โจทย์เงื่อนไขสัญลักษณ์ เศษส่วน

เตรียมสอบ ภาค ก.เล่มที่ 1 from ประพันธ์ เวารัมย์ แบ่งปันความรู้ส่ความก้าวหน้า

ข้อสอบ ก.พ. ความสมารถทั่วไป เงื่อนไขสัญลักษณ์ ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ โดย

ใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น

-เครื่องหมาย เท่ากัน (=) เช่น A=B
-เครื่องหมาย ไม่เท่ากัน(≠) เช่น A ≠ B
-เครื่องหมายมากกว่า (>) เช่น A > B
-เครื่องหมายน้อยกว่า(<) เช่น A < B
-เครื่องหมายมากกว่าหรือเท่ากับ (≥) เช่น A ≥ B
-เครื่องหมายน้อยกว่าหรือเท่ากับ(≤) เช่น A ≤ B
-เครื่องหมายไม่มากกว่า(≯) เช่น A ≯ B
-เครื่องหมายไม่น้อยกว่า(≮) เช่น A ≮ B

เป็นต้น

ในการแก้ปัญหาโจทย์ที่เกี่ยวกับการเปรียบเทียบ มีหลักการเบื้องต้น หรือ คุณสมบัติการไม่เท่ากันของจำนวนจริง (Properties of Inequalities) ที่ควรทราบ คือ
  1. คุณสมบัติด้านการส่งผ่าน (Transitive Property)
    ถ้าเรานำค่ามาเรียงกันในทิศทางเดียวกัน เราสามารถข้ามตัวกลางได้ เช่น
    1. A>B>C>D เราสามารถสรุปได้ว่า A>D
      นั่นคือ เราสามารถข้าม B และ C ได้
    2. ถ้า A ≥ B ≥ C ≥ D แล้ว
      สามารถสรุปได้ว่า
      A ≥ D
    3. ถ้า A > B ≥ C ≥ D แล้ว
      สามารถสรุปได้ว่า
      A > D
    ข้อสังเกต
    1. ความเท่ากันของเครื่องหมาย ≥ จะหายไป เมื่อมีเครื่องหมายที่ต่างกัน
    2. ทิศทางของเครื่องหมาย ต้องมีทิศทางเดียวกัน จะมีทิศทางสวนกัน หรือต่างกัน ไม่ได้ เช่น
      ถ้า A > B ≥ C < D แล้ว
      จะสรุปความสัมพันธ์ใด ๆ ระหว่าง A และ D ไม่ได้เลย
  2. คุณสมบัติการกลับ (Reversal Property)
    เราสามารถพูดได้ว่า ถ้า A>B แล้ว เราสามารถพูดกลับกันได้ว่า B<A

    ตัวอย่าง
    พ่อสูงมากกว่าแม่ พูดได้อีกอย่างว่า แม่สูงน้อยกว่าพ่อ
  3. การบวกและลบ

    ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store

    • ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่
    • มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ
    • มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ
    • มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ
    • มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา

    เราสามารถนำตัวเลขตัวเดียวกัน มาบวก หรือ ลบ จำนวนที่ไม่เท่ากันได้ โดยยังมีทิศทางคงเดิม เช่น
    ถ้า A > B > C แล้ว สรุปได้ว่า A+D > B+D > C+D หรือ
    ถ้า A > B > C แล้ว สรุปได้ว่า A+5 > B+5> C+5 หรือ
    ถ้า A+D > B+D > C+D แล้ว สรุปได้ว่า A > B > C หรือ
    ถ้า A-D > B-D > C-D แล้ว สรุปได้ว่า A > B > C
    ตัวอย่าง
    พี่มีเงินมากว่าน้อง พ่อให้เงินพี่และน้องอีกคนละ 5 บาท เราสามารถสรุปได้ว่า พี่มีเงินมากกว่าน้อง เหมือนเดิม
  4. การคูณและหาร ด้วยจำนวนเต็มบวกที่ไม่ใช่ศูนย์
    เราสามารถนำเลขจำนวนเต็มที่มีค่าเป็นบวกที่ไม่เป็นศูนย์มาคูณหรือหาร จำนวนที่ไม่เท่ากัน ได้ โดยไม่ทำให้ทิศทางการไม่เท่ากันเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้า A > B > C และ D เป็นเลขจำนวนเต็มบวกที่ไม่ใช่ศูนย์ แล้ว สรุปได้ว่า DA > DB > DC หรือ
    ถ้า A > B > C แล้ว สรุปได้ว่า 5A > 5B > 5C

