การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ เช่น


บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์


1.   ขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง

ประเภทการประมวลผลข้อมูล

        การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การกระทำกับข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งหรือข้อมูลกลุ่มใดๆกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายมากขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ได้มากขึ้น สิ่งที่ได้จากการประมวลผลนี้เรียกว่า สารสนเทศ(Information) ข้อมูล (Data)สำหรับการประมวลผลข้อมูลนั้นถือว่าเป็นวัตถุดิบที่สำคัญยิ่งในการประมวลผลข้อมูล รวมทั้งขั้นตอนวิธีสำหรับการประมวลผลช่วยให้การประมวลผลรวดเร็วและถูกต้อง ตามความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศ        


          แบ่งตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

         การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีต
โดยการนำอุปกรณ์ง่ายๆ มาช่วยในการคำนวณ เช่น ลูกคิด ปากกา ดินสอ เป็นต้น การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับการคำนวณที่ไม่ ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งมักพบในธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก



          



การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล(Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลในการประมวลผล เช่น เครื่องทำบัญชี (Accounting machine) เครื่องเจาะบัตร เครื่องเรียงบัตร เครื่องแปลข้อมูล เครื่องตรวจทานบัตร เป็นต้น





       

  การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผล ส่วนใหญ่มักจะใช้ กับข้อมูลที่มีปริมาณมาก ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว รวมทั้งงานที่มีการประมวลผลที่ี่ยุ่งยากซับซ้อน  การนำเอาคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมาย มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลกำลังเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อถืออย่างมากในปัจจุบันชึ่งเราอาจเรียกการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์นี้ว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing: EDP) เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก และให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจและระบบงานที่ต้องอาศัยข้อมูลในการวิเคราะห์ อ้างอิง และตัดสินใจ รวมทั้งโปรแกรมระบบงานต่างๆ ก็ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการประมวลผลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานที่มีปริมาณมาก

·        งานที่ต้องการความรวดเร็ว

·        งานที่ต้องการความถูกต้อง

·        งานที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูล

·        งานที่มีความซับซ้อนในการคำนวณ

·        งานที่มีขั้นตอนและรูปแบบการทำงานซ้ำๆ

 สำหรับการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ

การประมวลผลแบบแบทซ์ ( Batch Processing )

เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลตามช่วงเวลาที่กำหนด ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล วิธีนี้จะไม่มีการโต้ตอบกัน (Interactive) ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออฟไลน์ (off-line) เช่น ระบบการคิดดอกเบี้ยทบต้นทุก 3 เดือน หมายถึง หากยังไม่ถึงกำหนด 3 เดือน จะไม่มีการคิดดอกเบี้ยให้ 


ข้อดี
  • เหมาะสำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีปริมาณงานมาก แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลทันที

• ง่ายต่อการตรวจสอบ ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย

ข้อเสีย

• ข้อมูลที่ได้ไม่ทันสมัย เนื่องจากมีกำหนดระยะเวลาในการประมวลผล

• เสียเวลาในการรวบรวมข้อมูล

การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ ( Interactive Processing )

เป็นวิธีที่ไม่ต้องรอเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล เมื่อคอมพิวเตอร์ระบข้อมูลเข้าสู่ระบบก็จะทำการประมวลผลและให้ผลลัพท์ได้ทันที วิธีนี้ผู้ใช้และคอมพิวเตอร์จะมีการโต้ตอบกัน จึงเรียกวิธีการประมวลผลแบบนี้ว่า ออนไลน์ (on-line) เช่น การถอนเงินจากเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) เมื่อมีการถอนเงิน ยอดเงินในบัญชีจะมีการเปลี่ยนแปลงทันที





              ข้อดี    
                 • สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำเข้าไปได้ทันที

