กฎหมายแรงงาน พนักงานรายวัน

จะทำอะไรเดี๋ยวนี้ก็ต้องรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่เวลาทำงานก็ตาม

เพราะเวลามีปัญหาอะไรขึ้นมา จะได้ไม่ต้องมาอธิบายว่า 'ไม่รู้ ๆ' ทั้ง ๆ ที่เรื่องเหล่านั้นควรจะเป็นเรื่องที่เราควรรู้ ไม่ว่าจะระเบียบในชีวิตประจำวัน กฎจราจร หรือว่าจะเป็นการทำงาน และไม่ใช่แค่นั้นนะ อย่างบางคนด้วยความไม่รู้เนี่ยแหละ เลยทำให้เราพลาดอะไรหลาย ๆ อย่าง จนกลายเป็นเสียโอกาส โดนคนอื่นเอาเปรียบแทน อย่างที่เปย์เป้เห็นบ่อย ๆ ก็จะเป็นบรรดามนุษย์เงินเดือนที่มักจะถูกเอาเปรียบโดยนายจ้างที่คิดว่าตัวเองถือไพ่เหนือกว่า มีสิทธิ์ที่จะทำอะไรก็ได้ จนทำให้คนทำงานอย่างเราต้องก้มหน้าก้มตาทำไป ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วสิ่งที่นายจ้างกำลังปฏิบัติกับเราอยู่ อาจจะเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเราอยู่ก็เป็นได้

วันนี้เป้เลยจัดการมัดรวมข้อกฏหมายแรงงานที่ลูกจ้างอย่างเราต้องรู้ ไม่ว่าจะเป็นกฏหมายเกี่ยวกับวันทำงาน วันหยุด วันลา เวลาเข้างาน หรืออะไรต่อมิอะไรที่มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายควรที่จะต้องรู้ แต่ก็ยังมีคนบางส่วนที่ยังไม่รู้ ส่วนจะมีข้อกฎหมายอะไรบ้าง ตามมาดูกัน !

รวม กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างควรรู้

แวะอ่านสักนิด จะได้ไม่โดนเอาเปรียบ !

ก่อนจะไปเข้าสู่ข้อกฎหมายกัน ก่อนอื่นเปย์เป้ขออธิบายให้เข้าใจร่วมกันก่อนว่า ข้อกฎหมายที่เป้หยิบมา คือ ส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ไม่ใช่ข้อกฎหมายทั้งหมดแต่เป้คัดมาบางส่วนที่คิดว่าน่าสนใจ และเพื่อน ๆ มนุษย์ทำงานหลายคนควรที่จะรู้และน่าจะอยากรู้ว่าตามกฎหมายจริง ๆ แล้วมันควรจะเป็นยังไง ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนสนใจอยากจะอ่านข้อกฎหมายทั้งหมด เดี๋ยวเป้จะแปะลิงก์ให้ไปตามอ่านกันต่อที่ด้านล่างน้า อ่ะ ถ้าเข้าใจตรงกันแล้ว เลื่อนลงไปอ่านต่อกันโล้ด...  😘 

💼  วันทำงานปกติควรอยู่ที่กี่ชม. แบบนี้เรียกว่าทำงานเกินเวลาหรือเปล่า ?

สำหรับเวลาทำงาน สามารถแยกได้ 2 หมวด คือ หมวดงานทั่วไป อันนี้จะอยู่ที่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง / วัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมง / สัปดาห์ ส่วนเวลาเข้างาน หรือเวลาในการเริ่มงาน หรือเลิกงาน นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกันได้ เอาง่าย ๆ คือ ไม่จำเป็นว่าทุกหน่วยงานจะต้องมีเวลาเข้างาน และเลิกงานเหมือนกัน

ส่วนอีกหมวด คือ หมวดงานที่อันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง เช่น พวกงานเชื่อมโลหะ งานที่ต้องทำใต้ดิน ในถ้ำ งานขนส่งวัตถุอันตราย เกี่ยวข้องกับสารเคมีใดใด อันนี้กฎหมายกำหนดให้มีเวลาทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง / วัน และต้องไม่เกิน 42 ชั่วโมง / สัปดาห์ นะจ๊ะ

💼  แล้วถ้าจู่ ๆ ต้องทำงานล่วงเวลาล่ะ อันนี้สามารถทำได้ตามสั่งเลยเหรอ ?

