น้ำตาลในเลือด ปกติ เท่าไหร่

   การกำหนดเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้เป็นเบาหวาน แพทย์และผู้ป่วยจะร่วมกันกำหนดเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวานแต่ละราย โดยคำนึงถึงอายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน และโรคร่วมต่างๆ และช่วงเวลาที่เจาะตรวจ

ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานาน จะทำให้เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อ และอวัยวะบางอย่างในร่างกายอาจถูกทำลายได้ เมื่อหลอดเลือดเสียหายจะเพิ่มความเสี่ยงของอาการหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง และความเสียหายของเส้นประสาทอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อดวงตา ไต และบาดแผลที่รักษายากตามมา

น้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ถึงสูง

เมื่อเราเจาะเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

  • ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 70-100
  • ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 แสดงว่าอาจมีภาวะความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
  • ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 แสดงว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของน้ำตาลในเลือดสูง

ทำไมเราถึงมีน้ำตาลในเลือดสูง

อินซูลินเป็นฮอร์โมนในร่างกายของเราที่สร้างโดยตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นกุญแจสำคัญในการผลักให้น้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน หากเซลล์ในร่างกายของเราไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ ตับอ่อนจะสร้างอินซูลินมากขึ้นเพื่อให้เซลล์ตอบสนองจนในที่สุดตับอ่อนก็จะไม่สามารถเพิ่มระดับอินซูลินได้อีก ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน และจะพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไป

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เรามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงคือ:

  • มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • มีน้ำหนักเกินกว่าปกติ
  • มีความดันโลหิตสูงหรือคอเลสเตอรอลสูง
  • เป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

อาการของผู้ที่เป็นเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง

อาการของผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมักเกิดขึ้นทีละน้อยและอาจเริ่มขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก

อาการทั่วไป ได้แก่ :

  • รู้สึกกระหายน้ำมาก
  • ปัสสาะวะมากและบ่อย
  • รู้สึกเหนื่อย หรืออ่อนเพลีย
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • น้ำหนักลด เป็นต้น

ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ อาจพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

โรคเบาหวาน คือ

โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย

เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป ร่างกายจะสลายอาหารบางส่วนเป็นน้ำตาล (กลูโคส) และปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มันจะส่งสัญญาณให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินออกมา ซึ่งอินซูลินทำหน้าที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำให้น้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน

โรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายของเราผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือไม่สามารถใช้งานได้ดีเท่าที่ควร เมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์หยุดการตอบสนองต่ออินซูลิน น้ำตาลในเลือดจะสูงอยู่เป็นเวลานาน เมื่อเวลาผ่านไป อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจ สูญเสียการมองเห็น โรคไต เป็นต้น”

โรคเบาหวาน มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีสาเหตุจากอะไร

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาการของโรคเบาหวาน จะมีลักษณะคล้ายกับอาการของผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาการจะมากขึ้น หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น

สัญญาณและอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักเกิดขึ้นช้า ผู้ป่วยอาจอยู่กับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้นานหลายปีโดยไม่รู้ตัว อาการที่พบได้ ได้แก่

  • กระหายน้ำมากขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อย
  • หิวบ่อย
  • น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • แผลหายช้า
  • ติดเชื้อบ่อย
  • ชาตามมือและเท้า

เป็นต้น

อาการของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานมี 3 ชนิดหลักๆ คือ
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานชนิดที่ 1
เกิดจากร่างกายของเราไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะพบประมาณ 5-10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด มักตรวจพบในเด็กเล็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายทุกวัน และปัจจุบันโรคเบาหวานชนิดนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2
เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะพบประมาณ 90-95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โดยการดำเนินของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักใช้เวลาหลายปี โดยมากมักได้รับการวินิจฉัยในผู้ใหญ่ (แต่ปัจจุบันพบมากขึ้นเรื่อยๆ ในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถป้องกันได้ด้วยการมีวิถีชีวิตที่ช่วยให้มีสุขภาพดี เช่น กินอาหารเพื่อสุขภาพ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับปกติ เป็นต้น

