ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพสินค้า

        8.1  แผนภูมิควบคุมคุณภาพ  (Quality  control  charts)

               การควบคุมคุณภาพในการผลิตวิธีหนึ่งก็คือ  การสร้างแผนภูมิคุณภาพ  เป็นการสร้างแผนภูมิคุณภาพจากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ด้วยตัวแปร  ( Inspection  sampling   by   variable )  ทั้งนี้เพราะว่า  เราไม่จำเป็นจะต้องทราบถึงรายละเอียด  (Detail)  ที่เกี่ยวกับลักษณะของผลิตภัณฑ์  (Quality  of  products)  มากนักเพียงแต่ต้องทราบถึงคุณลักษณะ  (Attribute)  ของผลิตภัณฑ์ว่า  ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้  มีข้อบกพร่องอะไร  หรือมีตำหนิอะไร  ในผลิตภัณฑ์นั้น เช่น  การตรวจสอบคุณภาพของเสื้อผ้าที่ผลิตในแต่ละวันเพื่อรายงานผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงกับแผนที่วางไว้จึงมีการใช้แผนภูมิควบคุมคุณภาพ (Quality  control  charts)  ซึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์แบบหยาบ ๆ ง่ายและสะดวกในการตรวจสอบการทดสอบและการตรวจสอบคุณภาพ  (Testing  For  Quality  Control  and  inspection)

        การควบคุมคุณภาพหรือการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ นอกจากจะตรวจสอบด้วยแผนภูมิแล้ว ยังมีวิธีการตรวจสอบ โดยวิธีการสุ่มด้วยดังนี้

            1) วิธีตรวจสอบทุกชิ้น  (Screening  inspection)   การตรวจสอบทุกชิ้นเป็นการตรวจสอบสินค้าแบบ  100%    ( 100%  inspection)  วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและใช้กันทั่วไป  เพื่อเป็นการหา  ของเสีย  (defective)  จากกระบวนการผลิตแต่กระนั้นก็ยังไม่มั่นใจว่าจะได้ผลิตภัณฑ์  (Product)  ที่สมบูรณ์เพราะวิธีการนี้จะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย  (Monotony)  และเป็นเหตุเกิดความเมื่อยล้า  (fatigue)  และความตั้งใจของพนักงานก็ลดลงเรื่อย ๆ ตามลำดับในทางปฏิบัติไม่มีผู้ตรวจสอบ  (Inspector)  วิธีการตรวจสอบทุกชิ้นจะเปลืองเงิน และเปลืองเวลามากงานบางอย่างก็ไม่สามารถจะกระทำได้ 100%  เช่น  การตรวจสอบความคมของใบมีดโกน หรือสารเคลือบใบมีดทอสอบได้ก็ต้องใช้กับความร้อนซึ่งการทดสอบแบบนี้   จะทำลายผลิตภัณฑ์การทดสอบการรับแรงกัดของท่อคอนกรีตวิธีการก็คือการสุ่มตัวอย่างทดลอง  (Sampling)  วิธีนี้มักนิยมทดสอบในกรณีที่ประกอบเป็นชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว  และลักษณะงานก็จะกลายเป็นงานประจำของอีกแผนกหนึ่งคือ  แผนกควบคุมคุณภาพ  (Section  quality  contorl) 

             2)  วิธีการสุ่มตัวอย่างจากแต่ละรุ่น  (Lot  by  lot   inspection  or  sampling)   การสุ่มตัวอย่างจากแต่ละรุ่น  เป็นการหลีกเลี่ยงวิธีตรวจสอบแบบ  100%  การผลิตผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ๆ รวมกันเป็นกลุ่มก้อนจะเรียกว่า  รุ่น  (Lot)  เช่น  วัสดุที่ส่งเข้ามาในโรงงานชิ้นส่วนประกอบเสร็จบางส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แทนที่การตรวจสอบจะทำการตรวจสอบทุกชิ้น  ก็จะเลือกตรวจสอบบางชิ้นส่วนเท่านั้นและจะจัดสินใจว่ายอมรับ (Accept) หรือปฏิเสธ (Reject) ทั้งรุ่น (Lot)

