การเพิ่มผลผลิต แบ่งออกเป็น กี่ ประเภท

หน่วยที่ 5 การเพิ่มผลผลิต Productivity

  มีแนวคิด 2 ประการ ที่อธิบายความหมายของคำว่า "การเพิ่มผลผลิต" ได้อย่างชัดเจน คือ


1. แนวคิดในเชิงเทคนิค (Technical Concept)
การเพิ่มผลผลิตคือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
2. แนวคิดด้านปรัชญา

เหนือสิ่งอื่นใด การเพิ่มผลผลิตคือจิตสำนึก หรือเจตคติที่จะแสวงหาทางปรับปรุงและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นเสมอ ด้วยความเชื่อมั่นว่า สามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ และพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้ เป็นความเพียรพยายามอย่างไม่มีที่สิ้นสุดที่จะปรับเปลี่ยนงานหรือกิจกรรมที่ทำให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการใช้เทคนิควิธีการใหม่ๆ


การเพิ่มผลผลิตเป็นความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าของมนุษย์


ทำไมต้องช่วยกันปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต

1. ทรัพยากรจำกัด การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและนับวันจะน้อยลงให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสูญเสียน้อยที่สุด

2. การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องช่วยในการวางแผนทั้งในปัจจุบันในอนาคต เช่น การกำหนดผลิตผลในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดส่วนเกิน ซึ่งถือเป็นความสูญเปล่าของทรัพยากร

3. การแข่งขันสูงขึ้น บริษัทต่างๆ จะอยู่รอดได้ต้องมีการปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ การเพิ่มผลผลิตก็เป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ ลดต้นทุน ทำให้เราสู้กับคู่แข่งขันได้


การเพิ่มผลผลิตเป็นความรับผิดชอบของใคร

ทุกคนตระหนักถึงความจำเป็น และความสำคัญในการเพิ่มผลผลิต แต่ต่างก็สงสัยว่าใครควรเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้

การเพิ่มผลผลิตเป็นความรับผิดชอบของทุกคน ในแง่ของบริษัทหรือโรงงาน ผู้บริหารต้องมีความเข้าใจในเรื่องการเพิ่มผลผลิตและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายพนักงานต้องให้ความร่วมมือโดยการทำงานอย่างเต็มความสามารถและเพิ่มทักษะการทำงานให้สูงขึ้น นอกจากนี้ การเพิ่มผลผลิตยังต้องอาศัยความร่วมมือจากนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ในการร่วมกันปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในทุกสถานที่ ทั้งที่ทำงาน โรงเรียน บ้าน และชุมชน ด้วยการทำสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้อง โดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งส่งผลให้การเพิ่มผลผลิตโดยรวมของประเทศเพิ่มสูงขึ้น อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศ ซึ่งก็คือเป้าหมายสำคัญสูงสุดของการเพิ่มผลผลิต


องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต

การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนนั้น องค์การนั้นๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 7 ดังนี้คือ

1. Quality คุณภาพ หมายถึง การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
2. Cost ต้นทุน หมายถึง การลดต้นทุนที่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน
3. Delivery การส่งมอบ หมายถึง การส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ถูกต้อง ถูกเวลา และถูกสถานที่
4. Safety ความปลอดภัย หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับพนักงาน ซึ่งส่งผลให้มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
5. Morale ขวัญกำลังใจในการทำงาน หมายถึง การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เอื้อต่อการทำงานของพนักงานที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ
6. Environment สิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และ ชุมชน
7. Ethics จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยไม่เอาเปรียบทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ลูกค้า ผู้จัดหาสินค้าพนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่แข่ง ภาครัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม


เทคนิคและเครื่องมือเพื่อการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในองค์การ

เทคนิคพื้นฐาน
1. กิจกรรมเพื่อความปลอดภัย คือ กิจกรรมเสริมสร้างความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้กับพนักงาน
2. กิจกรรม 5ส คือ กิจกรรมเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสถานที่ทำงาน
3. วงจร PDCA คือ วงจรเพื่อการบริหารและการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
4. กิจกรรมข้อเสนอแนะ คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดใหม่ๆ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้และเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานที่ปฏิบัติอยู่แล้วให้ดีขึ้น
5. กิจกรรมกลุ่มย่อย คือ กิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ โดยการร่วมกลุ่มของผู้ปฏิบัติงานจำนวน 3-10 คน