    ตัวอย่าง
    พี่มีเงิน 7 บาท น้องมีเงิน 5 บาท พ่อให้เงินพี่และน้องเพิ่มอีกคนละ 2 เท่า สรุปได้ว่า พี่มีเงินมากกว่าน้อง เพราะ พ่อให้เงินพี่ เท่ากับ 7x2 = 14 บาท ให้เงินน้อง 5x2 = 10 บาท ดังนั้น พี่มีเงิน 14+7 = 21 บาท น้องมีเงิน 5+10=15 บาท

    ข้อนี้มีประโยชน์คือ ถ้าโจทย์ ก.พ. มีการให้มา 2 เงื่อนไข แต่ตัวเชื่อมไม่เท่ากัน เราสามารถปรับตัวเชื่อมให้เท่ากันได้ โดยการคูณ หรือ หาร

  5. การคูณ หรือหาร ด้วยจำนวนลบ จะทำให้เครื่องหมายกลับเป็นตรงข้าม เช่น
    ถ้า a < b และ c เป็นเลขจำนวนเต็มลบ จะสรุปได้ว่า ac > bc
    (เท่าที่ผ่านมา ข้อสอบ ก.พ. ยังไม่พบว่ามีการใช้การคูณด้วยจำนวนเต็ม ลบ)
  6. การคูณไขว้ เศษส่วน
    ในกรณีที่ทุกตัวมีค่ามากกว่า 0 สามารถนำมาคูณไขว้กันได้ เช่น
    ถ้า

    A/3

    >

    B/4

    แล้ว 4A > 3B
    หรือ

    1/2

    >

    2/5


    (1)(5) > (2)(2)
    5 > 4
  7. การกลับเศษเป็นส่วน(Multiplicative Inverse) จะทำให้เครื่องหมายเปลี่ยนเป็นตรงข้าม เช่น
    ถ้า a และ b เป็นเลขจำนวนบวก หรือ จำนวนลบ
    ถ้า

    a/1

    <

    b/1

    สรุปได้ว่า

    1/a

    >

    1/b


    ตัวอย่าง
    3 > 2 สรุปได้ว่า

    1/3

    <

    1/2


    หรือ ในการแข่งขันการเดิน ระยะทาง 12 กม. สมศักดิ์เดินได้เร็ว 6 กม/ชม. สุดาเดินได้เร็ว 4 กม/ชม
    6 > 4
    แต่สมศักดิ์ใช้เวลา น้อยกว่า สุดา

    12/6

    <

    12/4


    2 < 3
    กรณีการกลับเศษเป็นส่วน พบอยู่บ้างในข้อสอบ ก.พ.
ลักษณะโจทย์ เงื่อนไขสัญลักษณ์
เงื่อนสัญลักษณ์ จะประกอบด้วย เงื่อนไขจำนวนหนึ่ง และมีข้อสรุปจำนวน 2 ข้อ ผู้เข้าสอบ ต้องพิสูจน์ว่าข้อสรุปแต่ละข้อ เป็นจริงตามเงื่อนไขหรือไม่ หรือไม่แน่นอน แล้วจึงเลือกตอบให้ถูกต้อง เช่น ถ้าเป็นจริงทั้งสองข้อ ตอบข้อ 1 เป็นต้น
ตัวอย่างลักษณะโจทย์ เงื่อนไขสัญลักษณ์
เงื่อนไข
A > C > K >B ข้อสรุป
1. K < A
2. A > B

การแก้ปัญหาโจทย์ เงื่อนไขสัญลักษณ์ มีหลักการดังนี้

  1. ในกรณีที่เงื่อนไขมีเครื่องหมาย ไม่มากกว่า(≯) หรือ เครื่องหมายไม่น้อยกว่า(≮) ให้แปลงเครื่องหมายดังกล่าวเป็น < หรือ > ดังนี้

    แปลงเครื่องหมายไม่มากกว่า(≯) เป็นเครื่องหมาย น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤)
    แปลงเครื่องหมายไม่น้อยกว่า(≮) เป็นเครื่องหมายมากกว่าหรือเท่ากับ (≥)
    แปลงเครื่องหมายไม่มากกว่าหรือเท่ากับ(≱) เป็นเครื่องหมาย น้อยกว่า (<)
    แปลงเครื่องหมายไม่น้อยกว่าหรือเท่ากับ(≰) เป็นเครื่องหมายมากกว่า (>)

    ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกในการแก้ปัญหา เช่น
    A > B > C &#8814 D
    เขียนใหม่เป็น
    A > B > C ≥ D
  2. ในกรณีที่ โจทย์กำหนดเงื่อนไข ในลักษณะการบวกกัน ให้กระจายการบวกออกเป็นตัวเดี่ยว ๆ เช่น
    P > A+B สามารถกระจายออกได้เป็น
    P > A+B > A (เพราะ A+B ย่อมมากกว่า A) และ
    P > A+B > B
    หรือเขียนเสียใหม่ได้ว่า
    P > A+B > A, B
    นั่นคือ จากเงื่อนไขข้างบนนี้ เราสามารถสรุปได้ว่า
    P > A
    P > B
    P มีค่ามากที่สุด
    จากเงื่อนไขข้างบนนี้ เราไม่สามารถสรุปความสัมพันธ์ ระหว่าง A และ B ได้

    P > A+B > C+D สามารถกระจายออกได้เป็น
    P > A+B > A, B > C+D > C,D

    นั่นคือ จากเงื่อนไขข้างบนนี้ เราสามารถสรุปได้ว่า
    P > A+B > C
    P > A > C
    P > A
    P > C
    P > B > C
    P > C
    P > D
    P มีค่ามากที่สุด
    เป็นต้น
    จากเงื่อนไขข้างบนนี้ เราไม่สามารถสรุปหาความสัมพันธ์ ระหว่าง A B C และ D ได้ ไม่รู้ว่า อะไรมากกว่าอะไร หรือน้อยกว่าอะไร เพราะ ไม่แน่นอน สรุปไม่ได้ ไม่มีข้อมูลพอเพียงแก่การสรุปนั่นเอง
  3. ถ้าโจทย์มีมากกว่า 1 เงื่อนไข ให้มองหาตัวเชื่อมในระหว่างเงื่อนไข และทำตัวเชื่อมให้เท่ากันเสียก่อน โดยเพิ่มค่าเชื่อมที่น้อยกว่า ให้เท่ากับตัวเชื่อมที่มากกว่า ด้วยการ คูณ ซึ่งจะทำให้เปรียบเทียบค่าทั้งในเงื่อนไขที่ 1 และ เงื่อนไขที่ 2 ได้ เช่น
    เงื่อนไขที่ 1: A > 3C > 3E > D
    เงื่อนไขที่ 2: F > C > 2B

    จะเห็นว่า ทั้งสองเงื่อนไขมีตัวเชื่อมคือ C และค่าของ C ในเงื่อนไขที่ 2 มีค่าน้อยกว่าในเงื่อนไขที่ 1
    ดังนั้นจึงทำค่าของ C ให้เท่ากับ C ในเงื่อนไขที่ 1 โดยการเอา 3 คูณเงื่อนไขที่ 2 ได้ค่าใหม่เป็น
    3F > 3C > 6B
  4. ในการหาคำตอบ ให้ดูข้อสรุปของโจทย์เป็นหลัก เช่น

    เงื่อนไขที่ 1: A > 3C > 4D > K
    เงื่อนไขที่ 2: 3F > 3C > 6B
    ข้อสรุป: 3F < 5D

    โจทย์ต้องการให้พิสูจน์การเปรียบเทียบระหว่าง F กับ D โดย F อยู่ทางซ้ายของเครื่องหมาย และ D อยู่ทางขวาของเครื่องหมาย
    ในการพิสูจน์ ให้เริ่มจาก F ไปหา D เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบตามข้อสรุปของโจทย์ ไม่ควรเริ่มจาก D เพราะจะได้ไม่ต้องสลับที่กันภายหลัง
    จากเงื่อนไข จะเห็นว่า F และ D มีความสัมพันธ์ ดังนี้
    3F > 3C > 4D
    ดังนั้น สรุปได้คือ 3F > 4D
    แต่โจทย์ต้องการเปรียบเทียบ 3F กับ 5D
    ในที่นี้ เรามี 3F ซึ่งเท่ากับค่าที่อยู่ในข้อสรุปของโจทย์แล้ว และเรายังรู้ว่า มีค่ามากกว่า 4D แต่โจทย์ต้องการเปรียบเทียบกับ 5D
    ดังนั้น ให้เอาสิ่งที่ข้อสรุปของโจทย์ที่ต้องการเปรียบเทียบ (ซึ่งก็คือ 5D) มาวางต่อท้าย 4D เพื่อเปรียบเทียบกัน ดังนี้
    3F > 4D     5D
    จากนั้น ใส่เครื่องหมายเปรียบเทียบกับค่าที่มีอยู่แล้ว เนื่องจาก 5D มากกว่า 4D จึงเขียนได้ ดังนี้
    3F > 4D > 5D
    ดังนั้นผลจากการพิสูจน์ จึงสรุปได้ว่า 3F > 5D
    เมื่อดูข้อสรุปที่ได้ กับข้อสรุปของโจทย์ ที่ว่า 3F < 5D จึงพบว่า ข้อสรุปของโจทย์ เป็นเท็จ
  5. ในกรณีที่ปรับตัวเชื่อมให้เท่ากันแล้ว แต่พบว่า ไม่มีตัวใดเลยที่เท่ากับข้อสรุปของโจทย์ เราต้องทำตัวใดตัวหนึ่งให้เท่ากับที่มีในเงื่อนไขของโจทย์ จากนั้น จึงเพิ่มตัวที่เหลือในข้อสรุปของโจทย์ และใส่เครื่องหมายเพื่อเปรียบเทียบ เช่น