คำตอบ ก็คือ ไม่ได้เด้อ คือต่อให้จะมีเคสทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด ทั้งหัวหน้างานและลูกจ้างควรจะต้องตกลงกันก่อน  และจะต้องได้รับการยินยอมจากอีกฝ่ายก่อนเท่านั้น และไม่ควรให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันตลอดทั้งวัน หรือถ้าเนื้องานนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการให้ทำงานล่วงเวลา ก็ต้องให้ลูกจ้างยินยอมและให้ทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นกิจการโรงแรม, สถานมหรสพ, งานขนส่ง, ร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม หรือสถานพยาบาล อันนี้สามารถให้ทำงานในวันหยุดได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไป และชั่วโมงในการทำงานในวันหยุด หรือทำงานล่วงเวลาต่าง ๆ รวมแล้วจะต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมง / สัปดาห์  และนายจ้างจะต้องมีการจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างด้วย

💼  ค่าล่วงเวลาเค้าคิดกันยังไง ถ้าไม่ได้ นี่ชั้นโดนเอาเปรียบอยู่หรือเปล่า ?

สำหรับเคสทำงานล่วงเวลา สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1. เคสทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ อันนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของค่าจ้างต่อชั่วโมง หรือต่อหน่วย  โดยยึดตามจำนวนชั่วโมง หรือจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน

กรณีที่ 2. เคสทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้กับลูกจ้างในอัตรา 'สามเท่า'  ของอัตราจ้างคิดเป็นชั่วโมง ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน

กรณีที่ 3. ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกตินายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ ส่วนลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุด จะต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน ตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ ก็คือเหมือนกับไปทบในค่าจ้างในวันทำงานปกติ แทนที่จะจ่ายค่าจ้างในฐานะที่ทำงานล่วงเวลา 

แล้วอย่างบางคนทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ได้รับค่าจ้างล่วงเวลาอันนี้ถือว่าผิดไหม ตอบเลยว่า ไม่ผิดนะแต่จะต้องดูก่อนว่าอาชีพนั้น ๆ เข้าข่ายอาชีพที่ทำงานล่วงเวลา แต่ไม่ได้รับค่าจ้างล่วงเวลาตามกฎของกระทรวงหรือเปล่า ซึ่งอาชีพที่ว่านั้นก็ได้แก่ ลูกจ้างที่ทำหน้าที่แทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง, พนักงานขาย ตัวแทนขาย ที่ได้รับค่าตอบแทนจากยอดขาย, งานดับเพลิง, งานอยู่เวร ฯลฯ อันนี้สามารถละเว้นให้ไม่รับค่าจ้างในส่วนนี้ได้ ขึ้นอยู่กับการตกลงกับนายจ้าง

💼  ว่ากันด้วยเรื่องของ 'เวลาพัก' ตามกฎหมายเค้าให้พักนานแค่ไหน ?

เปย์เป้ว่าเรื่องของเวลาพักนี่เป็นอะไรที่ยืดหยุ่นนะ  บางบริษัทก็คือไม่ซีเรียสเลย (เหมือนปันโปรของเรา อิอิ) คือค่อนข้างที่จะชิวมาก ๆ ขอให้มีงานส่งทันตามที่กำหนดก็ถือว่าโอเคแล้ว แต่บางบริษัทก็มีกฎที่เคร่ง เวลาพักก็ต้องเป็นเวลาพัก จะพักเกินกว่านี้ไม่ได้ แล้วเวลาพักแบบไหนคือเวลาพักที่ถูกต้องตามกฎหมายล่ะ ?

