ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 9

ปัจจุบันการทำธุรกรรมได้ปรับเปลี่ยนวิธีในการติดต่อสื่อสาร โดยที่อาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งสะดวก รวดเร็ว และง่ายดายยิ่งขึ้น ผ่านโครงสร้างพื้นฐาน อย่างอินเตอร์เน็ต และเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจทั้งภาครัฐ และเอกชน ด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กลายเป็นกลไลสำคัญที่จะขับเคลื่อนธุรกิจและยกระดับการทำธุรกิจให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้น

โดยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) รองรับผลตามกฏหมายของธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มาตั้งแต่ปี 2544

เอกสารมากมายให้โปรแกรมจัดเก็บเอกสาร BeeECM จัดการให้คุณ โทร.062-461-5593 ทดลองใช้ระบบฟรีได้แล้ววันนี้ !!!

e-Signature ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?

e-Signature หรือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ เครื่องมือทางอิเล็กทรอกนิกส์สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของกับข้อมูลอิเล็กทรอกนิกส์นั้น สามารถใช้เป็นตัวเลข อักขระ อักษร หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นชุดข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เทคโนโลยีในการเข้ารหัสสำหรับยืนยันความเป็นเจ้าของ มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัย ทำให้มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้

สนใจระบบจัดการเอกสารติดต่อเรา ..

คลิกเพื่อติดต่อเรา

e-Signature กับนิยามตามกฏหมาย

เมื่อเราต้องการแสดงเจตนาที่จะเชื่อมโยงเราเองเข้ากับข้อความเพื่อให้เกิดผลผูกพัน เช่น ยอมรับเงื่อนไขตามข้อความที่ปรากฏในข้อตกลง หรือรับรองความถูกต้องของข้อความที่เราเองให้ไว้ เราสามารถทำได้โดยการลงลายมือชื่อ หรือเซ็นชื่อบนเอกสารกระดาษ ซึ่งเป็นวิธีการทั่วไปที่ทำกันมา แต่พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ทำให้เราสามารถลงลายมือชื่ออิเล็กทรอกนิกส์ได้

สิ่งสำคัญของการลงลายมือชื่อ ก็คือการทำให้เกิดหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อได้ และสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อที่เกี่ยวกับข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้ ทั้งนี้บุคคลจะมีวัตถุประสงค์หรือเหตุผลของการลงลายมือชื่อที่แตกต่างกันตามการทำธุรกรรมแต่ละประเภท เช่น

  • การอนุมัติเห็นชอบ หรือยอมรับข้อความ เช่น การลงลายมือชื่อเพื่อยอมรับข้อกำหนดที่ปรากฏอยู่ในสัญญา
  • การรับรองหรือยืนยันความถูกต้องของข้อความ เช่น การลงลายมือชื่อเพื่อรับรองว่าข้อความในการแสดงแบบรายการภาษีเงินได้เป็นรายการที่ถูกต้องสมบูรณ์
  • การตอบแจ้งการเข้าถึงหรือการรับข้อความ เช่น การลงลายมือชื่อเพื่อตอบแจ้ง การรับเอกสาร
  • การเป็นพยานให้กับการลงลายมือชื่อ หรือการทำธุรกรรมของบุคคลอื่น เช่น การลงลายมือชื่อเพื่อรับรองเอกสาร หรือรับรองลายมือชื่อ

พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างไร

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 กำหนดเรื่องลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มี 3 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ตามมาตรา 9 (หลักของมาตรา 9 คือ การลงลายมือชื่อต้องใช้วิธีการที่เชื่อถือได้) รองรับความเท่าเทียมกันระหว่างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่อที่เซ็นกันปกติ ซึ่งเป็นหลักที่เปิดกว้างเพื่อรองรับวิธีการทุกประเภทที่อาจนำมาใช้ในการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมาตรา 9 แบ่งส่วนประกอบเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนที่ 1 คือ เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • ส่วนที่ 2 คือ การแสดงถึงความเห็นชอบของบุคคลในการรับรองข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็น “วิธีการที่เชื่อถือได้” (ดูพฤติการณ์ที่เหมาะสมในการกำหนดว่า อย่างไรคือวิธีที่เชื่อถือได้ เช่น ความซับซ้อนของเครื่องมือ ศักยภาพของระบบ การติดต่อสื่อสาร เป็นต้น)

ประเภทที่ 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ตามมาตรา 26 เมื่อใช้เทคโนโลยีตามคุณสมบัติ หรือหลักเกณฑ์ตามที่กฏหมายกำหนด ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ โดยวิธีการเชื่อถือได้พิจารณาตามที่กฏหมายกำหนด เช่น เทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) (หมวด 2 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ เพื่อเสริมมาตรา 9) ดังนั้นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26 จึงเป็นการลงลายมือชื่อตามมาตรา 9 และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 วรรคสอง ก. ถึง ค. อีก

ประเภทที่ 3 ประเภทที่ 3 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 26 และอาศัยใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่กำหนดในมาตรา 28 กฏหมายว่าด้วยเรื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ลายมือชื่อดิจิตอลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ และใช้ใบรับรองที่ออกโดยผู้ให้บริการออกใบรับรอง

ตัวอย่างการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

ตัวอย่างของรูปแบบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

  1. ลายมือชื่อตามมาตรา 9
  • การพิมพ์ชื่อไว้ท้ายเนื้อหาของอีเมล
  • การสแกนภาพของลายมือชื่อที่เขียนด้วยมือและแนบไปกับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
  • การใช้สไตลัส (Stylus) เขียนลายมือชื่อด้วยมือลงบนหน้าจอและบันทึกไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • การใช้ระบบงานอัตโนมัติ ที่มีการยืนยันตัวผู้ใช้งาน มาประกอบกับรูปแบบของลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์

  1. ลายมือชื่อตามมาตรา 26
  • การใช้ลายมือชื่อดิจิทัล

สนใจบริการสแกนเอกสารเป็นไฟล์ดิจิตอล และระบบจัดการเอกสาร

โทร.02-551-2097 กด 601 หรือ 062-461-5593

สรุป

ในการลงลายมือชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกลงลายมือชื่อประเภทไหน ก็มีผลทางกฏหมายเหมือนกัน ต่างกันที่ความน่าเชื่อถือในการพิสูจน์หลักฐานทางกฏหมายที่ยุ่งยากไม่เท่ากัน โดยประเภทที่ต้องพิสูจน์มากไปน้อยจะเรียงตามลำดับตามนี้ ประเภทที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ ซึ่งจะเลือกใช้ประเภทไหนก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของธุรกรรมเอกสารว่ามีความสำคัญขนาดไหน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้