บริษัทเอกชน จำกัด มีข้อกำหนดตามกฎหมายโดยให้มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทไว้อย่างไร

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

บริษัทจำกัด คือ บุคคลประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายซึ่งไม่ได้เป็น บุคคลธรรมดา แต่กฎหมายกำหนดเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของ โดยปกติจะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อวัถตุประสงค์ทางธุรกิจ1 โดยต้องมีผู้เข้าร่วมก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน2 และมีรายได้จะมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้วย ไม่ว่าจะตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายต่างประเทศ3

การจดทะเบียนบริษัทจำกัด

การจดทะเบียนบริษัทต้องทำดำเนินการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าพื้นที่ใกล้บ้าน โดยผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คนจะต้องร่วมกันกรอกรายละเอียดและลงชื่อใน ‘หนังสือบริคณห์สนธิ’ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องใช้เพื่อนำไปจดทะเบียนบริษัทต่อไป 4

ทั้งนี้ ก่อนจดทะเบียนบริษัทต้องดำเนินการจองชื่อบริษัทบนระบบจองชื่อนิติบุคคลของ DBD ให้เรียบร้อยก่อน

หนังสือบริคณห์สนธิ

หนังสือบริคณห์สนธิ (Momedandum) เป็นแบบฟอร์มที่ใช้สำหรับจดทะเบียนบริษัท ซึ่งจะมีข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ทุนจดทะเบียนบริษัท จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้น ชื่อผู้จัดตั้งบริษัท (ผู้เริ่มก่อการ) วัตถุประสงค์ของบริษัท เป็นต้น

ขั้นตอนการตั้งบริษัท

  1. ผู้เริ่มก่อการ (promoters) อย่างน้อย 3 คน เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ
  2. ผู้เริ่มก่อการประชุมตั้งบริษัทเพื่อลงชื่อผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ตั้งกรรมการบริษัทชุดแรกสำหรับรับหน้าที่บริหารบริษัท และตั้งผู้ชำระบัญชี5
  3. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นชำระเงินค่าหุ้นอย่างน้อยจำนวน 25% ของมูลค่าหุ้นที่จองซื้อไว้6 (หรือจะเรียกชำระเต็มจำนวนก็ได้ ขึ้นอยู่กับกรรมการบริษัท)
  4. กรรมการบริษัทไปยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าพื้นที่ใกล้บ้าน พร้อมทั้งเสียค่าธรรมเนียมทางราชการ7 (สามารถเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยแล้วมอบอำนาจตัวแทนไปดำเนินการจดบริษัทแทนได้)

เมื่อจดทะเบียนบริษัทสำเร็จแล้ว บริษัทก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมาย8 และจะถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้รับรู้ว่ามีสถานะเป็น บริษัทจำกัด ที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป9 รวมถึงจะได้รับ ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัทจำกัด มาด้วยจำนวน 1 ฉบับ10 

