การเรียก ค่าสินไหมทดแทน คดีละเมิด

ละเมิด 

จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายแก่ชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นทำละเมิด ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ม.420

-ยืมทรัพย์มาแล้วทำให้ทรัพย์ที่ยืมมาได้รับความเสียหายอาจเป็นได้ทั้งผิดสัญญาและละเมิด ฎ.974/2492

-หลักเกณฑ์ความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางแพ่งเป็นคนละกรณีกัน ฎ.8414/2552

กระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย

-การทำ รวมถึง การละเว้นหน้าที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลด้วย ผู้กระทำต้องมีหน้าที่กระทำเพื่อป้องผลนั้นด้วย หน้าที่ดังกล่าวอาจเกิดจากบทบัญญัติของกฎหมาย จากสัญญา หรือเกิดจากการกระทำครั้งก่อนๆ ของตนก็ได้ การละเว้นอาจกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อก็ได้ ฎ.7292/2543

-สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ครบกำหนดแล้ว ผู้เช่าไม่ยอมออก ถือว่าผิดสัญญา และเป็นละเมิดขณะเดียวกัน แต่ถ้าเรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้ว ก็จะเรียกค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดอีกไม่ได้ ฎ.923/2549,3203/2555

-การกระทำบางกรณีเป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด ฎ.11029/2553 จำเลยที่ 1 ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์โดยเพิ่มเติมจำนวนตัวเลขและตัวหนังสือในเช็คเงินสดที่เรือนจำกลางชลบุรีสั่งจ่ายในนามของจำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 นำไปเบิกถอนเงินมาจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ แต่จำเลยที่ 1 ใช้เช็คขอเบิกเงินสดถึง 15,558,406 บาท เป็นการใช้เช็คเบิกเงินสดที่มากผิดปกติ เช่นนี้ โดยหน้าที่ตามสัญญาฝากเงินตาม ปพพ.ม.659 วรรคสาม และตามระเบียบภายในของธนาคารจำเลยที่ ๒ พนักงานผู้ทำหน้าที่ตรวจรับเช็คและอนุมัติจ่ายเงินควรที่จะต้องเพิ่มความระมัดระวัง และพิจารณาด้วยความรอบคอบ และควรที่จะสงสัยถึงขนาดที่ควรจะสอบถามเรือนจำกลางชลบุรี ผู้สั่งจ่ายว่าได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนมากดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 มาเบิกเงินสดไปจริงหรือไม่ การที่พนักงานของจำเลยที่ ๒ ไม่ได้สอบถามผู้สั่งจ่าย และยอมจ่ายเงินตามที่ระบุในเช็คดังกล่าวไป ถือได้ว่าเป็็นการละเว้นไม่กระทำการที่จะต้องกระทำ เป็นการผิดสัญญารับฝากเงินและเป็นละเมิดด้วย

-กรมทางหลวงจำเลยมีอำนาจหน้าที่ในการรับผิดชอบซ่อมแซมก่อสร้างบำรุงรักษาถนนที่เกิดเหตุ ย่อมมีหน้าที่ควบคุมจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรในบริเวณก่อสร้างซ่อมแซมถนน แม้จะจัดให้บริษัทรับเหมาดำเนินการก่อสร้างซ่อมแซม ก็ต้องควบคุมให้บริษัทรับเหมาติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณจราจรขึ้นให้ถูกต้อง ถ้ามิได้ติดตั้งให้ถูกต้องแล้วเกิดความเสียหาย จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อผู้เสียหายด้วย ฎ.1975/2528

กระทำต่อบุคคลอื่น

-การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าผู้เช่ายังไม่ได้เข้าไปครอบครองอสังหาฯที่เช่า ผู้เช่าก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่ครอบครองทรัพย์ที่เช่า เพราะไม่เป็นการละเมิดต่อผู้เช่า แต่เป็นละเมิดต่อเจ้าของทรัพย์ ฎ.2504/2551

-รถยนต์ที่เช่าถูกทำละเมิด ผู้เช่าได้ซ่อมแซมตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่าจึงเสียหาย ฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวและค่าขาดรายได้จากผู้ทำละเมิดได้ ฎ.2885/2534

-หากมีผู้ทำละเมิดทรัพย์สินที่เช่าทำให้ต้องซ่อมแซมใหญ่ ถือว่าเป็นการละเมิดต่อเจ้าของทรัพย์ผู้ให้เช่า ผู้เช่าไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย ฎ.989/2549

ระทำละเมิดต่อสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน

-ปิดกั้นทางเดินสาธารณะ เป็นเหตุให้ประชาชนที่ใช้ประโยชน์ทางสาธารณะได้รับความเดือดร้อน ไม่อาจใช้ทางได้ตามปกติ เป็นผู้ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เป็นผู้ถูกทำละเมิด มีอำนาจฟ้อง ฎ.2559/2532,9183/2551

