สัญญาเช่ารถ bmw บันทึกบัญชี

-  สัญญาเช่าทางการเงิน (Finance lease)

-  บันทึกเป็นลูกหนี้

-  ค่าเช่ารับแบ่งเป็น 2 ส่วน
ดอกเบี้ยจ่าย

-  ส่วนที่ไปลดเงินต้น

-  กรณีเป็นผู้ผลิตหรือผู้ขาย บันทึกกำไรขาดทุนจากการขายเช่นเดียวกับการขายปกติ

-  บันทึกค่าเช่ารับ (ดอกเบี้ยและเงินต้น) เป็นรายได้

-  ไม่มีกำไรขาดทุนจากการขายทรัพย์สินขณะเริ่มสัญญา

-  บันทึกค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย

-  อาจมีกำไรขาดทุนจากการขายทรัพย์สินเมื่อมีการซื้อขายทรัพย์สิน

1. สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ ทรัพย์สินเป็นยานพาหนะ > รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7  ที่นั่ง หมดสิทธิ์นำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขายทุกกรณีทั้งค่าเช่า, ค่าเช่าซื้อ, ค่าน้ำมัน, ค่าซ่อมบำรุง, ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง ดู Link อ้างอิง ประกาศอธิบดี VAT#42 ข้อ 2 (1) //www.rd.go.th/publish/3398.0.html แต่สามารถนำภาษีซื้อมาถือเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ หรือรวมเป็นต้นทุนสินทรัพย์ได้หากเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการลงทุน ดูพระราชกฤษฏีกาว่าด้วย "ภาษีซื้อที่ใช้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 243)" //www.rd.go.th/publish/2380.0.html   กรณีของคุณหากเลือกบันทึกสินทรัพย์ต้องรวมภาษีซื้อเป็นต้นทุนด้วยครับ  เสร็จแล้วพักไว้ก่อน

2. พิจารณาหรือสอบถามผู้บริหารว่า รถยนต์ที่ทำลีสซิ่งอยู่นั้น ประสงค์จะซื้อในตอนสิ้นสุดสัญญาหรือไม่

   โดยต้องดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับ 29 (ปรับปรุง 2550) เรื่องสัญญาเช่าประกอบด้วยครับ

       2.1 ต้องการซื้อแน่นอน >>> บันทึกเป็นสินทรัพย์ในทางบัญชี (รวมภาษีซื้อ) และต้องรวมเงินประกันเข้าไปด้วย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาต้นทุน ถ้าหากบันทึกเงินประกันแยกไว้ เมื่อครบสัญญาบัญชีนี้จะค้างอยู่ ทั้งๆ ที่มันไม่มีแล้ว แต่คุณจะโอนไปยังบัญชีสินทรัพย์ยานพาหนะก็ไม่ได้เพราะคุณได้บันทึกมูลค่าต้นทุนไว้เพื่อคิดค่าเสื่อมราคาเรียบร้อยแล้ว ส่วนเรื่อง ดอกเบี้ยรอตัดจ่าย คำนวณง่ายๆ (เพราะยากๆ ตามมาตรฐานการบัญชีทำไปก็ไม่คุ้มกับเวลาและผลลัพธ์ที่ได้ครับ) = ราคาที่ต้องชำระทั้งสัญญา – ราคาเงินสด

   รายจ่ายตลอดทั้งสัญญา  35,417 x 60 =  2,125,020 + เงินประกัน 600,000.-  = 2,725,020.-

   ราคาเงินสด (รวม VAT) 2,399,000.-

   ดอกเบี้ยรอตัดจ่าย (2,725,020 – 2,399,000) = 326,020.-

   การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

   Dr. ยานพาหนะ          2,399,000.-

          ดอกเบี้ยรอตัดจ่าย                              326,020.-

      Cr. เจ้าหนี้-ลีสซิ่ง            2,125,020.-  (35,417 x 60)

            เงินสด/เงินฝากฯ            600,000.-

แต่ทางภาษีถือตามรูปแบบของสัญญา คือ ยังคงเป็นค่าเช่าวันยังค่ำ

       2.2 ไม่ต้องการซื้อ >>> บันทึกเป็นค่าเช่า ทั้งบัญชี และภาษี ขยายความ: ค่าเช่าทางบัญชีบันทึกตามปกติ แต่ทางภาษีพิจารณา....หากเป็นกรณีรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง หักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ไม่เกิน 36,000.-/เดือน (รวม VAT) หากเช่าเป็นวันคิดตามสัดส่วนวัน ดูพระราชกฤษฏีกาว่าด้วย รายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315)  //www.rd.go.th/publish/2796.0.html กรณีของคุณหักเป็น คชจ.ทางภาษีได้เต็มจำนวน

3. อย่าลืมตรวจดูเงื่อนไขการยกเว้น การหักภาษี ณ ที่จ่าย จากค่าเช่าประเภทลีสซิ่ง  ในคำสั่ง ทป.4/2528 ข้อ 6 วรรคสอง 3 ข้อ ดู Link อ้างอิง  //www.rd.go.th/publish/3479.0.html (ในชีวิตจริงการตรวจดูทุนชำระแล้ว จะต้องตรวจดู บอจ.5 ซึ่งผู้ให้เช่าไม่เคยจะให้ดู แต่ถ้าหากบริษัทฯ ใหญ่ๆ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว (เน้น ต้องเป็นทุนที่ชำระแล้ว) น่าจะถึง 60 ล้านนะ ถ้าจะให้ชัวร์ควรไปขอคัดสำเนา บอจ.5 ที่สำนักบริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยค้นหาเลขทะเบียนนิติบุคคลจากเว็บไซต์ www.dbd.go.th>e-service> ตรวจค้นข้อมูลทะเบียนธุรกิจ (ซึ่งต้องสมัครสมาชิกก่อน) แล้วจึงนำเลขทะเบียนไปกรอกในแบบฟอร์มตอนที่ไปขอคัด บอจ.5 ที่กรมพัฒฯ

