บําเหน็จตกทอด แบ่ง อย่างไร

ี1. ข้าราชการได้รับอันตรายจนพิการ เสียแขน หรือขา หูหนวกทั้ง 2 ข้าง ตาบอด หรือได้รับการป่วยเจ็บซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจแล้ว และแสดงถึงทุพพลภาพไม่สามารถจะรับราชการต่อไปได้ ทั้งนี้ เพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุการะทำการตามหน้าที่ ให้ได้รับบำนาญปกติและบำนาญพิเศษ เว้นแต่เหตุนั้นเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือจากความผิดของตนเอง
2. ข้าราชการ ซึ่งออกจากราชการโดยได้รับบำเหน็จบำนาญปกติไปแล้ว ถ้าภายในกำำหนด 3 ปี นับแต่วันออกจากราชการ โดยปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าเกิดป่วยเจ็บถึงทุพพลภาพอันเป็นผลมาจากการปฏฺบัติหน้าที่ราชการระหว่างที่ผู้นั้นรับราชการอยู่ ให้ได้รับบำนาญปกติและบำนาญพิเศษ
3. ข้าราชการได้รับอันตราหรือป่วยเจ็บจนพิการถึงสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไปเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุการะทำการตามหน้าที่ แต่ยังสามารถรับราชการต่อไปได้ ให้ไ้ด้รับเงินทำขวัญเป็นก้อนในอัตราที่กำหนด
(ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทำขวัญข้าราชการและลูกจ้าง พ.ศ. 2516)

การนำระยะเวลาราชการทหารมานับรวมสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ

----1. ผู้เคยเป็นข้าราชการทหาร (ประจำการ) มาก่อนและขอลาออกจากราชการ โดยมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด ต่อมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน สามารถนำระยะเวลาการเป็นทหารมานับรวมเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ (ทั้งเกิดสิทธิและคำนวณเงิน)
----2. ข้าราชการพลเรืือน ที่ได้รับการตรวจเลือกให้เข้ารับราชการทหาร (กองประจำการ : ทหารเกณฑ์) ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร สามารถนำระยะเวลาการระหว่างเข้ารับราชการทหารมานับรวมเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ (รวมทั้งขอนับเวลาเพื่อคำนวณเงินประเดิม ทั้งนี้ก่อน 27 มี.ค.2540)

ตัวอย่างหนังสือการขอเวลาราชการทหาร และแบบขอแก้ไขข้อมูลสมาชิก กบข. 005/2/2550

การขอรับเงินบำเเหน็จบำนาญ
การขอรับบำเหน็จตกทอด กรณีข้าราชการตาย
(ระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2527)
เอกสาร ได้แก่

