ในการรับบิณฑบาต ภิกษุ สามเณร พึง ปฏิบัติ อย่างไร จึง ถูก ต้อง ตาม เส ขิ ย วัตร

เสนอมหาเถรสมาคม ออกกฎเหล็ก 6 ข้อ คุมพระสงฆ์กรณีบิณฑบาตไม่เอื้อต่อพระธรรมวินัย โดยกำหนดการออกบิณฑบาตเวลาได้รับอรุณ ไม่ควรเกิน 8 โมงเช้า ห้ามยืน-นั่งรับบาตร-นั่งในรถ ตามร้านขายอาหาร หรือเดินไปตามสถานที่ต่างๆ ห้ามสวดบทกรวดน้ำ

วันนี้ (7 ส.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม กลุ่มคุ้มครองพระพุทธศาสนา ได้ออกหนังสือเรื่องขอนุมัตินำเรื่อง กรณีการบิณทบาตไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย เสนอมหาเถรสมาคม (มส.)

หนังสือระบุว่า ตามที่ มีข้อร้องเรียนผ่นทางระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ชาติ (พศ.)

กรณีการบิณฑบาตของพระสงฆ์ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย เช่น การบิณฑบาตก่อนอรุณ การกลับวัดช้าเกินเวลาที่กำหนด รับบิณฑบาตมากเกินความจำเป็น หรือถ่ายเทอาหารให้บุคคลภายนอก นั่งหรือยืนปักหลักบิณทบาต บริเวณหน้าร้านค้าตลอดจนนำอาหารที่ได้รับมให้ร้านจำหน่ายต่อ รวมทั้งหวังแต่ลาภสักการะ

เมื่อบิณทบาตแล้ว อาหาร ดอกไม้ ธูปเทียนที่ได้ไม่นำกลับวัด ทิ้งไว้ข้างทาง เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย ทำให้ผู้ที่ใส่บาตร และผู้ที่พบเห็นเสื่อมความศรัทธา เป็นหตุให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ขอเรียนว่า เพื่อเน้นการป้องกันเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว และลดปัญหาข้อร้องเรียน จึงเห็นควรนำเรื่องดังกล่าว เสนอคณะกรรมการมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบและพิจารณากำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ดังนี้

  • การออกบิณฑบาตของพระภิกษุสามเณร จะต้องออกบิณฑบาตเวลาได้รับอรุณ และไม่ควรเกินเวลา 08.00 น.
  • การบิณฑบาตโดยยืนหรือนั่งประจำที่ ตามร้านขายอาหาร หรือบิณทบาตโดยเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆ นอกพื้นที่บิณทบาตแห่งวัดตนไม่สมควรกระทำ
  • การบิณทบาต ด้วยการนั่งรับบาตร หรือนั่งในรถรับบาตรไม่สมควรกระทำ
  • สถานที่ที่เป็นแหล่งอโคจร พระภิกษุไม่ควรเข้าไปบิณทบาต
  • การบิณฑบาตไม่ควรสูบบุหรี่ สวมรองเท้า พูดคุยกันโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถ่ายเทอาหาร หรือทิ้งดอกไม้ให้กับเจ้าของร้านอาหาร หรือแย่งกันรับของปัจจัย
  • เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ไม่ควรยถา...สัพพี

ทั้งนี้ ให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ในทุกระดับ ตลอดจนพระวินยาธิการ คอยตรวจตรา สอดส่องดูแล พระภิกษุสามณรในการบิณบาตให้เป็นไปตามหลักพระรรรมวินัย โดยยึดหลักเสขิยวัตรเป็นเกณฑ์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านจ.อ่างทองร้องพบ"พระสงฆ์"ทำผิดวินัย ขณะบิณฑบาต

รัฐบาลจ่อเยียวยาพระสงฆ์ รูปละ 60 บาทต่อวัน กว่า 2 แสนรูป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสขิยวัตร เป็นส่วนหนึ่งของวินัยบัญญัติของภิกษุ (ศีล 227 ข้อ) กล่าวคือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา จัดเป็น 4 หมวด ได้แก่

  • สารูป(ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน) มี 26 ข้อ
  • โภชนปฏิสังยุต(ว่าด้วยการฉันอาหาร) มี 30 ข้อ
  • ธัมมเทสนาปฏิสังยุต(ว่าด้วยการแสดงธรรม) มี 16 ข้อ
  • ปกิณณกะ(เป็นหมวดเบ็ดเตล็ด) มี 3 ข้อ

ตัวอย่างที่พบได้ทั่วไป เช่น ภิกษุจะไม่ยืนถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ, ภิกษุจะไม่ยืนดื่มน้ำ เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  • สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นวโกวาท (หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี) 80/2550 (50/2493)

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันเสาร์ ที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘

๑. พระวินัย คืออะไร ? ภิกษุรักษาพระวินัยแล้ว ย่อมได้อานิสงส์อะไร ?

