ธุรกิจหลักของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยคืออะไร

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดธุรกิจสนามบินในประเทศไทย โดยบริหารท่าอากาศยานรวมทั้งหมด 6 แห่ง
  • รายได้จากธุรกิจของ AOT ประกอบด้วย 2  ส่วนหลัก คือ “รายได้จากกิจการการบิน” และ “รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน” และผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ในปี 2563 AOT มีรายได้ลดลงกว่า 48.5%
  • AOT มีแผนขยายและลงทุนเพื่อเพิ่ม “รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน” เพิ่มขึ้นจากทั้งการเข้าซื้อหุ้นในโรงแรมและบริษัทอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับข้องกับธุรกิจการท่าอากาศยาน
  • อนาคตของ AOT ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 ยิ่งกลับสู่สภาวะปกติเร็วเท่าไหร่ AOT ก็ยิ่งกลับมาได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    ช่วงปี 2563 – 2564 ต้องบอกว่าเป็นช่วงที่ยากลำบากสำหรับใครหลาย ๆ คน และแน่นอนว่าการมาของโควิด-19 หุ้นตัวนึงที่ได้รับผลกระทบแบบเต็ม ๆ เลยก็คือ หุ้นท่าอากาศยานหรือ AOT วันนี้พี่ทุยจะพามาเจาะลึก “หุ้น AOT” กัน ว่าเค้าทำอะไรและน่าลงทุนแค่ไหน

    AOT คือใคร ?

    บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เรียกได้ว่าเป็นรัฐวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจสนามบินในประเทศไทย โดยบริหารท่าอากาศยานรวมทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่

    1. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 
    2. ท่าอากาศยานดอนเมือง
    3. ท่าอากาศยานเชียงใหม่
    4. ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
    5. ท่าอากาศยานหาดใหญ่
    6. ท่าอากาศยานภูเก็ต 

    นอกจากนี้ก็ยังมีประกอบกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับการประกอบกิจการท่าอากาศยานอีกด้วย

    รายได้จากธุรกิจของ AOT ประกอบด้วย 2  ส่วนหลัก คือ “รายได้จากกิจการการบิน” และ “รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน”

    1. รายได้จากกิจการการบิน (Aeronautical Revenue) ประกอบด้วย 

    • ค่าธรรมเนียมในการขึ้นลงของอากาศยาน (Landing Charge) 
    • ค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) 
    • ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน (Passenger Service Charge)  
    • ค่าเครื่องอำนวยความสะดวก(Aircraft Service Charge)

    2. รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน (Non Aeronautical Revenue) ประกอบด้วย

    • รายได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์ (Concession Revenue) 
    • ค่าเช่าสำนักงานและค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ (Office and Real Property Rents)  
    • รายได้จากการให้บริการ (Service Revenue)

    นอกจากนี้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ยังถือหุ้นในบริษัทอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น

    บริษัท โรงแรมสุวรรณภูมิ จำกัด (60%)
    บริษัท รักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานไทย จำกัด (49%)
    บริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด (49%)
    บริษัท ฟอร์ท เอ็มอาร์โอ เซอร์วิส จำกัด (25%)
    บริษัท ครัวการบินภูเก็ต จำกัด (10%)
    บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด (10%)
    บริษัท ดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ต โฮเต็ล จำกัด (9%)
    บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (4.94%)
    บริษัท เทรดสยาม จำกัด (1.5%)
    บริษัท ไทย แอร์พอร์ตส์ กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (28.50%)

    และล่าสุดที่ AOT เข้าไปถือหุ้น ช่วงกลางปี 2564 คือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย ทาฟ่า โอเปอร์เรเตอร์ จำกัด โดยถือหุ้น 49%

    โดยการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการลดการพึ่งพารายได้จากธุรกิจการบิน การขยายธุรกิจด้วยบริษัทลูกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพิ่มรายได้ในปี 2564 ซึ่งจะมีส่วนช่วยทดแทนรายได้ที่หายไปจากผู้โดยสารในอนาคต และจะปรับสัดส่วนรายได้เป็น จากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการบิน 50% รายได้จากธุรกิจการบิน 50% การทำแบบนี้เป็นการทำให้ AOT จะมีการให้บริการท่าอากาศยานอย่างครบวงจร

    จุดแข็งของ “หุ้น AOT” คือ การเป็น “ผู้ผูกขาด” ในธุรกิจท่าอากาศยานของไทย

    AOT เป็นธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่ง ถูกเรียกว่าเป็นผู้ผูกขาดในธุรกิจท่าอากาศยานของประเทศไทย เพราะนี่คือบริษัทที่ บริหารสนามบิน 6 แห่ง อย่างที่พี่ทุยเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้ ซึ่งมีผู้โดยสารเข้า-ออก สูงถึง 139.5 ล้านคนต่อปี โดยสนามบิน “สุวรรณภูมิ” กับ “ดอนเมือง” คือ “หัวใจหลัก” ที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่ AOT

