ความ ปลอดภัย และ ประโยชน์ของการ ติด ตั้ง ของใช้ในบ้าน

พูดได้ว่าไฟฟ้าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกอีกชนิดหนึ่งที่แทบทุกบ้านจะขาดไม่ได้ ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในปัจจุบันมีมากมายที่ใช้ไฟฟ้า ดังนั้นการรู้ถึงระบบไฟฟ้าภายในบ้านจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน อาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

หลักการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน มีอะไรบ้าง

1. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิเช่น สายไฟ ปลั๊กไฟ จะต้องเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ หรือได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม อาทิเช่น มอก. เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้เลือกมา มีความทนทาน แข็งแรง และปลอดภัยที่จะใช้งาน

2. เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสม

การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรา เช่น เลือกขนาดสายไฟให้มีขนาดที่สามารถรองรับการใช้งานภายในอาคารได้ หรือไม่เผื่อเยอะเกินไป รวมถึงการเลือกซื้อให้เพียงพอ ไม่เผื่อมากจนเกินไป เพื่อความประหยัดในการติดตั้ง แต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วยเพื่อความปลอดภัย

3. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้า

การติดตั้งสายไฟฟ้า ควรติดตั้งให้มีความเรียบร้อยสวยงาม เป็นระเบียบ โดยเฉพาะสายไฟ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่ควรรู้ต่อการติดตั้งสายไฟ มีดังนี้

3.1 การเลือกสายไฟ – นอกจากสายไฟที่ได้เลือกมาจะได้รับมาตรฐานแล้ว สายไฟที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร ควรจะเป็นสายชนิดที่มีฉนวนหุ้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ไปสัมผัสกับสายไฟโดยตรง

3.2 การเดินสายผ่านหนังหรือกำแพง – ในกรณีที่มีการติดตั้งโดยเจาะทะลุผนัง จะต้องมีวัสดุที่ไม่มีคมหุ้มสายไฟไว้ อาทิเช่น ปลอกพลาสติก หรือขอบยาง เพื่อไม่ให้มีสิ่งมีคมไปทำความเสียหายให้กับสายไฟ

3.3 การจับยึดสายไฟ – ในกรณีที่การติดตั้ง เป็นการติดตั้งแบบติดผนัง ควรจะมีอุปกรณ์จับยึดกับผนัง อาทิเช่น เข็มขัดรัดสาย รางไฟ หรือ ท่อร้อยสายไฟ โดยอุปกรณ์ที่นำมายึดสายจะต้องใช้วัสดุที่ไม่ทำอันตรายต่อฉนวนไฟฟ้า สำหรับเข็มขัดรัดสายจะต้องมีระยะในการยึดสายไฟที่เหมาะสม โดยปกติจะไม่เกิน 20 เซนติเมตร สำหรับท่อร้อยสายไฟ จะเป็นอุปกรณ์ที่มักจะ ร้อยในงานพิเศษ เช่นใต้หนัง ใต้เพดาน เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสายไฟ

3.4 ห้ามเดินสายไฟซ้อนกัน – การติดตั้งสายไฟ จะต้องเรียงต่อกันเป็นชั้นเดียว ห้ามเดินสายไฟซ้อนกันเป็นอันขาด

3.5 ไม่ควรเดินสายไฟบนพื้นผิวที่อาจจะเป็นอันตรายกับสายไฟได้ เช่น พื้นผิวที่ไม่มีความแข็งแรง

3.6 ควรเก็บงานตามจุดต่อต่างๆ ให้เรียบร้อย – จุดต่อ หรือรอยเชื่อมต่างๆ ถ้าหากมีการติดตั้งที่ไม่ดีพอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟช็อต หรือ ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้นตามจุดรอยต่อต่างๆ ควรติดตั้งให้เรียบร้อยและมีฉนวนไฟฟ้าหุ้มไว้เพื่อความปลอดภัย

4. แยกวงจรไฟฟ้าเป็นระบบย่อย

ไม่ควรติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมดทั้งอาคารภายในสวิตช์เดียว ควรแยกวงจรเป็นจุดต่างๆ โดยอาจจะใช้ กล่องพักสายไฟ เป็นตัวแยกวงจรย่อย และสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณมาก อาทิเช่น เครื่องปรับอากาศ ควรจะแยกสวิตช์ต่างหาก และเมื่อมีปัญหาก็สามารถบำรุงรักษาได้ง่ายอีกด้วย