                    วิธีการตรวจสอบจากการสุ่มตัวอย่างจากทีละรุ่น ในการตรวจสอบคุณภาพจากการสุ่มตัวอย่างจากทีละรุ่นมีวิธีดำเนินการตามขั้นตอน  4  ขั้นตอน  ดังนี้

                     ขั้นที่  1  จัดตั้งการตรวจสอบเป็นรุ่นขนาดของรุ่น  (Lot  Size)  ที่จะตรวจสอบอาจประกอบด้วยจำนวนตั้งแต่  300  ชิ้นขึ้นไป  หากการผลิตได้น้อยกว่า  300 ชิ้นต่อหนึ่งรุ่น  ผู้ตรวจสอบก็อาจจะใช้วิธีการคอยถึง  2  หรือ  3  รุ่น  ก่อนก็ได้ให้ได้ขนาดรุ่นไม่น้อยกว่า 300 ชิ้น จึงจะเป็นการประหยัดหรือถ้าหากชิ้นงานที่จะตรวจสอบน้อยกว่า  300  ชิ้นผู้ตรวจก็อาจจะเลือกวิธีการตรวจสอบด้วยวิธีการอื่น ๆ แทน

                     ขั้นที่  2  จัดเรียงรุ่นตามประเภทเดียวกัน  คำว่า  “รุ่นประเภทเดียวกัน”  (Rational    Lot)  หมายถึงหน่วยที่ผลิตออกมาจากแหล่งเดียวกันรุ่นหนึ่ง ๆ โดยจะต้องเป็นชิ้นงานที่ผลิตจากแบบเดียวกันขบวนการเดียวกันวัตถุดิบเดียวกันแต่ในทางปฏิบัติจะจัดแบ่งรุ่นตามประเภทเดียวกันได้ยาก  แต่ก็ควรจะให้ใกล้เคียงกันที่สุดที่จะทำได้

                     ขั้นที่   3  กำหนดระดับคุณภาพในการยอมรับในความเป็นจริงในการผลิตจำนวนมาก ๆ เป็นการยากที่จะให้สินค้านั้นดีทุกชิ้น  100% เพียงแต่เปอร์เซ็นต์ของเสียอยู่ในขีดที่ผู้ผลิต (producer)  หรือผู้ซื้อพอใจ  (Satisfy)  ก็ถือว่ายอมรับได้ดีกว่าที่จะเสียงบประมาณเพิ่มในการตรวจสอบคุณภาพ   100%   ทั้งรุ่นการกำหนดระดับคุณภาพในการยอมรับคุณภาพก็คือเปอร์เซ็นต์ของเสียในรุ่นส่งมา  หรือเปอร์เซ็นต์ของเสียที่ผลิตออกมาในรุ่น  (Acceptable  Quality  Level  :  AQL)  ที่ผู้ซื้อยอมรับได้  เช่น  ผู้ผลิตผลิตสินค้าออกมาให้ลูกค้าจำนวน  100  ชิ้น   ลูกค้าหรือผู้สั่งสินค้ายอมให้เสียได้จาก  100  ชิ้นค่า AQLบริษัทผู้ซื้อจะเป็นผู้กำหนดเองและค่า AQL จะเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการซื้อขาย

            ขั้นที่  4  เลือกแผนการสุ่มตัวอย่างและการเลือกแผนการสุ่มตัวอย่างจะต้องตอบคำถาม  ข้อ  1-3  ดังนี้

             1.  ในหนึ่งรุ่นมีตัวอย่างกี่ชิ้น  (Sample  Size)
             2.  จะยอมรับรุ่มเมื่อไหร่  (Acceptance  limit)
             3.  จะปฏิเสธรุ่นเมื่อไหร่  (Rejection  limit)

                     เพื่อให้เข้าใจง่าย  โปรดศึกษากรณีตัวอย่าง

                      กรณีตัวอย่าง 1 สมมติ AQL คือ  2%  ขนาดรุ่นมี  750  ชิ้นจะหาแผนการสุ่มตัวอย่าง  มีขั้นตอนต่อไปนี้
                      ขั้นที่  1  จากตาราง  10-2  แผนการสุ่มตัวอย่าง  ช่วงที่  1  แสดงขนาดรุ่น  (Lot  Size)  คือ  500  ถึง  799  ชิ้น   ช่วงที่  2  แสดงจำนวนตัวอย่าง  (Sample  Size)  คือ  40 , 60 , 80 , 100  และ 120  ชิ้น

