ใครมีหน้าที่บังคับใช้ประมวลรัษฎากร

พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481

1. เกริ่นนำ

        กฎหมายภาษีอากรสมัยใหม่ถูกบัญญัติขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร์ และรัฐบาลในขณะนั้น เพื่อความทันสมัยการบริหารแผ่นดิน และมีเงินรายได้ (Revenue) เพียงพอต่อการใช้จ่ายงบประมาณ เริ่มตั้งแต่ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติภาษีการค้า พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและประกันภัย พ.ศ. 2476 ซึ่งใช้ควบคู่กันไปกับกฏหมายภาษีอากรดั้งเดิมของประเทศไทยที่มีต่อเนื่องมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาทิ พระราชบัญญัติเงินรัชชูปการ พ.ศ. 2468 พระราชบัญญัติลักษณะเก็บเงินค่านา พ.ศ. 2468 พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บภาษีค่าที่ไร่อ้อย พ.ศ. 2464 พระราชบัญญัติเปลี่ยนวิธีการเก็บภาษียา ร.ศ. 119 และ ประกาศพระราชทานยกเงินอากรสวนใหญ่ค้างเก่า และเดินสำรวจต้นผลไม้ใหม่ สำหรับเก็นเงินอากรสวนใหญ่ ร.ศ. 130 ตามที่มีการยกเลิกโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481

        การมีกฎหมายภาษีอากรที่มุ่งจัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรหรือประชาชนหลายฉบับ เป็นสิ่งที่ไม่สะดวกในการบังคับใช้ และอาจสร้างความแตกต่างของมาตรฐานในการบริหารการจัดเก็นภาษีอากรได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 ขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2481 โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2482 หรือในอีก 1 ปีถัดมา เพื่อการเตรียมการใช้บังคับ และให้โอกาสแก่ประชาชนได้ศึกษาและรับทราบถึงเนื้อหาของกฎหมายภาษีอากรสมัยใหม่ทั้งหมด ในรูปของ "ประมวลรัษฎากร"

        คำว่า "รัษฎากร" มีรากศัพท์มาจากคำว่า "ราษฎร" สนธิกับคำว่า "อากร" โดยเปลี่ยนสระอา เป็นสระอะ ลดรูปเป็นไม้หันอากาศเพราะมีตัวสะกด ตัด "ร" และ "อ" ออก แล้วสนธิเข้ากัน เป็น "รัษฎากร" ซึ่งแปลว่า ภาษีอากรที่จัดเก็บจากราษฎรหรือประขาชน ดังนั้น "ประมวลรัษฎากร" จึงหมายถึง กฎหมายภาษีอากรที่จัดเก็บจากราษฎรในรูปพระราชบัญญัติหลายฉบับที่ถูกรวบรวมเข้ามาไว้เป็นกฎหมายฉบับเดียวในรูปของ "ประมวลกฎหมาย" หรือ ประมวลกฎหมายภาษีอากรทั้งหลายบรรดาที่จัดเก็บจากราษฎร

        เป็นธรรมเนียมปฏบัติของการตรา "ประมวลกฎหมาย" ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ที่กำหนดให้ต้องมี "พระราชบัญญัติให้ใช้" ซึ่ง "ประมวลรัษฎากร" ก็เป็นเช่นนั้นโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 ลำดับศักดิ์ของ "ประมวลรัษฎากร" จึงเทียบเท่ากับ "พระราชบัญญัต" หรือ "พระราชกำหนด" การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร จึงต้องแก้ไขด้วยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากัน คือ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร พ.ศ. .... หรือกฎหมายอื่นที่มีศักดิ์เทียยเท่าพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ (ปว.) ประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นต้น  

2. รูปแบบของกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัวทรงตราขึ้น

        2.1 มีคำว่า "พระราช" นำหน้าชื้อกฎหมาย เว้นแต่รัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการปกครองประเทศ เว้นคำว่า "พระราชนำหน้า" แต่ก็ต้องตราขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกัน 

