ประเภทของวิทยุโทรทัศน์มีกี่ประเภท

1. รายการพูดคุยกับผู้ฟัง (Straight Talk Programme)

“straight talk” ก็คือการพูดคุยกับผู้ฟังโดยตรง (คือรายการที่มีผู้พูดเพียงคนเดียวพูดให้ผู้ฟังฟังโดยตรงนั่นเองไม่ใช่เป็นการพูดคุยกับคนอื่นให้ผู้ฟังฟัง) แต่การพุดคุยนั้นในการจัดทำรายการทางวิทยุกระจายเสียงนั้น จำเป็นต้องมีบท (script) straight talk programme จึงมิใช่ลักษณะการอ่านบท แต่เป็นการพูดตามบทที่ได้เตรียมมา ให้เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะน่าฟังและดึงดูดความสนใจได้มากกว่า ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการพูดของผู้พูด (speaker) ด้วย ยิ่งพูดเป็นธรรมชาติมากเท่าใดยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้นเท่านั้น

2. รายการสนทนา (Conversational Programme)

เป็นรายการทำนองพูดคุย แต่การพูดคุยมิได้พูดคุยโดยตรงกับผู้ฟัง หากแต่เป็นการสนทนากันระหว่างผู้ร่วมรายการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการสนทนาหรือดำเนินรายการทำหน้าที่ เป็นผู้คอยควบคุมให้การสนทนาเป็นไปตามแนวอยู่ในขอบเขต และคอยนำการสนทนาจากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องหนึ่ง
จากหัวข้อหนึ่งไปสู่อีกหัวข้อหนึ่ง อย่างมีระเบียบและเป็นขั้นตอนไม่ให้สับสนวกวน และผู้ดำเนินการสนทนาอาจร่วมออกความคิดเห็น ร่วมสนทนาไปกับผู้ชมรายการด้วย นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เชื่อมโยงการสนทนา และพูดคุยกับผู้ฟังโดยตรงด้วย เช่น การขึ้นต้น การสรุปข้อความการสนทนา เป็นต้น


       3. รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme)

รายการซึ่งมีบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป มาซักถามเรื่องราวปัญหา ข้อข้องใจให้ผู้ฟังฟัง โดยมีผู้สัมภาษณ์ (interviewer) 1 คน เป็นผู้ถาม ส่วนผู้ให้คำสัมภาษณ์ซึ่งเป็นผู้ตอบคำถามหรือผู้ตอบคำถามหรือผู้ถูกสัมภาษณ์ (interviewer) จะมีกี่คนก็ได้ สุดแล้วแต่ความเหมาะสมของเวลาในรายการ และเนื้อหาที่จะสัมภาษณ์ว่าควรจะเชิญใคร มาสัมภาษณ์บ้าง  ซึ่งอาจแบ่งลักษณะการสัมภาษณ์ได้ดังนี้
3.1 การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal Interview) เช่น การเชิญบุคคลสำคัญ หรือ
ผู้มีชื่อเสียงมาสัมภาษณ์ โดยมีการนัดแนะวันเวลาและสถานที่ที่สัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ  และมีจุดประสงค์ที่แน่นอน

             3.2 การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview) เช่น สัมภาษณ์คนเดินถนน  มักเป็นการถามคำถามโดยไม่ได้เตรียมมาก่อน ถามปัญหาเฉพาะหน้า ถามความคิดเห็น  ถามความรู้สึก อารมณ์หรือสัมภาษณ์ผู้พบเห็นเหตุการณ์น่าตื่นเต้น เป็นต้น


4. รายการอภิปราย (Discussion Programme)

