การสร้างอุปนิสัยใหม่จะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

อุปนิสัยที่ 6 นี้จะเป็นเรื่องของการสร้างทีมงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดผลแบบทวีคูณ แบบที่เรียกว่า 1+1 ต้องได้มากกว่า 2 โดยต้องอาศัยการคิดแบบ Win-win เข้ามาประกอบ และก็ต้องอาศัยเรื่องของการเข้าใจผู้อื่นก่อน เข้ามาช่วย พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องนำเอาอุปนิสัยที่ 4 และ 5 เข้ามาประกอบด้วย จากนั้น ก็คือ เราจะต้องคิดต่อยอดออกไปให้ได้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์แบบที่ไม่เหมือนเดิม

การที่เราทำงานเป็นทีม แต่ผลที่ออกมาไม่ต่างกับการที่เราทำงานคนเดียว นั่นแปลว่า ไม่เกิด Synergy กรณีแบบนี้มักเกิดขึ้นบ่อยๆ กับ หัวหน้าทีมที่พยายามจะให้ลูกน้องคิดเหมือนตนเอง ทำในแบบที่ตนเองต้องการ และเมื่อทั้งทีมเชื่อฟังเราในฐานะหัวหน้า เราก็รู้สึกว่านี่แหละคือ การผสานพลังเพื่อให้เกิด Synergy แต่จริงๆ ตามหลักการของ 7 habits แล้วไม่ใช่เลยครับ เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น ก็เหมือนกับการที่หัวหน้าคิดคนเดียว ทำคนเดียว คนอื่นเป็นเพียงผู้ติดตาม และคอยทำตามคำสั่งเท่านั้น

ดังนั้นคำว่า Synergy ก็คือ การที่ทุกคนในทีมจะต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ช่วยกันคิด ต่อยอดจากสิ่งที่เคยทำๆ กันมา เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือเพื่อให้เกิดผลงานแบบทวีคูณได้ นี่คือทีมงานที่มี Synergy จริงๆ

ดังนั้นคนที่มีประสิทธิผลสูง ก็คือ คนที่สามารถดึงเอาความสามารถของคนอื่นออกมาใช้ และยังต้องสามารถผสมผสานความสามารถของแค่ละคนที่มีความแตกต่างกัน ให้เข้ามาเอื้อต่อผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อีกด้วย ดังนั้นคนที่จะสามารถสร้าง Synergy ได้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • Communication คือ การสื่อสาร จะต้องเป็นคนที่คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง สามารถที่จะสื่อภาษายากๆ ให้เป็นภาษาเข้าใจง่ายๆ ได้ เพื่อที่จะทำให้คนอื่นเห็นภาพเป้าหมาย เพื่อที่จะได้ช่วยกันสรรหาวิธีการไปสู่เป้าหมายแบบใหม่ๆ ได้นั่นเอง หลายๆ คนที่ไม่สามารถสร้าง Synergy ได้สาเหตุก็มาจากการที่เขาพูดไม่รู้เรื่อง พูดโดยใช้แต่คำศัพท์ที่เลิศหรู ภาษาเทพ ซึ่งทำให้ทีมงานงงเป็นไก่ตาแตก แล้วแบบนี้ใครจะมาช่วยคิดอะไรใหม่ๆ ได้ เพราะแค่เป้าหมายยังมองไม่เห็นเลย แล้วจะไปหาวิธีการไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร
  • Cooperation คือ การประสานและร่วมมือกัน การที่จะสร้าง Synergy ได้ คนที่เป็นผู้นำ หรือหัวหน้าทีม จะต้องมองเห็นจุดเด่นของทุกคนในทีม และสามารถที่จะดึงเอาจุดเด่นของแต่ละคนเข้ามาประสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ผิดกับหัวหน้างานบางคนที่พอเห็นลูกน้องบางคนบริหารยาก เป็นคนที่นิสัยไม่ค่อยดี ก็จะพยายามไม่ให้ลูกน้องคนนี้เข้ามามีส่วนร่วมกับงาน ทั้งๆที่เขาอาจจะมีอะไรดีๆ ก็ได้ ดังนั้นคนที่จะสร้าง Synergy ได้ก็คือ จะต้องไม่มองคนแบบฉาบฉวย แต่ต้องมองให้ลึกลงไป หาต้องหาจุดดีของแต่ละคนให้เจอ หรือบางคนคิดแค่เพียงว่า ถ้าใครคิดไม่เหมือนกับเรา ก็ไม่ต้องมาทำงานร่วมกัน แบบนี้ไม่ใช่คนที่จะสร้าง Synergy ได้เลยครับ

