ในปัจจุบันศักราชที่ใช้กันมากคือข้อใด

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

  • การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัย

การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัย

การนับและเทียบศักราชสากลกับไทย

1.การนับศักราชสากล    การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”  

2.การนับศักราชไทย      การนับศักราชไทยที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1 

                นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้

การเทียบศักราชของไทย

ร.ศ.   +   ๒๓๒๔    =   พ.ศ.

พ.ศ.  - ๒๓๒๔  =    ร.ศ.  

จ.ศ.   +    ๑๑๘๑    =  พ.ศ.

พ.ศ.  -  ๑๑๘๑     =    จ.ศ.  

     ม.ศ.   +   ๖๒๑   =   พ.ศ.

พ.ศ. -    ๖๒๑     =     ม.ศ.  

                    การนับศักราชแบบไทยมีอยู่หลายแบบ  ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

                              -  พุทธศักราช (พ.ศ.)  พ.ศ. ใช้กันแพร่หลายในประเทศที่ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนา  เช่น  ไทย  ลาว  พม่าและกัมพูชา  โดยไทยเริ่มใช้ พ.ศ. มาตั้งแต่สมัยอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 6  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

 ประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ปี

                              -  มหาศักราช (ม.ศ.)  ม.ศ. เป็นศักราชที่เริ่มใช้ในอินเดียโดยพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะทรงตั้งขึ้น  และต่อมาได้แพร่หลายไปยังดินแดนที่ได้รับอารยธรรมอินเดียมหาศักราชพบมากในจารึกสมัยสุโขทัยและจารึกในดินแดนไทยรุ่นแรก ๆ

 การเทียบมหาศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621

                              -  จุลศักราช (จ.ศ.)  จ.ศ. เป็นศักราชของพม่าสมัยพุกามก่อนแพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยา  นิยมใช้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย  อยุธยา  รัตนโกสินทร์ตอนต้น  และล้านนา

 การเทียบจุลศักราชเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181

                              -  รัตนโกสินทร์ (ร.ศ.)  ร.ศ.  เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริขั้นใช้ในกลางรัชสมัยของพระองค์  โดยเริ่มนับ ร.ศ. 1  ในปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี คือ พ.ศ. 2325

 การเทียบรัตนโกสินทร์ศกเป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2324

                     นอกจากการนับศักราชที่กล่าวมา  ในบางกรณีบางเหตุการณ์ที่เราไม่ต้องนับเวลาอย่างละเอียดโดยการระบุศักราช  ก็อาจนับเวลาอย่างกว้าง ๆ ได้อีก  เช่น  สหัสวรรษ  หมายถึง  เวลาในรอบ 1,000 ปีศตวรรษ  หมายถึง  เวลาในรอบ 100 ปี  ทศวรรษ  หมายถึง เวลาในรอบ 10 ปี  เป็นต้น

3.การเทียบศักราชสากลกับศักราชไทย    

            เกณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบันมีหลัก ดังนี้

ค.ศ. + 543 = พ.ศ.

พ.ศ. – 543 = ค.ศ.

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

                1.    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

                        1.1  แบ่งตามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์

                        1.2  แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ

                        1.3  แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง

                        1.4  แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ

                        1.5  แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง

เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

          ประวัติศาสตร์ไทยเป็นการศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ขึ้นมา  เช่น  กำหนดเวลาเป็นปีศักราช  หรือกำหนดเป็นสหัสวรรษ  ศตวรรษ  และทศวรรษ

          ในการกำหนดยุคสมัย  นักประวัติศาสตร์ได้ถือเอาลักษณะเด่นของเหตุการณ์เป็นเกณฑ์เพื่อให้สามารถเข้าใจและจดจำยุคสมัยนั้น ๆ ได้  ประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจง่ายและตรงกัน

          1.  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

                    ในการศึกษาประวัติศาสตร์จะมีความเกี่ยวข้องกับเวลา  เพราะประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์  โดยศึกษาว่ามนุษย์มีวิถีชีวิตอย่างไร  มีความคิดอะไร  มีผลงานใดบ้าง  และการสร้างสรรค์ผลงานนั้นได้มีผลกระทบต่อพัฒนาการของมนุษย์ในอดีตและปัจจุบันอย่างไร  จึงอาจกล่าวได้ว่าการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ ของมนุษย์อยู่ภายใต้เงื่อนไขของเวลามาโดยตลอด  แต่การที่มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้เรื่องเวลาก็เพราะมนุษย์มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการบอกเวลาตรงกัน

                    ในสมัยประวัติศาสตร์ไทยที่มีระยะเวลาหลายร้อยปี  และเกิดเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากมาย  นักประวัติศาสตร์จึงได้กำหนดช่วงเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ขึ้นเพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ  เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ตรงกัน  และเพื่อให้รู้ลักษณะเด่นของยุคสมัยทางประวัติศาสตร์นั้น ๆ ตลอดจนให้ความสำคัญต่อปีศักราช  โดยกำหนดเวลาเป็นพุทธศักราช (พ.ศ.)  จุลศักราช (จ.ศ.)  เป็นต้น

                    สำหรับการกำหนดยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จะกำหนดตามลักษณะเด่นของเหตุการณ์  เช่น  เมื่อกล่าวถึงช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวหนังสือใช้บันทึกก็กำหนดยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เป็น  "สมัยก่อนประวัติศาสตร์"  เมื่อกล่าวถึงช่วงเวลาที่มนุษย์เริ่มมีตัวหนังสือใช้ก็กำหนดเวลาเป็น "สมัยประวัติศาสตร์"  ส่วนการแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยนิยมใช้เกณฑ์การแบ่งตามอาณาจักรหรือราชธานี  หรือแบ่งตามสมัยของราชวงศ์  และแบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์

ตารางการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

สมัยประวัติศาสตร์

สมัยโบราณ

สมัยกลาง

สมัยใหม่

สมัยปัจจุบันหรือร่วมสมัย

ยุคหินเก่า มนุษย์ใช้เครื่องมือทำด้วยหินหยาบ ๆ อาศัยอยู่ในถ้ำ ล่าสัตว์

เริ่มประมาณ ๓,๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ.เมื่อมนุษย์ประดิษฐ์อักษรถึง ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุด เพราะการรุกรานของพวกอนารยชนเยอรมัน

เริ่ม ค.ศ. ๔๗๖ หลังสิ้นสุดจัรวรรดิโรมัน จนถึง ค.ศ.๑๔๙๒ เมื่อคริสโตเฟอร์ดโคลัมมบัส ค้นพบทวีปอเมริกา

เริ่มจาก ค.ศ. ๑๔๙๒ เมื่อยุโรปขยายอำนาจและอิทธิพลไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก ทำให้มีผลต่อความเจริญของโลกมัยใหม่ จนถึง ค.ศ.๑๙๔๕ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒

เริ่มจาก ค.ศ.๑๙๔๕ จนถึงเหตุการณ์และความเจริญปัจจุบัน มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน

ยุคหินใหม่  มนุษย์ใช้เครื่องมือหินที่มีการขูดแต่ง ตั้งถิ่นฐานเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์

ยุคโลหะ มนุษย์ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยโลหะ เช่น สำริด เหล็ก อยู่เป็นชุมชน

          2.  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

                    การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนิยมแบ่งหลายแบบ  ที่ใช้กันในปัจจุบันมักเป็นการผสมระหว่างหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์สากลกับหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ไทย  โดยในประวัติศาสตร์ไทยมีการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์คล้ายกับประวัติศาสตร์สากล  คือ  แบ่งออกเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์  และในแต่ละยุคสมัยได้ถูกแบ่งเป็นยุคสมัยย่อย ๆ ลงไปอีกเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น  ดังนี้

                    3.1  สมัยก่อนประวัติศาสตร์

                     สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร  การแบ่งยุคสมัยจึงนิยมแบ่งตามนักโบราณคดี  ซึ่งกำหนดยุคสมัยจึงนิยมแบ่งตามนักโบราณคดี  ซึ่งกำหนดยุคสมัยตามหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์  สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาออกเป็นยุคหินกับยุคโลหะ

                               1)  ยุคหิน  แบ่งย่อยออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้

                                          1.1  ยุคหินเก่า  มีอายุประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว  ดังพบหลักฐานประเภทเครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียวเพื่อใช้สับ ตัด ขุด  แหล่งที่พบ  เช่น  บ้านแม่ทะ  จังหวัดลำปาง  มนุษย์ยุคนี้เป็นพวกเร่ร่อน  เก็บหาของป่า  ล่าสัตว์  อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ

ยุคหินเก่า

                                        1.2  ยุคหินกลาง  มีอายุประมาณ10,000 - 4,300 ปีมาแล้ว  มนุษย์ยุคนี้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความประณีตขึ้น  สามารถทำภาชนะดินเผาใช้ในชีวิตประจำวันโดยมีทั้งภาชนะแบบผิวเกลี้ยงและมีลวดลายที่เกิดจากการใช้เชือกทาบ  แหล่งที่พบหลักฐานยุคหินกลาง  เช่น  ที่ถ้ำไทรโยค  จังหวัดกาญจนบุรี

ยุคหินกลาง

                                          1.3  ยุคหินใหม่  มีอายุประมาณ  4,300 ปีมาแล้ว  มนุษย์ยุคนี้รู้จักการตั้งถิ่นฐานทำเกษตรกรรม  เลี้ยงสัตว์  ทำเครื่องมือหินขัดที่มีความคม  มีผิวเรียบ  ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบสามขา  เช่น  ที่บ้านเชียง  จังหวัดอุบลราชธานี  บ้านเก่า  จังหวัดกาญจนบุรี


ยุคหินใหม่

                                2)  ยุคโลหะ  แบ่งออกได้ดังนี้

                                          2.1  ยุคสำริด  มีอายุประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว  ดังพบหลักฐานเครื่องมือสำริดที่เป็นอาวุธ  เครื่องประดับ  เครื่องมือเครื่องใช้  กลองสำริด  เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี  เช่น  ที่บ้านเชียง  จังหวัดอุดรธานี

ยุคสำริด

                                          2.2  ยุคเหล็ก  มีอายุประมาณ2,500 ปีมาแล้ว  ดังพบเครื่องมือเหล็กที่ทนทานและใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเครื่องมือสำริด  เช่น  ที่บ้านดอนตาเพชร  จังหวัดกาญจนบุรี  สังคมยุคนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น  มีการติดต่อกับต่างถิ่น  มีชนชั้น  ดังจะเห็นได้จากการฝังศพ  ที่บางศพมีข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับมากมาย  แสดงถึงการเป็นบุคคลสำคัญ


ยุคเหล็ก

                    3.2  สมัยประวัติศาสตร์

                    สมัยประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร  หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย  คือ  ศิลาจารึก  ในหลายพื้นที่พบศิลาจารึกที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน  เช่น  ที่ศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์  ที่ซับจำปา  จังหวัดลพบุรี  ส่วนจารึกที่ปรากฏศักราชชัดเจนที่สุด  คือ  จารึกอักษรปัลลวะ  เป็นภาษาสันสกฤตและเขมร  พบที่ปราสาทเขาน้อย  จังหวัดปราจีนบุรี  ระบุมหาศักราช559 หรือตรงกับ.. 1180

สำหรับการแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยโดยละเอียดมีดังนี้
                               1) 
สมัยอาณาจักรรุ่นแรก  นับช่วงเวลาก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัย  เช่น  อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่11-16)  อาณาจักรละโว้ (พุทธศตวรรษที่12-18)  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ  เช่น  ศิลาจารึก   เหรียญจารึก  รัฐโบราณเหล่านี้มีการสร้างสรรค์อารยธรรมภายใน  และมีการรับและแลกเปลี่ยนอารยธรรมจากภายนอก  เช่น  การรับพระพุทธศาสนา  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  การติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างแดน  เป็นต้น

อาณาจักรละโว้


                               2)  สมัยสุโขทัย  ตั้งแต่การสถาปนากรุงสุโขทัยเมื่อ.. 1792  จนสุโขทัยถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาใน.. 2006  สมัยสุโขทัยเป็นช่วงที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยหลายประการ  เช่น  ตัวหนังสือ  การนับถือพระพุทธศาสนา  การสร้างสรรค์ศิลปะที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง  เช่น  เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์  พระพุทธรูปปางลีลา  เป็นต้น

เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าว


                               3)  สมัยอยุธยา  ตั้งแต่ .. 1893 - 2310  สามารถแบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้อีก  โดยแบ่งตามสมัยของราชวงศ์และแบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์
                                          3.1 
แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครอง  ได้แก่  ราชวงศ์อู่ทอง (.. 1893-1913 และ.. 1931-1952)  ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (.. 1913-1931 และ.. 1952-2112)  ราชวงศ์สุโขทัย (.. 2112-2173)  ราชวงศ์ปราสาททอง (.. 2173-2231)  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (.. 2231-2310)
                                          3.2 
แบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์  ได้แก่
                                                     (1) 
สมัยการวางรากฐานและการสร้างความมั่นคง  เริ่มตั้งแต่การตั้งอาณาจักรเป็นสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (อู่ทอง) ใน.. 1893 จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยาในพ.. 1991  เป็นช่วงที่อาณาจักรยังมีขนาดเล็ก  ต่อมาได้ขยายอำนาจไปโจมตีอาณาจักรขอม  ทำให้ราชสำนักอยุธยาได้รับวัฒนธรรมขอมเข้ามา  รวมทั้งการทำการค้ากับต่างชาติ  เช่น  จีน

                                                     (2)  สมัยแห่งความมั่นคงทางการเมืองและเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเริ่มตั้งแต่.. 1991  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน.. 2231  เป็นช่วงที่ระบบการปกครองมีระเบียบแบบแผน  มีความมั่นคง  มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติอย่างกว้างขวาง

                                                     (3)  สมัยเสื่อมอำนาจ  ตั้งแต่ .. 2231-2310  เป็นสมัยที่มีกบฏภายใน  มีการแย่งชิงอำนาจกันเองหลายครั้ง  ส่งผลให้ราชสำนักอ่อนแอและเสียกรุงใน.. 2310

                                                     (4)  สมัยธนบุรี  ตั้งแต่.. 2310-2325  เป็นสมัยของการฟื้นฟูบ้านเมืองหลังเสียกรุงศรีอยุธยา  มีการทำสงครามเกือบตลอดเวลา

                                                     (5)  สมัยรัตนโกสินทร์  ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน  มีการแบ่งเป็นสมัยย่อยโดยยึดตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและการปกครองร่วมกัน  โดยแบ่งได้ดังนี้

                                                                5.1  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-2394  อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3  เป็นช่วงการฟื้นฟูอาณาจักรในทุกด้านต่อจากสมัยธนบุรี

                                                                5.2  สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลางปรับปรุงประเทศ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2394-2495  อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 7  เป็นช่วงที่มี

การติดต่อกับต่างชาติ  มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก  จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

                                                                5.3  สมัยประชาธิปไตย  ตั้งแต่ พ.ศ. 2475  จนถึงปัจจุบัน  เป็นช่วงที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย  มีรัฐธรรมนูญเป็น

กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมือง  บ้านเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว

อยุธยา

การเปรียบเทียบยุคสมัยสำคัญระหว่างประวัติศาสตร์สากลกับไทย

ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่แสดงความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของกาลเวลา

1. ประวัติศาสตร์สากล

                เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สากละนำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคจักรวรรดินิยม หรือการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก

                                โดยทั่วไปนักประวัติศาสตร์กำหนดว่ายุคจักรวรรดินิยม  หรือลัทธิจักรวรรดินิยม  (lmperialism)  เกิดขึ้นระหว่าง  ค.ศ. 1870 - 1914 (พ.ศ. 2413 - 2457)  ซึ่งเป็นช่วงเวลาชาติในทวีปยุโรปที่สำคัญ  เช่น  อังกฤษ  ฝรั่งเศส  เยอรมนี  และต่อมามีสหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  แสวงหาดินแดนเพื่อยึดเป็นอาณานิคม  ในระยะเวลา  44 ปี  ประเทศต่างๆในทวีปแอฟริกา  เอเชียมากมายตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก  ประเทศไทยก็ถูกคุกคามอย่างรุนแรงด้วย  เมื่อถึง  พ.ศ. 2457  ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายสู้รบกันเองยุคจักรวรรดินิยมจึงสิ้นสุดลง

                                   ยุคจักรวรรดินิยม  เป็นยุคหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่  แต่ยุคนี้ไม่ได้เกิดมาในทันที  และทำนองเดียวกันการสิ้นสุดก็ยังมีเหตุการณ์ต่อเนื่อง  ยุคจักรวรรดินิยมเกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ  ทั้งทางการเมือง  เศรษฐกิจ  และพลังทางสังคม  ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็งมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ  มีความรุ่งเรือง  แต่การมีอำนาจและความมั่นคั่งดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เป็นผลของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