    ถ้าลองย้อนกลับไปในปี 2561 ที่ถือว่าเป็นปีที่ประเทศไทยเรามีนักท่องเที่ยวเข้ามามากที่สุด สนามบินสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารรวมทั้งขาเข้าและออก 62.8 ล้านคน อัตราผู้โดยสารเติบโต 6.3% เมื่อเทียบกับปี 2560 และมีพนักงานอยู่ที่สนามบิน 3,175 คน

    และในส่วนของสนามบินดอนเมืองมีผู้โดยสารทั้งขาเข้า-ขาออก 40.5 ล้านคน อัตราผู้โดยสารเติบโตมากกว่าปี 2560 สูงถึง 9% โดยมีพนักงานสนามบิน 1,423 คน

    แต่ที่น่าสนใจก็คือ 2 สนามบินอย่างสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง มีสัดส่วนผู้โดยสารรวมกันถึง 74% จาก 6 สนามบินของ AOT ที่มีผู้โดยสารรวมกันทั้งหมด 139.5 ล้านคน และเมื่อเปรียบเทียบกับกรมท่าอากาศยานที่มี 24 สนามบิน นั้นมีผู้โดยสารรวมกันเพียงแค่ 18.9 ล้านคนต่อปี เพราะสนามบินทั้งหมดของกรมท่าอากาศยานนั้นอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด

    จะเห็นได้ว่าการที่ AOT กุมอำนาจบริหารสนามบินทำเลอันดับ 1 และ 2 ของประเทศ ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารทิ้งขาดกรมท่าอากาศยาน จนสามารถสร้างรายได้และกำไรในการทำธุรกิจในแต่ละปีได้อย่างมหาศาล

    นอกจากนี้การมี “กระทรวงการคลัง” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ก็นับว่าเป็นจุดแข็งจุดหนึ่งของ AOT เนื่องจากกิจการของ AOT เป็นกิจการเกี่ยวกับสาธารณูปโภคและความมั่นคงที่รัฐจะต้องให้การดูแล ประกอบกับ”หุ้น AOT” มีผลประกอบการที่ดีและมีการจ่ายเงินปันผลให้กับกระทรวงการคลังมาโดยตลอด ที่สำคัญในส่วนของอาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดของบริษัทตั้งอยู่บนพื้นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ภายใต้สัญญาเช่า และสัญญาเช่าจะขาดลงทันทีเมื่อกระทรวงการคลังถือหุ้นน้อยกว่า 50% โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังถือหุ้น AOT อยู่ 10,000,000,000 หุ้น หรือ 70% ของจำนวนหุ้นที่ชำระแล้ว

    รายได้และกำไรของ AOT มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงปี 2563 ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้รายได้ปรับลดลงจากผู้โดยสารที่หายไปมากกว่า 50%

    จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ารายได้และกำไรของ AOT มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงปี 2563 ที่มีการระบาดของโควิด-19 ทำให้จำนวนเที่ยวบินลดลงถึง 42.25% และ จำนวนผู้โดยสารลดลงถึง 49.87% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งคาดการณ์ว่าช่วงปี 2564 รายได้และกำไรของ AOT ก็อาจจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนัก

    อย่างที่เรารู้กันว่าในช่วงปี 2563 AOT ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรงทำให้รายได้จากกิจการการบิน (Aeronautical Revenue) ปรับตัวลงอย่างมาก ถ้าหากเราลองดู “กำไรต่อหุ้น (EPS)” ในงบปี 2563 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ บ่งบอกถึงบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรที่ต่ำลง เมื่อเปรียบเทียบกับงบ ปี 2559-2562 ในช่วงสภาวะปกติ

    และเนื่องจากราคาหุ้นของ AOT ไม่ได้ปรับตัวลงเมื่อเทียบกับรายได้และกำไรที่ปรับลดลง ทำให้ P/E Ratio ในงบปี 2563 สูงถึง 188.33 เท่า หมายความว่าในกรณีที่ AOT ทำกำไรได้เท่าเดิมทุกปี (4,320 ล้านบาท/ปี) ถ้าเราซื้อหุ้นที่ระดับ P/E 188.33 เท่า จะใช้เวลา 188.33 ปีในการคืนทุน โดยเงินที่เราได้คืนจะกลับมาในรูปเงินปันผลหรือส่วนต่างราคา แต่ในอนาคตถ้า AOT สามารถกลับมาทำกำไรได้สม่ำเสมอเท่ากับในช่วงก่อนเกิดโควิด P/E ของ AOT  ก็จะค่อย ๆ ลดลงมาในระดับที่เหมาะสมนั่นเอง

    พอมาดูที่ ROA และ ROE ตามหลักการแล้วยิ่งสูง ยิ่งถือว่าบริษัทนั้นสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงก่อนโควิด-19 ถือว่า AOT อยู่ในระดับที่ดีมาก แต่ถ้าดูในงบปี 2563 แล้วพบว่าทั้งสองอัตราส่วนลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากกำไรสุทธิเช่นกัน 

    AOT ต้องการผลักดันให้เป็น “ผู้ดำเนินการและจัดการท่าอากาศยานที่ดีระดับโลก และการมุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสร้างรายได้อย่างสมดุล”