        2.2 ท้ายชื่อกฎหมาย ระบุปีพุทธศักราช ที่ทรงตรากฎหมายนั้น ซึ่งสัมพันธ์ปีที่ทรงขึ้นครองราชย์ โดยจะเปลี่ยนแปลงในทุกวันที่ 1 ของปีพุทธศักราชที่ทรงครองราชย์ เช่น ปีพุทธศักราช 2481 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล หมายความว่า ทรงครองราชย์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2477 ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ให้นับปีพุทธศักราชที่ทรงขึ้นครองราชย์เป็นปีที่ 1 เมื่อเปลียนปีพุทธศักราชก็ให้นับเป็นปีที่ 2 และนับเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป

พระราชบัญญัติ

ให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร

พุทธศักราช 2481

-----------------------------------------

ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ.เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2481
เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน

         2.3 โดยทั่วไปในการตรากฎหมายนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ตามพะราชบัญญัติให้ใช่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 นั้น ผู้ที่ลงพระนาม ได้แก่ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ประกอบด้วย พลโท พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เนื่องจากในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ยังทรงพระเยาว์ และเสด็จนิวัติยังต่างประเทศ 

        2.4  เจตนารมย์ในการตรากฎหมาย จะแสดงไว้ที่หมายเหตุท้ายกฎหมายฉบับนั้น แต่สำหรับพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 ได้แสดงไว้ที่ย่อ หน้าแรกของกฎหมาย 

        2.5 มาตราแรกของกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตราขึ้น โดยทั่วไปจะเป็น "ชื่อกฎหมาย" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร

        2.6 มีการระบุวันที่กฎหมายใช้บังคับโดยแสดงให้เห็นชัดแจ้งในกฎหมาย

        2.7 มีผู้สนองพระบรมราชโองการ ตามหลัก The King can do no Wrong. ซึ่งปกป้องพระมหากษัตริย์ที่จะไม่ทรงถูกฟ้องร้องบังคับดดี จากการบัญญัิตกฎหมย ได้แก่ 

             (1) นายกรัฐมนตรี สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจในการบริการราชการแผ่นดิน

             (2) ประธานรัฐสภา สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจในทางนิติบัญญัติ

             (3) ปรธานศาลฎีกา สำหรับกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจในทางตุลาการ 

             (4) ประธานองคมนตรี สำหรับกฎหมายที่ด้วยองคมนตรี 

3. เจตนารมณ์ในการตรา "ประมวลรัษฎากร" 

        เจตนารมณ์ในการตรา "พระราชบัญญัติให้ใช่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 นับกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อการตรา “ประมวลกฎหมาย” ฉบับแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงกาปกครอง และเป็นรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน สามารถนำไปปรับใช้กับประมวลกฎหมายฉบับอื่นๆ ได้ มีเจตนา เพื่อรวบรวมกฎหมายภาษีอากรทั้งหลายบรรดาที่จัดเก็บจากประชาชน ที่รวมเรียกว่า “ภาษีสรรพากร” มาบัญญัติรวมกันไว้เป็นกฎหมายเพียงฉบับเดียว โดยคำนึงถึงหลักภาษีอากรที่ดิ และนำลักษณะภาษีอากรที่ดีทั้งหลายมากำหนดเป็นเจตนรมณ์ของกฎหมาย และเป็นมาตรฐานในการบัญญัติและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ความสำคัญของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร คือ มาตรา 3 ที่กำหนดให้ใช้ประมวลรัษฎากรตามที่ตราไว้แต่ท้ายพระราชบัญญัติฯ เป็น "กฎหมาย" อันเป็นรูปแบบที่สำคัญของ "ประมวลกฎหมาย" ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นผลให้ประมวลรัษฎากร มีศักดิ์เป็น พระราชบัญญัติฉบับหนึ่ง นอกจากนี้ ยังได้เห็นรอยต่อของกฎหมายภาษีอากรดั้งเดิม กับกฎหมายภาษีอากรสมัยใหม่ ที่ชัดเจนในปี พ.ศ. 2482 เป็นต้นมา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้