ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน คืออะไร

ความหวังในการผลิตพลังงานสะอาดที่สามารถใช้งานได้อย่างไร้ขีดจำกัด เริ่มเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันสามารถทลายข้อกำจัดของการผลิตพลังงานด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้สำเร็จ นับเป็นอีกก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์วงการวิทยาศาสตร์และพลังงาน 

ความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ ลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ (Lawrence Livermore National Lab – LLNL) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย หลังจากมีความพยายามมานานหลายสิบปี ในที่สุด  นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถเอาชนะอุปสรรค ผลิตพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้มากกว่าพลังงานที่ใช้ไปในกระบวนการได้เป็นครั้งแรก ซึ่งจะปูทางไปสู่การมีแหล่งพลังงานสะอาดโดยไร้ขีดจำกัดในอนาคต

นิวเคลียร์ฟิวชัน (nuclear fusion) เป็นปฏิกิริยาแบบเดียวกับที่เกิดในดวงอาทิตย์ เกิดจากการจับคู่อะตอมเพื่อสร้างพลังงานมหาศาลออกมาในรูปแบบของความร้อน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการนี้มานานหลายทศวรรษ 

นิวเคลียร์เคลียร์ฟิวชัน เป็นกระบวนการตรงข้ามกับนิวเคลียร์ฟิชชัน (nuclear fission) ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปัจจุบันใช้กันอยู่ ซึ่งเป็นการแยกอะตอมหนักออกจากกัน ก่อให้เกิดกากกัมมันตภาพรังสีจำนวนมากและต้องใช้เวลานานกว่าจะสลายตัว จึงมีความอันตรายและต้องอาศัยการจัดเก็บเป็นอย่างดี ซึ่งหากเกิดความผิดพลาด อาจทำให้เกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีได้ 

แตกต่างจากนิวเคลียร์เคลียร์ฟิวชันที่สร้างกากกัมมันตรังสีในปริมาณน้อยกว่า ใช้เวลาสลายตัวแค่เพียง 50-100 ปี ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และแทบไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ เนื่องจากหากว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นในกระบวนการปฏิกิริยาฟิวชันจะหยุดลง 

นิวเคลียร์ฟิวชันถูกมองว่าเป็น “จอกศักดิ์สิทธิ์” หรือความฝันอันสูงสุดในการผลิตพลังงาน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพยายามทำการทดลองมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 ด้วยความหวังว่าจะเป็นแหล่งพลังงานสะอาด และมีราคาประหยัด เพราะกระบวนการนี้หากทำได้สำเร็จจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณมหาศาล โดยไม่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างเช่น น้ำมัน หรือก๊าซ จึงไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และเป็นผลดีการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ในการทดลองครั้งล่าสุดนี้ นักวิทยาศาสตร์ของ LLNL ได้ทดลองสร้างปฏิกิริยาฟิวชันขึ้นด้วยการยิงแสงเลเซอร์แรงสูงใส่แคปซูลขนาดเล็กที่บรรจุไฮโดรเจนไว้ภายใน เพื่อให้เกิดความร้อน และการบีบแน่น จนทำให้แคปซูลมีความร้อนสูงถึง 100 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับความร้อนที่มากกว่าใจกลางดวงอาทิตย์ หลอมนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนเข้าด้วยกัน จนเกิดปฏิกิริยาฟิวชันที่ปล่อยพลังงานออกมา โดยได้พลังงานมา 3.15 เมกะจุล ในขณะที่ใช้พลังงานกับเลเซอร์ไป 2.05 เมกะจุล เท่ากับว่าได้พลังงานมามากกว่าพลังงานที่ใช้ไปกับกระบวนการสร้าง 

ในแง่วิทยาศาสตร์ การทดลองครั้งนี้จึงถือว่าเป็นความสำเร็จ เพราะเป็นครั้งแรกที่พิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันสามารถสร้างพลังงานได้จริง นับเป็นหลักไมล์สำคัญสู่การเข้าใกล้การแหล่งพลังงานสะอาดที่เกือบจะไร้ขีดจำกัดขึ้นบนโลกใบนี้

การสร้างพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันยังคงอุปสรรคและความท้าทายอยู่อีกมาก โดยเฉพาะยิ่งในเรื่องของต้นทุนและการเพิ่มปริมาณพลังงานที่ผลิตได้ โดยการทดลองล่าสุดที่ LLNL ครั้งนี้ ใช้งบประมาณไปมากถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์ แต่ได้กระแสไฟฟ้าเพียงพอต่อการต้มน้ำในกาแค่เพียง 15-20 ใบเท่านั้น 

ความสำเร็จครั้งนี้จึงเป็นเพียงก้าวเล็กๆ ที่ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไปอีกหลายสิบปี กว่าจะได้เห็นการนำปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันมาผลิตไฟฟ้าเพื่อแจกจ่ายในเชิงพาณิชย์