               1. แบบขอรับบำนาญพิเศษและหรือบำเหน็จตกทอดกรณีถึงแก่กรรม (แบบ 5309) กรอกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประวัติของผู้ตายและทายาททั้งหมด โดยให้ทายาททุกคนลงชื่อในช่องผู้ขอ หากทายาทเป็นผู้เยาว์
(อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์) ต้องให้ผู้ปกครอง(ผู้แทนโดยชอบธรรม)ลงชื่อแทน
                2. ใบรับรองสมุดประวัติและเวลาราชการทวีคูณระหว่างปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตายในเขตที่ได้ประกาศ
ใช้กฎอัยการศึก (แบบ 5302 ) โดยให้  อธิบดี  หัวหน้าส่วนราชการ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองความถูกต้อง
                3. รายการสอบสวนบำนาญพิเศษหรือบำเหน็จตกทอด (ตามแบบที่ทางราชการกำหนด)
ว่าผู้ตายเป็นข้าราชการประเภทใด ตายด้วยเหตุใด มีทายาทกี่คนใครบ้าง หัวหน้าส่วนราชการลงนามรับรองความถูกต้อง
                4. บันทึกการสอบสวนทายาทของผู้ตายทุกคน
                5. จัดส่งบัตรเงินเดือนของผู้ตาย (รายการบัตรตรวจจ่ายเงินเดือน) ต้นฉบับสีฟ้า และหรือสำเนา โดยให้
ลงนามรับรองการได้รับเงินเดือนด้วย (ส่งกลาง ผอ.กองคลัง/ภูมิภาคผอ.หน่วยงาน)
               6. ก.พ. 7
               7. บัตรตรวจจ่ายเงินเดือน
               8. หลักฐานการตรวจสอบและรับรองเวลาราชการกระทรวงกลาโหม (ถ้ามี)
               9. หลักฐานการมีสิทธิได้รับเวลาทวีคูณของกระทรวงกลาโหม / กองอำนวยการรักษาความมั่นคง (ถ้ามี)
               10. หลักฐานการไปปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (ถ้ามี)
                       10.1 คำสั่งให้ออกจากราชการ
                       10.2 คำสั่งบรรจุกลับเข้ารับราชการ
              11. หลักฐานเกี่ยวกับการตาย
                           11.1 ใบมรณบัตร / คำสั่งศาล (กรณีคนสาบสูญ)
                                                 - กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เพิ่มหลักฐานสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น รายงานชันสูุตรพลิกศพ รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี รายงานการสอบสวน
                           11.2 หลักฐานการสอบสวนของคณะกรรมการที่หน่วยงานแต่งตั้ง
                           11.3 หลักฐานการกระทำผิดวินัยร้ายแรง (ถ้าไม่ตายเสียก่อนต้องถูกไล่ออก/ปลดออก)
              12. หลักฐานทายาท
                           12.1 สำเนาทะเบียนบ้านบิดามารดา (กรณีมีชีวิตอยู่) / ใบมรณบัตร (กรณีตาย)หรือหนังสือรับรองการตาย
                           12.2 หลักฐานการเป็นิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
                                                 12.2.1 สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรสของบิดามารดาหรือสำเนาทะเบียนฐานะภริยา(มารดาของผู้ตาย)
                                                12.2.2 หนังสือรับรองของผู้ควรเชื่อถือได้ที่รับรองว่าบิดามารดาสมรสก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2578 หรือ
                                                 12.2.3 สำเนาทะเบียนบ้าน หรืือสูติบัตรของบุตรร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งเกิดภายในปี พ.ศ. 2478 หรือก่อนนั้น
                           12.3 หลักฐานเกี่ยวกับคู่สมรสของผู้ตาย
                                                 12.3.1 สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรส
                                                 12.3.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
                                                 12.3.3 สำเนา ใบมรณบัตร (กรณีตาย)หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ควรเชื่อถือได้กรณีที่คู่สมรสตายไปก่อน
                                                 12.3.4 สำเนาทะเบียนการหย่า หรือใบสำคัญการหย่า หรือคำสั่งศาลกรณีที่มีการหย่า
                                                 12.3.5 สำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลที่แสดงว่าคู่สมรสคนใดเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่มีการสมรสซ้อน
                           12.4 หลักฐานเกี่ยวกับบุตรของผู้ตาย
                                                 10.4.1 สูติบัตร
                                                 10.4.2 สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรสของผู้ตาย กับมารดาของบุตร หรือสำเนาทะเบียนการรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาว่าเป็นบุตร
                                                 12.4.3 บันทึกรับรองการมีบุตรชอบด้วยกฎหมายในครรภ์มารดา (ถ้ามี)
                                                 12.4.4 สำเนาใบมรณบัตร (กรณีตาย)หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ควรเชื่อถือได้กรณีที่มีบุตรตาย
                                                 12.4.5 ใบรับรองการศึกษาตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด (แบบ5311)
                                                 12.4.6 ใบรับรองแพทย์เกี่ยวกับการพิการหรือทุพพลภาพของบุตรที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วในวันที่ข้าราชการตาย
                                                 12.4.7 สำเนา ทะเบียนการรับรองบุตรบุณธรรม
              13. หลักฐานแสดงการเป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี ซึ่งลงชื่อให้ความยินยอมในการขอรับ หรือขอรับบำเหน็จตกทอดแทนผู้มีสิทธิ
                           13.1 สำเนาทะเบียนการรับรองบุุตร
                           13.2 สำเนาทะเบียนรับบุตรธรรม หรือสำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี

ขั้นตอนการขอรับบำเหน็จตกทอด กรณีข้าราชการตาย
สารประบคำบคขอ- หน่วยงานส่งหนังสือ/บันทึกพร้อมเอกสารข้่างต้น (ผอ.ลงนาม)
สารประกอบคำขอ- กองการเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร / ส่งตรวจวินัย / ลาศึกษา (เป็น กบข.หรือไม่)
สารประกอบคำขอ- กองการเจ้าหน้าที่จัดทำบันทึกเสนอผู้มีอำนาจลงนามในแบบ 5309 / แบบรับรองสมุดประวัติฯ และแบบ หนังสือรับรองการขอเบิกบำเหน็จตกทอด (แบบ ตท. 1) (ผอ.กอง จ. ลงนามแทนอธิบดี)
สารประกอบคำขอ- ส่งเอกสารต่างๆถึงกรมบัญชีกลาง
สารประกอบคำขอ- กรมบัญชีกลางแจ้งสั่งจ่าย
สารประกอบคำขอ- บันทึกส่งหนังสือสั่งจ่ายให้กองคลัง (ตัวจริง) ส่งสำเนาให้หน่วยงาน (ส่วนกลาง)
สารประกอบคำขอ- บันทึกส่งหนังสือสั่งจ่ายให้หน่วยงาน (ตัวจริง) (ส่วนภูมิภาค)

การขอรับบำเหน็จตกทอด กรณีผู้รับบำนาญตาย
สารประกอบคำขอ- เอกสารหลักฐานเช่นเดียวกับ ข้าราชการตาย ยกเ้ว้น             หลักฐานการสอบสวนของคณะกรรมการที่หน่วยงานแต่งตั้ง และหลักฐานการกระทำผิดวินัยร้ายแรง (ถ้าไม่ตายเสียก่อนต้องถูกไล่ออก/ปลดออก)