                                    ดังนั้น  จึงเห็นว่า  สมัยทางประวัติศาสตร์สมัยหนึ่ง  มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับสมัยประวัติศาสตร์อื่นๆประดุจลูกโซ่จนแยกไม่ออก  ถ้าขาดสมัยหนึ่งอาจไม่เกิดสมัยต่อมาก็ได้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ 1 ในสมเด็จพระเทพ ศิรินทรา พระบรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีน้ำพระทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงเห็นว่าการมีทาสอยู่จะล้าสมัย ซึ่งแต่เดิมในเมืองไทยมีทาสอยู่ 7 ชนิด คือ ทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสได้มาแต่บิดามารดา ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย และทาสเชลยศึก นอกจากนี้ การมีทาสยังเป็นการส่งเสริมให้มีการกดขี่เหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง จึงมีพระประสงค์เลิกทาสให้เป็นไท และทรงทราบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดสงครามกลางเมืองจากการเลิกทาส พระองค์จึงเห็นสมควรใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไปตามขั้นตอน เช่น ให้กำหนดลดราคาค่าตัวทาส ที่มีอยู่แล้วลงทีละน้อยจนเจ้าตัวทาสสามารถไถ่ถอนได้ ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไท ร.ศ. 93 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 กำหนดให้ลูกทาสที่เกิดปีมะโรง พ.ศ. 2411 ซึ่งเป็นปีแรกที่พระองค์ครองราชย์ให้ค่าเกษียณอายุ ลดค่าตัวลงทุก ๆ เดือนไปจนอายุครบ8 ปี จากนั้นให้เริ่มเกษียณอายุลงไปทุกปี จนอายุ 21 ปี จึงให้ถือว่าเป็นไท เมื่อเป็นอิสระแล้วห้ามการเป็นทาสอีก โดยทรงระบุโทษผู้ซื้อและผู้ขายไว้ด้วย ราษฎรที่เกิดตั้งแต่ปีมะโรง พ.ศ. 2411 เป็นต้นไปห้ามซื้อขายเป็นทาส หากเข้าอาศัยในบ้านเรือนหรือสถานที่ใดให้มีฐานะเป็นลูกจ้างเท่านั้น

เมื่อมีพระชนมพรรษาครบ 2 รอบ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อช่วยทาสที่ขายตัวอยู่กับนายเงินคนเดียวมาครบ 25 ปี รวมทั้ง ลูกหลานของทาสและพระราชทานที่ทำกินให้ด้วย นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ.119 ให้ลดค่าตัวทาสเชลยทั้งปวงในเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ให้เป็นอัตราเดียวกันหมดและเมื่ออายุครบ 60 ปีก็ให้เป็นไท ส่วนทาสสินไถ่ ถ้าอายุครบ 60 ปีหาเงินมาไถ่ตัวไม่ได้ ก็ให้เป็นไทเช่นกัน

สำหรับการตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสมณฑลบูรพา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้นายเงินลดค่าตัวทาสลงเดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด และห้ามซื้อทาสอีก โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติทาน ร.ศ.124 ให้ทุกมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ยกเว้นไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู กำหนดให้นายเงินปล่อยลูกทาสของตนทุกคนให้เป็นอิสระตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2448 ส่วนทาสอื่น ๆ ที่มิใช่ลูกทาสให้นายเงินลดค่าตัวให้กับทาสที่ยังไม่หลุดพ้นค่าตัวลงเดือนละ 4 บาทและห้ามนำคนไปเป็นทาสอีก และถ้าทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ห้ามทำกรมธรรม์ขึ้นค่าตัวสูงกว่าเงินค่าตัวเก่า จากนั้น ในปี พ.ศ. 2452 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 กำหนดว่าผู้ใดจะเอาคนเป็นทาส นอกจากที่ได้รับการยกเว้นอีกไม่ได้ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี ปรับตั้งแต่ 100-1,000 บาท ซึ่งเป็นการปลดปล่อยทาสอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ ในระหว่างที่ทรงดำเนินการปลดปล่อยทาสอยู่นั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการศึกษาตามแบบใหม่ควบคู่กันไป เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ ด้วยพระปรีชาสามารถและพระบารมีในพระองค์ท่านเพียงระยะเวลา 35 ปี ก็สามารถทำให้ทาสหมดไปจากเมืองไทย

เนื่องในโอกาส 100 ปี วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมประชาสัมพันธ์ ได้จัดทำบทความเกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ ของพระองค์เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และน้ำพระทัยที่เปี่ยมล้นด้วยเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยตลอดมา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้