ข้อมูล/เอกสารประกอบการขอจดทะเบียนบริษัท

1. ผู้จัดตั้งบริษัท (ผู้เริ่มก่อการ) อย่างน้อย 3 คน
  • สำเนาบัตรประชาชน คนละ 1 ฉบับ
  • เบอร์โทรศัพท์
  • อีเมล
2. พยาน จำนวน 2 คน11
  • สำเนาบัตรประชาชน คนละ 1 ฉบับ
  • เบอร์โทรศัพท์
3. ข้อมูลบริษัท
  • ชื่อบริษัทภาษาไทย (ต้องดำเนินการจองชื่อผ่านระบบจองชื่อนิติบุคคล กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้เรียบร้อยก่อน)
  • ชื่อบริษัทภาษา English
  • กรณีต้องการให้จองชื่อบริษัทให้
  • ทุนจดทะเบียน (ขั้นต่ำ 15 บาท)
  • มูลค่าหุ้น (ขั้นต่ำ 5 บาท/หุ้น) 
  • รายละเอียดของธุรกิจ (อธิบายให้ละเอียดที่สุดเพื่อจัดทำวัตถุประสงค์ได้ครบถ้วน)
  • ที่อยู่ภาษาไทย
  • ที่อยู่ภาษา English
  • เบอร์โทรศัพท์ 
  • เบอร์โทรสาร (ถ้ามี)
  • อีเมล 
  • ชื่อและนามสกุลผู้ตรวจสอบบัญชี, เลขที่ใบอนุญาต, และค่าตอบแทน (ถ้ามี)
  • แผนที่ของสถานประกอบการ
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ตั้งเป็นสถานประกอบการ
    • กรณีผู้จัดตั้งไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ 
      • สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของกรรมสิทธิ์
      • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
      • สัญญาเช่า (ถ้ามี)
        • กรณีผู้ให้เช่า หรือผู้เช่าเป็นบริษัท หรือทั้งผู้ให้เช่าและผู้เช่าเป็นบริษัท
          • หนังสือรับรองของบริษัทผู้เช่าและ/หรือผู้ให้เช่า พร้อมกรรมการเซ็นรับรองทุกหน้า
          • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจเซ็นเอกสารของบริษัทผู้เช่าและ/หรือผู้ให้เช่า
          • สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจเซ็นเอกสารของบริษัทผู้เช่าและ/หรือผู้ให้เช่า
          • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ จากบริษัทผู้เช่าและ/หรือผู้ให้เช่า
  • อัตราส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน 
  • รายชื่อผู้ที่จะเป็นกรรมการบริษัท (ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจของบริษัท)
  • รายชื่อกรรมการบริษัทที่จะมีอำนาจเซ็นเอกสารของบริษัท (ผู้มีอำนาจตัดสินใจและลงนามในเอกสารเพื่อให้มีผลผูกพันทางธุรกิจ)
  • ตราประทับ (ถ้ามี)

อยากให้ iTAX ช่วยดูแลเรื่องจดทะเบียนบริษัท

สอบถามค่าบริการได้ที่ 062-486-9787

ติดต่อ iTAX sme

การเปิดบัญชีธนาคารให้บริษัท

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการจัดทำรายงานการประชุมเพื่อเปิดบัญชีธนาคารสำหรับสมัครใช้บริการธุรกรรมออนไลน์ ได้แก่

  • ชื่อธนาคาร 
  • สาขา
  • ประเภทบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์/กระแสรายวัน) 
  • รายชื่อกรรมการที่มีอำนาจเบิกจ่าย

การยื่นขอรหัสในการยื่นงบการเงินออนไลน์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (E-Filling DBD)

  • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจเซ็นเอกสารของบริษัท
  • สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจเซ็นเอกสารของบริษัท

ความเป็นเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น)

ผู้ที่เป็นเจ้าของบริษัทจำกัด เรียกว่า ผู้ถือหุ้น ซึ่งกำหนดสัดส่วนตามจำนวนหุ้นของบริษัทที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือไว้ ผู้ถือหุ้นอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ผู้ถือหุ้นจะต้องไม่มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน

มูลค่าหุ้นและทุนจดทะเบียนของ บริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด จะออกหุ้นจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องกำหนดมูลค่าหุ้นเท่าๆ กัน และต้องออกหุ้นไม่น้อยกว่า 3 หุ้น โดยมูลค่าหุ้นต้องไม่น้อยกว่าหุ้นละ 5 บาท12 

การเริ่มต้นบริษัทครั้งแรก บริษัทยังไม่จำเป็นต้องมีเงินเท่าทุนทะเบียนก็ได้ แต่การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นครั้งแรกจะต้องเรียกเก็บอย่างน้อย 25% ของทุนจดทะเบียน13 เช่น บริษัทกำหนดให้มีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท บริษัทยังไม่จำเป็นต้องมีเงิน 1,000,000 บาท เท่าทุนจดทะเบียนก็ได้ แต่เมื่อกรรมการบริษัทเรียกเก็บเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้น กรรมการต้องเรียกเก็บอย่างน้อย 25% ของทุนจดทะเบียน ดังนั้น หากผู้ถือหุ้นมีหุ้นมูลค่า 100,000 บาท จะต้องชำระค่าหุ้นครั้งแรกอย่างน้อย 25,000 บาท ทำให้บริษัทจะมีเงินค่าหุ้นที่เรียกเก็บได้ครั้งแรกอย่างน้อย 250,000 บาท เป็นต้น

