คนไร้ความสามารถซื้อของได้ไหม

นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ดังนั้นการทำนิติกรรมจึงไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในรูปแบบของการทำสัญญาเสมอไป แม้แต่การตกลงซื้อขายน้ำเปล่ากันแค่ 1 ขวด ก็เป็นการทำนิติกรรมระหว่างกันแล้ว

บุคคลวิกลจริต = คนบ้า ?

ในส่วนของบุคคลวิกลจริต ในความเข้าใจของบุคคลทั่วไปเมื่อมาอ่านตัวบทกฎหมายอาจจะพาสับสนได้ บุคคลวิกลจริตคือคนบ้า สติไม่ดี แต่ในทางกฎหมายแบ่งแยกการทำนิติกรรมของบุคคลวิกลจริตไว้ 2 กรณี คือ กรณีที่ศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถซึ่งเรียกว่า บุคคลวิกลจริต และกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเรียกว่า คนไร้ความสามารถ ซึ่งผลของการทำนิติกรรมก็จะแตกต่างกันไป

ผลของการทำนิติกรรมมีด้วยกัน 3 แบบ คือ สมบูรณ์ โมฆียะ และ โมฆะ สิ่งที่ยากคือการแยกระหว่าง โมฆียะและโมฆะ โมฆียะคือการที่นิติกรรมมีความสมบูรณ์อยู่เรื่อยมาจนกว่าจะถูกบอกล้างหรือบอกเลิก ส่วนโมฆะ คือการที่นิติกรรมนั้นไม่มีผลมาตั้งแต่แรก

มาตรา 30 การใดอันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต จะเห็นได้ว่าหากไม่ได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่และคู่กรณีอีกฝ่ายรู้ว่าผู้กระทำ เป็นบุคคลวิกลจริต ผลของนิติกรรมย่อมเป็นสมบูรณ์เสมอ เท่ากับว่ากฎหมายยังเปิดโอกาสให้คนวิกลจริตทำนิติกรรมได้ในขณะที่จิตปกติ

ตัวอย่างเช่น นาง A เป็นคนบ้า วิกลจริต แต่งตัวด้วยชุดนางรำ จัดหนักจัดเต็มอย่างกับนางรำอาชีพ เดินมาป้วนเปี้ยนบริเวณที่มีการจัดพิธีรำแก้บนพอดิบพอดี นาง A เกิดอยากกินลูกชิ้นปิ้ง จึงเดินไปซื้อลูกชิ้นปิ้ง 5 ไม้ แม่ค้าขายลูกชิ้นปิ้งก็ขายให้โดยไม่เอะใจอะไร ซึ่งนาง A ก็จ่ายเงินให้ พูดจาดีเหมือนคนปกติทุกอย่าง การทำนิติกรรมซื้อลูกชิ้นปิ้งของนาง A จึงมีผลเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะที่จะทำให้แม่ค้ามีสิทธิบอกล้างนิติกรรมได้ เนื่องจากในขณะซื้อลูกชิ้นปิ้งนาง A ไม่ได้มีอาการวิกลจริตอยู่ และแม่ค้าก็ไม่ได้รู้ว่านาง A เป็นคนวิกลจริต

การขายทรัพย์สินของผู้ไร้ความสามารถ

    บุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ ไม่อาจแสดงเจตนาเพื่อทำนิติกรรมโดยลำพังได้ มิฉะนั้น นิติกรรมย่อมเป็นโมฆียะหรือโมฆะ ตามกฎหมาย

    ซึ่งผู้ไร้ความสามารถ หรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง บุคคลที่ศาลได้มีคำสั่ง และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

    การขายทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ของผู้ไร้ความสามารถ นั้น หากมีความจำเป็นต้องขาย ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงจะสามารถทำนิติกรรมการขายได้ เพื่อการเล็งถึงประโยชน์ของคนไร้ความสามารถเป็นสำคัญ

    หากในขณะที่ร้องขอศาลเพื่อตั้งผู้อนุบาล มิได้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไว้ด้วย ผู้อนุบาลต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตเสียก่อน เมื่อศาลอนุญาตแล้วสามารถนำคำสั่งศาลดังกล่าวพร้อมเอกสารฐานมายื่นคำขอต่อเจ้าพนักงงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินได้

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

1 ทะเบียนบ้าน

2 บัตรประจำตัวประชาชน

3 คำสั่งศาลเป็นผู้ไร้ความสามารถ และแต่งตั้งผู้อนุบาล/ผู้พิทักษ์

4 โฉนดที่ดิน พร้อมหนังสือรับรองราคาประเมิน ไม่เกิน 3 เดือน

5 ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

6 สัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน (ถ้ามี)

7 หนังสือให้ความยินยอมจากทายาทผู้ไร้ความสามารถ

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น ผู้ไร้ความสามารถทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไว้ก่อนศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541

