หักภาษีจากเงินเดือน คิดยังไง

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • ดูรีวิวจากลูกค้า
  • About me

สารบัญ

  1. การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร
  2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร
  3. วิธีคำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา (กรณีเงินเดือน)
  4. สรุปการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา

การหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ผู้จ่ายเงินต้องหักเงินผู้รับเอาไว้บางส่วนหากเป็นเงินได้ตามที่กฎหมายกำหนดให้หัก ณ ที่จ่าย และนำเงินที่หักเอาไว้นั้นนำส่งให้แก่กรมสรรพากร

ดังนั้นในกรณีที่บริษัทมีการจ่ายเงินเดือนและค่าแรงให้แก่พนักงาน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หรือ 40 (2) ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้บริษัทที่เป็นนายจ้างเป็นผู้ที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ให้ทำการหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปด้วยแบบ ภงด.1

โดยอัตราที่ต้องใช้ในการคำนวณ การหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา กรณีจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างให้แก่พนักงานนั้นจะต้องหัก ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราก้าวหน้า

ทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้ที่นี่ : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืออะไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีบุคคลที่ทุกคนจะต้องเสียให้แก่รัฐหากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด โดยวิธีในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 วิธีดังต่อไปนี้

  1. วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเหมา
  2. วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได

โดยหลักการจะต้องมีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง 2 วิธีข้างต้นนี้เปรียบเทียบกัน โดยวิธีใดได้ตัวเลขภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สูงกว่า ให้ใช้วิธีดังกล่าวในการคำนวณเพื่อเสียภาษี

ทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้ที่นี่ : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณอย่างไร

วิธีคำนวณการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา (กรณีเงินเดือน)

ตามที่ได้อธิบายไปแล้ว ว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา กรณีเงินเดือนนั้นจะหัก ณ ที่จ่ายโดยใช้อัตราก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นการหัก ณ ที่จ่ายที่แตกต่างจากเงินได้ประเภทอื่นที่จะนำจำนวนเงินได้ มาคูณกับอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด

สำหรับหลักการคำนวณ การหักภาษี ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาแบบอัตราก้าวหน้า คือบริษัทจะต้องทำการประมาณการเงินได้ของพนักงานทั้งปี หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของพนักงานทั้งปีออกมา หลังจากนั้นให้นำภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาหาร 12 เพื่อเฉลี่ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากรายปีให้เป็นรายเดือน ตัวเลขที่คำนวณได้นี้จะเป็น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดากรณีเงินเดือนของแต่ละเดือนที่ทางบริษัทจะต้องหักจากพนักงานและนำส่งกรมสรรพากร

ยกตัวอย่างเช่น นาย A มีเงินได้พึงประเมินจากเงินเดือน 40(1) เดือนละ 200,000 บาท ต่อเดือน

สำหรับรายละเอียดค่าลดหย่อนของนาย A มีดังนี้

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. ค่าลดหย่อนบิดา 30,000 บาท
  3. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป 40,000 บาท
  4. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย 20,000 บาท

ขั้นแรก :  ลองคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งปีของนาย A

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

เงินได้พึงประเมิน = 200,000 x 12 = 2,400,000 บาท

ค่าใช้จ่าย = ตามกฎหมายการหักค่าใช้จ่ายเงินเดือน 40(1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้นนาย A จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ที่ 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนตามที่ตัวอย่างกำหนด = ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 + ค่าลดหย่อนบิดา 30,000 + เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป 40,000 + ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย 20,000 = ค่าลดหย่อนทั้งสิ้น 150,000 บาท

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน 2,400,000 – ค่าใช้จ่าย 100,000 – ค่าลดหย่อน 150,000 = เงินได้สุทธิ 2,150,000 บาท

ขั้นที่ 2 : เมื่อคำนวณเงินได้สุทธิแล้ว ให้นำเงินได้สุทธิดังกล่าวไปเข้าตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อคำนวณภาษีทั้งปีของนาย A ซึ่งแสดงได้ตามตารางดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 3 : เมื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งปีออกมาแล้ว ให้นำภาษีที่คำนวณได้ยอด 410,000 บาท นำมาเฉลี่ยเป็นรายเดือน ดังนี้

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายบุคคล = 410,000 / 12 = 34,166.67 บาท ต่อเดือน

ดังนั้นในการจ่ายเงินเดือนในแต่ละรอบ ทางบริษัทจะต้องหักเงินนาย A เอาไว้เดือนละ 34,166.67 บาท และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา โดยใช้แบบ ภงด.1 และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

รายได้รวมตลอดทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม ทั้งรายได้จากงานประจำและรายได้เสริมอื่น ๆ เช่น ปล่อยค่าบ้าน

ต้นทุนในการทำธุรกิจ หรือหากรับเป็นเงินเดือนสามารถหักลดค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดโดยไม่เกิน 100,000 บาท 

สิทธิขอลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนพื้นฐาน, ครอบครัว, การลงทุน, กองทุน หรือแม้แต่การทำประกัน 

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคิดอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได หรือแบบเหมาจ่าย ขึ้นอยู่กับว่าแบบใดจะเสียภาษีมากกว่าให้ยึดจ่ายตามนั้น