เฉลย คือพระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร ฯ ได้อานิสงส์ คือไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับ ความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีลก็องอาจไม่สะทกสะท้าน ฯ

๒. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิตเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?

เฉลย เรียกว่า นิสสัย ฯ มี ๔ อย่าง ฯ คือ

๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล

๓. อยู่โคนต้นไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ามูตรเน่า ฯ

๓. สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์มีเท่าไร ? สิกขาบทว่าด้วยปาราชิกมีอะไรบ้าง ?

เฉลย มี ๒๒๗ สิกขาบท ฯ มี

๑. เสพเมถุน

๒. ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก

๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย

๔. ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม (คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์) ที่ไม่มีในตน ฯ

๔. ในอทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์ เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง ?

เฉลย ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสก ขึ้นไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก

ทรัพย์มีราคาต่ำกว่า ๕ มาสก แต่สูงกว่า ๑ มาสก เป็นวัตถุแห่งอาบัติถุลลัจจัย

ทรัพย์มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสก ลงไป เป็นวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ฯ

๕. ภิกษุโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกอย่างไร ภิกษุผู้โจทจึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส ?

เฉลย ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล และภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ฯ

๖. ภิกษุประพฤติอย่างไร ชื่อว่าประทุษร้ายตระกูล ?

เฉลย ประจบคฤหัสถ์ ฯ

๗. พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุขอจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ได้ในสมัย ใดบ้าง ?

เฉลย ในสมัยที่ภิกษุมีจีวรอันโจรลักไป หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย ฯ

๘. ภิกษุนำเก้าอี้ของสงฆ์ไปใช้ในที่แจ้ง เมื่อหลีกไปจากที่นั้น พึงปฏิบัติอย่างไร ? ถ้าไม่ปฏิบัติ อย่างนั้น ต้องอาบัติอะไร ?

เฉลย พึงเก็บเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายแก่ผู้อื่น ฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

๙. ในการรับบิณฑบาต ภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรจึงถูกต้องตามเสขิยวัตร ? จงตอบมาเพียง ๒ ข้อ

เฉลย รับโดยเคารพ แลดูแต่ในบาตร รับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก รับแต่พอเสมอขอบ ปากบาตร ฯ (เลือกตอบเพียง ๒ ข้อ)

๑๐. การเถียงกันด้วยเรื่องอะไรจึงจัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ ?

เฉลย การเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย ฯ

การรับบิณฑบาตภิกษุพึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามเสขิยวัตร

รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ.
ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร.
รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป).
รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร.
ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ.
ในขณะฉันบิณฑบาต แลดูแต่ในบาตร.
ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง).
ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป.

เสขิยวัตรคืออะไรภิกษุไม่ปฏิบัติตามต้องอาบัติอย่างไร

เสขิยวัตรสำคัญอย่างนี้ คือ เป็นวัตรที่ภิกษุสามเณรต้องศึกษาให้รู้ธรรมเนียมกิริยามารยาท ในเวลาเข้าบ้าน รับบิณฑบาต และฉันอาหาร เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โลกติเตียน และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ต้องอาบัติทุกกฏ เหตุที่ตอบอย่างนี้ เพราะข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามก็ดี ทรงอนุญาตก็ดี เมื่อไม่ปฏิบัติ ...

เสขิยวัตร มีความสําคัญอย่างไร

เสขิยวัตร เป็นส่วนหนึ่งของวินัยบัญญัติของภิกษุ (ศีล 227 ข้อ) กล่าวคือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา จัดเป็น 4 หมวด ได้แก่ สารูป(ว่าด้วยความเหมาะสมแก่สมณเพศในการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน) มี 26 ข้อ โภชนปฏิสังยุต(ว่าด้วยการฉันอาหาร) มี 30 ข้อ ธัมมเทสนาปฏิสังยุต(ว่าด้วยการแสดงธรรม) มี 16 ข้อ

ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตรนั้นต้องอาบัติอะไร

๒. ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร ปฏิบัติผิดธรรมเนียมไป ต้องอาบัติอะไร ? (๒๕๕๖) ตอบ : ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ ๓. ในเสขิยวัตรมีสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้ภิกษุช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมโดยอนุโลมไว้อย่างไร? (๒๕๕๕) ตอบ : ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ และบ้วนน้ำลายลงในของเขียว และในน้ำ ฯ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้