                 • ข้อมูลที่ได้ทันสมัย

                ข้อเสีย
                 • มีโอกาสที่เกิดความผิดพลาดได้

                 • การแก้ไขข้อผิดพลาดทำได้ยาก


 ที่มา://pirun.kps.ku.ac.th/~b5028125/p3.html



ขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล
 
การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ คือ


1. การเตรียมข้อมูลนำเข้า (Input Data) เป็นขั้นตอนการเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมจะทำการประมวลผล โดยข้อมูลเหล่านี้อาจได้มาจาก การสัมภาษณ์ การจดบันทึก การสังเกต หรือข้อมูลจากแบบฟอร์มต่าง ๆ
การเตรียมข้อมูลนำ แบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้ คือ
      - การลงรหัส (Coding)
เป็นการใช้รหัสแทนข้อมูล ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่กะทัดรัด สะดวกในการประมวลผล เช่น ข้อมูลเพศของนักเรียน แบ่งออกเป็น
M  หมายถึง  เพศชาย
F   หมายถึง  เพศหญิง
       - งานบรรณาธิการเบื้องต้น (Preliminary Editing) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นได้ของข้อมูล หากข้อมูลมีข้อผิดพลาดทำการปรับปรุงแก้ไข
       - การแยกประเภท  (Classifying)   เป็นการจัดประเภทข้อมูลให้เป็นกลุ่มตามลักษณะของข้อมูล เพื่อสะดวกในการนำไปประมวลผล
       - การบันทึกข้อมูลในสื่อที่เหมาะสม   เป็นการบันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์เพื่อนำไปใช้ในการประมวลผล เช่น การบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสเก็ต

2. การประมวลผล (Processing)  หมายถึง  การนำข้อมูลที่เตรียมไว้มาทำการประมวลผลโดยกรรมวิธีหนึ่ง หรือหลายกรรมวิธี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้งานได้

3. การแสดงผลลัพธ์ (Output) หมายถึง การนำผลลัพธ์ท่ได้จากการประมวลผลมาใช้งานในด้านต่าง ๆ รวมถึงการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วย
         


                                         ที่มา:  ///weerasak/StudentProject/Sudarut2553/htdoc

2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ 
   
โครงสร้างข้อมูล
 
     ในการจัดการข้อมูลจะมีการแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้และประมวลผล ลำดับชั้นข้อมูลพื้นฐานที่ควรทราบมีดังต่อไปนี้
 

บิต (Bit = Binary Digit)
     เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าข้อมูลที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองเสียก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้ เมื่อแปลงแล้วจะได้ตัวเลขแทนสถานะเปิดและปิด ของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า บิต เพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ บิต 0 และบิต 1


ไบต์ (Byte)
     เมื่อนำบิตมารวมกันหลายๆบิต จะได้หน่วยข้อมูลกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ไบต์ (Byte) ซึ่งจำนวนของบิตที่ได้นั้นแต่ละกลุ่มอาจมีมากหรือน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของรหัสที่ใช้เก็บ แต่โดยปกติกับการใช้งานในรหัสแอสกีทั่วไปจะได้กลุ่มของบิต 8 บิตด้วยกัน ซึ่งนิยมมาแทนเป็นรหัสของตัวอักษร บางครั้งจึงนิยมเรียกข้อมูล 1 ไบต์ว่าเป็น 1 ตัวอักษร


ฟีลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field)
     ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเขตข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง


เรคคอร์ด (Record)
     เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลหรือฟีลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว ปกติในการจัดการข้อมูลใดมักประกอบด้วยเรคคอร์ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลเป็นหลัก


ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
     ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆเรคคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูแปบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาหลายๆคนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล และคะแนนที่ได้ 

นข้อมูล (Database)


น่วยของข้อมูล
 
น่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถจัดเรียงเป็นลำดับชั้น  จากขนาดเล็กไปขนาดใหญ่ได้ดังนี้
-  บิต (bit)  เลขฐานสองหนึ่งหลักซึ่งมีค่าเป็น 0 หรือ 1
-  ตัวอักษร (character) กลุ่มข้อบิตสามารถแทนค่าตัวอักษรได้ ในชุดอักขระASCII 1 ไบต์ (8 บิต) แทน 1 ตัวอักษร
-  เขตข้อมูล (field) เขตข้อมูลซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวอักษรที่แทนข้อเท็จจริง
-  ระเบียน (record) คือโครงสร้างข้อมูลที่แทนตัววัตถุชิ้นหนึ่ง เช่น ระเบียนนักเรียน
-  แฟ้ม  (file)  ตารางที่เป็นกลุ่มของระเบียนที่มีโครงสร้างเดียวกัน
-  ฐานข้อมูล (database) กลุ่มของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน

 หน่วยวัดความจุของหน่วยความจำทางคอมพิวเตอร์
8              bits                          =            1              Byte                       : B
1,024      Bytes                     =             1              Kilo Byte             : KB         
1,024      KB                         =             1              Mega Byte           : MB         
1,024      MB                         =             1              Giga Byte            : GB         
1,024      GB                         =             1              Tera Byte             : TB         
หมายเหตุ     Kilo   =   210   =   1,024 

วัตถุประสงค์ในการจัดการข้อมูล
- การเก็บข้อมูลเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ในภายหลัง
- การจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องสมบูรณ์อยู่เสมอ
-  การปกป้องข้อมูล จากการทำลาย ลักลอบใช้ หรือแก้ไขโดยมิชอบ รวมทั้งปกป้องข้อมูลจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากวินาศภัยหรือความบกพร่องภาย ในระบบคอมพิวเตอร์