-ปลูกบ้านบนที่ดินสาธารณะปิดหน้าที่ดิน ทำให้เข้าออกทางสาธารณะไม่ได้หรือไม่สะดวก โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ฎ.387-388/2550,9671-9675/2544

กระทำละเมิดต่อผู้เยาว์

--หากมีการกระทำละเมิดต่อผู้เยาว์ ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใช้อำนาจปกครอง บิดามารดา หรือผู้ปกครองด้วย ฎ.3571/2525,1145/2512

ละเมิด กรณีฝากเงิน ธนาคาร เช็ค

-การฝากเงินธนาคาร ต้องถือว่าเงินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารแล้ว ถ้ามีผู้อื่นถอนเงินของลูกค้าแล้วยักยอกเงินไป ถือเป็นการละเมิดต่อธนาคาร ธนาคารฟ้องให้ผู้ที่ถอนเงินนั้นไปคืนได้ ฎ.291/2547,ฎ.333/2550

-ละเมิด ปลอมเช็ค ฟ้องธนาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2560 จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่จัดเตรียมเช็คให้โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินให้แก่คู่ค้าและลูกค้าของโจทก์ โดยเป็นผู้พิมพ์ข้อความในเช็ค เป็นผู้เก็บเช็คนำเช็คเข้าบัญชี และนำเช็คมามอบให้แก่คู่ค้าหรือลูกค้าของโจทก์ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความไว้วางใจและเชื่อใจจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ให้กระทำการดังกล่าวโดยมิได้มีระบบการตรวจสอบที่ดี เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ปลอมแปลงเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายให้แก่คู่ค้าและลูกค้า โดยวิธีลบชื่อผู้รับเงินเดิมในช่องจ่าย แล้วพิมพ์ชื่อของตนเองทั้งสองและจำเลยร่วมที่ 3 กับนำเช็คที่ปลอมดังกล่าวทั้ง 48 ฉบับไปเรียกเก็บเงินเสียเอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์จงใจหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้สมุดคู่ฝากหรือเช็คไปและนำใบถอนเงินหรือเช็คมาขึ้นเงินกับธนาคารและธนาคารได้จ่ายเงินไปตามใบถอนเงินหรือเช็คนั้น ธนาคารไม่จำต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว ตามข้อ 3 ของคำขอเปิดบัญชีเงินฝาก ทั้งได้ความว่า ตัวอักษรที่พิมพ์เช็คพิพาทนั้นพิมพ์จากเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าจะมีส่วนที่สามารถลบคำผิดได้อยู่ในตัว จำเลยร่วมที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีโอกาสลบข้อความเดิมในเช็คและพิมพ์ข้อความได้อย่างแนบเนียนโดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าเดิม จึงเป็นการยากที่จะสามารถเห็นความแตกต่างของตัวอักษรที่ปรากฏใหม่กับตัวอักษรของข้อความอื่นที่มีอยู่เดิมได้ เมื่อพิเคราะห์ในช่องผู้รับเงินด้วยตาเปล่าจะเห็นได้ว่า ตัวอักษรพิมพ์ชื่อผู้รับเงินกับตัวอักษรจำนวนเงินเหมือนกันและไม่ปรากฏร่องรอยพิรุธที่ทำให้เห็นว่ามีการลบชื่อผู้รับเงินเดิมออกและพิมพ์ทับชื่อผู้รับเงินใหม่ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อผู้รับเงินดังกล่าวจึงไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า อันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญ การที่พนักงานของจำเลยที่ 2 จ่ายเงินตามเช็คทั้ง 48 ฉบับให้แก่ผู้นำเช็คมาเรียกเก็บเงิน จึงไม่เป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ จึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดใช้เงินตามเช็คคืนแก่โจทก์   

ละเมิด กรณีสัญญาเช่า

-สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้เช่าไม่ยอมออกจากทรัพย์ที่เช่า ผู้ให้เช่าไม่ยอมจ่ายกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา ไม่เป็นละเมิด ฎ.1523/2535,ฎ.3921/2535

ละเมิด กรณีถูกฟ้องคดี โดยไม่ชอบ

-การฟ้องคดี แม้เป็นการใช้สิทธิทางศาลที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่หากกระทำโดยไม่สุจริต เจตนาให้ผู้ถูกฟ้องเสียหาย เป็นการใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง เป็นการละเมิด ฎ.7191/2551,1812/2552