เป็นรายการพูดคุยอีกลักษณะหนึ่ง คือไม่ใช่การพูดคุยกับผู้ฟังโดยตรง แต่เป็นการพูดคุยออกความคิดเห็นกันในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ผู้มาร่วมอภิปรายนั้นต่างความคิดเห็น ต่างทรรศนะกัน  จึงมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น  การแสดงความคิดเห็นจะเป็นไปทีละคน อย่างมีระเบียบ  โดยมีผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้ควบคุมให้รายการดำเนินไปตามแนวและขอบเขตที่วางไว้ผู้ดำเนินการอภิปรายจะทำหน้าที่เพียงผู้นำการอภิปรายและเน้นหรือสรุปความคิดเห็นของผู้ร่วมอภิปรายและเน้นหรือสรุปความคิดเห็นของผู้ร่วมอภิปรายในโอกาสอันควรเท่านั้น


5. รายการสารคดี (Documentary Feature Programme)

เป็นรายการที่เสนอข้อเท็จจริง เพียงเรื่องเดียวโดยให้รายละเอียดอย่างลึกซึ้ง รายการสารคดีเป็นลักษณะรูปแบบรายการที่ให้ สาระความรู้ลึกลงไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (one subject หรือ one topic) แต่การนำเสนอรายการสารคดีนั้นอาจทำได้หลายลักษณะ เพื่อไม่ให้ผู้ฟังเบื่อและดึงดูดความ สนใจผู้ฟังให้มากที่สุดด้วย ดังนั้น รายการสารคดีจึงต้องมีทั้งความหลาก (variety) และต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเอกภาพ (unity) ด้วยเพื่อเกี่ยวหรือโยงความหลากนั้นไว้ให้เป็นรายการเดียวกัน


6. รายการนิตยสารทางอากาศ (Magazine Programme)

 คำว่า “Magazine” ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ใช้คำว่า  “นิตยสาร”  เพราะเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีเรื่องราวหลายเรื่องหลายรส  หลายรูปแบบ รวมกันอยู่ในเล่มเดียวกัน  เมื่อเป็นรายการวิทยุกระจายเสียง  เรียกว่า  “นิตยสารทางอากาศ”  จึงหมายความถึง รายการที่มีหลายรส หลายเรื่อง หลายรูปแบบรวมกันอยู่ในรายการเดียวกัน


7. รายการข่าว (News Programme)

หมายถึง รายการที่จัดทำขึ้นเพื่อรายงานเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในวันหนึ่ง ๆ เพื่อให้ผู้ฟังได้รู้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร  รายการข่าวทางวิทยุกระจายเสียงควรมีลักษณะสั้น ๆ ชัดเจน เข้าใจง่ายมีหัวข้อข่าวนำให้รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร  และมีรายละเอียดครอบคลุมให้ชัดเจนว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร รายการข่าวอาจแยกย่อยลงได้หลายประเภท เช่น ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวต่างประเทศ  ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวสังคม ข่าวกีฬา ข่าวการศึกษา และข่าวบันเทิง เป็นต้น


8. รายการบรรยายเหตุการณ์ (Commentary)

เป็นการรายงานเหตุการณ์อีกลักษณะหนึ่ง  ซึ่งต่างจากการรายงานข่าว คือ เป็นการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและรายงานในขณะที่เหตุการณ์นั้นกำลังเกิดขึ้นหรือ เหตุการณ์นั้นกำลังดำเนินอยู่ แล้วผู้บรรยายถ่ายทอด เหตุการณ์นั้นเป็นผู้บรรยาย  หรือเล่าถ่ายทอดให้ฟัง โดยอาจมีเสียงประกอบจริงจากสถานที่เกิดเหตุนั้นด้วยเป็นการบรรยาย สิ่งที่เห็นและบางครั้งมีการวิจารณ์เพื่อให้ผู้ฟังพลอยเห็นภาพตามไปด้วย


9.รายการตอบปัญหา (Quiz Programme)