คำนวณหาเงินได้สุทธิบุคคลธรรมดา

สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนเริ่มคำนวณภาษีคือการคำนวณรายได้สุทธิ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการลดภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี แถมยังช่วยให้เราได้เงินคืนหากเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งมีสูตรง่าย ๆ ดังนี้

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

สมมติว่า นาย A เป็นพนักงานเงินเดือนมีรายได้ทั้งปีรวมกัน 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และมีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่น ๆ

เงินได้สุทธิ  = เงินได้ทั้งปี-หักค่าใช้จ่าย-หักค่าลดหย่อน

300,000-100,000-(60,000+9,000) = 131,000 บาท

เท่ากับว่า นาย A จะมีรายได้สุทธิ 131,000 บาทต่อปี ก็จะนำจำนวนดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับตารางภาษีขั้นบันไดแล้วดูว่าตัวเองต้องเสียภาษีถึงขั้นไหน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าถ้าเรานำค่าเบี้ยประกัน หรือกองทุนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะช่วยลดภาษีในแต่ละขั้นลงแล้ว จะช่วยลดภาษีที่ต้องจ่ายได้มากเลยทีเดียว เนื่องจากการคำนวณอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดจะคิดไล่จากปริมาณภาษีที่ละขั้น โดยไล่จากขั้นที่น้อยที่สุดไปหาขั้นที่สูงขึ้น สรุปก็คือยิ่งจำนวนขั้นภาษีที่ต้องจ่ายน้อยเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเสียภาษีน้อยเท่านั้น

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ

ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

โดยปกติการคำนวณภาษีจะใช้การคำนวณแบบอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันไดเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นผู้ที่เสียภาษีนั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่องทางอื่น ๆ เช่น ค่าปล่อยเช่าบ้าน ค่างานพิเศษ หรืองานเสริม จึงจะต้องคำนวณภาษีอีกแบบเพิ่มขึ้นมานั้นก็คือ การคำนวณภาษีแบบเหมา 

วิธีที่ 1 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบขั้นบันได (ฉบับย่อ)

เนื่องจากการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดมีวิธีการคำนวณที่ยุ่งยากหลายขั้นตอน อาจไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ เพราะต้องใช้เวลานานในการทำความเข้าใจ อาจสับสนได้ยิ่งเวลามีตัวเลขเยอะ ๆ วันนี้จึงขอนำเสนอสูตรคำนวณภาษีง่าย ๆ ที่สามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง 

สูตรการคำนวณหาภาษีที่ต้องจ่าย

[ (เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิสูงสุดในขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ] + ภาษีสะสมที่ต้องจ่ายในขั้นก่อนหน้า

เพียงหารายได้สุทธิที่ผ่านการหักลบค่าลดหย่อนภาษีเรียบร้อยแล้ว นำมาเปรียบเทียบตารางด้านล่างว่าอยู่ในช่วงไหน จากนั้นก็นำเงินได้สุทธิของตัวเองไปคำนวณในสูตรได้เลย เพียงเท่านี้เราก็จะรู้จำนวนภาษีที่ต้องเสียในปีนั้นแล้ว

(เงินได้สุทธิ – 150,000) x 0.05

[ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x 0.10 ] + 7,500

[ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x 0.15 ] + 27,500

[ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x 0.20 ] + 65,000

[ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x 0.25 ] + 115,000

[ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x 0.30 ] + 365,000

[ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x 0.35 ] + 1,265,000

วิธีที่ 2 คำนวณภาษีที่ต้องจ่ายแบบเหมา 0.5%

หากผู้ที่มีเงินได้จากช่องทางอื่น ๆ นอกจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน รวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะต้องคำนวณภาษีแบบเหมาในอัตราร้อยละ 0.5 ด้วยโดยนำรายได้ต่าง ๆ มารวมกันแล้วคูณด้วย 0.005 เพื่อที่จะหาค่าภาษีที่ต้องจ่าย และถ้าหากไม่เกิน 5,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าไม่มีรายได้อื่น ๆ สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย

ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005

เมื่อคำนวณเสร็จแล้วให้นำภาษีที่ต้องจ่ายมาเปรียบเทียบกันดูว่าวิธีไหนต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น

หักภาษีเงินเดือน คิดยังไง

ให้นายจ้างคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายโดยอิงจากฐานเงินเดือนของพนักงานที่จะได้รับตลอดทั้งปี แล้วหักด้วยสิทธิหัก ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ที่แจ้งว่าจะใช้สิทธิ์ตลอดทั้งปี เมื่อคำนวณได้ค่าภาษีประจำปีแล้ว จึงนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนงวดที่จ่าย ค่าภาษีที่คํานวณได้ ÷ จํานวนงวด = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เงินเดือน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ไหม

- เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี - เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี - เงินเดือนเกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี หักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องเสียภาษี - หากไม่ได้จ่ายประกันสังคม และเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

ภงด.2 หักกี่เปอร์เซ็นต์

สำหรับอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้นอยู่ที่ 15% ยกเว้นเงินปันผลอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 10%

แบบ ภ.ง.ด.53 คืออะไร

.ง.ด.53 คือแบบที่ใช้สำหรับการยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้