นายจ้างต้องจ่ายประกันสังคมไหม

 

นาย ก. เป็นลูกจ้างของสถานประกอบการ นายจ้างได้ขึ้นทะเบียนให้นาย ก. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และนายจ้าง
หักเงินค่าจ้างของนาย ก. นำส่งเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้ว 5 เดือน ต่อมาในเดือนที่ 6 นาย ก. ทำงาน
ได้ 10 วัน ลาออกจากงาน แล้วนาย ก. มีสิทธิที่จะขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือไม่?

จากคำถามตัวอย่างข้างต้นนั้น กฎหมายประกันสังคมกำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังนี้

หน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของผู้ประกันตน 

นายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างให้ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15  ปีบริบูรณ์ ถึง 60  ปีบริบูรณ์ เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา
33 และทุกครั้งที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่หักเงินค่าจ้างของลูกจ้างตามจำนวนที่ต้องจ่ายเป็นเงิน
สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และนายจ้างมีหน้าที่นำเงินที่หักจากค่าจ้างของลูกจ้างดังกล่าวและเงินสมทบในส่วนของ
นายจ้างนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือน

กรณีที่นายจ้างยังไม่ได้นำส่งเงินสมทบหรือไม่หักเงินค่าจ้างหรือค้างจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม กฎหมายประกัน
สังคมถือว่า ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง และถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างหรือจ่ายไม่ตรง
ตามกำหนดเวลา นายจ้างยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบและถือเสมือนว่านายจ้างได้จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างแล้ว

ดังนั้น กรณีที่นาย ก. เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้กับนาย ก. ตลอดระยะเวลา
ที่ทำงานให้กับนายจ้าง ถึงแม้ว่าจะทำงานกี่วันก็ตาม

กรณีลูกจ้างทำงาน 10 วัน จะมีผลต่อการเกิดสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองในกองทุนประกันสังคมหรือไม่?

ตามตัวอย่าง นาย ก. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33  และนายจ้างหักเงินค่าจ้างของนาย ก. นำส่งเป็นเงินสมทบเข้ากองทุน
ประกันสังคมมาแล้ว 5 เดือน แต่ในเดือนที่ 6 นาย ก. ทำงานเพียง 10 วัน ลาออกจากงาน นาย ก. จะมีสิทธิที่จะขอรับ
ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือไม่?

กฎหมายประกันสังคมกำหนดเงื่อนเวลาการเกิดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานว่า ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเข้า
กองทุนประกันสังคมมาแล้ว 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการเกิดสิทธิ (ก่อนการว่างงาน) กรณีนี้มีตัวอย่างจากคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 1518/2557 วินิจฉัยไว้ ดังนี้

คดีนี้นายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างไม่เป็นไปตามรอบเดือนปกติ คือ จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง ทุกวันที่ 20 ของเดือน
โดยผู้ประกันตนเริ่มทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นายจ้างหักเงินค่าจ้างส่งเข้ากองทุนประกันสังคม
ตลอด แต่ลูกจ้างลาออกจากงานวันที่ 30 มิถุนายน โดยระหว่างวันที่ 21 - 30 มิถุนายน จำนวน 10 วัน ได้ทำงานให้กับ
นายจ้างและนายจ้างได้จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง (10 วัน) และหักเงินค่าจ้างตามจำนวนที่จะต้องส่งเป็นเงินสมทบไว้
จำนวน 417 บาท (ค่าจ้าง 10 วัน) และได้นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม

ต่อมา ผู้ประกันตนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน แต่สำนักงานประกันสังคมปฏิเสธเนื่องจากเห็นว่าผู้ประกันตน
จ่ายเงินสมทบเพียง 5 เดือน ยังไม่ครบเงื่อนไขการเกิดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ปัญหา คือ ผู้ประกันตนได้มี
การจ่ายเงินสมทบงวดที่ 6 แล้วหรือไม่

ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้ว่า กรณีนี้ถือว่านายจ้างหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนรวม 6 โดยให้เหตุผลว่า
(1) การที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 20 ของเดือน ต้องถือเอารอบค่าจ้างที่จ่ายในวันที่ 20 ของเดือนใดเป็นฐานใน
การคำนวณเงินสมทบในเดือนนั้น เมื่องวดที่ 5 นายจ้างได้หักเงินสมทบจากเงินค่าจ้างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน
ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม จึงถือว่ากองทุนประกันสังคมได้รับเงินสมทบรายเดือนของเดือนมิถุนายนแล้ว
(2) เงินสมทบที่คำนวณจากค่าจ้างระหว่างวันที่ 21 - 30 มิถุนายน ถือเป็นเงินสมทบสำหรับค่าจ้างเดือนกรกฎาคม ไม่ใช่
เดือนไม่ใช่เดือนมิถุนายน