รายการรูปแบบนี้อาจทำได้หลายลักษณะ คือ เชิญผู้ตอบมาร่วมรายการ โดยตอบปัญหาในห้องส่ง   ในลักษณะแข่งขันกัน หรือเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้มีโอกาสร่วมรายการ (audience-participation) โดยถามปัญหาแล้วเปิดโอกาสให้ผู้ฟังตอบปัญหากลับมาทางโทรศัพท์  เป็นการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงสื่อสารกัน 2 ทาง (two way communication) ทำให้รู้ผลสะท้อนกลับได้ทันทีทันใดรายการตอบปัญหา นี้มักเป็นรายการประเภทความรู้   เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรู้ ซึ่งเป็นการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่ง


             10. รายการเพลง (Music Programme)

รายการเพลงเป็นรายการที่มีความสำคัญ และได้รับความสนใจ จากผู้ฟังอย่างมาก ซึ่งความสนใจและความนิยมได้มีมานานแล้ว เพราะรายการเพลงเป็นรายการที่มุ่งให้ความบันเทิงอย่างแท้จริง ในสมัยก่อนนี้สถานีวิทยุกระจายเสียงหลายสถานี ออกอากาศรายการเพลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีข่าวประกอบบ้างเล็กน้อย แม้ปัจจุบันนี้มีสถานี ส่วนใหญ่ก็ออกอากาศรายการเพลงในอัตราส่วนที่มากกว่ารายการประเภทอื่นอยู่เป็นจำนวนมาก


11. รายการละครวิทยุ (Radio Drama หรือ Radio Play)

เป็นการเสนอรายการในรูปแบบ ของการแสดงบทบาทที่สมมติขึ้น โดยสอดแทรกเนื้อหาวิชาความรู้และความบันเทิงด้วยศิลปะ ต่าง ๆ ของการใช้เสียง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ เกิดอารมณ์ ความรู้สึกคล้อยตาม โดยอาศัยบทเจรจา (dialogue) และการบรรยาย (narrator) รวมทั้งเพลงและเสียงประกอบ (sound effects) เป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อให้รายการทั้งหมดฟังแล้วสมจริงสมจัง


12. รายการปกิณกะ (Variety)

 เป็นรายการที่ประสมรายการหลายรูปแบบรวมอยู่ในรายการเดียวกันที่เรียกว่า “Combination” เป็นเพียงการเสนอเนื้อหา และรูปแบบหลาย ๆ รูปแบบมาผสมปนเปกัน มีแต่ความหลากหลายแต่ไม่ มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวหรือเอกภาพ รายการพวกนี้ส่วนใหญ่จะเน้นความบันเทิง อาจจะมีเนื้อหาทาง ความรู้หรือให้ข่าวสารบ้างผสมปนเปกัน  เป็นจำพวกสัพเพเหระ จึงมักเรียกเป็นรายการปกิณกะ เช่น รายการประเภทเกมโชว์ รายการตลก แข่งขันทายปัญหา และรีวิว เป็นต้น


13. รายการสาระละคร (Docu-Drama)

เป็นรูปแบบรายการที่นิยมทำกันเพื่อมุ่งให้ความรู้ และความบันเทิงพร้อม ๆ กันเป็นรายการที่ใช้รูปแบบของละครวิทยุผสมกับรูปแบบสาระคดี โดยช่วงแรกจะเสนอรายการด้วยรูปแบบของละคร ในเนื้อหาของละครอาจจะยกประเด็นปัญหา มาโต้ตอบกันด้วยเทคนิคของละครวิทยุ     โดยการผูกเรื่องให้ผู้ฟังตระหนัก  ว่าสิ่งนั้นคือปัญหา สาเหตุของปัญหาเป็นอย่างไร รายการสาระละครที่ดีควรจะแสดงประเด็นปัญหาให้เด่นชัด และเปิดทางให้ผู้ฟังรู้สึกว่ามีวิธีแก้ปัญหานั้นได้หลายวิธี ต่อจากนั้นก็จะเป็นช่วงของการแก้ปัญหา โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลาย ๆ คน มาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหานั้น ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น  การเสนอสาระเชิงวิชาการ การบรรยาย การสรุป การวิจารณ์ หรือการอภิปรายประกอบ

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้