6 อุปนิสัยผ่านไป จะเห็นว่า การที่เราต้องการที่จะเป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงตามแนวทางของ 7 Habits แล้ว ไม่ใช่แค่การสร้างตัวเองเท่านั้น จะไม่เหมือนกับตำราในการพัฒนาตนเองให้ไปสู่ความสำเร็จ ที่ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ตัวเราเองมาก แต่ 7 Habits นั้น นอกจากสร้างตัวเองแล้ว เรายังต้องไปสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นด้วย เพราะในการทำงานของเรานั้น เราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้อย่างแน่นอน จะต้องมีเพื่อน มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นด้วย เพราะคนเราเป็นสัตว์สังคมนั่นเองครับ และที่สำคัญเราจะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

คุณเคยสงสัยไหมว่านิสัยคืออะไร? เกิดมาจากอะไร? แล้วทำไมแต่ละคนจึงมีนิสัยที่แตกต่างกัน วันนี้ Cariber มีคำตอบของคำถามเหล่านี้มาให้ และจะพาทุกคนไปรู้จักกับการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงนิสัย เพราะนิสัยที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของตัวเราเองในเวอร์ชันที่ดีกว่า

การสร้างนิสัยคืออะไร?

การสร้างนิสัยคือกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมของเราเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยอัตโนมัติหรือเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว นิสัยสามารถเกิดขึ้นได้โดยที่บางทีเราไม่ได้ตั้งใจที่จะรับมา แต่ก็สามารถปลูกฝัง พัฒนานิสัยที่ดี หรือขจัดนิสัยที่ไม่ดีออกไปได้เช่นกัน

นิสัยเกิดขึ้นจากอะไร?

ผู้คนได้รับและพัฒนานิสัยมานับไม่ถ้วนในระหว่างการใช้ชีวิตตามปกติโดยไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ซึ่งธรรมชาติของนิสัยเหล่านี้ทำให้ผู้คนตอบสนองต่อความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทว่าความจริงที่ว่านิสัยจะฝังรากลึกไปในสมองของเรานั้นแปลว่าบางนิสัยอาจจะสร้างปัญหามากกว่าข้อดี และนิสัยนั้นก็สามารถทำลายได้ยาก ดังนั้นการทำความเข้าใจก่อนว่านิสัยเกิดขึ้นมาได้อย่างไรน่าจะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้นก่อนที่เราจะพยายามกำจัดนิสัยบางอย่างที่ไม่ดีออกไป

ตัวอย่างของนิสัย

นิสัยมีทั้งที่ดีและไม่ดี การเผลอเอื้อมมือไปหยิบบุหรี่หลังจากตื่นนอนตอนเช้านับเป็นนิสัย หรือการที่หยิบรองเท้าวิ่งหลังจากกลับบ้านเพื่อเตรียมไปออกกำลังกายก็นับเป็นนิสัยเช่นกัน

แล้วทำไมคนเราถึงมีนิสัยล่ะ?