-การกระทำโดยความยินยอมไม่เป็นละเมิด

-ยินยอมให้แพทย์ทำการรักษา หมายถึง แพทย์ต้องรักษาไปตามมาตฐานแห่งวิชาชีพของแพทย์ด้วย ฎ.6092/2552

-รับโอนที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินเดิมยิมยอมให้สร้างรั้วรุกล้ำ มีสิทธิให้ถอนรั้วออกไป ถ้าไม่รื้อถอนรั้วออกไป เป็นการละเมิด ฎ.4490/2542

-หญิงยิยยอมร่วมประเวณีกับชายโดยถูกชายหลอกลวงว่าจะเลี้ยงดูเป็นภริยา ไม่เป็นละเมิด ฎ.576/2488,1971/2517

ละเมิด กระทำโดยไม่ชอบ

-จำเลยที่ 4 รู้ว่าโจทก์ไม่ได้รับเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบแต่กลับมีเจตนานำชื่อโจทก์มาลงไว้ในป้ายประกาศบริเวณที่ก่อสร้างว่าโจทก์เป็นสถาปนิก การกระทำของจำเลยที่ 4 และในฐานะกรรมการบริษัทจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำโดยไม่ชอบเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์(ฎ.1191/2560)

.จงใจหรือประมาทเลินเล่อ

-คำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย โดยไม่ได้ระบุว่าให้ชำระโดยนำมาวางศาล ก็ต้องชำระที่ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์นำเงินมาวางศาล จำเลยไม่รู้จึงไปยึดทรัพย์ของโจทก์อีก ไม่เป็นละเมิด (ไม่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ) ฎ.3050/2540

-ฟ้องผิดคนโดยไม่ตรวจสอบว่าลูกหนี้ของตนจริงหรือไม่ก่อน ซึ่งโจทก์แจ้งแก่จำเลยแล้วว่าไม่ได้เป็นหนี้ จำเลยไม่ตรวจสอบว่าเป็นลูกหนี้ของตนจริงหรือไม่ กลับขู่ว่าจะฟ้องร้อง โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความตรวจสอบข้อเท็จจริฃและอื่นๆ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นละเมิด ฎ.976/2543,6040/2551

-แพทย์รักษาคนไข้ โดยสอบถามอาการคนไข้ทางโทรศัพท์จากพยาบาล ทำให้การรักษาผิดพลาด เป็นประมาทเลินเล่อ เป็นละเมิด ฎ.6092/2552

-แพทย์ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษด้านศัลยกรรมผ่าตัดคนไข้ ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องแจ้งให้คนไข้ทราบถึงขั้นตอนการรักษา ระยะเวลา และกรรมวิธีในการรักษาให้คนไข้ทราบ มิฉะนั้นเป็นละเมิด ฎ.292/2542

-บริษัทผู้รับเหมา มีหน้าที่ซ่อมแซมถนน ไม่ติดเครื่องหมายเตือน ดังนั้น หน่วยงานราชการ และผู้รับเหมา รับผิดร่วมกัน ฐนละเมิด ฎ.399/2546,1506/2516,3057/2530,769/2513

-เจ้าพนักงานตำรวจขับรถยนต์ของโจทก์เก็บรักษาไว้เป็นของกลาง โดยนำไปเก็บไว้ริมถนนนอกสถานีตำรวจ ไม่จัดให้มีผู้ดูแลรักษา มีคนร้ายลักทรัพย์สินไป เจ้าพนักงานตำรวจต้องรับผิด ฎ.3015/2530,7975/2549

-พนักงานรักษาความปลอดภัย ตรวจบัตรรถยนต์เข้าออกศูนย์การค้า ไม่ใช้ความระมัดระวัง ทำให้รถยนต์ลูกค้าหาย ห้าง และ พนักงานรักษาความปลอดภัย และนายจ้าง ต้องร่วมรับผิด ฎ.5398/2538,4223/2542,5259/2551,11605/2553

-ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อว่าเหมือนกับของผู้ฝากหรือไม่  มิฉะนั้นเป็นประมาทเลินเล่อ เป็นละเมิด ฎ.1795/2541,880/2546

-ครูสอนวิชาพละศึกษาลงโทษให้นักเรียนวิ่งมากจนเกินไป ในขณะอากาศร้อนและมีแสงแดดแรง เด็กนักเรียนหัวใจวายตาย แม้เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อน ถือว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย ฎ.5129/2546

-จำเลยประกอบกิจการโรงงานส่งเสียงดัง ส่งเกลิ่นเหม็น ทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน ขอให้หยุดส่งเสียงดังหรือกลิ่นเหม็นได้ แต่ไม่มีสิทธิขอให้จำเลยย้ายโรงงานไปอยู่ที่อื่น ฎ.8309/2548

-จำเลยจับตัวผู้ตายไปกักขังทรมานร่างกายทารุณร่างกายและจิตใจ ผู้ตายจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย ถือเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จึงต้องรับผิดในความตายของผู้ตาย ฎ.4904/2548

-การปลูกอาคารสูงบัง จนบ้านผู้อื่นไม่ได้รับลมและปสงสว่างจากภายนอกพอสมควร เป็นละเมิด ฎ.2949/2526 ปชญ.