สำหรับเคสของเวลาพัก สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี สำหรับกรณีแรก คือ เวลาพักระหว่างวันทำงานปกติ อันนี้กฎหมายกำหนดให้มี ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง / วัน  อาจจะกำหนดให้พักหลังจากที่ทำงานมาแล้วไม่เกิน 5 ชั่วโมงก็ได้ หรือจะตกลงพักแล้วแต่แผนก ๆ ไปก็ได้ แต่รวมแล้วจะต้องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน

แต่ถ้าเป็นงานขายอาหาร หรือเครื่องดื่มที่อาจจะมีการเปิดให้บริการในแต่ละวันไม่เท่ากัน อันนี้นายจ้างอาจจะให้ลูกจ้างพักเกิน 2 ชั่วโมง / วันได้  ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างทั้งสองฝ่าย

ส่วนถ้าเป็น เวลาพักก่อนทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างได้พักก่อนที่จะเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที หรือมากกว่านั้นได้ในกรณีที่ลูกจ้างจะต้องทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติเกินกว่า 2 ชั่วโมงเป็นต้นไป

💼  แล้ว วันลาพักร้อนล่ะ ปีนึงควรได้กี่วัน ?

สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของพนักงาน ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ระบุเอาไว้ว่า นายจ้างจะต้องกำหนดให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีของพนักงานโดย ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน / ปี  สำหรับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี อาจจะมีมากกว่า 6 วันได้ขึ้นอยู่กับอายุของพนักงาน ส่วนจะทบได้ หรือทบไม่ได้ (ในกรณีที่ใช้วันพักร้อนไม่หมดของปีนั้น ๆ) อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับบางบริษัท เพราะบางบริษัทก็สามารถทบได้ อันนี้ก็ถือว่าเก๋กู้ด ส่วนบริษัทไหนทบไม่ได้ พนักงานอย่างเราอย่าลืมใช้ให้ครบและให้หมดในปีนั้น ๆ เพื่อที่จะไม่เป็นการเสียสิทธิ์น้าา

💼  ลาป่วยแล้วโดนหักเงิน อันนี้คือถูกหรือผิด ?

ขึ้นอยู่กับเคส และปัจจัย แต่ถ้าเราได้รับการบรรจุให้เป็นพนักงานประจำแล้ว และยังไม่เคยลา พอจะลาป่วยปุ๊บ กลับโดนหักเงินปั๊บ อันนี้ถือว่าผิด เพราะถ้าว่ากันตามกฎหมายจริง ๆ ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะลาป่วยกี่วันก็ได้ แต่บางบริษัทอาจจะมีการขอหลักฐาน หรือใบรับรองแพทย์เพื่อเป็นการยืนยันว่าเราป่วยจริง ไม่ได้ป่วยแกล้ง ส่วนเรื่องวันนั้น บางบริษัทอาจจะมีการกำหนดกฎไว้คร่าว ๆ เพื่อความเป็นระเบียบว่าสามารถลาป่วยได้เท่านี้ ๆ วัน หรืออาจจะมีการกำหนดมาเลยว่าสามารถลาโดยที่ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ได้กี่วัน ถ้าเกินจากนั้นต้องใช้ใบรับรองแพทย์ร่วมด้วย ไม่งั้นจะไม่ได้รับค่าจ้างในส่วนของวันนั้น

ซึ่งจริง ๆ แล้วถ้าเราต้องการจะลามากกว่านั้นก็ได้นะ ไม่ถือว่าผิด  แต่ก็ต้องชี้แจงให้ทางบริษัทได้รับทราบ หรือต้องศึกษากฎของแต่ละบริษัทอีกที อย่างบางบริษัทอาจจะมีการกำหนดวันลาป่วยไว้ว่าสามารถลาได้ 30 วัน ถ้าเกินกว่านั้นบริษัทอาจจะไม่ได้มีการจ่ายค่าจ้างของวันนั้น ๆ  แต่ถ้าเอาตามกฎหมายจริง ๆ ถ้าลูกจ้างมีการเจ็บป่วย ไม่สบาย ไม่สามารถที่จะมาทำงานได้ กฎหมายก็อนุญาตให้ลูกจ้างคนนั้นสามารถลาป่วยได้ ไม่ใช่ว่าป่วยแต่ไม่ให้ลาอะไรทำนองนั้นเด้อ

💼  ในหนึ่งปี เราสามารถลากิจได้กี่วัน ?

