อนนั้นได้"

▫️(วรรค 2) :  "การส่งหมายเรียกบุคคลภายนอกตามอนุมาตรานี้ต้องมีสําเนาคําขอ หรือคําสั่งของศาล แล้วแต่กรณีและคําฟ้องตั้งต้นคดีนั้นแนบไปด้วย"

▪️(วรรค 3) :  "บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ไม่ตัดสิทธิของเจ้าหนี้ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้และที่จะเรียกลูกหนี้ให้เข้ามาในคดีดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"

 

 

⚖️ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 33

▫️ "คําฟ้องคดีแรงงานให้เสนอต่อศาลแรงงานที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลแรงงานนั้น ถ้าโจทก์มีความประสงค์จะยื่นคําฟ้องต่อศาลแรงงานที่โจทก์หรือจําเลยมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตศาลแรงงาน เมื่อโจทก์แสดงให้ศาลแรงงานเห็นว่าการพิจารณาคดีในศาลแรงงานนั้น ๆ จะเป็นการสะดวก ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นคําฟ้องตามที่ขอนั้นก็ได้ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้ถือว่าสถานที่ที่ลูกจ้างทํางานเป็นที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น ไม่ว่าการดําเนินกระบวนพิจารณาจะได้ดําเนินไปแล้วเพียงใด ก่อนศาลแรงงานมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีคู่ความอาจร้องขอต่อศาลแรงงานที่โจทก์ได้ยื่นคําฟ้องไว้ขอให้โอนคดีไปยังศาลแรงงานอื่นที่มีเขตอํานาจได้แต่จะต้องยกเหตุผลและความจําเป็นขึ้นอ้างอิง เมื่อศาลแรงงานพิจารณาเห็นสมควรจะมีคําสั่งอนุญาตตามคําขอนั้นก็ได้แต่ห้ามมิให้ศาลแรงงานออกคําสั่งเช่นว่านั้น เว้นแต่ศาลแรงงานที่จะรับโอนคดีไปนั้นได้ยินยอมเสียก่อน ถ้าศาลแรงงานที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอมก็ให้ศาลแรงงานที่จะโอนคดีนั้นส่งเรื่องให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษชี้ขาด คําชี้ขาดของประธานศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษให้เป็นที่สุด"

 

♾∞♾∞♾∞♾∞♾∞

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ 

นักวิทย์ศิลป์ 

ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO 

ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย

ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง

| //AJK.bloggang.com

 

“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”

✺Credit : อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

Ref. : www.KRISZD.com

Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞaṭⒸ

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ นักวิทย์ศิลป์ Sc̫ίArϯίṧt

 

ωωω.ƘRISZD.ꉓom 

‪KDV@KRISZD.com‬ 

 

#สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #อาจารย์กฤษฎ์ #AJK #AjKriszd #SciArtist #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #นักวิทย์ศิลป์ #กฎหมายแรงงานในประเทศไทย #ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง #ผ่าประเด็นบริหารฅน #LabourProtection #LabourRelation #คดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน #สัญญาจ้างแรงงาน #อันดับ1คดีแรงงาน #ระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติ #คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ #คำพิพากษาศาลฎีกา #แผนกคดีแรงงาน #การกระทำอันไม่เป็นธรรม #กระทำผิดวินัยร้ายแรง #ปิดเครื่องจักร #หาเรื่องทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงาน #ผิดอาญา  #ไม่ยำเกรงเสียการปกครอง #แตกสามัคคี #ผิดศีลธรรม 

การกระทําอันไม่เป็นธรรม หมายถึงอะไร

การกระทําอันไม่เป็นธรรม หมายถึง การกระทําทีไม่สมควรและฝ่าฝืนกฎหมาย ทีมุ่งประสงค์คุ้มครองลูกจ้าง ในการใช้สิทธิของตน ในทางคุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์ แบ่งเป็น ก. การกระทําอันไม่เป็นธรรมโดยนายจ้าง (unfair employer practice) และ ข. การกระทําอันไม่ เป็นธรรมโดยสหภาพแรงงาน

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม มาตราไหน

ข้อกฎหมาย การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาความแรงงานมาตรา 49 นั้น จะต้องได้ความว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุ หรือเหตุในการเลิกจ้างไม่เพียงพอหรือเป็นการกลั่นแกล้งเลือกปฏิบัติกัน

กรณีการเลิกจ้าง มีกี่กรณี อะไรบ้าง

หากนายจ้างมีความจำเป็นที่ต้องเลิกจ้างคนงานเพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจ.
ต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน.
1. การเลิกจ้างกับการบอกกล่าวล่วงหน้า.
2. การเลิกจ้างกับการจ่ายค่าชดเชย.
3. เลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ อย่างไรถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม.

เมื่อเกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมแล้ว ลูกจ้างจะฟ้องผู้กระทำต่อศาลแรงงานได้หรือไม่ อย่างไร

จากที่ได้กล่าวมาแล้ว หากลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ได้รับค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด ลูกจ้างสามารถร้องเรียนไปยังพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ซึ่งสำนักงานของนายจ้างตั้งอยู่ หรือใช้สิทธิทางศาล โดยยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานซึ่งสำนักงานของนายจ้างอยู่ในเขตอำนาจ ทั้งนี้ ไม่ต้องใช้ทนายความ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้