                      ขั้นที่  2  ดูค่า  AQL  คือ  เปอร์เซ็นต์ของเสียในรุ่นที่ส่งมาในที่นี้คือ  2%  และ  A  แสดงจำนวนยอมรับ  R  , แสดงจำนวนปฏิเสธ  ดังนี้


                        A  :  0 , 1 , 1 , 2  และ 4
                        R  :  3 , 4 , 5 , 5  และ 5

                      ขั้นที่  3  นำตัวเลขมาจัดเรียงใหม่จะได้แผนการสุ่มตัวอย่างที่สมบูรณ์  คือ

ขนาดตัวอย่าง

จำนวนยอมรับ  (A)

จำนวนปฏิเสธ  (R)

40

0

3

60

1

4

80

1

5

100

5

5

120

4

5

                      ขั้นที่  4  เลือกแผนการสุ่มตัวอย่างโดยจากการเลือกตัวอย่าง  40  ชิ้นโดยที่หยิบแบบสุ่มตัวอย่างทั่วทั้งรุ่น  และถ้าไม่พบของเสีย  (defective)  เลยก็ยอมรับรุ่นนั้น ๆ เพราะจำนวนยอมรับคือ 0  แต่ถ้าพบของเสียมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ชิ้น  ก็ปฏิเสธรุ่นนั้น ๆ  เพราะจำนวนปฏิเสธในแนวนี้  คือ  3   แต่ถ้าพบของเสีย  1 หรือ  2  ชิ้นจะยอมรับ  (Accept)  หรือปฏิเสธ  (Reject)  ไม่ได้  และให้ดำเนินการต่อไปก็คือเพิ่มขนาดตัวอย่างอีก  20 ชิ้น จากรุ่นนั้น   ซึ่งจะทำให้จำนวนของขนาดของตัวอย่างรวมเป็น  60  ชิ้น  จากนั้นก็ให้สุ่มจากตัวอย่างต่อไปอีก  การนับให้นับจำนวนของเสียรวมครั้งที่แล้วด้วยและเทียบกับ  ตาราง  10-2  อีกด้วยว่าจะยอมรับ  (A)  หรือปฏิเสธ  (R)  หากการสุ่มขึ้นมาใหม่  และนับรวมกันกับการสุ่มครั้งที่แล้วไม่สามารถจะยอมรับ  หรือปฏิเสธได้    ก็ให้เพิ่มขนาดของตัวอย่างขึ้นไปอีก  วิธีการนี้จะดำเนินการไปเรื่อย ๆ จนจำนวนของขนาดตัวอย่างเป็น  120  ชิ้น ดังกล่าวแล้วซึ่งจุดนี้จะไม่มีช่องว่างระหว่างการยอมรับหรือปฏิเสธอีกแล้ว จึงเป็นการยุติการสุ่มตัวอย่างต่อไป  และก็จะสรุปได้ว่า  จะยอมรับหรือปฏิเสธรุ่น  (Lot)  นั้น ๆ  จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้  จะเห็นว่าจำนวนยอมรับเมื่อพบของเสียเป็น  4  ชิ้น  จะยอมรับเมื่อพบของเสีย  120  ชิ้น   เพียง  3.3%  เมื่อเทียบกับค่า  AQL   แล้วนั่นคือ   แต่ละรุ่นที่มีของเสียระหว่าง   2%  ถึง  3.3%  จะผ่านการยอมรับทั้งนี้จะไม่คำนึงถึงโชคของการหยิบตัวอย่าง  จากตัวอย่างที่กล่าวมานี้  หมายความว่า  ผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดรุ่นเท่ากับ  750  ชิ้น  ผู้ซื้อจะยอมรับรุ่นหรือยอมรับผลิตภัณฑ์  ต่อเมื่อขนาดตัวอย่าง  120  ชิ้น  ที่สุ่มมานั้นจะมีของเสียปะปนมาเพียงไม่เกิน 4  ชิ้น เท่านั้น  ถ้าคิดรวมทั้งรุ่น  คือ  750  ชิ้น  จะมีของเสียปะปนมาด้วยไม่เกิน  25  ชิ้น  เพื่อให้เกิดความเข้าใจกรณีตัวอย่าง  1   โปรดศึกษาการสมมติ  การสุ่มตัวอย่าง  1  ก.  และตัวอย่าง  1  ข.  นี้