การขอรับบำนาญพิเศษกรณีข้าราชการตาย
              1. แบบขอรับบำนาญพิเศษและหรือบำเหน็จตกทอดกรณีถึงแก่กรรม (แบบ 5309) กรอกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประวัติของผู้ตายและทายาททั้งหมด โดยให้ทายาททุกคนลงชื่อในช่องผู้ขอ หากทายาทเป็นผู้เยาว์
(อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์) ต้องให้ผู้ปกครอง(ผู้แทนโดยชอบธรรม)ลงชื่อแทน
              2. เอกสารหลักฐานเช่นเดียวกับการขอรับบำเหน็จตกทอดกรณีข้าราชการตาย
              3. คำสั่ง/หลักฐานเกี่ยวกับการไปปฏิบัติราชการ
              4. รายละเอียดหรือรายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนเป็นเหตุให้ถูกประทุษร้าย หรือได้รับอันตราย
              5. รายงานของผู้ร่วมงานหรือผู้รู้เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิด (ถ้ามี)
              6. รายงานการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณีที่ถูกประทุษร้าย หรือได้รับอันตรายนั้นเกิดจาการกระทำผิดอาญาของผู้หนึ่งผู้ใด หรือสำเนาคำพิพากษาคดีนั้น
             7. หลักฐานการสอบสวนพร้อมทั้งสรุปความเห็นขิงคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งขึ้น
             8. ใบแสดงความเห็น หรือรายงานของแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ซึ่งแสดงว่าการป่วยเจ็บถึงตายเกิดขึ้นเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่
             9. รายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการในระยะก่อนตายเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่เจ้าสังกดัพิจารณาเห็นว่าถึงแก่ความตายเพราะปฏิบัติงานในลักษณะตรากตรำ เร่งรัด หรือเคร่งเคลียดเกินกว่าปกติธรรมดา
            10. หลักฐานรับรองการตายตามแบบที่กระทรวงกลาโหมได้ทำความตกลงกัลกระทรวงการคลัง
            11. หลักฐานการสอบสวนในกรณีสูญหายว่าสูญหายตั้งแต่เมื่อใด
            12. คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ (ถ้ามี)

การขอรับบำนาญพิเศษกรณีข้าราชการซึ่งออกจากราชการโดยได้รับบำเหน็จบำนาญปกติไปแล้วฯ ป่วยเจ็บถึงตายอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างที่ผู้นั้นรับราชการหรือทำหน้าที่ทหาร 3 ปี นับแต่วันที่ออกจากราชการหรือพ้นจากหน้าที่ทหาร ให้ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับการขอรับบำเหน็จตกทอดกรณีข้าราชการตาย และเพิ่มเติม
            1. หลักฐานการสอบสวนของส่วนราชการที่เคยสังกัดว่าการป่วยเจ็บถึงตายเกิดขึ้นเพราะเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไม่
            2. หลักฐานซึ่งแสดงว่าการป่วยเจ็บถึงตายได้เกิดขึ้นภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ออกจากราชการ
            3 .หลักฐานซึี่งแสดงวันเดือนปีที่ทายาทได้ยื่นขอรับบำนาญพิเศษ

บําเหน็จตกทอด มีกี่ส่วน

1. บุตร ให้ได้รับ 2 ส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่3 คนขึ้นไป ให้ได้รับ 3 ส่วน 2. สามีหรือภริยา ให้ได้รับ 1 ส่วน 3. บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ได้รับ 1 ส่วน 4. กรณีไม่มีทายาทตามข้อ 1-3 ให้พิจารณาจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามแบบและ วิธีการที่กระทรวงการคลังกาหนด และได้ยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด ...

บําเหน็จตกทอดมีอายุความกี่ปี

2. สำหรับบำเหน็จตกทอด พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์มาใช้บังคับ VELU. lee Le ེན་

หลังเสียชีวิตของครูบำนาญจะได้รับเงินอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์ของข้าราชการบำนาญ (กรณีเสียชีวิต) (ข้อมูลนี้สำหรับผู้รับบำนาญสังกัดกรมสรรพากรเท่านั้น) เงินที่ภาครัฐจ่ายให้ (ผู้รับนํานาญทุกท่านมีสิทธิได้รับ) เงินบำเหน็จตกทอด ๓๐ เท่า (เงินบำนาญ+ช.ค.บ.(ถ้ามี)) หัก เงินบำเหน็จดำรงชีพที่ขอรับแล้ว หัก บำเหน็จค้ำประกัน(ถ้ามี))

บําเหน็จดํารงชีพคิดอย่างไร

บำเหน็จดำรงชีพคือ เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพ โดยให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ การคำนวณบำเหน็จดำรงชีพ = 15 เท่า x เงินบำนาญที่คำนวณได้ ณ วันที่ออก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้