ดอกเบี้ย 0.74 ต่อเดือน คิดยังไง

เราเชื่อว่าถ้าเลือกได้ หลายคนคงไม่มีใครอยากจะมี"หนี้"ติดตัว ที่ต้องจ่ายกันทุกสิ้นเดือนหรอก แต่ถ้าไม่มีเงินกู้ ชีวิตมันก็อาจจะไปต่อไม่ได้ เช่น คนประกอบอาชีพค้าขาย ถ้าเงินทุนตัวเองไม่พอ ก็ต้องกู้ยืมมาขยายกิจการ หรือบางคนที่อยากจะซื้อบ้าน ก็จำเป็นต้องกู้เงินเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราจำเป็นต้องสร้างหนี้ สิ่งสำคัญที่พี่ ป้า น้า อา ควรต้องรู้ก่อนเป็นหนี้ 2 อย่างก็คือ

  1. เขาคิดดอกเบี้ยเราแบบไหน

    เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อที่เราจะได้วางแผนการเงินในการจ่ายชำระหนี้ได้ถูกต้อง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการคิดดอกเบี้ยก็จะมี 2 แบบ คือ

    • การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่

      คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยเราจากยอดเงินที่เรากู้ทั้งหมดคงที่ตลอดอายุสัญญา แม้ว่าเราจะผ่อนไปบ้างแล้วดอกเบี้ยก็ไม่ลดลงตามต้นเงินครับ

      ตัวอย่างเช่น กู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ซึ่งดอกเบี้ยทั้งหมดจะอยู่ที่ 2,250 บาท เจ้าหนี้ก็จะเอาไปบวกกับเงินที่กู้ไป รวมเป็นเงิน 17,250 บาท แล้วก็เอามาหาร 12 เดือน ก็จะได้เงินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้ ต่อเดือนๆ ละ 1,437.5 บาท และหากผ่อนไปแล้ว 6 เดือน เกิดโชคดีถูกหวยขึ้นมา อยากรีบเอาเงินมาปิดหนี้ ก็ไม่มีประโยชน์มากนักเพราะก็ต้องจ่ายส่วนที่ขาดไปอีก 6 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ไม่ลด ซึ่งการคิดดอกเบี้ยแบบนี้ส่วนใหญ่จะเจอในการกู้ซื้อรถ หรือการกู้หนี้นอกระบบนั่นเอง

    • การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

      คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ย ตามยอดหนี้ที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน เช่น กู้มา 15,000 บาท เดือนแรกเขาก็จะคิดดอกเราจากยอดเงิน 15,000 บาท และในเดือนแรกเราผ่อนจ่ายไป 1,500 บาทแล้ว เดือนถัดไปเขาจะเอาเงินต้นที่เหลืออยู่ก็คือ 13,500 บาท มาคิดดอกเบี้ย ซึ่งจะต่างจากแบบแรกที่ถ้ากู้ 15,000 บาท จะผ่อนจ่ายไปกี่เดือนแล้วก็ตามเวลาคิดดอกเบี้ยก็จะคิดจากยอดกู้ 15,000 บาท เห็นไหมว่าดอกเบี้ยแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

      ตัวอย่างเช่น ไปกู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ย ลดต้นลดดอกร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ทางเจ้าหนี้เขาจะคำนวนมาให้เลยว่าเราจะผ่อนเดือนละ 1,360 บาท รวมเป็นเงิน 16,320 บาท ซึ่งรวมแล้วเราจะจ่ายถูกกว่าแบบเงินต้นคงที่และถ้าเรามีเงินก้อน เราก็สามารถเอาเงินก้อนไปโปะได้ ดอกเบี้ยก็จะลดลงอีกด้วย จากยอดที่เราต้องจ่ายทั้งหมด 16,320 บาท อาจจะเหลือแค่ 16,000 บาทก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ดอกเบี้ยลักษณะนี้คือการกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อส่วนบุคคลครับ

  2. แล้วเราจะเลือกผ่อนสั้นผ่อนยาวดีล่ะถึงเหมาะกับเรา ?