เทคนิคขั้นสูง
1. การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM) คือ ระบบการบริหารงานที่เน้นคุณภาพ โดยมุ่งความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
2. การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance : TPM) คือ ระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่เน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง เพื่อให้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพสูงสุดและคงอายุการใช้งานนานที่สุด
3. การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just In Time : JIT) คือ ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นการผลิตเฉพาะชิ้นส่วนที่จำเป็น ในเวลาที่จำเป็น เมื่อเวลาที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อมุ่งขจัดความสูญเปล่าต่างๆ 

ความหมายของการเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิต  (Productivity)     ได้มีผู้ให้ความหลากหลายแตกต่างกันไป  เช่น  การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต    การเพิ่มปริมาณผลผลิต   เป็นต้น   ซึ่งความหมายการเพิ่มผลผลิตสามารถแบ่งออกเป็น  2  แนวคิด  คือ

1.  การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์    หมายถึงอัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป (Input)  (แรงงาน   เครื่องมือ   วัตถุดิบ   เครื่องจักร   พลังงาน  และอื่น ๆ )   กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต  (Output)  (ตู้เย็น   รถยนต์   การขนส่ง)   สามารถคำนวณได้จาก

การเพิ่มผลผลิต  (Productivity)       =          ผลผลิต  (Output)
                                                                                           ปัจจัยการผลิต   (Input)

ซึ่งทำได้ทั้งการวัดเป็นจำนวนชิ้น   น้ำหนัก   เวลา    ความยาว   และการวัดตามมูลค่าในรูปของตัวเงิน

2.  การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม   หมายถึงการที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ  ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ   โดยมีความเชื่อว่าเราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ   ในวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้    ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจ   (Consciousness   of   Mind)   เป็นความสามารถหรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ   ให้ดีขึ้นเสมอ  ทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากร    พลังงาน   และเงินตรา   ที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ   เพื่อหาความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม

แนวความคิดในการเพิ่มผลผลิต

แนวคิดทางวิทยาศาสตร์

การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คือ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในการ ผลิตอยางคุมคา เกิดประโยชนสูงสุด ซึ่งการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดนี้อาจใชวิธีการลดตนทุน ลดการสูญเสีย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และมุงเน้นการทำงานอยางมีประสิทธิภาพ

แนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม 

การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นทัศนคติในจิตใจของคน ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นอยู่เสมอ บนพื้นฐานของความเชื่อในความก้าวหน้าและความสามารถของมนุษย์ว่าเราสามารถทําวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานและพรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้


แนวคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตนั้น เริ่มต้นจากการที่ Frederick W. Taylor เฟรดเดอริค ดับบลิว เทเลอร์ ได้นำแนวคิดตามหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารช่วงปี ค.ศ. 1911 โดยเริ่มศึกษาและหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิต อันเนื่องมาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผลมาจากวิธีการจัดการที่ยังมีข้อบกพร่องทั้งในด้านความรับผิดชอบของพนักงาน มาตรฐานการปฏิบัติงาน นโยบายของผู้บริหารซึ่งอยู่ในสภาวการณ์ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน พนังงานอาจได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่ตนเองไม่มีความรู้ หรือขาดความถนัด ขาดทักษะในการทำงานสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้การผลิตตกต่ำลงได้ทั้งสิ้น

                เทเลอร์สนใจการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ไม่เพียงแต่ลดต้นทุนและเพิ่มกำไรเท่านั้นแต่ยังเพิ่มค่าตอบแทนสำหรับแรงงานโดยผ่านการเพิ่มผลผลิต เนื่องจากความกลัวของคนงานที่ว่าพวกเขาอาจจะต้องออกจากงาน จากการผลิตที่น้อยลงแทนที่จะมากขึ้น เทเลอร์คิดว่าปัญหาของการผลิตเนื่องมาจากฝายการจัดการและฝ่ายแรงงาน ผู้บริหารและคนงาน มุ่งส่วนที่เป็นส่วนเกินที่ได้จากผลผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องระหว่างค่าจ้างและกำไร     เทเลอร์พิจารณาการเพิ่มผลผลิตโดยปราศจากการใช้แรงงานและแรงจูงใจของคนเพิ่มขึ้น