3) วิธีตรวจสอบตามขบวนการผลิต (Process  Inspection) การตรวจสอบขบวนการผลิต ผู้ตรวจจะถูกกำกับในขอบเขตบริเวณที่หนึ่ง ๆ เพื่อตรวจเครื่องมือวิธีการผลิต    และชิ้นส่วนบางอย่างจากวัตถุดิบ  (Raw   Materials)  วิธีการตรวจสอบวิธีนี้จะได้แก้ข้อผิดพลาดทันทีที่พบเห็น  เช่น  การตรวจสอบในสายการผลิต  โดยพนักงานทุกคนที่ทำงานในสายการผลิตทุกจุดเป็นผู้ตรวจสอบไปในตัวด้วย  เป็นต้น  ข้อจำกัดของการตรวจสอบวิธีนี้ก็คือผู้ตรวจไม่สามารถจะตรวจชิ้นงาน  หรือ  ทุกเครื่องได้   ชิ้นงานบางชิ้นงานจะพลาดการตรวจ  หากจะตรวจให้ครบทุกเครื่องได้จะต้องเพิ่มผู้ตรวจมากขึ้น

8.2  มาตรฐานการรับรองระบบคุณภาพโรงงาน  ISO 9000

                              ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในปัจจุบันได้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันอย่างสูงเพื่อให้ธุรกิจของตนได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการบริการ อุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ คำว่า ISO ว่ามันคืออะไร และมีบทบาทสำคัญมากน้อยแค่ไหนในเชิงธุรกิจ  ไอเอสโอจริง ๆ แล้ว เป็นชื่อของหน่วยงานหนึ่ง ตั้งอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์เมื่อพูดคำว่า ISO ออกมาแล้ว คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ แต่อาจจะพอเห็น หรือได้ยินมาบ้างทาง โทรทัศน์ ตามป้ายโฆษณา หรือตาม web site ต่าง ๆ ก็ดี คงจะนึกไปถึงอะไรที่มันเกี่ยวกับสินค้า, เกี่ยวกับโรงงาน, เกี่ยวกับการผลิต ซึ่งจริง มันก็ใช่ แต่ก็ไม่ถูกต้องไปทั้งหมดเสียทีเดียว

                        ISO มาจากคำว่า International Standardization and Organization มีชื่อว่าองค์การมาตรฐานสากลหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1946 หรือพ.ศ.2489 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีวัตถุประสงค์คล้ายๆกับองค์การการค้าอื่นๆของโลก คือจัดระเบียบการค้าโลกด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา ใครเข้าระบบกติกานี้ถึงจะอยู่ได้

                             ช่วงที่ ISO ก่อตั้งขึ้น เป็นช่วงสงครามโลกก็เพิ่งจะจบลงใหม่ๆดังนั้นประเทศต่างๆก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ต่างคนต่างขายของโดยมีระบบมาตรฐานไม่เหมือนกันจนกระทั่งในปี 2521 เยอรมนีเป็นตัวตั้งตัวตีให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกันส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้นต่อมาอีก1ปีอังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบเอกสารหรือที่เรียกว่า อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้ในทุกประเทศทั่วโลก

                            ตัวเลข 9000 เป็นชื่ออนุกรมหนึ่งที่แตกแยกย่อยความเข้มของมาตรฐานงานออกเป็นอีก 3 ระดับ คือ ISO 9001 , ISO 9001 และ ISO 9003 นอกจากนี้ยังมีอีกอนุกรมหนึ่งคือ ISO 14000 เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและระบบคุณภาพ   9000 เป็นแนวทางในการเลือกและกรอบในการเลือกใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม  ISO 9001 มีระดับความเข้มมากที่สุดคือหน่วยงานที่จะได้รับอนุมัติว่ามีระบบคุณภาพมาตรฐานสากลในระดับนี้จะต้องมีรูปแบบลักษณะการทำงานในองค์กรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 20 ข้อ โดยมีการกำกับดูแลตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การผลิตและการบริการยกตัวอย่างชื่อหัวข้อที่พอจะเข้าใจ เช่น กลวิธีทางสถิติการตรวจสอบการย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บการเคลื่อนย้าย เป็นต้น 

