จดทะเบียนสมรสกับชาวต่างชาติ ที่เขตไหน

การจดทะเบียนสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาตินั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่ทั้งคู่ต้องรู้ไว้ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ ว่าการจดทะเบียนสมรสต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ต้องจดทะเบียนสมรสที่ไหน และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง Wonderful Package ได้รวบรวมข้อมูลที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาติมาบอกให้ทราบค่ะ

สิ่งสำคัญ คือ การจดทะเบียนสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวต่างชาตินั้น ทั้งคู่จะต้องดำเนินการด้วยตนเอง เนื่องจากการจดทะเบียนสมรสด้องมีการลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน พร้อมพยานอีก 2 คน

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรสมีอะไรบ้าง??

สำหรับชาวต่างชาติ

  • คำร้องขอนิติกรณ์
  • หนังสือเดินทาง (Passport) ฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้นๆ พร้อมแปล
  • ใบสำคัญการหย่าฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (ถ้ามี)
    ( ขอ ณ สถานทูตของชาวต่างชาติในประเทศไทย สำหรับบางประเทศสามารถยื่นขอในไทยได้)
  • เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)

สำหรับชาวไทย

  • คำร้องขอนิติกรณ์
  • บัตรประชาชนฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • ทะเบียนบ้านฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด (นำฉบับจริงมาด้วย กรณีที่เราจะทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลและคำนำหน้าชื่อ)
  • พยาน 2 คน และบัตรประชาชนของพยาน ซึ่งพยานจะต้องเป็นบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา พี่น้อง ญาติ
  • ใบสำคัญการหย่าฉบับจริง + สำเนา อย่างละ 1 ชุด
  • ล่ามคนไทย 1 คน เพื่อแปลภาษาให้ฝ่ายที่เป็นชาวต่างชาติ (แนะนำว่าพยานที่พามา ควรมีคนหนึ่งที่สามารถแปลได้)
  • เอกสารอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (ถ้ามี)
  • มรณบัตร (กรณีคู่สมรสเดิมเสียชีวิต)
    หมายเหตุ : ระยะเวลาและเอกสารที่แจ้งข้างต้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสัญชาติของชาวต่างชาติ

ผู้ที่ทำการจดทะเบียนสมรสต้องมีคุณสมบัติอย่างไร??

  • อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอม
  • อายุ 20 ปีบริบูรณ์สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
  • ฝ่ายชายหรือหญิงต้องมีสัญชาติไทย
  • ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดามารดา
  • ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
  • หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่
    * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
    * สมรสกับคู่สมรสเดิม
    * มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์
    * มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

สามารถจดทะเบียนสมรสได้ที่ไหน??

  • กรณีอยู่ในประเทศไทยจดทะเบียนสมรส ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต
  • กรณีอยู่ต่างประเทศ จดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ
    * ทำได้เฉพาะการจดทะเบียนระหว่างบุคคลสัญชาติไทยหรือระหว่างบุคคลสัญชาติไทยกับต่างชาติและเป็นการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ถ้าหากในอนาคตมีความจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ประเทศเกิดของสามีหรือภรรยา ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสซ้ำอีก แต่ให้ติดต่อรับรองการจดทะเบียนสมรสของประเทศนั้นๆ

การจดทะเบียนสมรสมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง??   

  • ต้องไปยื่นขอใบรับรองความเป็นโสดจากสถานทูตของชาวต่างชาติ ประจำประเทศไทย
  • นำใบโสดไปแปลเป็นภาษาไทยและนำไปรับรองตราประทับจากกระทรวงการต่างประเทศ
  • ไปที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตตามเวลาที่นัดหมายกับเจ้าหน้าที่ พร้อมล่ามและพยาน (พยานต้องนำบัตรประชาชนไปด้วย)
  • ไปติดต่อฝ่ายทะเบียน แล้วยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่
  • จากนั้นกรอกเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่ให้มา
  • เจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย เช่น ระยะเวลาที่คบหา ระยะเวลาที่อยู่กินกันมา ฝ่ายหญิงจะใช้คำนำหน้านามเป็นอะไร ใช้นามสกุลตามฝ่ายชายหรือไม่
  • ล่ามจะช่วยแปลรายละเอียดในการจดทะเบียนสมรสให้กับทั้งสองฝ่าย
  • เสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะมอบเอกสารทะเบียนสมรส (คร.2) และใบสำคัญการสมรส (คร.3) ให้กับทั้งสองฝ่าย คนละ 1 ชุด
    สำหรับคนที่วางแผนจะขอวีซ่าหรือจะกลับไปแจ้งกับประเทศว่าได้แต่งงานที่ประเทศไทยแล้ว แนะนำว่าให้ขอคัดเอกสาร คร.2 ฉบับภาษาอังกฤษด้วย สำนักงานเขตสามารถออกเอกสารเป็นภาษาอังกฤษให้ได้

หลังจากจดทะเบียนสมราเสร็จสิ้นทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะเลือกได้ดังนี้

  • ใช้นามสกุลเดิมทั้งสองฝ่าย
  • ผู้หญิงใช้นามสกุลของสามี
  • ผู้ชายใช้นามสกุลของภรรยา
  • ผู้หญิงใช้นามสกุลของสามี ผู้ชายใช้นามสกุลของภรรยา
  • ผู้หญิงไทยที่สมรสกับสามีต่างชาติสามารถใช้นามสกุลเดิมของตนเองเป็นชื่อรองได้
    * เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วคนไทยที่ได้ทำการเปลี่ยนนามสกุลควรรีบมาดำเนินการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนราษฎร์ให้เรียบร้อยพร้อมทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่โดยเร็วที่สุด

เห็นไหมละว่าขั้นตอนไม่ยุ่งยากเลยและใช้เวลาไม่นานด้วย (ถ้าเตรียมเอกสารและรายการต่างๆ ครบถ้วน)

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับคนไทยต้องการมีชื่อในทะเบียนบ้านไทย ต้องมีเอกสารอะไรบ้าง ??
  • หากคนต่างชาติต้องการมาอยู่ไทยถาวรหลังแต่งงานจะต้องยื่นเอกสารหรือติดต่อที่ไหนบ้างมาดูกันเลย!!

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • กรมการกงสุล
  • ศูนย์ตอบปัญหางานทะเบียนและบัตร กรมการปกครอง

Work Permit & VISA consultancy

What are the procedures to register a marriage between Foreigners and Thai people?

外国人想与泰国人办理结婚证 ,有什么流程呢?

แชร์ บทความนี้

พูดคุย เกี่ยวกับบทความนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้