                หลักการดังกล่าวถูกนำเข้าสู่ภาคปฏิบัติโดยพิจารณาปริมาณงานต่อวัน การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การศึกษาเวลาและการเคลื่อนไหวในการทำงานได้นำมาใช้อย่างมาก แผนการจ่ายเงินขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ใช้โดยพยายามเพิ่มสาวนเกิน ซึ่งเทเลอร์เรียกว่า การเพิ่มผลผลิต (Productivity) เพื่อให้แน่ใจว่าคนงานที่ทำการผลิตได้รับค่าจ้างขึ้นอยู่กับผลผลิตของเขา ทำให้เกิดสิ่งจูงใจแก่คนงานในการทำงาน เกิดการปรับปรุงการผลิต และการให้ผลตอบแทนตามผลผลิต เทคนิคนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย

หลักการของเทเลอร์ (Taylor ‘ s Principles)

1.             ใช้หลักวิทยาศาสตร์ความรู้ด้านการจัดองค์การแทนกฎการนับ (Rules of Thumb)

2.             การยอมรับความกลมกลืนในกิจกรรมกลุ่มมากกว่าการไม่ปรองดองกัน

3.             มุ่งสู่ความร่วมมือมากกว่าความไม่มีระเบียบของบุคคล

4.             การทำงานเพื่อผลผลิตสูงสุดมากกว่าผลผลิตในวงจำกัด

5.             พัฒนาคนงานทุกคนให้ใช้ความสามารถสูงสุด และสร้างความมั่นคงให้แก่บริษัท

การจัดการตามแนวคิดของเทเลอร์นี้ องค์การจะต้องทำการศึกษาส่วนต่างๆ อย่างละเอียดจึงพัฒนาให้ได้มาซึ่งวิธีการทำงานที่ดี และเหมาะสมสำหรับการทำงานกาคัดพนักงานและการฝึกพนักงานให้ทำงานได้ ฝ่ายบริหารจะต้องประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือด้วยความสมัครใจ

                การปฏิบัติงานตามวิธีการทำงานที่ผ่านการทดลองและตรวจสอบแล้วว่าเป็นการวิธีการทำงานที่ดีที่สุด ฝ่ายบริหารและฝ่ายพนักงานจะต้องแบ่งแยกความรับผิดชอบ ตามที่ฝ่ายบริหารได้วางแผนและกำหนดไว้ พนักงานแต่ละคนจะต้องทำงานได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่ต้องบังคับ

                  ฝ่ายบริหารจะได้รับประโยชน์จากการที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของพนักงาน ฝ่ายพนักงานจะได้ค่าตอบแทนจากการทำงานในอัตราสูงขึ้น การนำหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการบริหารงาน ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ในทุกขั้นตอน และมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของพนักงาน ฝ่ายบริหารจะต้องให้ความสำคัญในการที่ผลักดันให้เกิดผลผลิตบนพื้นฐานความร่วมมือจากกลุ่มคนฝ่ายต่างๆตั้งแต่นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป เนื่องจากการเพิ่มผลผลิตนั้นก่อให้เกิดผลผลิตในกลุ่มคนทั่วไป การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการผลักดันให้เกิดผลผลิต ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของการเพิ่มผลผลิต



เหตุผลของการเพิ่มผลผลิต

        การเพิ่มผลผลิต เป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนการผลิตในอนาคต เช่น การกําหนด ผลิตผลในสัดส่วนที่ เหมาะสมกับความต้องการ ไม่ก่อให้เกิดส่วนเกินอันเป็นการเสียทรัพยากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้น ทําใหหต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง สามารถสู้กับคู่แข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตไม่ใช้เป้าหมายในตัวของมันเองแต่เป็นวิถีทางที่จะนําไปสู่ เป้าหมาย นั่นก็คือ การยกระดับมาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนคน ในชาติในยามเศรษฐกิจดี การเพิ่มผลผลิตจะเป็นวิถีทางที่ จะทําให้ทุกคนได้ผลตอบแทนหรือ ค่าจ้างดีขึ้น และในยามเศรษฐกิจตกต่ำ การเพิ่มผลผลิตจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์การทั้งหลาย อยู่รอดและสู้กับคู่แข่งได้ สามารถลดต้นทุนและรักษาระดับการจางงานไว้ได้ โดยไม่ต้องปลด คนงานออก นั่นหมายความว่า การเพิ่มผลผลิตก่อให้เกิดความมั่นคงในชวิต โลกของการแข่งขันในปัจจุบัน องค์การที่สามารถบริหารงานของตนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะสามารถยืนหยัดอยู่ในจุดที่สู้กับคู่แข่งขันได้ ดังนั้นจึงมีความจําเป็นที่ เราต้องปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่าง ต่อเนื่อง 