  บางส่วนจากบทความ  “ลูกจ้างทำงาน 10 วันมีผลอย่างไร? กับสิทธิในกองทุนประกันสังคม”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม 2563
กฎหมายแรงงาน : ประกันสังคม : ปรานี สุขศรี
วารสาร : HR Society Magazine ธันวาคม 2563

สมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง


 


ผู้ประกอบการ ต้องไป ขึ้นทะเบียนประกันสังคม หรือไม่? และ ขึ้นเมื่อใด ?



นายจ้าง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล) ที่ มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป


ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน



และ เมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน


เมื่อมีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงานโดยใช้หน้งสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


 


หากไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จะมีความผิดหรือไม่ ?




ตามกฎหมายประกันสังคม นายจ้าง จะถือว่า "มีความผิด"


ความผิดระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ


 

หลังขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง ?



หลังจากขึ้นประกันสังคมแล้ว นายจ้าง ต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือน ให้กับ ประกันสังคมในพื้นที่ที่นายจ้างขึ้นทะเบียน โดย แบ่งเงินสมทบ เป็น 2 ส่วน คือ


ส่วนที่ 1 ส่วนเงินสมทบที่ หักจากเงินเดือนของลูกจ้าง


ส่วนที่ 2 ส่วนเงินสมทบที่ นายจ้างนำเงินมาสมทบ เท่ากับส่วนที่ 1


โดยนายจ้างจะจัดทำแบบ สปส.1-10 นำส่งแบบ พร้อมกับ เงินสมทบ (รวมส่วนที่ 1 +2) ที่ประกันสังคมในพื้นที่ ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


 

นายจ้าง ไม่ส่งเงินสมทบ ให้แก่ลูกจ้าง จะมีความผิดหรือไม่ ?


ถ้านายจ้าง ส่งเงินสมทบไม่ทัน หรือ ส่งไม่ครบ จะต้องรับผิดชอบ จ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง หรือ จำนวนเงินที่ขาดอยู่


โดยต้องนำส่งด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่หรือสำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น


แต่หากนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง


หากยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง จะ มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 


นายจ้าง สามารถยื่น ขอเป็นผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) (มาตร33) ได้หรือไม่ ?


ในสถานะของนายจ้าง จะไม่สามารถยื่นเรื่องเข้าประกันสังคม ภายใต้กิจการตัวเองได้ (มาตรา33) ยกตัวอย่าง เช่น กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการที่ลงนามแทนห้างหุ้นส่วน จะไม่สามารถเป็นผู้ประกันตนภายใต้ลูกจ้างของกิจการได้


ยกเว้นกรณี หุ้นส่วนที่ไม่มีอำนาจ ลงนามแทนนิติบุคคล กรณีได้รับเงินเดือน จะยังคงถือเป็นลูกจ้าย ขึ้นประกันสังคมภายใต้กิจการได้

ประกันสังคม นายจ้างต้องจ่ายอะไรบ้าง

นายจ้างจะต้องเป็นผู้หักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง โดยต้องมีการคำนวณเงินสมทบค่าจ้าง ฐานของเงินค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยพนักงานจะถูกหักจ้างเงินเดือน 5% ตามด้วยเจ้าของกิจการจ่ายสมทบ 5% และรัฐบาลจ่ายสมทบอีก 2.75%

สถานประกอบการต้องทำประกันสังคมให้กับลูกจ้างทุกคนเมื่อใด

นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้นต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้นจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นายจ้างจ่ายประกันสังคมกี่เปอร์เซ็น

ปรับอัตราประกันสังคม 2.5% ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว ปรับอัตราประกันสังคม ลดเงินสมทบให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เหลือ 2.5% ตั้งแต่ กันยายน ถึง พฤศจิกายน 2564 ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว

ประกันสังคมต้องยื่นอะไรบ้าง

โดยจำเป็นจะต้องใช้หลักฐานด้วยกัน ดังนี้ แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) พร้อมกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตัวตนได้ ใบอนุญาตทำงาน สำเนาหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนไม่ใช่ชาวไทย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้