เพศ วิถี ศึกษา มี กี่ ด้าน

เพราะเพศเป็นเรื่องที่ติดตัวมาแต่เกิดและอยู่กับเราไปจนตาย ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะต้องทำความรู้จักและเข้าใจตัวเองให้ดีที่สุด ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผ่านวิชา เพศวิถี

‘ เพศวิถี ศึกษา’ หรือ Sexuality คือวิชาที่ว่าด้วยเรื่องเพศครอบคลุมในทุกมิติตั้งแต่เรื่องทางสรีรวิทยา ไปจนถึงบริบททางวัฒนธรรม โดยที่สำคัญคือ ต้องให้ข้อมูลการเรียนการสอนอย่างถูกต้องชัดเจนในเชิงวิทยาศาสตร์โดยปราศจากการตัดสินเชิงคุณค่า (UNESCO, 2552)

การศึกษาเรื่องเพศ เพศวิถี กลายมาเป็นคุณค่าสากลร่วมของโลกในเรื่องความเท่าเทียมและหลากหลาย ความตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งทั้งในบริบททางร่างกายและสังคมเริ่มขยายวงกว้างจากกระแสความเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยและความเสมอภาค

“ความเคลื่อนไหวทุกเรื่องในตอนนี้เป็นเรื่องของการใช้อำนาจ แล้วเรื่องเพศก็เป็นอีกเรื่องของการใช้อำนาจ เราเลยเห็นผู้คนจำนวนมากที่ออกมาบอกว่า ‘เราไม่ต้องการเป็นเพศที่ถูกกำหนดแบบที่สังคมบอก’ ” ดาราณี ทองศิริ ผู้ก่อตั้ง Feminista สื่อเฉพาะทางว่าด้วยความเท่าเทียมทางเพศ และศิษย์เก่าสาขาการศึกษาเพศภาวะ วัฒนธรรม และการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยปูเน่ ประเทศอินเดีย จะมาเป็นผู้ขยายความเรื่องราวของเพศวิถีในชีวิตของทุกคน

เส้นทางการศึกษาเพศวิถีในไทย และก้าวใหม่ที่ความเข้าใจเป็นตัวตั้ง

เราต่างก็คุ้นเคยกับวิชาสุขศึกษาที่เป็นภาคบังคับในโรงเรียน เนื้อหาที่ว่าด้วยบทบาทเพศที่ถูกต้อง การรักนวลสงวนตัว และอนามัยเจริญพันธุ์ ว่าด้วยการดูแลรักษาและเพศสัมพันธ์ปลอดภัย “ลักษณะการสอนจะตั้งอยู่บนบรรทัดฐานแบบคนตรงเพศ ในระบบแบบสองเพศหรือ Gender Binary คือมีหญิงกับชายเท่านั้น นอกจากนั้นคือผิดปกติ”

บรรยากาศความเปลี่ยนแปลงในทางการศึกษาเรื่องเพศเริ่มเติบโตขึ้นนอกโรงเรียน ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิวัฒน์ของสังคมที่เดินไปข้างหน้า พร้อมกับคำถามในหัวของเด็กที่ไม่ได้รับคำตอบจากการศึกษาในระบบ เริ่มทำให้ผู้คนออกตามหาคำตอบในเรื่องที่อยากรู้ด้วยตัวเอง ทั้งจากผ่านการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเองในกลุ่มเพื่อน รวมทั้งการให้การศึกษาโดยองค์กรที่ทำงานด้านเด็กและความหลากหลายทางเพศ ด้วยความสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ

“ความพยายามเหล่านี้เกิดจากองค์กรพยายามจะเข้าไปทำงานในโรงเรียน จากหัวเรื่องการยุติการรังแกกลั่นแกล้ง หรือเลือกปฏิบัติเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ ไปถึงเรื่องการสร้างความเข้าใจว่า ความหลากหลายทางเพศเป็นส่วนหนึ่งของเพศวิถีมนุษย์ กับอีกส่วนหนึ่งที่มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศเข้าไปช่วยดูเรื่องตำราเรียนของนักเรียนระดับมัธยม ให้อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียม”