    เรื่องนี้ต้องขอกระซิบบอกหน่อยว่า “ไม่ว่าจะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ หรือการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก แม้ว่าทั้งสองแบบจะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยต่างกัน แต่สิ่งที่เขาให้เรามีสิทธิ์เลือกได้ก็คือ เราจะผ่อนแบบสั้น หรือแบบยาว” หากคุณยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกผ่านแบบไหน!!! เราขอแนะนำแบบกระชับและได้ใจความ ดังนี้

    ถ้าเลือกผ่อนแบบสั้น

    การผ่อนหนี้ในแต่ละเดือนยอดชำระก็จะสูง แต่ก็หมดไวมีภาระผ่อนไม่นาน แถมดอกเบี้ยก็จะน้อยลงไปด้วย ซึ่งถ้าเรารู้ตัวเองว่ามีรายได้ประจำที่แน่นอน เช่น เป็นพนักงานมีเงินเดือน สามารถประเมินรายได้แต่ละเดือนได้ ถ้าดูจากเงินเดือนแล้วสามารถผ่อนระยะสั้นไหว การผ่อนระยะสั้นก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเช่นกัน เพราะหมดหนี้ไว หมดปัญหาหนี้สินกวนใจนั่นเอง

    ถ้าเลือกผ่อนแบบยาว

    ในแต่ละเดือนเราก็จะผ่อนน้อย ผ่อนนาน ผ่อนสบาย แต่ว่าดอกเบี้ยก็เยอะขึ้นตามระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งถ้าเราทำอาชีพค้าขาย หรืองานรับจ้างต่างๆ ที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ รายได้ไม่คงที่ไม่ได้เป็นประจำแน่นอนตลอด การเลือกผ่อนแบบยาวก็ดูเข้าทางมากกว่าการผ่อนแบบสั้น ถึงแม้ว่าดอกเบื้ยจะแพงกว่าก็เถอะ แต่เราก็จะไม่ลำบากต้องไปหาหยิบยืม สร้างหนี้ มาจ่ายหนี้ทบหนี้อีก แต่ถ้าเดือนไหนมีรายได้เข้ามาค่อนข้างเยอะ เราก็ควรกันไว้จ่ายในกรณีฉุกเฉินหากเดือนไหนรายได้เราลดน้อยลง หรือเอาไปโปะยอดเงินต้นถ้าสินเชื่อที่เรากู้เป็นแบบลดต้นลดดอก จะได้หมดหนี้ไวๆ เสียดอกน้อยลง แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายดอกอย่างเดียวก็เอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นดีกว่า

สุดท้าย และท้ายสุดอยากฝากไว้ว่าถ้าพี่ ป้า น้า อา ทั้งหลาย จำเป็นจะต้องใช้เงินก้อน ต้องกู้ขอสินเชื่อ จนทำให้เกิดการสร้างหนี้เพื่อให้ชีวิตหมุนต่อได้ แต่ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมว่าหนี้ของเรานั้นควรจะผ่อนสั้นหรือยาว ควรเลือกผ่อนในแบบที่เราสามารถจ่ายไหว ไม่เกินกำลังของตัวเอง แต่หากคิดไม่เผื่ออนาคต กลัวเสียดอกเบี้ยเยอะเลยเลือกผ่อนสั้น แต่พอถึงคราวผ่อนจริงๆ ดันผ่อนไม่ไหว อันนี้จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตให้ต้องนอนเอาขาก่ายหน้าผากวันละ 8 ตลบได้ หากไม่อยากเป็นหนี้เกินตัว ก็ต้องวางแผนการเงินอย่างฉลาดและรู้ทันตัวเอง ไม่ว่าเราจะเลือกผ่านแบบไหน ควรสอบถามเงื่อนไขของการชำระและการปิดหนี้ให้แน่ใจก่อนการตัดสินใจ

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย

Facebook | Line | Youtube | Instagram

บัตรเครดิตใครๆ ก็มีในกระเป๋า แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักและเข้าใจดอกเบี้ยของบัตรเครดิตนั้นจริงๆ

ดอกเบี้ยที่ว่ามีอะไรที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันบ้าง เรามาดูกัน

ดอกเบี้ย คงไม่กี่บาท

รูดบัตรแค่ไม่กี่บาท ดอกเบี้ยจะสักเท่าไหร่กันเชียวบอกเลยว่าคิดผิด ถ้าใครเคยผ่อนหนี้บ้านมาก่อน น่าจะพอเข้าใจได้ว่าดอกเบี้ยที่จ่ายแต่ละเดือนไม่ใช่เรื่องสนุกเลย