ประเภทของการเพิ่มผลผลิต

ความสัมพันธ์กับลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้า

· องค์กรมีวีธีการอย่างไรในการจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า องค์กรมีวิธีการอย่างไรที่ทำให้มั่นใจว่าข้อร้องเรียนเหล่านั้นได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผลและทันท่วงที และองค์กรมีวิธีการอย่างไรในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อร้องเรียนเพื่อใช้ในการปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งให้คู่ค้านำไปใช้ในการปรับปรุง

การวางแผนด้านทรัพยากรบุคคล

· องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดคุณลักษณะ และทักษะที่จำเป็นของพนักงานที่องค์กรต้องการเพื่อให้ตอบสนองต่อแผนการเพิ่มผลผลิต
· ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร รวมถึงการให้ข้อมูลป้อนกลับสนับสนุนการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและส่งผลต่อการบรรลุแผนปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตขององค์กรอย่างไร และการบริหารค่าตอบแทน การยกย่องชมเชย ตลอดจนการให้รางวัลและสิ่งจูงใจกับพนักงานที่มีผลการดำเนินการที่ดีเหล่านั้น

· องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการทำให้การสื่อสาร การแบ่งปันทักษะระหว่างผู้ที่อยู่ต่างหน่วยงาน ต่างภาระงาน และต่างสถานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล

การวัดการเพิ่มผลผลิต

1. การวัดการเพิ่มผลผลิตเป็นการคำนวณหาผลลัพธ์จากผลิตผลส่วนด้วยปัจจัยการผลิตแต่ต้อคำนึงด้วยว่าผลิตผลที่นำมาใช้วัดนั้นต้องมีคุณภาพด้วย

2. การเพิ่มผลผลิตของหน่วยงานจะสูงขึ้นได้ เพราะการเพิ่มผลผลิตในระดับบุคคลและในระแผนกสูงขึ้น

3. ประสิทธิผลหมายถึงระดับความสำเร็จของวัตถุประสงค์ เช่น ความสามารถในการสนองความต้องการของลูกค้า ส่วนประสิทธิภาพหมายถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า โดยไม่ให้เกิดความสูญเปล่า หรือสูญเสีย

4. วัตถุประสงค์ระยะยาวของการวัดการเพิ่มผลผลิตคือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ความหมายการวัดการเพิ่มผลผลิต
      สาระสำคัญของการเพิ่มผลผลิตก็คือการสะท้อนภาพของความทุ่มเทพยายามของผู้ที่เกี่ยวของ เราได้ศึกษามาแล้วว่า การเพิ่มผลผลิตคืออัตราส่วนระหว่างผลิตผลและปัจจัยการผลิตดังนั้น ไม่ว่าเราจะมีหน้าที่การงานอะไรก็ตาม เราต้องสามารถแยกแยะให้ได้ว่าอะไรคือผลิตผลและอะไรคือปัจจัยการผลิต