โครงสร้างข้อมูล
การใช้คอมพิวเตอร์จัดการระบบฐานข้อมูลนั้น ข้อมูลของเอนทิตีต่างๆ จะได้รับการนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บไว้อาจได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือตัดออกได้ การเก็บข้อมูลจะทำการเก็บข้อมูลไว้หลายๆ เอนทิตี และเมื่อมีการเรียกใช้อาจนำเอาข้อมูลจากหลายๆ เอนทิตีนั้นมาสัมพันธ์กันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
การจัดเก็บข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ถือว่ามีประสิทธิภาพคือการใช้ เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลน้อยที่สุดและจะต้องเรียกค้นข้อมูลได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการแบ่งเอนทิตีออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อใช้เรียกข้อมูลย่อยซึ่งเรียกว่า เขตข้อมูล (Field) เมื่อนำเขตข้อมูลทั้งหมดของแฟ้มมาวางเรียงกัน จะเกิดรูปแบบที่ทางคอมพิวเตอร์มองเห็นเรียกว่า ระเบียน (Record) ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องบ่งบอกถึงโครงสร้างงาของแฟ้มนั้นได้รวมกันในระบบ ฐานข้อมูลจึงประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลจำนวนหลายๆ แฟ้มที่มีความสัมพันธ์กัน
  
การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล

การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบต่างๆ มีลักษณะเฉพาะตัวในการเข้าถึงข้อมูล ดังนี้
 -  แฟ้มลำดับ (Sequential file) เป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มที่ง่ายที่สุด คือ ระเบียนถูกเก็บเรียงต่อเนื่องกันไปตามลำดับของเขตข้อมูลคีย์
-   แฟ้มสุ่ม (Direct file) ใช้แก้ปัญหาความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูลของแฟ้มลำดับ โดยใช้ฟังก์ชันสุ่มในเขตข้อมูลคีย์เป็นข้อมูลนำเข้าและให้ผลลัพธ์เป็น ตำแหน่งที่อยู่ของระเบียน
-    แฟ้มดรรชนี (Indexed file) คล้ายกับดรรชนีคำศัพท์ที่อยู่ท้ายเล่มหนังสือ ที่ประกอบด้วยคำต่างๆ เรียงตามตัวอักษร โดยจะเก็บค่าของเขตข้อมูลคีย์ทั้งหมดพร้อมด้วยตำแหน่งของระเบียนที่มีค่าเขต ข้อมูลคีย์นั้น
-  แฟ้มลำดับดรรชนี (Indexed sequential file) เป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างจากแฟ้มดรรชนี ซึ่งตัวระเบียนในแฟ้มข้อมูลไม่เรียงตามลำดับ แต่เรียงเฉพาะคีย์ในดรรชนี แฟ้มลำดับดรรชนี มีระเบียนที่เรียงลำดับตามเขตคีย์ข้อมูล และมีดรรชนีบางส่วน

 การจัดการฐานข้อมูล

        ในการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพดีแล้วยังต้องมีชุดคำสั่ง (Software) ที่จะควบคุมการทำงานของเครื่องอีกด้วย การทำงานโดยวิธีการจัดแฟ้มซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า ระบบการจัดการกระทำแฟ้มข้อมูล (file handing system) อาจใช้โปรแกรมสำเร็จซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นแฟ้มที่มี ระเบียบง่ายต่อการใช้งาน และช่วยทำให้ผู้ใช้ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว โปรแกรมเหล่านี้จะใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (Data Base Management System : DBMS)
ระบบฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการใช้งานประจำวัน การตัดสินใจของผู้บริหารจะกระทำได้รวดเร็ว ถ้ามีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศดังกล่าว แต่การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหลักการและวิธีการที่ทำให้ระบบมี ระเบียบแบบแผนที่ดี การแบ่งประเภทแฟ้ม

 ลักษณะการจัดการฐานข้อมูลที่ดี

     เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วิธีการฐานข้อมูลได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นจากการออกแบบและเก็บข้อมูลในฐาน ข้อมูลที่เดียว การจัดการฐานข้อมูลจึงมีหลักการที่สำคัญ คือ
1.  ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.  กำหนดมาตรฐานข้อมูล
3.  มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล
4.  มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม
5.  รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง


 ที่มา ://www.thaigoodview.com


3. ให้ออกแบบแฟ้มข้อมูลจำนวน 1 แฟ้มข้อมูลโดยกำหนด 

Field และ Record ตามเหมาะสม

    