5.เลือกช่างไฟฟ้าที่ไว้ใจได้

สุดท้ายการเลือกช่างไฟฟ้าที่จะเข้ามาติดตั้งระบบไฟฟ้าให้กับเราก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะส่งผลถึงต่อความปลอดภัยอีกด้วย

ความหมายของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์
– คือ การนำความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ประโยชน์ของการติดตั้งและประกอบผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง
– สามารถทำให้เราใช้เวลาว่างได้อย่างเกิดประโยชน์
– ทำให้เราสามารถฝึกด้วยตนเองได้
– ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจ และสามารถเป็นแนวคิดที่จะนำไปประกอบอาชีพได้

องค์ประกอบสำคัญในการติดตั้งอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์
– ต้องมีความรู้
– ต้องมีทักษะและเทคนิคในการติดตั้งอุปกรณ์
– ต้องทำงานอย่างเป็นระบบ

ความปลอดภัยในการติดตั้งอุปกรณ์
– แต่งตัวให้รัดกุม
– ศึกษาวิธีการติดตั้งให้ระเอียด

        การดูแลรักษาบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ เป็นหน้าที่ของสมาชิกในบ้านทุกคนที่ดจะต้องช่วยกัน เพื่อความสุขของสมาชิกในบ้าน การรู้จักวางแผนการทำงานที่ดี มีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสม ตามความถนัด และตามความสามารถของแต่ละคน และมีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน มีความปลอดภัยในการทำงาน จะทำให้การทำงานบ้านสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องใช้ในการดำรงชีวิต ดังนั้น จึงควรรู้จักวิธีการประกอบ ติดตั้ง ดูแลบำรุงรักษาและแก้ไขในเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย

1.1 ศึกษาคุณลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ เครื่องใช้ประเภทนั้น ๆ  ที่จะนำมาประกอบและติดตั้งภายในบ้าน

1.2 กำหนดตำแหน่ง สถานที่ติดตั้ง เครื่องใช้ภายในบ้านให้เหมาะสมกับการใช้งานและมีความปลอดภัย เช่น พื้น ผนังบ้านเป็นไม้หรือคอนกรีต เป็นต้น

1.3 ศึกษาวิธีการประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านแต่ละประเภทซึ่งล้วนแตกต่างกันไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า จำเป็นจะต้องต่อสายดินเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ เป็นต้น

1.4 อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ควรติดตั้งในสถานที่มีความชื้นมาก

1.5 จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับประกอบและติดตั้งให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่ติดตั้ง

1.6 ประกอบและติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องใช้ภายในบ้านตามคู่มือที่ผู้ผลิดแนะนำ และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ เครื่องใช้ ภายหลังจากที่ทำการติดตั้งสำเร็จเรียบร้อยแล้ว

ของใช้ในบ้าน คือ สิ่งของที่แทบจะทุก บ้าน มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เตาแก๊ส ไมโครเวฟ ทีวี ตู้เย็น อุปกรณืทำความสะอาดต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อเป็นการทำให้ของใช้ในบ้านเราใช้ได้ไปนาน ๆ และเพื่อเช็คว่าของใช้ในบ้านเรานั้นได้เวลาทำความสะอาดหรือยัง วันนี้เราจึงจะนำวิธีการการดูแลรักษาของใช้ในบ้านมาแนะนำให้กับทุก ๆ ได้ลองทำกัน ไปดูกันเลยว่าจะเป็นยังไงกันมาไปชมพร้อม ๆ กันเลย

การดูแลรักษาของใช้ในบ้าน

หลักการดูแลรักษาสมบัติภายใน บ้าน ให้สะอาดเรียบร้อย มีหลักการดังนี้

  • วางแผนการทำงานก่อนลงมือทำว่า จะอะไร เพราะอะไรจึงต้องทำ จะเริ่มทำ และจะทำเสร็จเมื่อไร
  • เตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม ถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องดูดฝุ่น ควรสำรวจความเรียบร้อยก่อนนำมาใช้งาน
  • ใช้เวลาในการทำงานให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า เช่น ระหว่างรอข้าวสุก ก็อาจทำงานงานอย่างอื่นด้วย เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน
  • ทำงานตามที่วางแผนไว้อย่างรอบคอบ และระมัดระวัง
  • ตรวจดูความเรียบร้อยเมื่อทำงานเสร็จ ถ้าพบข้อบกพร่องควรรีบแก้ไข