    AOT วางวิสัยทัศน์ในการผลักดันองค์กรสู่การเป็น “ผู้ดำเนินการและจัดการท่าอากาศยานที่ดีระดับโลก และการมุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสร้างรายได้อย่างสมดุล”

    AOT มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและการปลุกชีวิตของสนามบินด้วยการทำ Digital Transformation ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เชื่อมโยงระบบ IT ทั้งหมดในสนามบินหรือท่าอากาศยานให้สื่อสารเพื่ออำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานซึ่งในการดำเนินการต่อจากนี้จะยังมีการเชื่อมโยงระบบไปยังอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนอกท่าอากาศยาน ทั้งการคมนาคมและแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศ และเชื่อมโยงไปยังท่าอากาศยานพันธมิตร 16 แห่งทั่วโลก

    โดยหลังจากนี้ Digital Platform จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อ AOT ถือเป็นการทรานส์ฟอร์มรูปแบบและโครงสร้างธุรกิจของ AOT ในเชิงการบริหารจัดการ ซึ่งไม่ใช่แค่การเชื่อมโยงเฉพาะภายใน AOT เท่านั้น แต่เป็นการเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานและองค์กรชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศ

    การสื่อสารกับระบบต่าง ๆ ในท่าอากาศยานจะไปสู่โลกเสมือนจริง โดยในช่วงแรกจะสื่อสารผ่านแอปพลิเคชั่นของโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

    อนาคตของ AOT จะเป็นอย่างไร ?

    ต้องยอมรับว่า AOT เป็นหุ้นตัวนึงที่ได้รับกระทบจากโควิด-19 เข้าไปเต็ม ๆ ทำให้มีเรื่องที่นักลงทุนแบบเรา ๆ ต้องจับตามองกันเพิ่มเติมในหลากหลายแง่มุม พี่ทุยมีเช็คลิสต์สิ่งที่เราจะต้องจับตามองมาให้ 3 ข้อ ได้แก่

    1. ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนในประเทศ

    เนื่องจาก AOT มีรายได้หลักจากธุรกิจบริการการบินทั้งสิ้น โดยนโยบายการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีเป้าหมาย ฉีดให้ประชากรในประเทศไทย 50 ล้านคนภายในสิ้นปี 2564 และหากแผนการฉีดวัคซีนเป็นไปได้ตามเป้าหมาย เราอาจจะได้เช็คอินถ่ายรูปที่สนามบิน ไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัว เพื่อนฝูงอย่างมีความสุขก็เป็นไปได้

    2. แนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจบริการขนส่งทางอากาศ

    ธุรกิจบริการขนส่งทางอากาศปี 2564-2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เพราะเศรษฐกิจและการค้าโลกค่อย ๆ ทยอยฟื้นตัว ความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนแพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป ความต้องการเดินทางทั้งในและต่างประเทศก็ค่อย ๆ กลับมา

    อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนส่งทางอากาศอาจมีภาระการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเกณฑ์ความปลอดภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมการบินโลก และการลงทุนเพื่อยกระดับความปลอดภัยทางการบินช่วงหลังวิกฤต ทำให้ผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัดด้านเงินทุน จำนวนเที่ยวบิน และส่วนแบ่งตลาดในเส้นทางบินน้อยอาจจะเผชิญกับวิกฤตสภาพคล่องและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

    3. การขยายเวลาเลื่อนชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน

    การขยายเวลามาตรการเลื่อนชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ค่าเช่าพื้นที่ และค่าบริการช่วยสายการบิน และผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เพื่อประคองธุรกิจไม่ให้เกิดปัญหาการเลิกจ้าง ทำให้งบการเงินปี 2564 อ่อนแอลง

    ถึงแม้โควิดจะทำให้ธุรกิจของ AOT ได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่พี่ทุยเชื่อว่า “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” หลังวิกฤติผ่านพ้นไปคาดว่าในปี 2567 ปริมาณการจราจรทางอากาศจะกลับสู่ระดับเดียวกับปี 2562

    อย่างไรก็ตาม AOT ยังคงดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ตามแผนงาน รวมทั้งใช้โอกาสในช่วงที่มีเที่ยวบินน้อย ดำเนินการซ่อมแซมหรือก่อสร้างทางวิ่งทางขับให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เตรียมพร้อมการฟื้นตัวของธุรกิจการบินที่จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

    ถ้ามองเป็นการลงทุนระยะยาวการซื้อสะสมในช่วงนี้ถือว่าน่าสนใจ ให้มองวิกฤติเป็นโอกาสโดยหุ้น AOT เป็นที่หุ้นปัจจัยพื้นฐานดี มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง อยู่รอดได้แม้ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี เป็นผู้ผูกขาดในธุรกิจท่าอากาศยานของประเทศไทย และบริษัทมีความสม่ำเสมอในส่วนของรายได้ กำไรสุทธิ รวมถึงการจ่ายปันผลในสภาวะปกติ

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้