ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามนับจำนวนปีศักราชใด

จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้

การนับปีศักราชแบบสากล

1) คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. 1 สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)

2) ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. 1 เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช 1165 หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย 1122 เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ 32 ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช

การนับศักราชแบบไทย

1) พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. 2455 แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี เป็น พ.ศ. 1

2) มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 622 (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. 622)

3) จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. 1182 และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน

4) รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2325 โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1 และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเทียบศักราช

การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณีหลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

ฮ.ศ.-ค.ศ.-พ.ศ.๑๔๓๔-๒๐๑๓-๒๕๕๖ (๒๕๕๗) : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

              การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซูประสูติในวันคริสต์มาส (๒๕ ธันวาคม) หลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปี ซึ่งพระเยซูเป็นศาสดาของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเป็นคริสต์ศักราช  ๑ (ค.ศ.๑) หรือ  A.D.๑ ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini” การนับศักราช ก่อนที่พระเยซูประสูติ เรียกว่า before christ เขียนย่อๆ ว่า B.C. ตัวอย่าง ๑,๐๐๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขียนว่า ๑,๐๐๐ B.C. หมายความว่า เป็นช่วงเวลา ๑,๐๐๐ ปี ก่อนพระเยซูประสูติ

              ส่วนการนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา นอกจากนี้แล้วการนับศักราชในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่นๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)
 
              ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๑๑๖๕ เมื่อปีที่ท่านนบีมุฮัมมัด อพยพจากเมืองเมกกะ (มักกะหฺ) ไปยังเมืองเมดีนา (มะดีนะหฺ) โดย ฮ.ศ.๑ ตรงกับ พ.ศ.๑๑๖๕  แต่การเทียบรอบปี ของ ฮ.ศ. กับ พ.ศ. มีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน โดยทุกๆ ๓๒ ปีครึ่ง ของ ฮ.ศ. จะเพิ่มขึ้น ๑ ปี เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ปัจจุบัน ฮ.ศ. น้อยกว่า พ.ศ.๑๑๒๒ ปี และน้อยกว่า ค.ศ.๕๗๙ ปี   ฮิจญ์เราะหฺศักราช (ฮ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันใช้ฮิจญ์เราะหฺศักราชเพื่อประกอบศาสนกิจ โดยฟังประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี

              จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นการนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ เริ่มนับ จ.ศ.๑ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๒ โดยนับเอาวันที่พระบุพโสระหัน สึกออกจากการเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัลลังก์เป็นวันแรกของศักราช ในสมัยโบราณถือตามสุริยคติ (คัมภีร์สุริยยาตร) ใช้วันเถลิงศก (ปัจจุบันตกราว ๑๖ เมษายน) เป็นวันปีใหม่ แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าให้ถือตามจันทรคติ คือใช้วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปีเป็นวันสิ้นปี

              คริสต์ศักราช  ค.ศ ปีของพระผู้เป็นเจ้าเยซู คริสต์ หรือ ค.ศ. (อังกฤษ: AD หรือ A.D.) คือปีที่ใช้อ้างอิง โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อกันว่า พระเยซูเกิด และมีอายุครบหนึ่งปี เป็น ค.ศ.๑ ใช้วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปีเป็นวันเปลี่ยนศักราช

              พระธรรมกิตติวงศ์ หรือ เจ้าคุณทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า พุทธศักราช หรือ พ.ศ. คือ ช่วงกำหนดเวลาซึ่งกำหนดเอาปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานเป็นเบื้องต้นในการกำหนดนับ ซึ่งพุทธศักราชนี้ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๑ ปี แต่ในประเทศศรีลังกา ประเทศพม่า ประเทศลาว และประเทศกัมพูชานับในปีที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานเลย เช่น ในประเทศไทยเป็นปี พ.ศ.๒๕๕๖ แต่ในพม่าและกัมพูชาเป็น พ.ศ. ๒๕๕๗ ส่วนในประเทศศรีลังกาจะเปลี่ยนศักราชในวันวิสาขบูชา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พระผงรุ่นขุดสระ ของดี แห่ง วัดกิ่งแก้ว สร้าง โดย หลวงปู่เผือก เกจิดัง

หนึ่งในพิมพ์โบราณ พระสมเด็จ พิมพ์เล็บมือ วัดระฆังโฆสิตาราม

ประวัติเถราจารย์ หลวงปู่ศรี แห่ง วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชทานสมณศักดิ์ ตั้งพระครูสัญญาบัตร 1,227 รูป

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#ฮ.ศ.

#ค.ศ.

#พ.ศ.

#คำวัด

#พระธรรมกิตติวงศ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Previous

Read More

พระผงรุ่นขุดสระ ของดี แห่ง วัดกิ่งแก้ว สร้าง โดย หลวงปู่เผือก เกจิดัง

Read More

หนึ่งในพิมพ์โบราณ พระสมเด็จ พิมพ์เล็บมือ วัดระฆังโฆสิตาราม

Read More

ประวัติเถราจารย์ หลวงปู่ศรี แห่ง วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี

Read More

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชทานสมณศักดิ์ ตั้งพระครูสัญญาบัตร 1,227 รูป

Next
  • 1
  • 2

แท็กที่เกี่ยวข้อง

#ฮ.ศ.

#ค.ศ.

#พ.ศ.

#คำวัด

#พระธรรมกิตติวงศ์

ข่าวที่น่าสนใจ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้