ค่าเสื่อมราคาทางภาษี เช่าซื้อ

1.การคิดค่าเสื่อมราคาเป็นการปันส่วนต้นทุนสินทรัพย์อย่างมีระบบจนครบอายุการใช้งาน ค่าเสื่อมราคาที่เกิดในรอบบัญชีต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย

2.เป็นการยึด หลักความสม่ำเสมอ ในการสะท้อนภาพประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่ได้รับสินทรัพย์ทุกรอบระยะเวลาบัญชี

3.กรณีแยกส่วนประกอบตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) (Component accounting) ให้คิดค่าเสื่อมราคาส่วนประกอบที่ถูกแยก ซึ่งส่วนประกอบที่จะแยกนั้นจะต้องเป็นส่วนที่มีนัยสำคัญแยกต่างหากจากกันด้วย

4.จะคิดค่าเสื่อมเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งาน

ผมขอแนะนำให้ใช้หลัก 3 ข้อในการพิจารณา

4.1 Location (อยู่ในสถานที่ที่ต้องการใช้งาน)

4.2 Condition (อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน)

4.3 Intention USE

5. สิ้นสุด/หยุดคิด/เลิกคิดค่าเสื่อมราคา

เมื่อเข้าเงื่อนไข

5.1 เมื่อมีการจำหน่าย ขายทิ้งไป

5.2 กิจการจะไม่ได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นอีกต่อไป เช่น เมื่อสินทรัพย์นั้นสูญหาย, เมื่อมีการตัดออกจากบัญชี

5.3 เมื่อจัดมีการจัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะขายให้เสร็จภายในอนาคตอันใกล้

หลักการภาษี
1. ตามนัยมาตรา 65 ทวิ (2) การหักค่าสึกหรอ หรือค่าเสื่อมราคาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขใน พรฎ.#145 และ ป.3/2527
2. คิดค่าเสื่อมราคาไม่เกิดอัตราที่กำหนด และพรฎ.#145 ไม่ได้กำหนดให้หักจนหมดมูลค่า
3. อายุการใช้งานต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนด
4. กฎหมายกำหนดให้คำนวณตามระยะเวลาที่ได้มาเป็นรายวัน

จะเห็นว่าจากที่จำแนกความแตกต่างของประเด็นค่าเสื่อมราคาระหว่างหลักการบัญชี กับหลักการภาษีไปแล้วนั้นเป็นการกล่าวถึงค่าเสื่อมราคาที่เกี่ยวกับสินทรัพย์กรณีทั่วไป แต่ยังมิได้กล่าวถึงสินทรัพย์ที่มีประเด็นทางภาษีอีกประเภทหนึ่ง ก็คือ ‘รถยนต์’ ซึ่งเรื่องนี้ ถ้าพูดในภาพของหลักการบัญชี ขอยกตัวอย่างประกอบจะได้เห็นภาพมากขึ้นนะครับ สมมติว่ากิจการซื้อรถยนต์นั่ง (ไม่เกิน 10 ที่นั่ง) ราคา 1,399,000 บาท หลักการบัญชี ต้นทุนของสินทรัพย์ (รถยนต์) ที่บันทึกบัญชีจะเท่ากับ 1,399,000 บาท ซึ่งเวลาคิดค่าเสื่อมราคา (ตามหลักการบัญชี) ก็คิดจากยอดดังกล่าว แต่สำหรับหลักการภาษีรถยนต์นั่ง (ไม่เกิน 10 ที่นั่ง) ต้นทุนของสินทรัพย์ที่จะนำไปคิดค่าเสื่อมราคาจะใช้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท ทั้งนี้ ผู้ทำบัญชีจะต้องพิจารณาดูประเด็นของรถยนต์คันดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะกฎหมายก็ได้มีการยกเว้นให้กับธุรกิจรถเช่า โดยรถยนต์ที่ซื้อมานั้นก็จะสามารถคิดค่าเสื่อมราคาได้จากต้นทุนของสินทรัพย์ (ตามหลักการบัญชี) ซึ่งก็เป็นไปตามนัย พรฎ.#505

อย่างไรก็ตาม หลักการบัญชียังมีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีหากมีการจำหน่าย (ขายรถยนต์) ต้นทุนที่เหลือจากการคิดค่าเสื่อมเมื่อเทียบกับราคาขาย ผลต่างสามารถถือเป็นกำไร หรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน แต่หลักการภาษีนั้นมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างไปคือ เมื่อขายไป ต้นทุนส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท สำหรับบริษัททั่วไป (ที่ไม่ใช่ธุรกิจรถเช่า) ห้ามนำมาเป็นค่าใช้จ่าย ในทางกลับกันถ้าเป็นธุรกิจให้เช่าซื้อ/ให้เช่า สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งก็เป็นไปตามนัย พรฎ.#315, มาตรา 65 ตรี (20) และ พรฎ.#145

