ความสามารถทางคณิตศาสตร์ มีอะไรบ้าง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และทักษะพื้นฐานการคำนวนควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่ยังวัยเด็กเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียน และเสริมสร้างการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีกไปพร้อมๆกัน จริงแล้วๆการเสริมสร้างทักษะทางด้านนี้พ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถช่วยเตรียมความพร้อมให้กับบุตรหลานของท่านไปพร้อมกับการเรียนเสริมทางจินคณิตได้ง่ายๆดังต่อไปนี้

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกอบไปด้วย

  1. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กได้ง่าย เป็นเพราะว่าคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน
  2. ทักษะการจำแนกประเภทคือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วมจะขึ้นอยู่กับเด็กๆว่าจะเลือกใช้เกณฑ์ไหน แต่ส่วนใหญ่แล้วเด็กๆมักจะเลือกใช้เกณฑ์ความเหมือน และความแตกต่าง ในการจำแนกประเภทสิ่งของและเมื่อมีความเข้าใจในความเหมือน และความแตกต่างแล้วก็จะสามารถเข้าใจความสัมพันธ์ร่วมได้
  3. ทักษะการเปรียบเทียบคือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าเชือกเส้นที่ 1 ยาวกว่าเชือกเส้นที่ 2 นี่คือการแสดงความสัมพันธ์ของเชือกทั้ง 2 เส้น สั้น – ยาว ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือการเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  
  4. ทักษะการวัด จะพัฒนามาจากประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้วเช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
  5. ทักษะการนับคือ แนวคิดในการนับจำนวนเช่น การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน 
  6. ทักษะการสังเกต คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยให้มีส่วนร่วมโดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป
  7. ทักษะการจัดลำดับคือ การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์เรียกได้ว่าเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม  

ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณแบ่งได้ 3 ทักษะ

  1. ทักษะในการจัดหมู่
  2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
  3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด) 

    จะเห็นได้ว่าทักษะต่างๆเหล่านี้มักจะอยู่ในชีวิตประจำวันและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนเสริมอยู่เสมอจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้เด็กๆเข้าใจ

           คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผล  กระบวนการคิด  และการแก้ปัญหา  จึงกล่าวได้ว่าคณิตศาสตร์สามารถพัฒนาความคิด  ความมีเหตุ มีผล พัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณาญาณ พัฒนาทักษะการให้เหตุผล และการแก้ปัญหา พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์   ทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งการคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม  จึงมีความสำค้ญยิ่งในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้วิชาคณิตศาสตร์ยังใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง 
               ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คณิตศาสตร์ เนื่องจากนักการศึกษาคณิตศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็น  เพราะเป็นทักษะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะ สาระอื่น ๆ อันประกอบไปด้วย
    การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
    การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
    การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์
    การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
    ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
    แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
    1. การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
    2. กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
    3. การจัดการเรียนการสอนที่มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

    แหล่งที่มา
    สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2550). ทักษะ/กระบวนการทาง                        คณิตศาสตร์.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

    Advertisement

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    • Pinterest
    • Skype
    • Email

    Like this:

    ถูกใจ กำลังโหลด...

    Related

    ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

    กรกฎาคม 6, 2011

    ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

     

     

    ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ความหมาย : ความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นที่ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คือ การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น การแสดงเหตุผล การนำเสนอและการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์

    1. ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหา เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนควรจะรู้ ฝึกฝน และการพัฒนาให้เกิดทักษะขึ้นในตัวนักเรียนปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง สถานการณ์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ซึ่งเผชิญอยู่และต้องการค้นหาคำตอบโดยที่ยังไม่รู้วิธีการหรือขั้นตอนที่จะได้คำตอบของสถานการณ์นั้นในทันที
    การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอน/กระบวนการแก้ปัญหา ยุทธวิธีแก้ปัญหาและประสบการณ์ที่มีอยู่ไปใช้ในการหาคำตอบของปัญหาทางคณิตศาสตร์
    รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา

    ตามแนวคิดของโพลยา (Polya)
    ขั้นที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจปัญหาเป็นการคิดเกี่ยวกับปัญหาและตัดสินว่าอะไรที่ต้องการค้นหา โดยผู้เรียนต้องทำความเข้าใจปัญหาและระบุส่วนที่สำคัญของปัญหา
    ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนแก้ปัญหา เป็นการค้นหาความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและตัวไม่รู้ค่า นำความสัมพันธ์ที่ได้มาผสมผสานกับประสบการณ์ กำหนดแนวทางหรือแผนในการแก้ปัญหา
    ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการตามแผน เป็นการลงมือปฏิบัติตามแผนหรือแนวทางที่วางไว้ อาจตรวจสอบความเป็นไปได้ของแผน เพิ่มเติมรายละเอียด แล้วลงมือปฏิบัติจนได้ความสำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จต้องค้นหาและทำการแก้ปัญหาจนสามารถแก้ปัญหาได้
    ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบผล เป็นการมองย้อนกลับไปยังคำตอบที่ได้มา เริ่มจากการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมเหตุสมผลของคำตอบและยุทธวิธีแก้ปัญหาที่ใช้ มีคำตอบหรือยุทธวิธีอื่นในการแก้ปัญหานี้อีกหรือไม่

