กิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออกมีความสำคัญอย่างไร

          เมื่อมองกิจกรรมโลจิสติกส์ของผู้ผลิต (Logistics of Manufacturer) ในกรอบไข่ปลาเล็กด้านซ้าย เราจะเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์เริ่มจากการรับส่วนประกอบหรือวัตถุดิบจาก Suppliers เข้ามาเพื่อทำการผลิตสินค้า จนถึงการส่งสินค้าที่ผลิตเรียบร้อยแล้วสู่คลังกระจายสินค้า (Distribution Center) โลจิสติกส์ของผู้กระจายสินค้า (Logistics of Distribution Center) ในกรอบเส้นไข่ปลาใหญ่ เริ่มตั้งแต่การรับสินค้าจากโรงงาน การบริหารจัดการกระจายสินค้า และการส่งสินค้าไปยังผู้ค้าส่ง ส่วนโลจิสติกส์สำหรับผู้ค้าปลีก(Logistics of Retailer) นับตั้งแต่ผู้ค้าส่งส่งของไปยังชั้นโชว์ของผู้ค้าปลีก จนกระทั่งผู้บริโภคไปเลือกซื้อมา

หากกำลังมองหาบริการ Fulfillment หรือคลังสินค้าครบวงจร เพื่อช่วยในการแพ็คสินค้า และจัดส่ง จะต้องเจอคำว่า Inbound และ Outbound อย่างแน่นอน บทความนี้จะพาไปดูความหมาสยของสองคำนี้ เพื่อเข้าใจคำศัพท์ของ Logistics ให้มากขึ้นก่อนเริ่มใช้งานกันเลย..

Inbound คืออะไร?

กระบวนการ Inbound ใน Fulfillment หมายถึง การที่ผู้ประกอบการนำสินค้ามาสต๊อกไว้ที่คลังสินค้าครบวงจร โดยเกิดขึ้นหลังจากมีการสมัครใช้งาน หรือเซ็นต์สัญญาการใช้บริการกับคลังนั้น ๆ เรียบร้อยแล้ว และจึงนัดวันเพื่อทำการส่งมอบสินค้ามายังคลังเพื่อทำการเซตระบบ Fulfillment ระบุจำนวนสต๊อก หรือจำนวนสินค้าคงคลังเพื่อติดตามเช็คสต๊อกสินค้าและสถานะการจัดส่งได้ในระบบ และเตรียมเข้าสู่การรับคำสั่งซื้อและแพ็คพร้อมส่งต่อไป (อ่านเพิ่มเติม > เปิดทุกขั้นตอนในคลังสินค้าครบวงจร สินค้าเข้าคลังแล้วทำอะไรต่อบ้าง?)

Outbound คืออะไร?

หลายท่านสงสัยว่ากิจกรรม Outbound คืออะไร? การ Outbound ใน Fulfillment หมายถึง กระบวนการขาออก โดยเกิดขึ้นหลังจากสินค้ามีการ Inbound หรือนำเข้าคลังเรียบร้อยแล้ว เมื่อมีออเดอร์เข้ามาจากแต่ละแพลตฟอร์ม และลงระบบ Fulfillment ที่ใช้งานเรียบร้อยแล้ว กระบวนการหลังจากนั้น นั่นคือการที่คลังได้รับออเดอร์ และแพ็คสินค้า ส่งมอบให้กับขนส่งชั้นนำ นั่นคือกระบวนการขาออก หรือส่งออกจากคลังไปถึงมือผู้รับปลายทางนั่นเอง (อ่านเพิ่มเติม > บริษัทขนส่งที่คลัง Boxme มีขนส่งไหนบริการบ้าง!?)

ความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ขาเข้าและขาออก

  1. โลจิสติกส์ขาเข้าเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนำสินค้าเข้ามาเก็บคงคลัง ส่วนโลจิสติกส์ขาออกเป็นกระบวนการกระจายสินค้าไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค หรือส่งมอบให้กับขนส่ง
  2. ส่วนโลจิสติกส์ขาออกนั้นมุ่งเน้นในด้านการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ส่งมอบให้ขนส่งไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภค
  3. โลจิสติกส์ขาเข้าเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการ และคลังสินค้า (Fulfillment) ส่วนโลจิสติกส์ขาออกเป็นการจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่าง คลัง Fulfillment กับขนส่งเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภคปลายทาง

การวางแผนการบริหารจัดการคลังสินค้า (Fulfillment)

เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้ การบริหารจัดการคลังสินค้าต้องมีองค์ประกอบการสำคัญหลายอย่างเข้ามาร่วมด้วย และด้วยความซับซ้อนที่ต้องการให้การบริหารมีคุณภาพที่ดี ต้องอาศัยระบบการทำงานที่มีคุณภาพ มีระบบเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และบุคลากรที่เป็นมืออาชีพ ทั้ง 3 สิ่งนี้ต้องทำงานสอดคล้องประสานกันเพื่อให้เกิดความแม่นยำในการทำงาน (อ่านเพิ่มเติม > ทำความรู้จักกับระบบ Fulfillment เก็บ แพ็ค ส่งสินค้า ช่วยลดต้นทุนธุรกิจ E-Commerce)

บริการ Fulfillment หรือคลังสินค้าครบวงจร

คลังสินค้าครบวงจร  Boxme Thailand ให้บริการในด้าน Fulfillement ทั้งจัดเก็บสินค้าในคลัง พร้อมแพ็คจัดส่ง โดยขนส่งชั้นนำทั่วประเทศ ให้คุณดูแลจัดการธุรกิจออนไลน์ของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น

สนใจใช้บริการสต๊อกสินค้าพร้อมแพ็ค จัดส่ง

ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง เพื่อขอรับรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 02-026-3165 หรือ > ขอรับใบเสนอราคา < กดที่นี่

ข้อใด คือ กิจกรรมของโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics)

กิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) ประกอบด้วย การจัดหาและจัดการวัตถุดิบหรือการจัดซื้อการขนย้าย การบริหารคลังสินค้าหรือลานเทกอง การบริหารการเงิน-ข้อมูล-คำสั่งซื้อ กิจกรรมด้านกระบวนการผลิต (Operation) ได้แก่ การวางแผนการผลิต

กิจกรรมโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) และ กิจกรรมโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างโลจิสติกส์ขาเข้าและขาออก โลจิสติกส์ขาเข้าเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการ และคลังสินค้า (Fulfillment) ส่วนโลจิสติกส์ขาออกเป็นการจัดการด้านความสัมพันธ์ระหว่าง คลัง Fulfillment กับขนส่งเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าหรือผู้บริโภคปลายทาง

โลจิสติกส์ขาเข้า มีอะไรบ้าง

โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดเก็บ และการส่งมอบวัตถุดิบและชิ้นส่วนไปยังกระบวนการผลิตในโรงงานหรือธุรกิจต่างๆ โลจิสติกส์ขาเข้า เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่มุ่งเน้นในเรื่องของการจัดซื้อจัดหาการกำหนดตารางการไหลเข้าของวัตถุดิบ เครื่องมือ และสินค้าขั้นสุดท้ายจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ...

โลจิสติกส์ขาเข้าและโลจิสติกส์ขาออกเกี่ยวข้องกับการผลิตอย่างไร

โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายจากจุดต้นทางหรือการ เคลื่อนย้ายวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต ณ โรงงานผู้ผลิตสินค้า ส่วนโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าส าเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์จากโรงงานผู้ผลิต ไปยังจุดปลายทาง ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้