พาดพิงมาถึงธุรกิจให้เช่าซื้อ ก็อดพูดถึงประเด็นของค่าเสื่อมราคา กรณีของสินทรัพย์ที่มีการเช่าซื้อไม่ได้ครับ ประเด็นนี้ก็มีความแตกต่างที่เห็นชัดเจนในเรื่องของต้นทุนสินทรัพย์ที่จะใช้คิดค่าเสื่อมราคา เพราะหลักการบัญชีนั้นต้นทุนของสินทรัพย์จะไม่รวมดอกผลจากการเช่าซื้อ ไว้เป็นต้นทุน ซึ่งเมื่อมีการเช่าซื้อมา จะทำบันทึกบัญชีโดย

วันที่ได้มาบันทึกรับรู้ทรัพย์สินชำระค่างวด & บันทึกดอกเบี้ยจ่ายเมื่อบันทึกค่าเสื่อมราคาเดบิต  สินทรัพย์ / ทรัพย์สินเดบิต  เจ้าหนี้เช่าซื้อเดบิต ค่าเสื่อมราคาเดบิต ดอกเบี้ยจ่ายรอตัดบัญชีเดบิต  ดอกเบี้ยจ่ายเครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสมเครดิต  เงินสด/เงินฝากธนาคารเครดิต เงินสด/เงินฝากธนาคารเครดิต  เจ้าหนี้เช่าซื้อเครดิต ดอกเบี้ยจ่ายรอตัดบัญชี

แต่หลักการภาษีนั้น ได้แจกแจงไว้ตามนัย พรฎ.#145 มาตรา 7 และคำสั่งกรมสรรพากร ป.3/2527 สรุปได้ว่า สินทรัพย์/ทรัพย์สินที่มีการเช่าซื้อมานั้น คิดค่าเสื่อมราคาตามต้นทุนทั้งหมดที่ต้องชำระตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่จะนำมาหักในรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อหรือราคาที่ต้องผ่อนชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

     ซึ่งคำนวณตามราคาซื้อเงินสด และจำนวนดอกผลจากการให้เช่าซื้อ ส่วนที่เกินกว่าค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางภาษีอากรให้บริษัทฯ บวกกลับในการปรับปรุงกำไรสุทธิทางภาษีอากร ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ดังนั้น หากราคารถยนต์นั่ง 1.9 ล้านบาท เป็นราคาเงินสด นอกจากจะบวกกลับค่าเสื่อมราคา ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตอนสิ้นปี แล้วบริษัทฯ ยังต้องบวกกลับดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการเช่าซื้ออีกด้วย

เกี่ยวกับการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถยนต์ทางภาษีอากร กรณีได้รถยนต์มาโดยการเช่าซื้อ ทั้งนี้ รถยนต์ดังกล่าว ต้องไม่ใช่รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

กรณีรถยนต์ราคาเงินสด....2,835,000 บาท

ดอกเบี้ยเช่าซื้อ.......................289,740 บาท

รวม........................................3,124,740 บาท

1. ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ประกอบกับข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 3/2527 เรื่อง การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน กำหนดให้ถือมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นตามราคาที่พึงต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อ เป็นต้นทุนในการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ซึ่งในที่นี้ได้แก่ จำนวน 3,124,740 บาท

แต่ในทางบัญชีกำหนดให้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนตามราคาเงินสดของทรัพย์สิน คือ 2,835,000 บาท และรับรู้ดอกผลเช่าซื้อจำนวน 289,740 บาท ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวด

ดังนั้น ในช่วงเวลาที่มีการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ บริษัทฯ จึงต้องบวกกลับจำนวนดอกผลเช่าซื้อ และหักเพิ่มด้วยส่วนต่างของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางภาษีที่มากกว่าค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางบัญชี ไปจนตลอดอายุการใช้ทรัพย์สินนั้น

แต่ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ใช้กับกรณีระยะเวลาในการผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อน้อยกว่าระยะเวลาในการคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา

2. ในการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินรถยนต์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2562 ซึ่งคงเหลือระยะเวลาในการผ่อนชำระค่างวดเพียง 8 งวด ให้บริษัทฯ คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถยนต์ตามวิธีในข้อ 1 ไปจนตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์ดังกล่าว โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อความตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 เนื่องเพราะกรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติตามข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 3/2527 ว่า “ในกรณีที่ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อหรือราคาตามสัญญาครบถ้วนแล้ว โดยทรัพย์สินดังกล่าวยังคงมีมูลค่าต้นทุนหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นเหลืออยู่ก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่นั้นได้ต่อไป”

3. ในการคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินรถยนต์ที่มีปัญหาผ่อนชำระค่างวดไม่ครบตามที่กำหนดตกลงกัน ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินนั้นตามราคาที่พึงต้องชำระทั้งหมดตามสัญญาเช่าซื้อ ได้แก่ จำนวน 3,124,740 บาท แต่จำนวนค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสะสมของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินค่าเช่าซื้อที่ต้องผ่อนชำระในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ จนถึงรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันเท่านั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้