-แต่ถ้าอยู่ในย่านการค้าที่มีความเจริญมาก ที่ดินมีราคาแพง แม้จะปลูกสร้างอาคารสูงบังบ้านผู้อื่น ไม่เป็นละเมิด ฎ.3815/2540

-นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางที่จ้าง ม.425

-นายจ้างมีสิทธิไล่เบี้ยลูกจ้าง ม.426

-ตัวการต้องรับผิดกับตัวแทนในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนได้กระทำไปในกิจการที่ได้กระทำการแทนตัวการ ม.427

-ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง 

-ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง การตอกเสาเข็ม  ผู้ว่าจ้างต้องรับผิด ฎ.1942/2543,963/2535,3382/2554

-ความรับผิดของบิดามารดา ผู้อนุบาล ต้องร่วมรับผิดกับผู้เยาว์ หรือผู้วิกลจริตในผลละเมิดที่ที่ผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตได้กระทำ เว้นแต่บิดามารดาหรือผู้อนุบาลจะพิสูนจ์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ม.429

-ความรับผิดของครู อาจารย์ นายจ้าง ซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์หรือชั่วครั้งชั่วคราว ต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน หากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ม.430

-บุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกระทำละเมิดบุคคลเหล่านั้นต้องร่วมกันรับผิดเพื่อความเสียหายนั้น แม้ไม่รู้ตัวได้แน่ว่าผู้ร่วมกระทำความผิดคนใดก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย ม.432

-ความเสียหายเกิดขึ้นจากสัตว์ เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยง ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ฝ่ายที่ได้รับความเสียหาย ฯ ม.433

-ความเสียหายเกิดขึ้นจากโรงเรือน เนื่องจากปลูกสร้างไว้ชำรุดบกพร่อง บำรุงรักษาไม่เพียงพอ ผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ม.434

-ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากของตกหล่นจากโรงเรือน ม.436

-ความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะฯ ม.437

-ผู้ครอบครองยานพาหนะนั้นต้องในฐานะเป็นผู้ยึดถือในขณะเกิดเหตุ ถ้าเจ้าของยานพาหนะไม่ได้อยู่ในขณะเกิดเหตุ ไม่ใช่ผู้ครอบครองยานพาหนะ ไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย ฎ.2659/2524,5544/2552,5679/2545,6248/2541

ค่าสินไหมทดแทน

-ค่าสินไหมทดแทน ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ และความร้ายแรงแห่งละเมิด ม.438 วรรคหนึ่ง

ค่าสินไหมทดแทนในกรณีทำให้เขาตาย

1.ค่าปลงศพ ม.443 วรรคแรก

2.ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นๆ ม.443 วรรคแรก

3.ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย 443 วรรคสอง

4.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย 443 วรรคสอง

5.ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ม.443 วรรคสาม

6.ค่าขาดแรงงาน ม.445

ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายอนามัย ม.444-446

1.ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป ม.444 วรรคหนึ่ง

2.ค่าเสียความสามารถประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ม.444 วรรคหนึ่ง

3.ค่าขาดแรงงาน ม.445

4.ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน 446

....ละเมิดชื่อเสียง จัดการเพื่อให้ชื่อเสียงกลับคืนดี ม.447

อายุความละเมิด ม.448

-อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

-ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ม. 5 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2560การที่จำเลยจัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและบุคลากรของมหาวิทยาลัย อ. รวมทั้งนักศึกษาของมหาวิทยาลัยบางส่วน ในฐานะเป็นอธิการบดีซึ่งทำการแทนมหาวิทยาลัย อ. มิได้กระทำเป็นส่วนตัว เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย อ. ที่ทำให้มหาวิทยาลัย อ. จำต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดทางวินัย รวมถึงสาเหตุของการเผยแพร่ใบปลิวและความวุ่นวายที่เกิดจากการชุมนุมปราศรัยของโจทก์กับพวก เพื่อให้ทราบความจริงที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย อ. อันเป็นการรักษาชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย อ. และปกป้องประโยชน์ของทางราชการย่อมถือเป็นการให้ข่าวสารข้อมูลของทางราชการเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย อ. อันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2529 ให้อำนาจจำเลยไว้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งในมูลละเมิดแก่โจทก์ได้ เพราะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้