กับนักเรียนบางส่วนที่การเรียนรู้เรื่องเพศในโรงเรียนไม่ตอบโจทย์ การหาความรู้จากนอกห้องเรียนจึงเป็นเรื่องที่เขาออกตามหา “ตอนที่เปิดคอร์ส School of Feminists แบบออนไลน์ มีห้องเรียนหนึ่งที่รับเฉพาะรอบเยาวชน อายุต่ำสุดที่มาสมัครคือ 12 ปี ไปจนถึงมัธยมปลาย เพราะเขาบอกว่าเรื่องนี้ไม่มีสอนเลยในโรงเรียน ยังไม่มีการเรียนการสอนเรื่องเพศวิถีแบบรอบด้านในระบบ”

เรื่องราวของเพศวิถีเป็นหัวข้อกว้างขวางรอบด้านตั้งแต่เรื่องทางสรีรวิทยา พฤติกรรม และวัฒนธรรม การจัดการเรียนการสอนเพศวิถีจึงเป็นไปตามกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เรียน ยกตัวอย่างหัวข้อ อนามัยเจริญพันธุ์ กฎหมายการทำแท้ง การเคารพสิทธิทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ การเลือกปฏิบัติทางเพศ “ที่สำคัญคือ การเรียนรู้ไม่ได้จบแค่เนื้อหา แต่ต้องมีทางออกให้ด้วย”

อินเดีย ดินแดนเบ่งบานด้านความรู้เรื่องเพศวิถี

“ที่ไหนมีการกดขี่ ที่นั่นมีการต่อต้าน” ดาราณีเริ่มต้นเล่าประสบการณ์การเรียนด้านเพศวิถีและสตรีศึกษาที่ประเทศอินเดีย “อินเดียเป็นประเทศที่มีการกดขี่ทางเพศมายาวนานและสูงมาก เพราะฉะนั้นจึงมีกระบวนการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่แรก จนกระทั่งสามารถก่อตั้งศูนย์สตรีศึกษา จนขยายมาเป็นเควียร์ศึกษา และเพศสถานะศึกษา”

“ช่วงแรกมันอาจจะเป็นเฉพาะปัญหาของผู้หญิงอย่างเดียวก่อน เช่น การที่ผู้หญิงถูกข่มขืน อันนี้เป็นปัญหาใหญ่มากในอินเดีย ความรุนแรงในครอบครัว ความสำคัญของผู้หญิง การถูกบังคับแต่งงาน การถูกคลุมถุงชน การขลิบอวัยวะเพศ หรือเรื่องประจำเดือนคือสิ่งสกปรก พอมีการกดขี่มันเลยมีการต่อสู้ มีการตั้งสตรีศึกษาขึ้นมาในโรงเรียน ทุกวันนี้ทุกรัฐที่อินเดียจะมีองค์กรที่ทำประเด็นเรื่องเพศ การที่มีหลักสูตรมันแปลว่าเราต้องการแก้ปัญหา จึงต้องมีการสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา”

นอกจากบทเรียนในหลักสูตร สถานการณ์นอกห้องเรียนในบรรยากาศของอินเดียก็รุนแรงไม่แพ้กัน “เราเจอการเลือกปฏิบัติทางเพศที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วเราก็ไปทำงานกับคนที่ถูกเลือกปฏิบัติทางเพศจริงๆ มันยิ่งกว่าตอนเป็นนักเรียนอีก อย่างภาวะความไม่ปลอดภัยที่อยู่รอบตัว เราถูกจ้องมอง ชวนคุย ถามเรื่องส่วนตัว มันเป็นภาวะที่เราเจอกับตัวเอง”

(ภาพจากงานประชุมผู้หญิง ดาลิต)
(ภาพกิจกรรมการฉลองปีใหม่)

“หรือเราอยากเที่ยวเล่นเตร็ดเตร่ตอนกลางคืนก็ทำไม่ได้ เราเคยเจอตำรวจมาบอกว่า ‘อย่ามายืนแถวนี้ คนเมาเยอะเดี๋ยวโดนข่มขืน’ มันทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่า สิ่งนี้คือความไม่เท่าเทียมทางเพศ เพราะวิธีการแก้ไขของคุณไม่ได้คุ้มครองผู้หญิง ไม่ได้ทำให้ผู้หญิงมีสิทธิ์ที่จะไปเตร็ดเตร่ข้างนอกได้อย่างปลอดภัย แต่จะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้หญิงอยู่บ้าน จะได้ปลอดภัย”

“หรือในมหาวิทยาลัยเรา มีคนข้ามเพศเรียนแค่คนเดียว แล้วกว่าเขาจะฝ่าฟันเข้ามาเรียนปริญญาโทได้ ก็คือต้องทำงานเป็นขอทาน ขอเงินตามเทศกาลต่างๆ เพราะคนข้ามเพศจะโดนรังเกียจ ถ้าไม่ทำ Sex Work ก็เป็นขอทาน ซึ่งพอเขาเข้ามาเรียนได้ก็ต้องเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติ ถูกรังแกเยอะ”