    เงื่อนไขที่ 1: A > 3C > 4D > K
    เงื่อนไขที่ 2: 3F > 3C > 6B
    ข้อสรุป: F < 5D

    จากเงื่อนไข เห็นมีตัวเชื่อม 3C จึงสามารถสรุปความสัมพันธ์ของ F และ D จากเงื่อนไข ได้ดังนี้
    3F > 3C > 4D (เริ่มจาก F ไปหา D ตามลักษณะในข้อสรุปของโจทย์)
    ดังนั้น 3F > 4D
    จะเห็นว่า ข้อสรุปต้องการทราบผลการเปรียบเทียบของ F กับ 5D เราจึงต้องทำ ค่าใดค่าหนึ่ง ให้เท่ากับข้อสรุปของโจทย์
    ในที่นี้ จะทำค่า 3F ให้เป็น 1F โดยการใช้ 3 หาร ซึ่งจะได้ผล ดังนี้
    (

    3F/3

    ) > (

    4D/3

    )
    F > (

    4D/3

    )
    เมื่อได้ค่า F ตรงตามที่ข้อสรุปโจทย์ต้องการแล้ว เราจะนำข้อสรุปตัวที่เหลือมาวางด้านตรงข้ามกับค่าที่มีอยู่แล้ว ดังนี้
    F > (

    4D/3

    )     5D

    จากนั้นจึงใส่เครื่องหมายเปรียบเทียบ ซึ่งพบว่า 5D มีค่ามากกว่า (

    4D/3

    ) (เพราะ 5 มีค่ามากกว่า

    4/3

    ซึ่งเท่ากับ 1.33 นั่นเอง) หรือ (

    4D/3

    ) มีค่าน้อยกว่า 5D จึงได้ดังนี้
    F > (

    4D/3

    ) < 5D
    จะเห็นว่า ทิศทางของเครื่องหมาย สวนทางกัน ดังนั้น จึงสรุปไม่ได้ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะ 5D มากกว่า (