คำตอบก็คือ ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน  (จากตอนแรกที่ไม่ได้กำหนด) ส่วนเรื่องเอกสารใบรับรองนั้นไม่จำเป็น ขึ้นอยู่กับระเบียบของแต่ละบริษัท จะลาล่วงหน้าก็ได้ หรือจะไปธุระด่วนก่อนแล้วค่อยมาส่งใบลาตามหลังก็ได้ ทำได้ทั้งคู่

💼  ถ้าไม่ลาป่วย แต่จะ 'ลาออก' อันนี้สามารถบอกปุ๊บ เซย์กู้ดบายปั๊บได้เลยไหม ?

เอาตรง ๆ เลยมะ สามารถทำได้นะ 😆 คือถ้าบริษัทของเราไม่ได้มีกฎระเบียบที่ระบุชัดเจนในสัญญาจ้างตั้งแต่วันแรกที่เราเข้าทำงาน เราก็สามารถบอกปุ๊บ แล้วไปได้ปั๊บ แต่บางบริษัทก็ต้องเซฟตัวเองไว้ก่อน เซฟตัวเองในที่นี้คืออะไร? ก็เพื่อที่ว่าทางบริษัทจะได้หาคนใหม่มาผลัดเปลี่ยนได้ทัน เพราะงานบางประเภทก็ไม่สามารถทิ้งช่วงได้ หรือคนในบริษัทน้อย ฯลฯ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางบริษัทนั้นว่าจะตั้งเงื่อนไขยังไง ที่เป้เห็นบ่อย ๆ ก็มักจะมีผลหลังจากที่เรายื่นลาออกเป็นเวลา 15 หรือ 30 วัน (ขึ้นอยู่กับบริษัทนั้น ๆ )

แต่ถ้าว่าตามกฎหมายจริง ๆ ไม่ได้มีบอกไว้นะ ว่าถ้าจะลาออกต้องรอให้มีผลหลังจากนั้นกี่วัน หรือเอาง่าย ๆ ก็คือไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าก็ได้ ไม่ถือว่าผิด แต่การจะลาออกอย่างเป็นทางการนั้นจำเป็นที่จะต้องมี หลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ที่แสดงว่าเราลาออกจริง ๆ ไม่ใช่คำพูดปากเปล่า แต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน เพราะอันนั้นไม่ถือว่าเป็นการลาออกนะ

อ้อ แล้วที่สำคัญ นายจ้างไม่มีสิทธิ์ไม่อนุมัติการลาออกจากงานของเราได้ อย่างบางคนมักจะเจอนายจ้างขู่ว่าจะไม่เซ็นใบให้ อันนี้แปลว่าเราโดนตุกติกเข้าให้แล้ว  เพราะจริง ๆ เราเหมือนไปแจ้งให้ทางบริษัททราบเฉย ๆ ทางบริษัทไม่ได้มีผลบังคับว่าจะให้เราอยู่ หรือจะให้เราไป ดังนั้นระวังโดนหลอกกันด้วย 😉 

💼  ช่วยด้วยค่า หนูโดนไล่ออกทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำอะไรผิด หนูจะเรียกร้องอะไรได้บ้างค้า ?

ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างบอกเลิกจ้าง ทั้ง ๆ ที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ซึ่งค่าชดเชยนั้นจะถูก แบ่งออกไปตามอายุงาน ของลูกจ้าง ดังนี้

  • ลูกจ้างที่ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี มีสิทธิ์จะได้รับค่าชดเชย 30 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย 90 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย 180 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย 240 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย 300 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย 400 วัน

โดยค่าชดเชยทุกอย่างที่ลูกจ้างพึงจะได้รับ นายจ้างจะต้องจ่ายให้กับลูกจ้างภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง

💼  แล้วมีเคสไหนบ้าง ที่นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้าง โดยที่ไม่ต้องเสียค่าชดเชย ?

อันนี้ท่องไว้ให้ขึ้นใจ ว่าถ้าเกิดมีกรณีใด กรณีหนึ่งเกิดขึ้นในบรรดาเคสต่าง ๆ เหล่านี้ นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้เลย แถมไม่ต้องเสียค่าชดเชยให้เราเลยด้วย ซึ่งเคสเหล่านั้นได้แก่อะไรบ้าง ?