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมรุนแรงในเรื่องทางเพศ ในช่วงระยะเวลาที่ดาราณีเรียนอยู่ เธอก็ได้อยู่ร่วมในหมุดหมายของประวัติศาสตร์อินเดียเช่นกัน “ช่วงนั้นเป็นช่วงที่เขากำลังต่อสู้เพื่อที่จะยกเลิกกฎหมายลงโทษคนรักเพศเดียวกัน หรือมาตรา 377 แล้วทำสำเร็จ เขายกเลิกตอนเราเรียนปีสุดท้ายพอดี เราเลยได้อยู่ร่วมในประวัติศาสตร์ที่ทุกคนสามารถเป็นตัวเองได้โดยไม่ถูกกฎหมายเล่นงาน ที่คณะคือจัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เลย แล้วเรียกเรากับเพื่อนที่เป็นคนข้ามเพศและเกย์ ซึ่งเปิดตัวว่าเป็นคนมีความหลากหลายทางเพศ ไปตัดเค้กสีรุ้งและกล่าวถ้อยแถลง”

สังคมไทยกับการเติบโตของความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ

“เรื่องเพศต้องบอกว่าเป็นเรื่องการหล่อหลอมทางวัฒนธรรมด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมายเพียงอย่างเดียว ในแง่กฎหมาย ถ้าผ่านสภาก็เปลี่ยนได้ แต่ความคิดคนที่จะเปลี่ยนเรื่องการมอง LGBTQ+ ให้เท่ากัน เผลอๆ มีกฎหมายแล้วก็ยังไม่เปลี่ยน เพราะมันคือการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม”

ทั่วไปในสังคม เราต่างก็อยู่กับความหลากหลาย เช่นเดียวกันกับเรื่องเพศที่นิยามในตัวตนของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปตามปัจเจก “มันเลยต้องตั้งคำถามกลับไปว่า จริงๆ แล้วบรรทัดฐานของคนรักต่างเพศหรือตรงเพศมันฝังมายาวนาน โดยที่คุณไม่รู้เลยว่าจริงๆ แล้ว LGBTQ+ มีอยู่ทั่วไป แค่ไม่เคยปรากฏบนพื้นที่แบบรักต่างเพศ ซึ่งพอมันปรากฏขึ้นมา หลายคนอาจรู้สึกว่าถูกยัดเยียด ทั้งที่จริงๆ แล้วเราอยู่ทุกที่ เราก็ใช้ชีวิตอยู่กับคนรักตรงเพศ กับคนทั่วไปในสังคมนั่นแหละ”

ความเติบโตในความรู้ความเข้าใจในเรื่องความหลากหลาย นำมาสู่การนิยามตนเองในเรื่องเพศ ความสำคัญของเรื่องนี้นอกจากเป็นการสร้างความตระหนักให้กับสังคมแล้ว ยังนำไปสู่การปฏิบัติที่เคารพต่อทุกคนในฐานะเพื่อนมนุษย์ และเคารพปัจเจกของแต่ละคน

“เวลาเรานิยามตัวเอง แปลว่าเรายอมรับว่าเรามีตัวตนบางอย่าง เรามีสำนึกบางอย่าง แล้วเราผูกพันกับคนอื่นในฐานะอะไร คนตรงเพศอาจจะไม่รู้สึกอะไรเท่าไรเพราะอยู่ในกรอบถูกต้องที่สังคมให้การยอมรับ แต่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เวลามีคนมาบอกว่าเราเป็นอะไรโดยที่เราไม่ได้เป็นอย่างนั้นมันอึดอัด เพราะฉะนั้นมันก็เลยต้องยืนยันว่า เรานิยามตัวเองว่าอะไร เพื่อให้คนเข้าใจนิยามนั้น และเคารพที่เราเป็นเรา”

“แต่ละคนก็มีปัญหาที่ต่างกันออกไป ขนาดเราเป็นผู้หญิงเหมือนกัน เรายังมีปัญหาไม่เหมือนกันเลย เพราะฉะนั้นมันเลยต้องกำหนดนิยามว่า เพื่อให้การปฏิบัติและการแก้ปัญหาก็ต้องออกมาให้ตรงกับความต้องการ เพราะถ้าไม่นิยามตัวเอง ปัญหาเหล่านั้นจะถูกลบเลือนไป อย่างคู่เลสเบี้ยนที่แต่งงานกันในงานไพรด์ ก็ต้องนิยามตัวเองว่าเป็นคู่ชีวิต เพื่อความต้องการแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นำมาสู่ความต้องการกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อให้ปัญหาโดนแก้ไข”