4. ควรมีบันทึกเกี่ยวกับการคำนวณลีสซิ่งไว้ต่างหาก (หากเลือกบันทึกเป็นสินทรัพย์ทางบัญชี) เนื่องจาก

   4.1 เมื่อปิดงบการเงินประจำปี  ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่ทำลีสซิ่ง จะต้องบวกกลับ และหักออกด้วยค่าเช่า (เพราะทางภาษีถือเป็นค่าเช่าสถานเดียว) อันนี้ Search ข้อมูลเกี่ยวกับข้อหารือกรมสรรพากรได้เพราะมีตอบไว้ค่อนข้างเยอะ และอย่าลืมโดยเด็ดขาด (อันนี้ผมเองเคยลืมไปครั้งหนึ่ง)

   ถ้าหากบันทึกค่าเช่าในทางบัญชีและทางภาษีเหมือนกัน ค่อยมาพิจารณาจำนวนเงินที่หักได้ในทางภาษี หากทางบัญชีลงไว้มากกว่าหลักเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้บวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้ด้วยครับ

   4.2  เมื่อสิ้นสุดสัญญา ทางบัญชีไม่ต้องทำอะไรครับลงบัญชีคิดค่าเสื่อมราคาปกติ แต่ทางภาษีจะต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์ในวันที่สิ้นสุดสัญญาและโอนกรรมสิทธิ์หรือขายสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่า (โดยมากผู้ขายจะเปิดใบลดหนี้เงินประกันมาให้ และเปิดใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินค่าขายสินทรัพย์มาให้) คือ เอาเงินประกันมาเป็นราคาซื้อสินทรัพย์รายการนั้นๆ  หลังจากนั้นก็คิดค่าเสื่อมราคาจากราคาทุนตามที่ระบุในใบกำกับภาษีค่าขายสินทรัพย์นั่นแหละครับ

   ดังนั้น ตอนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าเสื่อมราคาทางบัญชีบวกกลับโลด แล้วใช้ค่าเสื่อมราคาทางภาษีแทน ซึ่งก็ต้องดูอีกว่าราคาซื้อทรัพย์สินที่เช่า (เฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง) เมื่อครบสัญญาเกิน 1 ล้านบาทหรือไม่ หากเกินจะคิดค่าเสื่อมจากต้นทุนที่ 1 ล้านบาทเท่านั้น

ตอนเขียนอยู่นี้ ได้นึกถึงตอนที่ตัวเองทำงานจริงๆ ก็รู้สึกว่า มันช่างวุ่นวายตั้งแต่ต้นจนครบสัญญาเสียนี่กระไร...เพราะตอนนั้นผมเจอกับสัญญาเช่าลีสซิ่งเกือบ 10 สัญญาเห็นจะได้ ดีนะที่ทำทะเบียนคุมไว้ในไฟล์ Excel ด้วย ไม่อย่างนั้นตอนปิดงบผมคงกลายเป็นซูปเปอร์หมาแพนดี้แหงๆ

ค่าเบี้ยประกันรถ BMW ขอคืนภาษีซื้อไม่ได้ตามเหตุผลข้อแรกครับ

สรุปหากไม่แน่ใจจริงๆ หรือยังงงๆ อยู่ ก็ลองสอบถามผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ คุณก็ได้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ไปนอนก่อนนะครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้ต้องลุยงานวันสุดท้ายก่อนปิดงานปีใหม่ครับ

Taddyanimation45_@hotmail.com

Taddy:
**ขยายความเพิ่มเติม 2.1 ครับ

คือ โดยความหมายราคาเงินประกันจะเป็นส่วนหนึ่งของราคาเงินสดอยู่แล้วน่ะครับ (เทียบเคียงเงินมัดจำในสัญญาเช่าซื้อ) ถ้าดูตามรูปบัญชีก็จะดูง่ายหน่อยครับ

เช่าซื้อบันทึกบัญชีอย่างไร

การบันทึกบัญชีเช่าซื้อทรัพย์สิน.
การบันทึกบัญชีเช่าซื้อทรัพย์สินมี่ขั้นตอนดังนี้ครับ.
1.บันทึกภาระผูกพันที่ได้รับมา.
2.บันทึกบัญชีมนกรณีที่มีเงินดาวน์ที่ต้องจ่ายก่อนตอนทำสัญญา.
3.บันทึกบัญชีเมื่อมีการจ่ายเงินค่างวดในแต่ละงวด.
และ 4.บันทึกค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์ที่เช่าซื้อมาในทุกๆสิ้นรอบ ครับ.

การเช่าซื้อ กับ ลิซซิ่ง มีความแตกต่างกันอย่างไร

SME รายเล็ก ที่ต้องการเป็นเจ้าของเครื่องจักร และยังมีภาระหนี้กับภาระภาษีไม่มากนัก ธุรกิจซึ่งใช้เครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานนาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ... ธุรกิจ SME ขนาด​เล็ก.

สัญญาเช่าซื้อ ต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

2. สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 259/2559 ที่ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เข้าใจถูกต้องหรือไม่ ขอคำแนะนำ

ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี อยู่หมวดไหน

ดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดบัญชี (หมวด 1 ) 80,000.- ภาษีซื้อที่ยังไม่ครบกำหนดชำร ะ 33,600.-

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้