เหตุผลหนึ่งคือมนุษย์และนิสัยเป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กัน คนเราสามารถแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ได้โดยไม่รู้สึกเสียเวลาหรือพลังงานไปกับการพิจารณาว่าจะต้องทำอย่างไร และคนเรามีแนวโน้มที่จะสามารถตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพได้

อะไรที่ทำให้เกิดนิสัยแย่ๆ?

นิสัยถูกสร้างขึ้นจากการเรียนรู้และการทำสิ่งเดิมซ้ำๆ หลายคนพยายามพัฒนานิสัยของตนเพื่อไล่ตามเป้าหมาย เช่น การขับรถไปเที่ยวที่ไกลๆ หรือการได้ทานอาหารที่อร่อย โดยเริ่มเชื่อมโยงความต้องการบางอย่างกับการตอบรับที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การเลี้ยวรถไปบนถนนบางเส้นอย่างเคยชิน หรือการแวะกินข้าวที่ร้านประจำ และเมื่อเวลาผ่านไปความคิดและพฤติกรรมของเรามักจะถูกกระตุ้นโดยตัวชี้นำเหล่านั้นจนเคยชิน

HabitLoopคืออะไร?

Habit loop หรือวงจรของนิสัยเป็นวิธีการอธิบายองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนิสัย ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ถูกเรียกว่า ความต้องการ (หรือสิ่งกระตุ้น), กิจวัตร (หรือพฤติกรรม) และรางวัล ตัวอย่างเช่น ความเครียด (ซึ่งนับเป็นสิ่งกระตุ้น) อาจทำให้คนเราตอบสนองด้วยการกินมากขึ้น อาจสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ (พฤติกรรม) ซึ่งให้ผลตอบแทนคือความเครียดที่ลดลง (รางวัล) แม้อาจเป็นแบบชั่วคราวก็ตาม และผู้คนก็มักจะวนอยู่ในวงจรนี้ไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ตัว

นิสัยและกิจวัตรแตกต่างกันอย่างไร?

แม้ว่ากิจวัตรจะรวมถึงพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นเสมอเหมือนนิสัย กิจวัตรคือการที่เราล้างจานเป็นประจำหรือไปออกกำลังกาย โดยไม่ได้รู้สึกว่ามีแรงกระตุ้น แต่ทำไปเพราะความรู้สึกที่ว่าเราจำเป็นต้องทำสิ่งเหล่านี้

นิสัยที่ไม่ดีที่พบได้บ่อยที่สุดคืออะไร?

นิสัยที่พบเห็นได้มากที่สุด ได้แก่ การดื่มหรือกินมากกว่าปกติ การสูบบุหรี่ และการใช้ยาในทางที่ผิด ส่วนพฤติกรรมทั่วไปที่อาจเป็นอันตรายอื่นๆ เช่น การใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ มากเกินไป ทำให้นอนหลับยาก

ทำไมจึงเป็นเรื่องยากที่จะทำลายนิสัยที่ไม่ดี?

คนเราอาจไม่ได้ตระหนักถึงวิธีการทำงานของนิสัยของตัวเอง เพราะนิสัยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนเราทำสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ได้คิดถึงสิ่งเหล่านั้นมากจนเกินไป เพราะฉะนั้นการที่เราต้องการจะเลิกทำนิสัยที่ไม่ดีไม่สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ ซึ่งต้องอาศัยสติ การพิจารณาและความพยายามรวมเข้าด้วยกัน

การสร้างนิสัยที่ดี

นิสัยเก่าๆ นั้นยากที่จะแก้ และนิสัยที่ดีก็มักพัฒนาได้ยาก แต่การทำซ้ำๆ ก็สามารถสร้างและรักษานิสัยใหม่ไว้ได้ แม้แต่นิสัยที่ไม่ดีที่สั่งสมมายาวนานของคนๆ หนึ่งก็สามารถถูกทำลายลงได้ด้วยความมุ่งมั่นที่เพียงพอบวกกับวิธีการที่ชาญฉลาด

แล้วมีวิธีใดบ้างที่จะช่วยสร้างนิสัยที่ดีได้?