  • เคสที่ลูกจ้างบอกลาออกเอง
  • เคสที่ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  • เคสที่ลูกจ้างจงใจ หรือประมาท อันเป็นเหตุทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • เคสที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กฎระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว โดย หนังสือเตือนมีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี  นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด
  • เคสที่ลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่น หรือไม่มีก็ตาม โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนล่วงหน้า
  • เคสที่ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

และสำหรับเคสที่เป็นงานที่มีขอบเขตระยะเวลาจ้างที่ทางนายจ้างได้ทำการบอกลูกจ้างตั้งแต่วันที่เข้าทำงานวันแรกเรียบร้อยแล้ว นายจ้างสามารถบอกเลิกจ้างได้เลย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  เพราะถือว่าได้ระบุเงื่อนไขไว้ตามสัญญาจ้างตั้งแต่ตอนแรกแล้ว อันนี้ไม่ถือว่าผิด แต่ทั้งนี้เปย์เป้ก็แนะนำให้เพื่อน ๆ นอกจากจะศึกษากฏหมายแรงงานกันแล้ว เป้อยากให้ทุกคนศึกษาหนังสือสัญญาจ้างของเรากันไว้ด้วย เพราะแต่ละบริษัทก็มีระเบียบเป็นของตัวเอง ซึ่งถ้าเราไม่อ่านให้ละเอียดตั้งแต่ตอนแรก แล้วดันเกิดเหตุอะไรขึ้น ทั้ง ๆ ที่มีการระบุไว้ในสัญญาแล้วนั่นแปลว่าเราเสียสิทธิ์เอง ไม่ได้ถูกเอาเปรียบนะ เพราะฉะนั้นต้องทำความเข้าใจกันใหม่ด้วย 

💼  ปุ๊บปั๊บรับโชค หวยออกว่าท้อง อันนี้ลาเลยได้ไหม ?

ถ้าว่ากันตามกฎหมายแรงงานฉบับล่าสุด ได้ระบุเอาไว้ว่า ลูกจ้างที่เป็นหญิงมีครรภ์ สามารถใช้สิทธิ์ลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน (จากเดิมที่ได้ 90 วัน) ซึ่งการลาคลอดที่ว่าได้นับรวมการลาเพื่อการฝากครรภ์, ตรวจครรภ์ และให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย ทั้งยังกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างที่เป็นหญิงมีครรภ์ในวันลาเพื่อคลอดบุตร เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

💼  ไม่ได้ลาคลอด แต่จะลาไปทำหมัน อันนี้ยังได้ค่าจ้างอยู่ใช่ไหม ?

ได้สิจ๊ะ เพราะนอกจากลาคลอดแล้ว ลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะลาเพื่อทำหมันได้ และลูกจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าจ้างในวันนั้นด้วย แต่อย่าลืมให้ทางโรงพยาบาลหรือสถาบันทางการแพทย์ที่เราไปรักษาออกใบรับรองมาให้ด้วยเด้อ

จะบอกว่าเรื่องกฎหมายแรงงานนี้มีอะไรอีกมากให้ไปศึกษา ซึ่งทั้งหมดที่คัดมาเปย์เป้ได้อ้างอิงมาจากปัญหาที่พวกเราชาวมนุษย์เงินเดือนเจอกันอยู่บ่อย ๆ บางคนไม่รู้หรอกว่าตามกฎหมายจริง ๆ เค้ากำหนดไว้ว่ายังไง เห็นบริษัทออกระเบียบมาก็ยึดตามนั้น จนบางทีอาจจะเผลอทำให้เราพลาดอะไรสำคัญ ๆ ไป

ที่เป้เคยเจอมากับตัวก็เรื่องการเซ็นใบลาออกเนี่ยแหละ ตอนนั้นเป้เคยหลงเชื่อมาแล้วว่าการลาออกจะไม่เป็นผล ถ้าหากหัวหน้าเราไม่ได้เซ็นรับทราบ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วมันไม่จำเป็น ยังไงเพื่อน ๆ อย่าพลาดแบบเป้นะ ส่วนใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติม เดี๋ยวเป้จะแปะลิงก์ไว้ให้ด้านล่าง รวมถึงใครที่มีข้อสงสัยอะไรก็สามารถสอบถามผ่านช่องทางของกระทรวงแรงงานได้เช่นกัน อะ ลุยโล้ดด...

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กระทรวงแรงงาน และ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 7

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้