ลาออกจากงาน เบิกประกันสังคมได้ไหม

ในภาวะเศรษฐกิจโดนพิษจากหลายวิกฤตแบบนี้ ทำให้หลายบริษัทอาจมีการปิดตัวลง ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือเหล่าพนักงานบริษัท ที่จำเป็นจะต้องถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่นอกเหนือจากเงินชดเชยจากทางบริษัทแล้ว อย่าลืมใช้สิทธิ์เงินชดเชยจากประกันสังคมในกรณีว่างงานด้วย ซึ่งรายละเอียดจะมีอะไรบ้าง ตามไปอ่านในบทความนี้เลย

ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคม

ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมกรณีว่างงานหรือตกงานคือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นั่นเอง โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 คือเหล่าพนังงานประจำที่มีนายจ้าง ซึ่งจะมีอายุระหว่าง 15 - 60 ปีบริบูรณ์

ปกติแล้วผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้สิทธิประโยชน์หลัก ๆ 7 กรณีด้วยกัน คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และสุดท้ายคือที่สิทธิประโยชน์ที่เรากำลังพูดถึงในบทความนี้คือ กรณีว่างงาน

เงินชดเชยที่จะได้รับจากประกันสังคม

เงินชดเชยที่จะได้รับจากประกันสังคมกรณีว่างงาน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. กรณีถูกเลิกจ้าง

จะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม ร้อยละ 50 ของรายได้ต่อเดือน โดยระยะเวลาการจ่ายทั้งสิ้น 180 วัน (6 เดือน) ภายใน 1 ปี ซึ่งฐานขั้นต่ำของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 1,650 บาท และฐานสูงสุดของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 15,000 บาท

ตัวอย่าง นาย A เงินเดือน 15,000 บาท เมื่อถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 7,500 บาท

2. กรณีลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน

จะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม ร้อยละ 30 ของรายได้ต่อเดือน โดยระยะเวลาการจ่ายทั้งสิ้น 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งฐานขั้นต่ำของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 1,650 บาท และฐานสูงสุดของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 15,000 บาท เช่นเดียวกับกรณีถูกเลิกจ้าง

ตัวอย่าง นาย B เงินเดือน 15,000 บาท เมื่อหมดสัญญาจ้างกลายเป็นผู้ว่างงาน จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 7,500 บาท 4,500 บาท

เงื่อนไขของผู้รับสิทธิชดเชยกรณีว่างงาน

ในการรับสิทธิเงินชดเชยกรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 จะต้องอยู่ภายในเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้

  1. ผู้ประกันตนจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนการว่างงาน
  2. ผู้ประกันตนจำเป็นต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน กับทางสำนักงานจัดหางานของจังหวัด ภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้างหรือสิ้นสุดสัญญา หรือขึ้นทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์ //empui.doe.go.th
  3. หลังจากได้รับสิทธิแล้ว ผู้ประกันตนยังต้องเข้าไปรายงานตนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ //empui.doe.go.th
  4. ที่สำคัญการว่างงานในครั้งนี้ของผู้ประกันตนต้องไม่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ทุจริตในหน้าที่หรือต่อนายจ้าง ละทิ้งหน้าที่เกิน 7 วันทำงาน ประมาณในการทำงาน จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ต้องโทษจำคุก ฯลฯ หากการว่างงานหรือถูกเลิกจ้างเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับสิทธิเงินชดเชย
  5. ผู้ประกันตนจะต้องเป็นผู้ที่พร้อมสำหรับการทำงาน และต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  6. สำหรับสิทธิเงินชดเชยที่จะได้รับ ในกรณีถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 ครั้งต่อปี สามารถยื่นรับสิทธิเงินชดเชยได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 180 วัน และในกรณีลาออกจากงานหรือหมดสัญญาจ้างมากกว่า 1 ครั้งต่อปี สามารถยื่นรับสิทธิเงินชดเชยได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 90 วัน

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นรับสิทธิเงินชดเชยกรณีว่างงาน

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  2. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
  3. หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  4. หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีเป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ sso.go.th
หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 1506 (กระทรวงแรงงาน)

การจ่ายเงินชดเชยจากนายจ้างกรณีเลิกจ้างงาน

ตั้งแต่เกิดโรคระบาดทำให้เกิดวิกฤตจนหลายบริษัทต่างเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเล็กไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ ดังนั้นในฐานะพนักงานนอกจากการยื่นขอรับสิทธิเงินชดเชยจากประกันสังคมแล้ว จำเป็นจะต้องได้รู้ว่า ตัวเองควรได้รับเงินชดเชยจากนายจ้างด้วยหรือไม่

โดยผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากนายจ้าง จะต้องทำงานมาแล้วอย่างน้อย 120 วันขึ้นไป ซึ่งค่าชดเชยการเลิกจ้างจะมีรายละเอียดดังนี้

  • ลูกจ้างที่ทำงาน 120 วัน - 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 1 – 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 3 – 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 6 – 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 10 – 20 ปี นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
  • ลูกจ้างที่ทำงาน 20 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายชดเชยให้ในอัตราค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

โดยค่าชดเชยดังกล่าวยังไม่รวมค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือที่เรียกกันติดปากว่า “ค่าตกใจ” ซึ่งต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 งวดของค่าจ้างอีกด้วย

สำหรับกรณีที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชย ก็ต่อเมื่อลูกจ้างสมัครใจลาออกเอง หรือทุจริตในหน้าที่การงาน รวมถึงความผิดอื่น ๆ ที่ส่งผลต่องานและนายจ้าง

ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดของการรับสิทธิเงินชดเชยกรณีว่างงานจากประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือเหล่าพนักงานบริษัทนั่นเอง รวมไปถึงเงินชดเชยจากทางนายจ้างในกรณีถูกเลิกจ้างอีกด้วย ถือเป็นสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายที่คนทำงานหลายคนจำเป็นต้องทราบ จะได้ใช้สิทธิที่พึงได้รับอย่างถูกต้อง ถูกเวลา และไม่เสียสิทธิประโยชน์

ลาออกจากงาน ประกันสังคมได้อะไรบ้าง

2. กรณีลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน จะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม ร้อยละ 30 ของรายได้ต่อเดือน โดยระยะเวลาการจ่ายทั้งสิ้น 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งฐานขั้นต่ำของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 1,650 บาท และฐานสูงสุดของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 15,000 บาท เช่นเดียวกับกรณีถูกเลิกจ้าง

ทํางานกี่เดือน ลาออกได้ประกันสังคม

ทั้งนี้ หากภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนยังไม่ได้กลับเข้าทำงานกับนายจ้าง หรือกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 สิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติ

ลาออกจากงานได้เงินจากประกันสังคมไหม

คนทำงานที่ลาออกจากงานแล้ว ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่อไป เพียงแต่ต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนในมาตรา 33 (คนทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป) มาเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) โดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากลาออกจากงาน

ลาออกจาก ม.33 ได้อะไรบ้าง

ผู้ประกันมาตรา 33 ที่ลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง จะยังใช้สิทธิประกันสังครบทั้ง 7 กรณีเหมือนเดิม ได้แก่ การได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้