พรบ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

มาตรา 26 e-Signature

ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ (ตามมาตรา 26) หรือ มาตรา 26 e-Signature ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จำเป็นต้องมีการลงลายชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงเจตนาตกลงยอมรับเกี่ยวกับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อันจะนำมาซึ่งผูกพันทางกฎหมายระหว่างกัน  การเลือกใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้าง หรือ ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยจัดการความเสี่ยง หรือ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น การปฏิเสธความรับผิด หรือข้อมูลไม่มีความครบถ้วน เป็นต้น

Free ทดลองทำ e-Signature

“ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้” หมายถึง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในมาตรา 26 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 โดยมีลักษณะ ดังนี้

1. ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่เชื่อมโยงไปยังบุคคลอื่น

2. ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น

3. สามารถจะตรวจพบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นได้ และ

4. ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่อเป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ สามารถจะตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความได้ นับแต่เวลาที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างของรูปแบบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ เช่น ลายมือชื่อดิจิทัลที่อาศัยโครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะ (Public Key Infrastructure: PKI)ซึ่ง “ลายมือชื่อดิจิทัล” (Digital Signature) นั้น เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อและตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมถึงการทำให้เจ้าของลายมือชื่อไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดจากข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้

องค์ประกอบของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ มีดังต่อไปนี้

                     1. การพิสูจน์และยืนยันตัวตน

                        ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ดังนั้น ความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงเชื่อมโยงกับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนของบุคคล โดยพิจารณาจากระดับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ จะต้องอาศัยการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (multi-factor authentication) ตามข้อกำหนดของการยืนยันตัวตนที่ระดับ AAL2 ขึ้นไป และจะต้องมีสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตนปัจจัยหนึ่งเป็นกุญแจเข้ารหัส (cryptographic key) ซึ่งได้แก่ ซอฟต์แวร์เข้ารหัสลับ(cryptographic software) หรือ อุปกรณ์เข้ารหัสลับ (cryptographic device)  เนื่องจากกุญแจเข้ารหัสดังกล่าวจะเป็นข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่อดิจิทัล

                     2. เจตนาในการลงลายมือชื่อ

                        ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องสามารถแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้ วิธีการลงลายมือชื่อต้องมีกระบวนการ หรือ หลักฐานที่แสดงได้ว่าบุคคลได้ยอมรับการแสดงเจตนาที่ตนได้ลงลายมือชื่ออย่างชัดเจน หรือ ใช้ลายมือชื่อดิจิทัลในการลงลายมือชื่อต่อข้อความที่ตนแสดงเจตนา นอกจากนี้ วิธีการลงลายมือชื่อควรมีการออกแบบให้บุคคลเข้าใจอย่างชัดเจนว่ากำลังลงลายมือชื่อกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีการบ่งบอกวัตถุประสงค์หรือเหตุผลของการลงลายมือชื่อในรูปแบบ หรือ ข้อความ

ที่เข้าถึงได้ง่าย และเข้าใจได้ว่า ลายมือชื่อนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น อนุมัติ ยอมรับ รับรองหรือยืนยันความถูกต้อง ตอบแจ้งการรับข้อความ เป็นพยาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์ อื่น ๆ รวมทั้งใช้ภาษาที่อ่านง่าย และไม่เป็นการหลอกลวงหรือทำให้เข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ดังกล่าว      

                     3. การรักษาความครบถ้วนของข้อมูล

                        ข้อมูลที่ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการเก็บรักษาข้อมูลให้มีความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตลอดระยะเวลาทั้งหมดของการเก็บรักษา ซึ่งการรักษาความครบถ้วนของข้อมูลจะต้องมีหลักฐานแสดงได้ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหมายของข้อความที่ลงลายมือชื่อ ซึ่งลายมือชื่อดิจิทัลมีคุณสมบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ช่วยให้สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

E-SIGNATURE กับการใช้งานใน MICROSOFT365 สำหรับป้องกันการแก้ไขเอกสาร​

Microsoft 365 สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในรูปแบบของ Structured และ Unstructured ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยครอบคลุมการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. 3 ด้าน ได้แก่

  1. การระบุตัวตน และกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล (Identity and Access Management)
  2. การปกป้องและคุ้มครองข้อมูล (Information Protection)
  3. การป้องกันการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Threat Protection)

การใช้งาน E-Signature ร่วมกับ Microsoft 365 (ชื่อเดิม Office 365) อย่าง Power Apps และ Power Automate

  • จะช่วยปกป้องอีเมลจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยตัวเลือก AIP
  • มีการเพิ่มความปลอดภัยของ Library SharePoint ของคุณ โดยใช้ AIP ในการตั้งค่าสิทธิ์ที่เหมาะสม
  • จะช่วยรักษาข้อมูลของคุณให้ปลอดภัยทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ ไฟล์ของคุณจะได้รับการปกป้อง ไม่ว่าคุณจะดูไฟล์โดยใช้ Office Online หรือ ดาวน์โหลดไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ ของคุณ
  • มีการผนวกรวมเข้ากับเอกสาร Office ได้อย่างราบรื่น จะช่วยปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรของคุณ
  • มีการนำเทมเพลตแบบกำหนดเองไปใช้ ตามความต้องการทางธุรกิจของคุณ นอกเหนือจากการใช้เทมเพลตการป้องกันเริ่มต้น

สรุป คือ เครื่องมือ Azure Information Protection (AIP) ใช้เพื่อตั้งรหัสการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงเครื่องมือ Cloud App Security ใช้เพื่อตรวจสอบ ติดตาม และปกป้องข้อมูลที่อยู่ในระบบ Cloud ให้มีความปลอดภัยขั้นสูงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

REFERENCE

//www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=570721&ext=pdf

//standard.etda.or.th/wp-content/uploads/2019/02/20171204-ER-DigitalID-Overview-V08-30F.pdf

//standard.etda.or.th/wp-content/uploads/2019/02/20171204-ER-DigitalID-EnrolmentIdentityProofing-V08-17F.pdf

//standard.etda.or.th/wp-content/uploads/2019/02/20171204-ER-DigitalID-Authentication-V08-21F.pdf

//standard.etda.or.th/wp-content/uploads/2020/06/20200529-ER-E-Signature-Guideline-V08-36F.pdf

//standard.etda.or.th/wp-content/uploads/2020/07/20200708-e-Signature-V05.pdf

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้