ISO 9002 ก็จะเหลือเพียง 19 ข้อ ดูแลเฉพาะระบบการผลิต การติดตั้งและการบริการ (ตัดกลวิธีทางสถิติออกไป)  ส่วน ISO 9003 เหลือแค่ 16 ข้อดูแลเฉพาะการตรวจสอบขั้นสุดท้าย  9004 เป็นแนวทางในการบริหารระบบคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเป็นต้น  ถ้าอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ISO 9000 ก็คือการกำหนดมาตรฐานสากลในการจัดระบบงานของหน่วยงานให้ตรงตามที่มาตรฐาน ISO 9000 กำหนดไว้   หน่วยงานที่คิดว่าตนเองจัดรูปแบบได้ตามที่ ISO 9000 กำหนดไว้แล้วจะมีหน่วยงานที่เข้ามาตรวจสอบและออกใบรับรองให้อย่างเป็นทางการ คือสมอ. หรือ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ 10400โทร. 0-2202-3428 และ 0-2202-3431 อย่างไรก็ตามมีบริษัทต่างชาติที่เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบและสามารถออกใบรับรองให้ได้ 

                            ขั้นตอนการขอ ISO 9000 เริ่มจากการขอข้อมูล ยื่นคำขอ ตรวจประเมินออกใบรับรอง ตรวจติดตาม ตรวจประเมินใหม่  ส่วนการเตรียมระบบคุณภาพมี 4 ข้อใหญ่ๆ

                                 1.  ทบทวนสถานภาพกิจการปัจจุบัน

                                 2.  จัดทำแผนการดำเนินงานและระบบเอกสาร

                                 3.  นำระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ

                                 4.  ตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบคุณภาพ  

                                 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเรื่องนี้ตกประมาณ 2-3 แสน ถ้าเป็นสินค้าหรือบริการส่งออก รัฐบาลจะช่วยออกเงินให้ครึ่งหนึ่งส่วนเวลาดำเนินการจะประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี
                                  ISO ใช้วัดคุณภาพ ทั้งด้าน 1.โรงแรม ภัตตาคารและการท่องเที่ยว 2.กลุ่มคมนาคม สนามบิน และการสื่อสาร 3.สาธารณสุข โรงพยาบาล คลินิก 
4. ซ่อมบำรุง 5. สาธารณูปโภคต่างๆ 6.ก ารจัดจำหน่าย 7. มืออาชีพ การสำรวจ ออกแบบ ฝึกอบรม และที่ปรึกษา 8. บริหารบุคลากรและบริการในสำนักงาน 9.วิทยาศาสตร์ การวิจัยและพัฒนา

                                   ISO 9000 สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรชนิดใดขนาดใหญ่ หรือเล็ก  ผลิตสินค้า หรือ ให้บริการอะไร  การนำระบบการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000ไปใช้อย่างแพร่หลายจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังนี้

                                    1. องค์กร/บริษัท

                                  - การจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิตตลอดจนการให้บริการมีระบบและมีประสิทธิภาพ

                                 - ผลิตภัณฑ์และบริการเป็นที่พึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการและได้รับการยอมรับ

                                 - ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร

                                 - ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

                                 2. พนักงานภายในองค์กร/บริษัท

                                 - มีการทำงานเป็นระบบ

                                 - เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

                                 - พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น

                                 - มีวินัยในการทำงาน

                                 -พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มมีการประสานงานที่ดี และสามารถ

                                 -พัฒนาตนเองตลอดจน   เกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน

                               3. ผู้ซื้อ/ผู้บริโภค

                                - มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ ว่ามีคุณภาพตามที่ต้องการ

                                - สะดวกประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ

                                - ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพความปลอดภัยและการใช้งาน

                         สรุป : ISO ถือเป็่นสัญลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์/บริการ นั้น ๆ  ซึ่งถูกรับรองว่ามีมาตรฐานสากล และมีคุณภาพอย่างสูงต่อลูกค้า, แสดงถึงศักยภาพการบริหารงาน/การผลิตสินค้าขององค์กร ที่มีต่อบุคคลภายนอก, และยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะซื้อสินค้า หรือ บริการ พวกเราควรศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้นว่าผลิตภายใต้คุณภาพของ ISO หรือไม่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้