“แต่เมื่อไหร่ก็ตามถ้าสมมติว่า สังคมนั้นมีกฎหมายรองรับทุกเพศแล้ว ทุกคนเคารพอัตลักษณ์ที่หลากหลายแล้ว ถึงตอนนั้นก็ไม่ต้องมานั่งต่อสู้เพื่อนิยามเหล่านี้แล้ว”

การเรียนรู้เรื่องเพศแม้จะมีขอบเขตที่กว้างขวางหลากหลาย แต่ก็ไม่สายที่จะเรียนรู้ และยังเป็นวิชาที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เพราะนอกจากเป็นเรื่องการสร้างความเข้าใจและตระหนักในความหลากหลายแล้ว ยังใช้รับมือการเปลี่ยนผ่านของวัฒนธรรมไปสู่ค่านิยมแบบใหม่ ให้เดินทางได้ตรงเส้นในวันที่โลกเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว

“ฝั่งยุโรป อย่างเนเธอร์แลนด์หรือสวีเดนมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียมทางเพศในโรงเรียนและครอบครัวตั้งแต่ยังเล็ก ยกตัวอย่างครอบครัวที่มีลูกมีความหลากหลายทางเพศ ก็จะมีโปรแกรมให้หมดเลยว่าต้องทำอย่างไรบ้าง มีสวัสดิการข้ามเพศให้กับเด็ก โดยที่รัฐและเอกชนให้ความร่วมมือกันเพื่อผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมในทุกบริบท ทั้งทางสรีระ กฎหมาย และสังคม”

สำหรับเมืองไทยเอง เรายังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การสร้างความเข้าใจใหม่ในเรื่องราวทางเพศ เคล็ดลับไม่ยากสำหรับการเรียนรู้เรื่องนี้คือ ‘เปิดสมอง เปิดใจให้กว้าง และศึกษาในเรื่องที่อยากรู้’

“การเรียนรู้เรื่องเพศจะทำให้คนเข้าใจตัวเองด้วย เข้าใจคนอื่นมากขึ้น และเคารพความหลากหลายของสังคมมากขึ้น” ดาราณีทิ้งท้าย

องค์ประกอบเพศวิถีศึกษามีกี่ด้าน

แนวคิดหลักในการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “เพศศึกษา” ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขมี 7 ด้าน คือ 1. พัฒนําการทางเพศ (Human sexual development) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศตามวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

เพศวิถีศึกษา มีกี่ประเภท

วิถีทางเพศที่รู้จักโดยทั่วไปแบ่งเป็นสามประเภท คือ ๑. รักเพศเดียวกัน (Homosexual) คือ ความรู้สึกดึงดูดใจคนเพศเดียวกัน ๒. รักต่างเพศ (Heterosexual) คือ ความรู้สึกดึงดูดใจเพศตรงข้าม ๓. รักสองเพศ (Bisexual) คือ ความรู้สึกดึงดูดใจคนเพศเดียวกันกับตน และคนที่ต่างเพศกับตน

เพศวิถีศึกษา เป็นอย่างไร

เพศวิถีศึกษา หมายถึง การเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องเพศและสัมพันธภาพที่เหมาะสมกับวัยและบริบททางวัฒนธรรม ด้วยการให้ข้อมูลที่ ถูกต้องชัดเจนในเชิงวิทยาศาสตร์โดยปราศจากการตัดสินเชิงคุณค่า (องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ(UNESCO), 2552, น.2)

เพศศึกษารอบด้านคืออะไร

เพศศึกษารอบด้าน เป็นการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศทุกแง่มุม และพัฒนาทักษะที่จําเป็น คือ การวิเคราะห์ ไตร่ตรอง การประเมินโอกาสเสี่ยง การสร้างและรักษาสัมพันธภาพ รวมถึง การตัดสินใจอย่างรอบคอบในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีทางเพศของตนเอง โดยที่มีเนื้อหาที่ครอบคลุม เรื่อง “เพศสภาวะ” การมองเรื่องเพศในมุมสังคมวัฒนธรรม ที่ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้