หัวใจเต้นเร็ว 140 ครั้งต่อนาที

หน้ามืดตาลาย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ อย่ามองข้าม เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ที่จริงอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ”และส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความเครียด และการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายคนจะไม่รู้ตัวเลย เนื่องจากมีอาการที่แตกต่างกันออกไป คิดว่าอาการเล็กน้อย บางคนอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใดๆ แต่บางคนอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น นั่นหมายความว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะแสดงอาการออกมาดังนี้

- อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที อาจจะส่งผลให้มีอาการมึนงง ใจหวิว ระดับความดันโลหิตต่ำลง และอาจทำให้เป็นลมหมดสติ

- อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่า 120 ครั้งต่อนาที อาจจะส่งผลให้มีอาการเหนื่อยง่ายเจ็บหน้าอก เสี่ยงภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตเฉียบพลัน

ทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การที่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะที่ยากจะควบคุม ต้องพบปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจสอบสมรรถภาพของหัวใจ หรือปัจจัยที่จะไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถตรวจได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram :ECG)

- การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test :EST)

- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram :Echo)

- การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความเครียด

ซึ่งที่โรงพยาบาลยันฮี เราพร้อมให้การบริการแก่ผู้เข้ารับการรักษา ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

หัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะหรือโรคที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ อาจช้าหรือเร็วกว่าคนปกติซึ่งมีอัตราการเต้นของหัวใจปกติอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที มีจังหวะสม่ำเสมอ และมักไม่รู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ ยกเว้นเวลานอนตะแคง บางครั้งอาจรู้สึกว่าหัวใจเต้นตุบๆ ในคนที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีอาการ น้อยรายที่รู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นสะดุด หรือวูบหายไป อาจรู้สึกใจสั่น หรือมีอะไรมาตอดที่บริเวณหัวใจ หรือหัวใจเต้นแรงกว่าปกติ บางครั้งเต้นเร็ว จนทำให้มีการสั่นบริเวณหน้าอก ถ้าหัวใจเต้นเร็วหรือช้ามากๆ อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ หัวใจวาย หรือเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะถือเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง อาจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ, หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ และหัวใจเต้นช้า-เร็วผิดจังหวะ สาเหตุเกิดจากมีจุดหรือบางตำแหน่งในหัวใจที่กำเนิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีจุดวงจรลัดไฟฟ้าเล็กๆ ภายในหัวใจ เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวมีขนาดเล็ก จึงไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งแตกต่างจากโรคหัวใจชนิดอื่นที่มักจะมีพยาธิสภาพขนาดใหญ่ เช่น ที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจ และพบร่วมกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่เกิด แต่โดยทั่วไปมักแสดงอาการเมื่ออายุ 20-40 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะกำเริบ เช่น การออกกำลังกาย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ยาบางชนิด ความเครียด ความวิตกกังวล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น                      

2) การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย/ ผู้ที่มีความเสี่ยง

1.  ชีพจรเต้นช้ากว่า  50  ครั้ง/นาที  เรียกว่า  หัวใจเต้นช้า  คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  เช่น  นักกีฬา  หัวใจจะเต้นช้า  อาจจะช้าลงถึง  40  ครั้ง/นาที  การที่หัวใจเต้นช้าจึงไม่ใช่สิ่งผิดปกติเสมอไป  นอกจากจะมีอาการหน้ามืดเป็นลม  เวียนศีรษะ  อ่อนเพลีย  หรือหมดสติด้วย  จึงถือว่าผิดปกติจำเป็นต้องรักษา
2.  ชีพจรเต้นเร็วกว่า  110  ครั้ง/นาที  เรียกว่า  หัวใจเต้นเร็ว  คนที่มีรูปร่างเล็ก  เช่นเด็กทารก  หัวใจยิ่งเต้นเร็ว  อาจเต้นถึง  110-120  ครั้ง/นาที  ในภาวะปกติ  นอกจากนั้น  คนที่ออกกำลังกายใหม่ๆ  หรือตื่นเต้น  โกรธ  กลัว  ตกใจ  หรือมีอารมณ์รุนแรงอื่นๆ  ก็จะมีหัวใจเต้นเร็วได้  ซึ่งถือว่าเป็นปกติ  แต่ถ้าหัวใจเต้นเร็วกว่า  100  ครั้ง/นาที  ตลอดเวลาแม้แต่ขณะหลับจะถือว่าผิดปกติ  ซึ่งในกรณีเช่นนี้จะต้องทำการรักษา  การเต้นชีพจรเร็วกว่า  100  ครั้ง/นาที  สามารถแบ่งตามสาเหตุการเกิดได้ดังนี้
             ก.  ชีพจรเต้นระหว่าง  100-160  ครั้ง/นาที  อัตราของหัวใจจะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย  เช่น  นาทีนี้จับชีพจรได้ 140  ครั้ง/นาที  อีก 2-3 นาที  จับชีพจรใหม่ได้  120  ครั้ง/นาที  หรือชีพจรในท่านั่ง  ท่านอน  และท่ายืนจะต่างกัน  เป็นต้น  ลักษณะการเต้นของหัวใจแบบนี้  เรียกว่า  หัวใจเต้นเร็วแบบธรรมดา  ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากความเคร่งเครียดกังวล  การออกกำลังกาย  และอารมณ์รุนแรงต่างๆ  ส่วนน้อยเกิดจากการมีไข้สูง  ภาวะคอพอกเป็นพิษ  และอื่นๆ
             ข.  ชีพจรเต้นมากกว่า  160  ครั้ง/นาที  และไม่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ  เช่น  นาทีนี้จับชีพจรได้  180 ครั้ง/นาที  อีก  2-3  นาที  ก็จับชีพจรได้เท่าเดิม  ไม่ว่าจะนอน  นั่ง  ก็จับชีพจรได้เท่ากัน  ลักษณะการเต้นของหัวใจแบบนี้  เรียกว่า  หัวใจห้องบนเต้นเร็ว  เกิดขึ้นเฉพาะบางคนที่มีการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม  เช่น  ทำงานหนักเกินไป  อดหลับอดนอน  เคร่งเครียด  สูบบุหรี่  ดื่มสุรา  ชา  กาแฟ  เป็นต้น
           จะเห็นได้ว่าจิตใจ อารมณ์ สภาวะร่างกายในขณะนั้นๆและพฤติกรรมส่วนบุคคลมีผลมากต่อชีพจร  ดังนั้นถ้าให้แนะนำการปฏิบัติตัวก็คงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติและหาสาเหตุด้วย จะได้รักษาได้ถูกจุด  เพราะถ้าปล่อยไว้ การที่หัวใจเต้นเร็วนั้น ทำให้หัวใจทำงานหนักมาก ซึ่งอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆเยอะมาก

3) การป้องกันไม่ให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ                                 

สำหรับการป้องกันและการรักษา หากผู้ป่วยไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง อาจไม่ต้องรักษา แต่ให้พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความเครียด ยาบางชนิด ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น และถ้ามีอาการพอสมควร อาจพิจารณารักษาด้วยการรับประทานยา

ผู้รับข้อมูล  q ผู้ป่วย   q อื่นๆ(โปรดระบุ)______________________ชื่อ___________________________________________

ผู้ให้ข้อมูล_____________________________________ผู้แปลภาษา(ถ้ามี)_________________________________________

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้