แล้วรู้ไหมว่าอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตแพงกว่าบ้านอีก เช่น ดอกเบี้ยบ้านอาจอยู่ที่ 6% ต่อปี ในขณะที่ดอกเบี้ยบัตรเครดิตอยู่ที่ 18% ต่อปี หรือสูงถึง 3 เท่าของดอกเบี้ยบ้านเลย

วันที่เริ่มคิดดอกเบี้ย

หลายคนเข้าใจผิดว่า หากชำระล่าช้าหรือชำระไม่เต็ม ดอกเบี้ยจะเริ่มคิดตั้งแต่หลังวันสรุปยอดหรือวันกำหนดชำระเงินแต่ในความจริงแล้วดอกเบี้ยจะเริ่มคิดตั้งแต่วันที่รูดใช้บัตรไปจนถึงวันที่เรานำเงินไปชำระหนี้ส่วนนี้

เช่น รูดบัตร วันที่ 1 .. สรุปยอดวันที่ 15 .. ครบกำหนดชำระเงินวันที่ 30 .. หากนำเงินไปชำระค่าบัตรวันที่ 20 .. (กรณีเข้าเงื่อนไขเสียดอกเบี้ย เช่น ชำระไม่เต็มจำนวน) จะถูกคิดดอกเบี้ยเป็นจำนวน 20 วัน (1 – 20 ..) ไม่ใช่ 6 วัน (15 – 20 ..) อย่างที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งจากตัวอย่างนี้ ดอกเบี้ยที่คำนวณได้ จะต่างกันถึงกว่า 3 เท่าตัวเลย

ยอดเงินที่คิดดอกเบี้ย

อีกเรื่องที่คนมักเข้าใจผิด คือ รูดบัตรไปก่อนเดี๋ยวพอครบกำหนดก็ชำระบางส่วน ที่เหลือค่อยเสียดอกเบี้ย แต่ในความจริงแล้ว ดอกเบี้ยจะถูกคิดตามยอดเงินที่รูด (เต็มจำนวน) ไม่ใช่ส่วนที่เหลือหลังชำระแล้ว

เช่น รูดบัตร 100,000 บาท เมื่อถึงกำหนดมีการชำระเงิน 70,000 บาท ดอกเบี้ยจะถูกคิดจากยอดเงินที่รูดไป 100,000 บาท ไม่ใช่ส่วนที่เหลือ 30,000 บาท

แบงก์ใจดี มีโปรผ่อน

ดอกเบี้ยบัตรเครดิตปกติอยู่ที่ 18% ต่อปี แต่หากใช้โปรโมชันเปลี่ยนยอดบัตรเป็นยอดผ่อน เช่น 0.83% ต่อเดือน ผ่อน 12 เดือน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอาจดูเหมือนต่ำกว่าปกติ แต่ในความจริงแล้ว ดอกเบี้ยที่ว่าอาจไม่ได้ต่ำกว่า 18%ต่อปี เสมอไป

นั่นเพราะ 18% ต่อปี หรือ 1.5% ต่อเดือน (18%ต่อปี ÷ 12 เดือน) เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบ Effective Rate (ลดต้นลดดอก) ส่วน 0.83% ต่อเดือน เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบ Flat Rate (เงินต้นคงที่) ซึ่งการเปรียบเทียบความถูกหรือแพง ต้องอาศัยการคำนวณหรือใช้ตารางด้านล่าง เพื่อดูว่า Effective Rate 18% ต่อปี เทียบเท่ากับ Flat Rate กี่ % ที่ระยะเวลาการผ่อนต่างๆ ดังนี้

จำนวนเดือน   :  Flat Rate ต่อเดือน   :  Flat Rate ต่อปี

      12                   0.83%                 10.02%

      36                   0.84%                 10.05%

      48                   0.85%                 10.25%

      60                   0.87%                 10.47%

      72                   0.89%                 10.70%

บัตรเครดิตเป็นสิ่งที่เข้าถึงง่าย แต่ถ้าใช้ไม่เป็น อาจเข้าสู่วังวนความเป็นหนี้และออกมาไม่ได้ง่ายๆ เหมือนตอนเข้าไป

#WealthMeUp

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้