Feb92022

ข่าวสาร เกร็ดความรู้ทั่วไปฟิสิกส์

 ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิชชัน และฟิวชัน

.ปฏิกิริยานิวเคลียร์ 

 

             หมายถึง ปฏิกิริยาที่มีการเปลี่ยนแปลงในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ แล้วได้นิวเคลียสของธาตุใหม่เกิดขึ้น ซึ่งจะแผ่รังสีและให้พลังงานมหาศาล และเรียกสมการที่แสดงปฏิกิริยานิวเคลียร์ว่า สมการนิวเคลียร์ ในสมการใช้สัญลักษณ์ธาตุเป็นสัญลักษณ์นิวเคลียร์ ปฏิกิริยานิวเคลียร์จะเกิดกับนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ โดยนิวเคลียสที่เป็นเป้าจะถูกยิงด้วยอนุภาคที่ใช้เป็นกระสุน ซึ่งอาจจะเป็นนิวตรอน แอลฟา หรือไอออนที่หนัก ๆ ผลิตผลที่ได้จะเป็นนิวเคลียสของธาตุใหม่ และจะให้พลังงานออกมาอย่างมหาศาล ปฏิกิริยานิวเคลียร์อาจเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดใหญ่ หรืออาจเกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดเล็กปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม แล้วได้นิวเคลียสของธาตุใหม่เกิดขึ้น และให้พลังงานจำนวนมหาศาล ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) และปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion reaction)

1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction)

 คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา นิวตรอนที่เกิดขึ้น 2-3 ตัวซึ่งมีพลังงานสูงจะวิ่งไปชนนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องไปเป็นลูกโซ่ ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งทำให้ได้พลังงานมหาศาล

เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม-235 เกิดการแตกตัวออกเป็น 2 นิวเคลียส มวลอะตอมรวมหลังเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์มีค่าลดลง ซึ่งมวลอะตอมรวมที่หายไป จะกลายเป็นพลังงาน ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันจะเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ ทำให้ได้พลังงานมหาศาล

2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fusion reaction)

คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ออกมา (พลังงานเกิดขึ้นจากมวลส่วนหนึ่งหายไปพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันมีค่ามากกว่าพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน เมื่อเปรียบเทียบจากมวลส่วนที่เข้าทำปฏิกิริยา ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันในนาม ลูกระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) เชื่อกันว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันคือ นิวเคลียสของไฮโดรเจน 4 ตัวหลอมรวมกันได้นิวเคลียสของฮีเลียม อนุภาคโพสิตรอน มีมวลส่วนหนึ่งหายไป มวลส่วนที่หายไปเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล

เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นเมื่อธาตุเบารวมกันกลายเป็นธาตุหนัก เช่น การรวมกันของดิวทิเรียม กับทริเทียม กลายเป็นฮีเลียม กับนิวตรอน นิวเคลียร์ฟิวชันจะให้พลังงานต่อมวลมากกว่านิวเคลียร์ฟิชชันประมาณ 3.2-4.6 เท่า เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์

การควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ทำได้โดย ควบคุมการเกิดปฏิกิริยาให้อยู่ในบริเวณจำกัด และใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่มีขนาดเล็ก

ปฏิกิริยาฟิสชัน คืออะไร

ปฏิกิริยาฟิชัน (Fission reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา นิวตรอนที่เกิดขึ้น 2-3 ตัวซึ่งมีพลังงานสูงจะวิ่งไปชนนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ใกล้ ...

พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่นคืออะไร

พลังงานฟิวชั่นคืออะไร ปฏิกิริยาฟิวชั่น (Fusion Power) เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอม 2 หน่วยของธาตุมวลเบา เช่น ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม อยู่ท่ามกลางอุณภูมิที่สูงกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียสจนสามารถควบรวมกันกลายเป็นธาตุที่หนักขึ้น จากนั้น จะก่อให้เกิดการปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาโดยไม่มีสารกัมมันตรังสีเลย

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันและปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแตกต่างกันอย่างไร

1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission) เป็นพลังงานที่เกิดจากการแตกตัว หรือแยกตัวของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโตเนียม เมื่อถูกชนด้วยอนุภาคนิวตรอน เช่น ระเบิดปรมาณู 2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion) เป็นพลังงานที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุเบา เช่น การรวมตัวของธาตุ H กับ He บนดวงอาทิตย์

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ มีอะไรบ้าง

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พลังงานนิวเคลียร์ คือ พลังงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียส ซึ่งเราเรียกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ปฏิกิริยานิวเคลียร์” โดยแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ “ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น” และ”ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น” ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดจากการแตกตัวของ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้