 4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

วิธีการประมวลผล
1. วิธีการประมวลแบบแบทซ์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลโดยเก็บรวบรวมข้อมูลหรือคำสั่งไว้ปริมาณ หนึ่งแล้วจึงนำงานชุดหรือแบทซ์ นั้นส่งเข้าประมวลผลต่อไป วิธีการประมวลผลแบบนี้มีใช้มาตั้งแต่คอมพิวเตอร์ยุคแรก การประมวลผลแบบแบทซ์พิจารณาได้ 2 ด้าน คือ ในด้านของผู้ใช้เครื่องและในด้านของผู้มีหน้าที่ควบคุมเครื่อง
  • ในด้านผู้ใช้เครื่อง ผู้ใชเครื่องหรือเจ้าของงานที่ต้องการประมวลผลทำการเก็บรงบรงมข้อมูลไว้เป็น ชุดแล้วจึงส่งเข้า ประมวลผลโดยทั่วไปผู้ใช้ถือเครื่องเอาคาบเวลาเป็นตัวกำหนดการส่งงานเข้า เครื่อง
  • ในด้านของผู้ควบคุมเครื่อง ผู้ควบคุมเครื่องทำการรวบรวมงานที่ผู้ใช้ส่งมาเพื่อรอเข้าประมวลผลเป็นชุด แล้วจึงส่งเข้า ทำงานในเครื่องครั้งละชุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มีการกำหนดเวลาในการส่งเข้า เช่น ส่งเข้าทุก 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลแบบแบทซ์ในด้านใดปัญหาของการทำงานที่เห็นได้ชัด คือ การประมวลผลแบบแบทซ์ต้อง ใช้เวลา แต่งานในปัจจุบันต้องการผลที่เร่งด่วนและผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลที่ล่า สุด เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันต่อ สถานการณ์ การประมวลผลแบบแบทซ์จึงไม่สามารถ ช่วยงานในลักษณะที่ได้เต็มที่ ลักษณะงานที่เหมาะสมกับการ ประมวลผลแบบแบทซ์ คือ - งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการรอเพื่อบันทึกข้อมูลลงสื่อข้อมูลคอมพิวเตอร์
    -งานที่มีการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมากต่อการประมวลผลแต่ละ ครั้ง เช่น การปรับปรุงคะแนนสะสมของ นักศึกษาเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ข้อมูลของนักศึกษาทุกคนจะถูกปรับปรุงใหม่
    รูปแสดงการประมวลผลแบบแบทซ์

