เมื่อตั้ง ค.ศ.1 ขึ้น ตรงกับ พ.ศ. ใด

เรื่องที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆไม่สำคัญ แต่เมื่อใดที่ยกขึ้นมาเป็นประเด็น มักจะเกิดการถกเถียง      กันอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่บางส่วนไปเกี่ยวข้องกับศาสนา ที่ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับคำสอนหรือความเชื่อโดยตรงก็ตาม นั่นก็คือเรื่องการนับศักราชในแต่ละปีนั่นเอง แต่ผมคิดว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่เราควรที่จะพิจารณาร่วมกันได้แล้ว

1.พุทธศักราช (พ.ศ.- B.E.) เป็นศักราชทางพุทธศาสนา นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา จุดเริ่มต้นของการนับศักราชแบบพุทธศักราช คือ การเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งตรงกันวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ในขณะที่ทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา ประเทศไทยรับเอาพุทธศักราชมาใช้อย่างแพร่หลายในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วิธีนับพุทธศักราชมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบไทยและแบบลังกา

แบบไทย เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี นับเป็น พ.ศ. 1 โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่า เดือน 6 และวันสิ้นปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ในเอกสารราชการจนถึง พ.ศ. 2484 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงได้มีการเปลี่ยนวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นแบบสากล

แบบลังกา เริ่มนับเร็วกว่าแบบไทย 1 ปี คือ เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็น พ.ศ. 1 ซึ่งพม่า ลาวและกัมพูชาก็ใช้แบบนี้เช่นกัน

2.คริสตศักราช (ค.ศ.- A.D.หรือ C.E.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์เกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี ดังนั้นวันคริสต์มาสในปี 2021 จึงครบรอบวันสมภพ 2021 ปี โดยมีวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยระยะเวลาที่อยู่ก่อนคริสต์ศักราชเรียกว่าสมัยก่อนคริสต์ศักราชหรือก่อนคริสตกาล ใช้อักษรย่อว่าก่อน ค.ศ. (B.C.) ซึ่งในปัจจุบันมีผู้นิยมใช้และเผยแพร่ไปทั่วโลก

3.ฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.)เป็นศักราชทางศาสนาอิสลามใช้ในประเทศที่นับถือศาสนา อิสลามเป็นศาสนาประจาชาติ ฮิจเราะห์ศักราชที่ 1 หรือ ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 เป็นปีที่มี เหตุการณ์สำคัญทางศาสนาเกิดขึ้น คือ นบีมุฮัมมัด (ศาสดาของศาสนาอิสลาม) ทำฮิจเราะห์ (การอพยพโยกย้าย) จากเมืองเมกกะฮ์ไปอยู่ที่เมืองเมดินา การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราชในปัจจุบันต้องเอา 1122 ไปบวกหรือลบ

4.มหาศักราช (ม.ศ.) หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า ศกาพทะ หรือ ศาลิวาหนกาล แปลว่า ปีของชาวศกะ (Scythian) เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเจ้าศาลิวาหนะ หรือบางตำนานเรียกว่า พระเจ้ากนิษกะแห่งศกราชวงศ์ ทรงมีชัยชนะเหนือแคว้นโดยรอบ เป็นมหาศักราชที่ 1 มีวิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่คือวันที่ 1 เมษายนของทุกปี เกิดหลังพุทธศักราช 621 ปี

5.จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ. 1 เมื่อปี พ.ศ. 1182 โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ซึ่งในสมัยโบราณถือตามสุริยคติใช้วันเถลิงศกเป็นวันปีใหม่ แต่เนื่องจากเดือน 5 ไทยเราตรงกับเดือนจิตรามาสอันเป็นเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติของชมพูทวีป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติและให้เป็นวันเปลี่ยนนักษัตรด้วย แต่ยังคงเปลี่ยนปีจุลศักราชในวันเถลิงศก

6.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันที่ 1 เมษายน ร.ศ. 108 โดยถือเอาปีที่ตั้งกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงเป็นปีรัตนโกสินทร์ศกที่ 1 และใช้อยู่จนถึง ร.ศ. 131 เป็น ร.ศ. สุดท้าย หรือเพียง 23 ปี ก็เลิกใช้ไป

ปัจจุบันมีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น ที่ใช้ปีพุทธศักราชในทางราชการและเป็นปีในทางศาสนาควบคู่ไปด้วย โดยเปลี่ยนพุทธศักราชในวันที่ 1 มกราคม

ศรีลังกาใช้ปีคริสตศักราชเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธศักราชเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา

พม่าใช้ปีจุลศักราชหรือเมียนมาศักราชเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธศักราชเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันวิสาขบูชา แต่ในสื่อสิ่งพิมพ์และความนิยมของประชาชน จะใช้จุลศักราชควบคู่กับคริสตศักราช

ลาวใช้ปีคริสตศักราชเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธศักราชเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์

กัมพูชาใช้ปีคริสตศักราชเป็นปีราชการและใช้ปีพุทธศักราชเป็นปีในทางศาสนา โดยจะเปลี่ยนพุทธศักราชในวันสงกรานต์

จีนใช้ ค.ศ.ในทางราชการมาตั้งแต่แรกสถาปนาประเทศในปี ค.ศ.1949

ไต้หวันจะใช้ ค.ศ.ควบคู่กับปีสาธารณรัฐศก ซึ่งพรรคก๊กมินตั๋งรับสืบทอดมาจากระบบปีรัชศกหรือ     ปีประจำรัชกาลจักรพรรดิของจีนโบราณ

ญี่ปุ่นใช้ ค.ศ.ควบคู่กับปีรัชศกประจำรัชกาลจักรพรรดิมาตั้งแต่สมัยเมจิจนถึงปัจจุบัน

หลักเกณฑ์การเทียบศักราชต่าง ๆ

  • ม.ศ. + 621 = พ.ศ. /จ.ศ. + 1181 = พ.ศ./ ร.ศ. + 2324 = พ.ศ./ ค.ศ.+543 = พ.ศ./ ฮ.ศ. + 1122 = พ.ศ.
  • พ.ศ. – 621 = ม.ศ. /พ.ศ. – 1181 = จ.ศ./ พ.ศ. – 2324 = ร.ศ. /พ.ศ. – 543 = ค.ศ./ พ.ศ. – 1122 = ฮ.ศ.

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าค่อนข้างจะยุ่งยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยเพราะเราใช้การเรียนการสอนเป็น พ.ศ. จึงยากต่อการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของโลกที่ส่วนใหญ่แล้วจะบันทึกเป็น ค.ศ. หากจะแปลงจาก พ.ศ.เป็น ค.ศ.จะต้องเอา 543 มาลบออกหรือบวกเพิ่มในทำนองกลับกัน

ฉะนั้น จึงได้มีการเสนอให้เปลี่ยน”คริสตศักราช”หรือ ค.ศ.ซึ่งแต่เดิมใช้ตัวย่อ A.D.(Anno Domini)หรือC.E.(Christian Era) เป็น”สากลศักราช”หรือ Common Era (ส.ก.- C.E.) และ Before Common Era (ก่อน ส.ก.- B.C.E )แทน เพื่อให้เป็นสากล และขจัดกลิ่นทางชาตินิยมหรือทางศาสนา เพราะขนาดชาตินิยม แรง ๆ อย่างญี่ปุ่น และจีนยังใช้ C.E.เลย  ส่วนไทยเราผมก็เห็นควรอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนไปใช้” สากลศักราช”หรือ Common Era (ส.ก.- C.E.) เป็นปีราชการด้วยเช่นกัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้