การเข้าหุ้นและการคุ้มครองความรับผิดของผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้นจะต้องถือหุ้นในบริษัทอย่างน้อย 1 หุ้น ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นได้รับความคุ้มครองให้รับผิดชอบต่อหนี้สินของบริษัทเพียงเท่ากับมูลค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบเท่านั้น14 เช่น ถ้าผู้ถือหุ้นมีหุ้นมูลค่า 100,000 บาท แต่เคยชำระค่าหุ้นครั้งแรกไป 25,000 บาท หากบริษัทมีหนี้ที่ต้องรับผิดชอบ ผู้ถือหุ้นรายนี้จะต้องรับผิดเพียงเท่าที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบ นั่นคือ 75,000 บาท นั่นเอง

ดังนั้น หากชำระค่าหุ้นเต็มครบจำนวนแล้วจะไม่ต้องรับผิดชอบต่อหนี้ของบริษัทเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัวอีก เช่น ถ้าผู้ถือหุ้นมีหุ้นมูลค่า 100,000 บาท และได้ชำระค่าหุ้นจนเต็มครบ 100,000 บาท หากบริษัทมีหนี้ที่ต้องรับผิดชอบ ผู้ถือหุ้นรายนี้จะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว เพราะชำระค่าหุ้นครบไปแล้ว

กรรมการบริษัท

กรรมการบริษัทเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารจัดการกิจการต่างๆ ของบริษัทให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยกรรมการชุดแรกจะรับมอบหน้าที่ดังกล่าวมาจากผู้ก่อตั้งบริษัท15

การประชุมผู้ถือหุ้น

กรรมการบริษัทจะต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไปเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า การประชุมสามัญ16

การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น จะต้องมีการส่งคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่โดยวิธีลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และวาระที่จะประชุมกันด้วย17

มติพิเศษ

ในการดำเนินกิจกรรมของบริษัทบางอย่าง บริษัทจำเป็นต้องได้รับมติพิเศษเนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญ ได้แก่

  1. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ18
  2. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ19
  3. การเพิ่มทุนจดทะเบียน20
  4. การออกหุ้นใหม่ให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้ว หรือได้ใช้แต่บางส่วนแล้วด้วยอย่างอื่นนอกจากให้ใช้เป็นตัวเงิน21
  5. การลดทุนจดทะเบียน22
  6. การเลิกบริษัท23
  7. การควบบริษัท24

มติพิเศษที่สมบูรณ์จะต้องมาจากท่ีประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยจะต้องได้รับคะแนนไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน25 และต้องบอกกล่าวการเรียกประชุมใหญ่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน26 ดังนั้น ถ้าได้เสียงสนันสนุนตั้งแต่ 75% ขึ้นไปอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะได้รับมติพิเศษไปดำเนินการต่อได้

ข้อสังเกต: หากเป็นกรณีอื่นที่ไม่ต้องการมติพิเศษ เช่น เปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท ที่ประชุมผู้ถือหุ้นย่อมสามารถทำได้โดยอาศัยเสียงข้างมากโดยไม่ต้องใช้มติพิเศษ

การเสียภาษี

บริษัทจำกัดต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยปกติจะใช้อัตราภาษีคงที่ 20% ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีสูงสุดของบุคคลธรรมดาที่เก็บในอัตรา 35%

อยากจดบริษัท มีมืออาชีพดูแลให้สบายใจกว่า

สอบถามค่าบริการ 062-486-9787

ติดต่อ iTAX sme

อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 1012 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  2. ^

    มาตรา 1097 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  3. ^

    มาตรา 39 ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    มาตรา 1097 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  5. ^

    มาตรา 1108 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  6. ^

    มาตรา 1110 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  7. ^

    มาตรา 1018 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  8. ^

    มาตรา 1115 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  9. ^

    มาตรา 1021 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  10. ^

    มาตรา 1111 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  11. ^

    มาตรา 1099 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  12. ^

    มาตรา 1117 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  13. ^

    มาตรา 1105 วรรคสาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  14. ^

    มาตรา 1096 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  15. ^

    มาตรา 1110 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  16. ^

    มาตรา 1171 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  17. ^

    มาตรา 1175 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  18. ^

    มาตรา 1145 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  19. ^

    มาตรา 1145 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  20. ^

    มาตรา 1220 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  21. ^

    มาตรา 1221 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  22. ^

    มาตรา 1224 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  23. ^

    มาตรา 1236(4) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  24. ^

    มาตรา 1238 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  25. ^

    มาตรา 1194 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  26. ^

    มาตรา 1175 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้