    4D/3

    ) และ อาจจะมากกว่า F หรือน้อยกว่า F ก็ได้ จึงสรุปไม่ได้
    ดังนั้น จึงทำให้ข้อสรุปของโจทย์ที่ว่า F < 5D จึงสรุปไม่ได้ เพราะ F อาจจะมากกว่า 5D ก็เป็นไปได้ ตามที่เราพิสูจน์แล้ว
    สรุปว่า ข้อสรุปของโจทย์ที่ว่า F < 5D คือ สรุปไม่ได้
  6. เทคนิคเพิ่มเติม
    1. ถ้าการเปรียบเทียบ มีเครื่องหมายไปในทิศทางเดียวกัน เราสามารถสรุปได้ เช่น
      A > B > C > D
      สรุปว่า A > D เป็นจริง
      A < B < C < D
      สรุปว่า A < D เป็นจริง
    2. ในกรณีที่มีเครื่องหมายเท่ากับ ก็สามารถข้ามไปได้เลย เช่น
      A > B > C = D > G
      สามารถสรุปว่า A > D เป็นจริง
      สามารถสรุปว่า A > G เป็นจริง
    3. ในกรณีที่มีเครื่องหมายมากกว่าหรือเท่ากับ (≥) หรือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ(≤) รวมอยู่ด้วย ความสัมพันธ์ด้านความเท่ากันระหว่างคู่ที่เปรียบเทียบซึ่งมีเครื่องหมายอื่นมาคั่น จะหายไป เช่น
      A > B > C ≥ D > G
      สามารถสรุปว่า A ≥ D เพราะความเท่ากันหายไปแล้ว ระหว่าง A กับ B และ B กับ C
      เราไม่สามารถสรุปว่า A ≥ G แต่สามารถสรุปได้ว่า A > G
    4. ถ้าการเปรียบเทียบ มีเครื่องหมายมากกว่า หรือน้อยกว่า รวมอยู่ด้วยในการเปรียบเทียบชุดเดียวกัน หรือพูดอีกอย่างว่า เครื่องหมายหันไปคนละทางกัน หรือสวนทางกัน เราไม่สามารถสรุปได้ เช่น
      A > B > C < D
      เราไม่สามารถสรุปความสัมพันธ์ระหว่าง A และ D หรือ ความสัมพันธ์ระหว่าง B กับ D ได้
      ถ้าเป็นโจทย์ ก.พ. ให้หาความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ คำตอบคือ สรุปไม่ได้ (แต่ต้องระวัง ถ้าเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง C กับ D หรือ A กับ C ก็หาได้นะครับ)
    5. ในกรณีที่ ข้อสรุปของโจทย์ ดูซับซ้อน เช่น มีเครื่องหมายบวก ลบ รวมอยู่ด้วย อาจจะพิสูจน์จากข้อสรุป แล้วไปเปรียบเทียบกับเงื่อนไขว่า เป็นจริงตามเงื่อนไขหรือไม่
  7. การตัดสินข้อสรุปของโจทย์
    หลังจากที่เราได้ผลลัพธ์จากพิสูจน์เงื่อนไขแล้ว จึงนำมาเปรียบเทียบกับ ข้อสรุปของโจทย์ และตัดสินข้อสรุปของโจทย์ว่า เป็นจริง เป็นเท็จ หรือ ไม่แน่นอน เพื่อนำไปสู่การเลือก ตัวเลือกที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังตารางข้างล่างนี้
    ข้อสรุปโจทย์ผลที่ได้จากการพิสูจน์A>B A≥B A<B A≤B A=B เครื่องหมายสวนกัน A>Bจริงไม่แน่เท็จเท็จเท็จไม่แน่A≥Bจริงจริงเท็จเท็จจริงไม่แน่A<Bเท็จเท็จจริงไม่แน่เท็จไม่แน่A≤Bเท็จเท็จจริงจริงจริงไม่แน่A=Bเท็จไม่แน่เท็จไม่แน่จริงไม่แน่A≠Bจริงไม่แน่จริงไม่แน่เท็จไม่แน่หมายเหตุ
    1. กรณี มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) เช่น A ≥ B สามารถพูดได้ว่า "A มากกว่า B หรือ A เท่ากับ B" ซึ่งเรียกว่า ประพจน์ความรวม (Compound statement) ที่เป็น Disjunction หรือเชื่อมกันด้วย OR
      ความเป็นเท็จ จะมีกรณีเดียวคือ เมื่อทั้งคู่เป็นเท็จเท่านั้น นอกจากนั้นเป็นจริงทั้งหมด ดังตาราง
      กำหนดให้
      p: A มากกว่า B
      q: A เท่ากับ B
      pqp∨qจริงจริงจริงจริงเท็จจริงเท็จจริงจริงเท็จเท็จเท็จ
      ดังนั้นเมื่อเราพิสูจน์ได้ว่า ประพจน์ใดประพจน์หนึ่งเป็นจริง ประพจน์ความรวมก็เป็นจริง เช่น
      ถ้าโจทย์ให้ข้อสรุปว่า A ≥ B
      ถ้าผลการพิสูจน์ของเราได้ A > B ก็สรุปได้ว่า A ≥ B เป็นจริง
      หรือ ถ้าผลการพิสูจน์ของเราได้ว่า A=B ก็สรุปได้ว่า A ≥ B เป็นจริง เช่นกัน
      แต่ถ้าผลการพิสูจน์พบว่า A < B อย่างนี้ก็แสดงว่า ข้อสรุปเป็นเท็จ
    2. กรณี น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) ก็ทำนองเดียวกัน กับ มากกว่าหรือเท่ากับ
    3. กรณีที่มีเครื่องหมายสวนทางกัน เช่น A > B < C เราไม่สามารถหาความสัมพันธ์ ระหว่าง A และ C ได้ แต่เรารู้ว่า A > B และ B < C



ฝึกทำแบบฝึกหัด เงื่อนไขสัญลักษณ์ คลิกที่นี่


อ้างอิง
//www.mathsisfun.com/algebra/inequality-properties.html
//people.sju.edu/~pklingsb/ineq.pdf //www.mathgoodies.com/lessons/vol9/disjunction.html

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้