ประโยชน์ของการดูแลรักษาสมบัติภายในบ้าน

  • สมบัติภายในบ้านสะอาด สวยงามน่าใช้
  • ประหยัดรายจ่ายของครอบครัวในการซ่อมแซมหรือซื้อใหม่
  • สร้างลักษณะนิสัยที่ดีในการใช้สิ่งของอย่างรู้คุณค่า
  • ยืดอายุการใช้งานของสมบัติภายในบ้าน
  • ฝึกให้รู้จักหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งในบ้าน

การทำความสะอาดพื้นบ้าน

  • พื้นไม้ และพิ้นที่ปูด้วยเสื่อน้ำมัน ให้กวาดด้วยไม้กวาดดอกหญ้า แล้วถูด้วยผ้าชุบบิดหมาด ๆ
  • พิ้นหินขัด พิ้นซีเมนต์ และพื้นที่ปูด้วยกระเบื้อง ถ้าหากพื้นที่ไม่สกปรกมาก จะใช้วิธีทำความสะอาดเหมือนพื้นไม้ แต่ถ้าพื้นสกปรกมาก ควรใช้น้ำผสมผงซักฟอกราดและใช้แปรงขัดให้สะอาด จากนั้นราดน้ำเปล่าตามให้หมดคราบน้ำผสมผงซักฟอกจนพื้นสะอาด แล้วใช้ผ้าถูให้แห้ง

ของใช้ในบ้านที่เราใช้อยู่ได้เวลาทำความสะอาดแล้วหรือยัง ?

ของใช้ในบ้านที่หลายคนสงสัยว่า ทำความสะอาดบ่อยแค่ไหนถึงจะดี วันนี้เรามีคำตอบสำหรับความถี่และจำนวนในการทำความสะอาดสิ่งของในบ้านแต่ละชนิดมาบอกกันแล้ว

การทำความสะอาดเป็นสิ่งที่คู่ควรกับบ้าน แต่ถ้าทำน้อยไปก็ถือว่าไม่ดีหรือทำมากไปก็อาจจะเกิดความเสียหายเอาได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งของชิ้นใดควรทำความสะอาดบ่อยแค่ไหนถึงจะเหมาะสม ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ เพราะวันนี้เราได้นำเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับจำนวนครั้งในการทำความสะอาดสิ่งของต่าง ๆ อย่างเหมาะสมมาฝากกัน แล้วสิ่งของที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้าง และควรทำความสะอาดบ่อยแค่ไหนกัน อยากรู้ตามไปดูกันเลย Home

1. ผ้าปูที่นอน

แม้ว่าผ้าปูที่นอนจะเป็นสิ่งของที่ดูไม่ค่อยมีคราบ แต่ก็ใช่ว่ามันจะสะอาดปลอดภัยไร้เชื้อโรค ทั้งฝุ่นควันที่ลอยอยู่ในอากาศและคราบเหงื่อไคลจากร่างกาย ต่างก็ทำให้เกิดความสกปรกและอาจนำมาซึ่งกลิ่นเหม็นอับ ทางที่ดีควรทำความสะอาดโดยการซักผ้าปูที่นอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ด้วยน้ำร้อนและอบลมร้อนอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าสะอาดอย่างแท้จริง วิธีนี้สามารถนำไปซักกับผ้านวมได้ด้วยนะ

2. หมอน

การทำความสะอาดหมอนหนุนที่ดีนั้น ควรทำประมาณปีละ 2-3 ครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน ด้วยการนำหมอนไปซักในเครื่องซักผ้า ใช้น้ำยาซักผ้าสูตรอ่อนโยน และนำไปอบในเครื่องอบผ้าอีกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อโรคให้หมดไป คราวนี้จะหนุนหมอนนอนท่าไหน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องสิ่งสกปรกอีกต่อไปแล้ว

3. แผ่นรองนอน

สิ่งของที่มีขนาดใหญ่อย่าง แผ่นรองนอน ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดบ่อยเป็นประจำทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน แต่ควรทำความสะอาดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ด้วยการใช้เครื่องดูดฝุ่นดูดฝุ่นและไรฝุ่น แล้วใช้น้ำสบู่ถูและขัดคราบเบา จากนั้นนำผ้าชุบน้ำเย็นมาซับออก แต่อย่างไรก็ตามทางที่ดีควรจะเลือกซื้อผ้าปูที่นอนและแผ่นรองนอนที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันไรฝุ่น เพื่อป้องกันตั้งแต่ต้นลมดีกว่า