ความสำคัญของการวัดการเพิ่มผลผลิต
     ในยุคแห่งการแข่งขันการวัดการเพิ่มผลผลิตได้มีบทบาทต่อการตัดสินใจในการดำเนินงานชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการจะต้องมองถึงผลได้ผลเสียของการลงทุน เราคงได้ยินข่าวสารเรื่องนักลงทุนต่างประเทศย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยหรือประเทศในภูมิภาคนี้เพราะได้เปรียบเรื่องค่าแรงกันอยู่เสมอสาเหตุสำคัญที่มีการย้ายฐานการผลิตก็เพราะนักลงทุนเหล่านั้นได้ทำการวัดการเพิ่มผลผลิตโดยคร่าว ๆ แล้ว พบว่าคุ้มค่ากว่า
ยกตัวอย่างเช่น หากการผลิตรถยนต์ 1 คัน ในประเทศไทยทำให้นักลงทุนต้องจ่ายค่าแรงน้อยกว่าการผลิตในประเทศเยอรมัน นักลงทุนย่อมที่จะเลือกมาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย แต่ตราบใดก็ตามที่นักลงทุนพบว่าค่าแรงของประเทศอื่นถูกกว่าประเทศไทย ก็ย่อมมองหาลู่ทางที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศนั้น เพราะคุ้มค่ามากกว่าโดยการเปรียบเทียบผลได้ผลเสียที่คำนวณได้จากการวัดการเพิ่มผลผลิต

ดัชนีวัดผลการปฏิบัติงาน

      ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และการเพิ่มผลผลิต
แนวคิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการวัดการเพิ่มผลผลิตก็คือแนวคิดเรื่องประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การผลิตที่มีประสิทธิผลก็คือการผลิตสิ่งที่ต้องการ หากเป็นสินค้าที่จำหน่ายในท้องตลาด ต้องเป็นสินค้าที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและสามารถจำหน่ายได้ สำหรับประสิทธิภาพก็คือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยไม่ให้เกิดความสูญเปล่าหรือสูญเสีย ต่อไปนี้เราจะได้ศึกษารายละเอียดของประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลของการเพิ่มผลผลิต 

• ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิต

ในการเพิ่มผลผลิตจะต้องอาศัยปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เช่น อิทธิพลภายนอกองค์การ ขบวนการผลิต ความสามารถในการผลิต สินค้าคงคลัง และกำลังแรงงาน ซึ่งแต่ละปัจจัยย่อย ๆ อื่น ๆ ประกอบอีก (ดูแผนภูมิประกอบ) การเพิ่มผลผลิตจะใช้เพียงปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดจะได้ผลลัพธ์ออกมาไม่ค่อย สมบูรณ์นัก เพราะทุกปัจจัยจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน แต่เราสามารถให้น้ำหนักของความสำคัญในแต่ละปัจจัยไม่เท่ากันได้แล้วแต่ สถานการณ์แวดล้อม

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งานการเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ

★ 1. ความเข้าใจในเป้าหมายที่ชัดเจน รวมถึงวิสัยทัศน์การทำงาน ที่แทรกซึมเข้าไปเป็นวัฒนธรรมองค์กร
และพนักงานใช้ในการทำงานร่วมกัน

★ 2. ผลผลิตของบริษัท ที่เป็นมากกว่า ผลของการทำงาน แต่เป็นผลผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสังคม

★ 3. ความซื่อสัตย์และความโปร่งใสขององค์กร ที่ใช้ในการติดต่อการสื่อสารไปยังลูกค้า
เพื่อสร้างความไว้ใจ และความเชื่อถือให้เกิดตามมา

★ 4. การวางแผนสร้างความสัมพันธ์ระะหว่างองค์กรกับลูกค้า ให้เกิดขึ้นในระยะยาว

★ 5. พนักงานเข้าใจถึงวิธีการทำงานเป็นทีม และทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี

★ 6. การมองไปในระยะยาว ถึงการรักษาไว้ซึ่งมาตราฐานที่ดีขององค์กร

★ 7. การที่พนักงานเข้าใจว่า วิธีที่จะสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นๆ นั้น
จะต้องรีดขีดพลังความสามารถของตัวเองออกมามากที่สุด และต้องปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์กร

★ 8. หัวหน้าและพนักงานมองอนาคตไปในทิศทางเดียวกัน และกำลังปฏิบัติการเพื่อมุ่งไปยังอนาคตนั้น

★ 9. องค์กรปรับปรุงกลยุทธ์ไปเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
โดยมุ่งความสนใจ ไปที่การพัฒนาความสามารถ และเพิ่มประสบการณ์ให้กับพนักงาน

★ 10. องค์กรวางโครงสร้างในการทำงานเป็นทีม ให้เล็ก กระชับ และใช้งานได้ง่าย
แต่วางเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จให้มีความยิ่งใหญ่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้