    2. วิธีการประมวลผลแบบออนไลน์ แนวความคิดของการประมวลแบบ ออนไลน์ (On-Line Processing) มาจากข้อเท็จ จริงที่ว่า หน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่าหน่วยรับและแสดงผล จึงมีผู้คิดนำเครือ่งเทอร์มินัลมาใช้ในการรับและแสดงผลข้อมูลโดยใช้เชื่อม โยงเข้าหับหน่วยประมวลผลกลาง ทำให้การป้อนข้อมูลไม่ต้องบันทึกสื่อข้อมูล สามารถส่งเข้าประมวลผลโดยตรงและผลลัพธ์แสดงผ่านเครื่องเทอร์มินัลได้โดยตรง เช่นกัน การประมวลผลแบบออนไลน์-ไลน์ แบ่งได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ
    - ระบบไทม์-แชริง (Time-Sharing) เป็นระบบออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านเทอร์มินัลจากหลายงาน ผู้ใช้จึงมีชุดคำสั่งของตนเองส่งเข้าไปในเครื่องในเวลาเดียวกับผู้ใช้ราย อื่นได้ วิธีการนี้จึงดูเหมือนว่าผู้ใช้แต่ละคนเป็นเจ้า ของคอมพิวเตอร์เอง
    - ระบบเรียล-ไทม์ (Real-time) เป็นระบบออนไลน์ ที่มีลักษณะคล้ายกับไทม์-แชริง แต่แตกต่างกันที่งานที่ประมวลผล เป็นงานเดียวมีผู้ร่วมใช้หลายคน เทอร์มินัลทุกจุดถูกควบคุมด้วยโปรแรกมเดียวกันเพื่อให้เครื่องสามารถติดต่อ กับผู้ใช้ทุก คน จึงมีการแบ่งโปรแกรมเป็นชุดย่อย ๆ ในโปรแกรมชุดย่อยเหล่านี้ทำงานไปพ้อม ๆ กันได้
    ระบบการประมวลแบบออน-ไลน์ เหมาะสมกับงานซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
  • งานที่มีข้อมูลส่งเข้าประมวลผลจำนวนน้อย
  • งานที่ไม่มีการปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในการประมวลผลแต่ละครั้ง แต่เป็นการปรับปรุงบางรายการเท่านั้น
  • งานที่มีการแสดงผลจำนวนน้อย ไม่มีการพิมพ์รายงานขนาดใหญ่
  • งานที่ต้องการความรวดเร็ว การประมวลผลข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์นั้นสามารถจำแนกได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) และการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (On-Line Processing)
    การประมวลผลแบบกลุ่ม
    การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งรวมเข้าไว้ ด้วยกันเป็นชุด ๆ หรือเป็นจำนวนมากก่อน แล้วจึงทำการบันทึกข้อมูลดังกล่าวเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ในเวลาถัดมา เมื่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ในระบบคอมพิวเตอร์มีปริมาณมากพอควรแล้วหรือ เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ได้มีการระบุไว้แน่นอน (Fixed Intervals) จึงค่อยทำการประมวลผลหรือส่งเข้าไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงแฟ้มข้อมูลที่ เก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง
    การประมวลผลแบบกลุ่มเป็นวิธีการประมวลผลที่ประหยัดค่าใช้จ่าย และเหมาะสำหรับงานที่ไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทันทีทันใดที่เกิดรายการข้อมูล ขึ้น ตัวอย่างเช่น ระบบการรับ-จ่ายเงินเดือน ระบบการจัดทำใบเรียกเก็บเงิน เป็นต้น หากทว่าข้อจำกัดที่สำคัญของระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่มีเก็บรวบรวมไว้อาจไม่เป็นปัจจุบัน
    การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
    ในการประมวลผลแบบเชื่อมตรง ข้อมูลจะถูกส่งจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านทางแผงแป้นอักขระของเครื่องปลายทางไปยังหน่วยประมวลผลกลางในทันทีที่มี รายการข้อมูลเกิดขึ้น เพื่อนำ ข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผลในหน่วยประมวลผลกลางหรือไปทำการปรับปรุง/เปลี่ยน ปลงแฟ้มข้อมูลในหน่วยความจำสำรองโดยตรง
    ข้อดีของการประมวลผลแบบเชื่อมตรงคือ เนื่องจากข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการวางแผนและการตัดสินใจได้ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจะเป็นการช่วยลดความผิดพลาดและความเสียหายในการ เคลื่อนย้ายข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลกลางได้ หากข้อจำกัดของการประมวลผลแบบเชื่อมตรง คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดทำระบบการประมวลผลแบบเชื่อมตรง ค่อนข้างสูง 

    การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ เป็นอย่างไร

    การประมวลผลแบบอินเทอร์แอคทีฟ (Interactive Processing) เป็นการป้อนข้อมูลเข้าเครื่องโดยตรง โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) แล้วทำการประมวลผลทันที ไม่ต้องรอรวมหรือสะสมข้อมูล อาจเรียกว่า Transaction Processing หรือ Real – Time Processing. เช่น การฝากหรือถอนเงินธนาคารโดยใช้บัตร ATM.

    การประมวลผลแบบแบตช์ มีอะไร

    การประมวลผลแบบกลุ่ม (อังกฤษ: Batch processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาไว้ จนกว่าจะมีข้อมูลที่ประมวลผลจำนวนหนึ่ง จึงทำการประมวลผลพร้อมกัน หรืออาจรอจนกว่าครบตามเวลาที่กำหนด จึงทำการประมวลผลไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม เช่น เวลาเข้าออกของพนักงานอาจจะพิมพ์เก็บไว้ทุกสัปดาห์ และนำมาประมวลผล ...

    ข้อใดคือการประมวลผลแบบทันที

    2. การประมวลผลแบบทันที เป็นการประมวลผลที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรับข้อมูลหรือหลังจากได้รับข้อมูลทันที เช่นการฝากและถอนเงินธนาคาร เมื่อลูกค้าฝากเงิน ข้อมูลนั้นจะถูกประมวลผลทันที ทำให้ยอดฝากใน บัญชีนั้นมี การเปลี่ยนแปลง การประมวลผลแบบนี้จะมีความผิดพลาดน้อย แต่เสียค่าใช้จ่ายในการประมวลผลมาก

    ขั้นตอนแรกของการประมวลผลคืออะไร

    ขั้นตอนแรก คือ การทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์ของการประมวลผลข้อมูล เนื่องจากผู้วิเคราะห์ จะต้องทำความเข้าใจวัตถุประสงค์อย่างถ่องแท้ เพื่อนำไปสู่การตั้งปัญหาและการหา คำตอบได้อย่าง ถูกต้อง เหมาะสม จากนั้นจึงนำไปสู่ขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ที่มีความ

  • Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้