4. เตาอบและไมโครเวฟ

ถ้าหากว่าไม่ค่อยได้ทำอาหารจากเตาอบบ่อยนัก บวกกับว่าไม่ค่อยมีคราบหนักให้ต้องรีบกำจัดโดยด่วน ก็ควรจะทำความสะอาดเตาอบทุก ๆ 6 เดือน แต่ถ้าใช้งานบ่อยแนะนำให้ทำความสะอาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ด้วยการถอดตะแกรงและแผงรองอาหารด้านในไปแช่ในน้ำสบู่ที่ผสมน้ำร้อน จากนั้นนำน้ำสบู่ที่ผสมเบกกิ้งโซดามาพ่นภายในเตาอบให้ทั่ว ขยำกระดาษหนังสือพิมพ์ไปยัดไว้ที่ใต้ประตูเตาอบเพื่อกันสเปรย์ไหลลงพื้น ทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นให้ผสมน้ำสบู่เหลวกับน้ำอุ่นมาเช็ดทำความสะอาดภายใน ตามด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด ๆ เช็ดซ้ำอีกครั้งก็เป็นอันเสร็จ เปิดประตูระบายไว้สัก 2-3 วัน ให้กลิ่นน้ำยาทำความสะอาดระเหยไปก่อนจึงค่อยใช้งานต่อ

5. เคาน์เตอร์ครัว

อาหารสารพัดชนิดที่เรานำมาปรุงในห้องครัว ต่างก็สร้างความสกปรกไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะเคาน์เตอร์ครัว ดังนั้นทุกครั้งหลังปรุงอาหารเสร็จก็อย่าลืมเช็ดเคาน์เตอร์ครัวให้สะอาดด้วยนะคะ และทำความสะอาดครั้งใหญ่ทุก ๆ สัปดาห์ เน้นบริเวณอ่างล้างจานและรอบ ๆ เพราะส่วนนั้นมักจะมีเศษอาหารและสิ่งสกปรกกระเด็นมาติดอยู่มาก และสุดท้ายอย่าลืมซักทำความสะอาดฟองน้ำรวมไปถึงผ้าเช็ดอเนกประสงค์ในครัวด้วย เพื่อช่วยลดปริมาณเชื้อโรคให้น้อยลง การตกแต่งบ้าน

6. ตู้เย็น

ถึงตู้เย็นสมัยใหม่จะมีระบบที่ช่วยป้องกันและกำจัดแบคทีเรียในตัว แต่เราก็ไม่ควรชะล่าใจเพราะอะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ต้องรอให้มีสัญญาณแจ้งเตือนการทำความสะอาด เราควรตั้งเวลาไว้เลยว่าต้องทำความสะอาดตู้เย็นเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อความสะอาดและปลอดภัยของอาหารที่นำไปแช่

7. เครื่องซักผ้า

แม้ว่าเครื่องซักผ้าจะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้าได้ แต่สุดท้ายแล้วสิ่งสกปรกเหล่านั้นกลับมาตกอยู่ที่เครื่องซักผ้าซะเอง ไหนจะความชื้นที่ก่อให้เกิดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างเช่น ซาลโมเนลลา (Salmonella ) และอีโคไล (E. coli.) หากปล่อยไว้เชื้อเหล่านี้ก็จะแพร่กระจายอยู่ภายในเครื่องจนลามไปติดเสื้อผ้า ทางที่ดีทุกครั้งที่ซักชุดชั้นใน ผ้าขี้ริ้ว หรือผ้าขาว แนะนำให้เปิดระบบน้ำร้อนและซักด้วยสารฟอกขาว จะได้ทำความสะอาดแบบยิงปืนนัดเดียวได้ทั้งเสื้อผ้าสะอาดและเครื่องซักผ้าสะอาดไปพร้อมกัน