เมื่อพิจารณาจากบริบทและแรงกระตุ้นที่จะนำไปสู่การสร้างนิสัย การสร้างนิสัยที่ดีอาจรวมถึงการทำให้ตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่เรามีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการจะเป็นและทำซ้ำพฤติกรรมเหล่านั้น หลังจากนั้นเราจึงให้รางวัลเล็กน้อยกับตัวเอง เช่น การดูทีวีหรือฟังเพลงขณะออกกำลังกาย หรือเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นคือการที่เราเอาตัวเองไปไว้ในสภาพแวดล้อมที่ดีหรืออยู่ใกล้กับคนที่อยากจะเป็นนั่นเอง

แรงจูงใจช่วยสร้างนิสัยได้อย่างไร?

ในขณะที่แรงจูงใจจากภายในมีส่วนช่วยผลักดันให้ตัวเราเกิดพฤติกรรมต่างๆ แล้ว แรงจูงใจยังสามารถเป็นรางวัลที่ช่วยเราในการสร้างนิสัยได้ด้วยเช่นกัน โดยการทำให้ตัวเราเริ่มพยายามที่จะมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่คาดหวัง จนเกิดเป็นนิสัยในท้ายที่สุด เช่น การคาดหวังที่จะออกกำลังกายเป็นประจำ เมื่อเราทำสำเร็จเราจะรู้สึกว่าข้อดีต่างๆ ของการออกกำลังกายเป็นรางวัลของความพยายาม

การจะสร้างนิสัยใช้เวลานานแค่ไหน?

จริงๆ แล้ว ระยะเวลาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงตัวบุคคลและพฤติกรรมที่คาดหวัง แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะระบุว่าการสร้างนิสัยที่ดีอาจใช้เวลาหลายเดือน แต่บางคนอาจจะสามารถสร้างนิสัยใหม่ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์

ทำไมการเปลี่ยนแปลงนิสัยที่ไม่ดีจึงเป็นเรื่องยาก?

อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนแรกว่านิสัยคือพฤติกรรมที่ทำงานโดยอัตโนมัติ สมองของเราจึงยังไม่ทันพิจารณาว่าทำไมนิสัยที่ไม่ดีถึงเกิดขึ้นกับตัวเรา ดังนั้น นิสัยที่ไม่ดีก็ยังคงฝังแน่นและอยู่กับตัวเราในขณะที่เราก็(เคย)เผลอให้รางวัลกับนิสัยที่ไม่ดีเช่นกัน

แล้วสุดท้ายเราจะหยุดทำนิสัย(ที่ไม่ดี)ได้อย่างไร?

การพยายามพิจารณาอย่างมีสติว่า ‘ทำไมตัวเราถึงมีนิสัยที่ไม่ดี?’ รวมถึงพิจารณาตัวเลือกอื่นๆที่เราสามารถทำได้อาจช่วยได้ ดังนั้นเราอาจะใช้เวลาสักครู่หนึ่งเพื่อคิดทบทวนว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ตัวเราเกิดนิสัยที่ไม่ดี และลองประเมินสิ่งนั้นอีกครั้งหนึ่งว่าเราได้ (หรือไม่ได้) อะไรจากมัน หลังจากนั้นจึงพิจารณาและพึงระลึกไว้เสมอว่าทำไมเราถึงต้องการเปลี่ยนแปลงนิสัยนี้ รวมถึงวิธีการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องสะท้อนค่านิยมของตัวเราออกมาด้วยเช่นกัน

“การที่เรามีนิสัยแบบนึง พฤติกรรมแบบนึงก็จะพาเราไปสู่โลกแบบนึง ถ้าเราเริ่มเปลี่ยนนิสัย หรือสร้างนิสัยที่ดีขึ้นสักวันละ 1% ใน 1 ปี ตัวเราจะดีขึ้นประมาณ 37 เท่า” – กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้