    2. ทักษะและกระบวนการ การให้เหตุผล หมายถึง กระบวนการการคิดทางคณิตศาสตร์ที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์และ/หรือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการรวบรวมข้อเท็จจริง/ข้อความ/แนวคิด/สถานการณ์ทางคณิตศาสตร์ต่างๆ แจกแจงความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงเพื่อทำให้เกิดข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ใหม่
    รูปแบบการให้เหตุผล
    1. การให้เหตุผลแบบสหัชญาณ เป็นการให้เหตุผลที่มาจากการใช้ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิดหรือสามัญสำนึก
    2. การให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นการให้เหตุผลที่มาจากกระบวนการที่ใช้การสังเกตหรือการทดลองหลายๆ ครั้ง แล้วรวบรวมข้อมูลเพื่อหาแบบรูปที่จะนำไปสู่ข้อสรุปซึ่งเชื่อว่า น่าจะถูกต้อง น่าจะเป็นจริง เรียกข้อสรุปที่ได้ว่า ข้อความคาดการณ์
    3. การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการให้เหตุผลที่มาจากกระบวนการที่ยกเอาสิ่งที่รู้ว่าเป็นจริงหรือยอมรับว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์แล้วใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ อ้างจากสิ่งที่รู้ว่าเป็นจริงนั้นไปสู่ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่

    3.ทักษะการสื่อสาร และการนำเสนอ เป็น กระบวนการถ่ายทอดข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารโดยนำเสนอ
    ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การดู การแสดงท่าทาง โดยมีการใช้สัญลักษณ์ ตัวแปร ตาราง กราฟ สมการ อสมการ ฟังก์ชันและแบบจำลอง ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์มาช่วยในการสื่อความหมาย

    4.ทักษะและกระบวนการ การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เป็น กระบวนการที่ต้องอาศัยการคิด วิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ ในการนำความรู้ เนื้อหาสาระและหลักการทางคณิตศาสตร์มาสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลระหว่างความรู้
    และทักษะ/กระบวนการที่มีเนื้อหาคณิตศาสตร์กับงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและการเรียนรู้แนวคิดใหม่ที่ซับซ้อนหรือสมบูรณ์ขึ้น
    รูปแบบการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
    1.การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็น การนำความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ไปสัมพันธ์กัน
    อย่างเป็นเหตุเป็นผลทำให้สามารถแก้ปัญหาได้หลากหลายวิธีหรือกะทัดรัดขึ้นและทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีความหมายขึ้น
    2. การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น เป็น การนำความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ไปสัมพันธ์กัน
    อย่างเป็นเหตุเป็นผลกับเนื้อหาและความรู้ของศาสตร์อื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์น่าสนใจ มีความหมายและนักเรียนเห็นความสำคัญในการเรียนคณิตศาสตร์

    5. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็น กระบวนการคิดที่อาศัยความรู้พื้นฐาน จินตนาการและวิจารณญาณ ในการพัฒนาหรือคิดค้นองค์ความรู้หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานที่สูงกว่าความคิดพื้นๆ เพียงเล็กน้อย ไปจนกระทั่งเป็นความคิดที่อยู่ในระดับสูงมาก องค์ประกอบของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม ความคิดละเอียดลออ

    Advertisement

    Share this:

    • Twitter
    • Facebook

    Like this:

    ถูกใจ กำลังโหลด...

    หมวดหมู่:

    Uncategorized

    กิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการ

    ความรู้ทางคณิตศาสตร์ มีกี่ประเภท

    จากทัศนะของนักการศึกษาดังกล่าว สรุปได้ว่า ความรู้ของครูทางคณิตศาสตร์ มี องค์ประกอบอยู่ 2 ลักษณะได้แก่ ความรู้ในมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และความรู้ในวิธีการ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยครูผู้สอนควรสอนความรู้เชิงมโนทัศน์ควบคู่กับความรู้เชิง ขั้นตอนหรือวิธีการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด ...

    ความรู้ทางคณิตศาสตร์ คืออะไร

    ความหมาย : ความสามารถที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นที่ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ คือ การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น การแสดงเหตุผล การนำเสนอและการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์

    ทักษะการคิดคำนวณ มีอะไรบ้าง

    ทักษะด้านการคิดคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีการใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ และการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆ เข้ามาใช้ในการคิดคำนวณต้นทุนของการจัดการด้านโลจิสติกส์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้