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ มีหลายปัจจัยที่สามารถส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ขึ้นได้ เช่น ปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ ปัจจัยด้านอายุ สตรีที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปก็มีความเสี่ยงมากขึ้น เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญหลายอย่าง รวมถึงหัวใจและหลอดเลือด เส้นประสาท ดวงตา และไต นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังร้ายแรงอื่นๆ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนและโรคอื่นๆ ที่เป็นร่วมอยู่ได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานที่พบบ่อย ได้แก่:

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และการตีบของหลอดเลือด (atherosclerosis)
  • เส้นประสาทบริเวณแขนขาถูกทำลายเสียหาย หากมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน เมื่อเวลาผ่านไปเส้นประสาทจะถูกทำลาย ส่งผลให้รู้สึกซ่า ชา แสบร้อน ปวด หรือสูญเสียความรู้สึกในที่สุด ซึ่งมักจะเริ่มต้นที่ปลายนิ้วเท้าหรือนิ้วมือ แล้วค่อยๆ ลามขึ้นไป นอกจากนี้ยังอาจพบความเสียหายต่อเส้นประสาทของหัวใจ ซึ่งสามารถนำไปสู่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความเสียหายของเส้นประสาทในระบบย่อยอาหารอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงหรือท้องผูก สำหรับผู้ชาย ความเสียหายของเส้นประสาทอาจทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศได้
  • โรคไต โรคเบาหวานอาจนำไปสู่โรคไตเรื้อรังหรือโรคไตระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งอาจต้องฟอกไตหรือปลูกถ่ายไตในที่สุด
  • โรคตา โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตาร้ายแรง เช่น ต้อกระจกและต้อหิน และอาจทำลายหลอดเลือดของเรตินา ซึ่งอาจนำไปสู่การตาบอดได้
  • ปัญหาผิว โรคเบาหวานอาจทำให้ผิวหนังอ่อนแอ ส่งผลให้ติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น
  • แผลหายช้า นอกจากนี้ บาดแผลและแผลพุพองที่ติดเชื้อรุนแรง หากรักษาไม่ดี อาจรุนแรงถึงต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือขาได้
  • ปัญหาทางการได้ยิน ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พบมากในผู้ที่มีภาวะอ้วนร่วมด้วย
  • ภาวะสมองเสื่อม เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์และความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่ดีนั้นเชื่อมโยงกับความจำและทักษะการคิดอื่นๆ ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว

โรคเบาหวาน วิธีรักษา

การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด การฉีดอินซูลิน หรือใช้ยาทั้งสองอย่าง

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น
รวมถึงการออกกำลังกาย และการลดน้ำหนักหากน้ำหนักเกินกว่าปกติ

การใช้ยา

หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่ได้ผล ผู้ป่วยยังมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมาก แพทย์จะสั่งใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีทั้งในรูปแบบรับประทานและยาฉีดเข้าผิวหนัง

วิธีป้องกัน โรคเบาหวาน

ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงในระยะเริ่มต้น

การปรับวิถีชีวิตให้เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ แม้ว่าจะมีญาติทางสายเลือดที่เป็นโรคเบาหวานก็ตาม

หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นเบาหวาน การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจชะลอหรือหยุดการลุกลามไปสู่โรคเบาหวานได้

ระดับน้ำตาลในเลือดปกติคือเท่าไร

ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่าง 70-100 คุณอยู่ในภาวะปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 คุณมีภาวะความเสี่ยง หรือเรียกว่า เบาหวานแฝง ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

การตรวจน้ําตาลในเลือด มีกี่แบบ

ตรวจเบาหวานตรวจอะไรบ้าง?.
1. การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาช่วงอดอาหาร.
2. การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาช่วงเวลาปกติ.
3. การตรวจน้ำตาลสะสมในเลือดฮีโมโกลบิน.
4. การทดสอบความทนต่อกลูโคส.
5. ตรวจปัสสาวะ.

ค่าน้ำตาล 140 สูงไหม

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ค่าปกติ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิน 99 มก./ดล. หลังอดอาหาร 8 ชม. มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เกิน 140 มก./ดล. หลังมื้ออาหาร 2 ชม.

น้ําตาลในเลือดสูงเกิดจากอะไรได้บ้าง

สาเหตุ ของการเกิดน้ำตาลในเลือดสูง.
คุมเบาหวานได้ไม่ดี รับประทานอาหารมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย รับประทานยา หรือฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอ.
การเจ็บป่วยรุนแรง เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีภาวะติดเชื้อ.
ได้รับยาต้านอินซูลิน เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้