8. วงกบหน้าต่างและรางประตู

หลายคนมักจะละเลยการทำความสะอาดส่วนนี้ไป ซึ่งจริง ๆ แล้วมันก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคไม่แพ้ส่วนอื่นของบ้านเลยก็ว่าได้ ควรจะทำความสะอาดด้วยน้ำยาที่ผสมเองจากน้ำยาล้างจาน 5 หยด แอลกอฮอล์ 1 ช้อนชา และน้ำเปล่า 2 แกลลอน คนให้เข้ากัน ระหว่างนั้นต้องเปิดบานหน้าต่างและประตูให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกด้วย จากนั้นนำฟองน้ำมาชุบส่วนผสมแล้วขัดถูวงกบให้ทั่ว ตามด้วยใช้ผ้าสะอาดหรือแผ่นกรองกาแฟเช็ดตามอีกครั้ง 

9. หน้าต่างมุ้งลวด

นอกจากวงกบที่ต้องทำความสะอาดแล้ว หน้าต่างมุ้งลวดก็ต้องทำความสะอาดเช่นเดียวกัน โดยทำความสะอาดประมาณปีละ 1 ครั้ง ด้วยส่วนผสมของแอมโมเนีย 1 ส่วน และน้ำสะอาดอีก 3 ส่วน นำมาถูที่มุ้งลวด ตากทิ้งไว้ให้แห้ง ทั้งนี้ควรจะลงมือทำในพื้นที่ที่เปิดโล่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกด้วย เพื่อไม่ให้เหม็นกลิ่นแอมโมเนีย

10. พรม

อย่างที่เรารู้กันดีว่า พรม เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละออง ดังนั้นจะทำความสะอาดพรมบ่อยแค่ไหนก็ได้ ด้วยการใช้เครื่องดูดฝุ่นในขั้นพื้นฐาน แต่ก็ต้องมีการทำความสะอาดพรมครั้งใหญ่ ปีละ 1 ครั้งด้วย เริ่มจากฉีดพ่นสเปรย์ทำความสะอาดลงบนพรม แล้วใช้ไม้ถูพื้นระบบไอน้ำถูให้ทั่วเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่อยู่ในพรมให้หมดไป

11. กระเบื้องห้องน้ำ

นอกจากสุขภัณฑ์ที่เราต้องรักษาความสะอาดอยู่เป็นประจำแล้ว กระเบื้องในห้องน้ำก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่ต้องทำความสะอาดอย่างจริงจังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เน้นบริเวณที่เลอะคราบปัสสาวะบ่อย ๆ ด้วยสเปรย์น้ำยาล้างจาน น้ำสบู่ผสมน้ำส้มสายชู และน้ำมะนาวผสมเบกกิ้งโซดา 

12. อ่างอาบน้ำ

ใครที่ชอบนอนแช่ตัวในอ่างอาบน้ำคงต้องดูหน่อยแล้ว เพราะผลจากการวิจัยพบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง มาจากแบคทีเรียในอ่างอาบน้ำถึง 26% เมื่อเทียบกับถังขยะที่มีแค่ 6% ซึ่งมากกว่าหลายเท่าตัวจนน่ากลัว ถ้าไม่อยากอาบน้ำไปพร้อม ๆ กับเหล่าเชื้อโรคหรือแบคทีเรียที่ทำให้เสี่ยงติดเชื้อทางผิวหนัง ควรหมั่นทำความสะอาดอ่างอาบน้ำทุกสัปดาห์

13. เฟอร์นิเจอร์ไม้

เฟอร์นิเจอร์ไม้มีราคาค่อนข้างสูงดังนั้นเราจึงต้องดูแลเรื่องความสะอาดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยการนำผ้าชุบน้ำบิดหมาดมาเช็ดทำความสะอาด 1 รอบ แล้วตามด้วยผ้าผืนแห้งเช็ดซ้ำอีกครั้ง ลงแว็กซ์คาร์นัวบา (Carnauba Wax) โดยเช็ดให้เป็นวงกลม ทิ้งไว้ 2-3 นาที เช็ดซ้ำด้วยผ้าสะอาด ๆ จนกว่าไม้จะเงางาม

เป็นอย่างไรบ้าง มีใครทำความสะอาดได้ตามจำนวนครั้งที่ถูกต้องบ้างไหมครับ แต่ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าจะต้องทำความสะอาดบ่อยแค่ไหน ก็ลองนำข้อมูลที่นำมาฝากกันในวันนี้ไปลองปรับใช้ให้เหมาะสมด้วยนะครับ เพื่อความสะอาดภายในบ้าน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้