    แม้ ส. ผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ ส. เป็นปกติอยู่ก็ตาม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ ส. จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อ ตามสัญญาจะซื้อขายปรากฏว่า ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อ ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง แม้สัญญาจะซื้อขายที่ ส. ทำขึ้นเป็นโมฆียะกรรมก็ตาม แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาล ซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ มิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส. ซึ่งถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง โดยผู้ร้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดิน และยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทน ส. พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขาย ซึ่งเป็นโมฆียะกรรม โดยการแสดงเจตนาแก่ผู้จะซื้อ ซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 ซึ่งมีผลผูกพันที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ร้องจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ ส. ขายให้แก่ผู้จะซื้อ เป็นเหตุให้ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย อีกทั้งบุตรของ ส. อีก 2 คน ที่แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าทราบรายละเอียดในคดีนี้แล้วไม่ค้าน ตลอดจนศาลได้คำนึงถึงราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่าราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม และเมื่อพิจารณาถึงการจะไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายที่ดินของ ส. ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียหายต่อ ส. เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายได้ ดังนั้น การขายที่ดินของ ส. ให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายถือได้ว่า มีเหตุจำเป็นและสมควร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อ ส. จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของ ส. คนไร้ความสามารถขายที่ดินของ ส. ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2541)

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 29 การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ

มาตรา 30 การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต

มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต

(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์

(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น

(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

(6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)

(7) ให้กู้ยืมเงิน

(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์

(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา

(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น

(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1) (2) หรือ (3)

(12) ประนีประนอมยอมความ

(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1 ผู้ร้องสามารถขอให้ศาลมีคำสั่ง เป็นคนไร้ความสามารถและอยู่ในความอนุบาล พร้อมทั้งขออนุญาตให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายทรัพย์สินของคนไร้ความสามารถไปในคดีเดียวกันได้

2 แม้ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกล่าวถึงอำนาจการจัดการหรือขอบอำนาจกระทำการแทนของผู้อนุบาล แต่การทำนิติกรรมก็ต้องขออนุญาตศาลก่อนทุกกรณีไป เหมือนกรณีของผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1574

3 ศาลอาจจะมีคำสั่งให้อนุญาตขายได้ และต้องดำเนินการให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น ภายใน 1 ปี หรือ 2 ปี เป็นต้น

4 ประสงค์จะขายทรัพย์สินให้ผู้ใด ในราคาเท่าใด ปกติต้องตามราคาท้องตลาด ซึ่งไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน ซึ่งคำสั่งศาลจะกำหนดให้ขายไม่ต่ำกว่าราคา - บาท โดยควรซื้อขายในราคาที่สูงกว่าราคาประเมิน เพื่อจะนำเงินที่ได้จากการขายมาเป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูและค่ารักษาพยาบาล

5 ต้องบรรยายในคำร้องว่า ปัจจุบันผู้ไร้ความสามารถรักษาพยาบาลอยู่ที่ใด มีค่าใช้จ่ายเท่าใด ซึ่งทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะชำระ

6 สถานะในปัจจุบันของผู้อนุบาลไม่มีรายได้เพียงพอที่จะรับภาระค่าใช้จ่ายได้

7 กรณีผู้ไร้ความสามารถ เป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกับบุคคลอื่น ในฐานะกรรมสิทธิ์ร่วมหรือสินสมรส คำร้องจะต้องให้เจ้าของร่วมหรือคู่สมรสเซ็นยินยอมและไม่คัดค้านด้วย

8 ผู้เสมือนไร้ความสามารถ สามารถขายทรัพย์สินของตนเองได้เช่นเดียวกันคนปกติ ยกเว้นนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 34 โดยต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ มิใช่โดยคำสั่งอนุญาตจากศาล

บุคคลไร้ความสามารถซื้อของได้ไหม

ผลของกฎหมายการเป็นคนไร้ความสามารถ : ไม่สามารถทำนิติกรรมได้ด้วยตนเอง แม้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทนทั้งหมด นิติกรรมที่คนไร้ความสามารถทำลงไปตกเป็นโมฆียะ ซึ่งผู้อนุบาลอาจบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้ในภายหลัง ตาม ป.พ.พ. 29 แต่บางนิติกรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574.

คนเสมือนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความดูแลของใครตามกฎหมาย

การให้คนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาล (๑) ผู้ใช้อํานาจปกครอง มาตรา๑๕๖๙“ผู้ใช้อํานาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ของบุตร ในกรณีทีบุตรถูกศาลสังให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ใช้อํานาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือ ผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี”

คนวิกลจริต ซื้อของได้ไหม

คนวิกลจริต สามารถทำนิติกรรม เช่น ขายที่ดิน ยกที่ดินให้ผู้อื่นโดยสเน่หา ซื้อทรัพย์สินต่างๆ เหมือนกับบุคคลทั่วไปทุกประการ

คนเสมือนไร้ความสามารถทำนิติกรรมอะไรได้บ้าง

มาตรา 34 คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้ว จึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ (1) นำทรัพย์สินไปลงทุน (2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น (3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้