ความจำเป็นในการฝึกอบรมมีความหมายตรงกับข้อใด

การฝึกอบรม (Training) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กระทั่งเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ตลอดจนพัฒนาความสามารถจนเกิดทักษะและความชำนาญ

ลักษณะของการฝึกอบรมในองค์กร

การจัดฝึกอบรมในองค์กรนั้นอาจมีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ บางครั้งอาจไม่ต้องมีขั้นตอนอะไรมาก ไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ในการจัด หรือไม่ต้องมีพิธีรีตรองอะไรให้ยุ่งยาก ขณะเดียวกันก็มีการฝึกอบรมอย่างจริงจังที่ต้องมีการจัดการรายละเอียดมากมายด้วยเช่นกัน ซึ่งการฝึกอบรมในองค์กรนั้นมีลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้

1. การฝึกอบรมสำหรับการเริ่มต้นงานใหม่ (Orientation Training)

การฝึกอบรมสำหรับพนักงานใหม่นี้มีอยู่ 3 ลักษณะใหญ่ๆ ที่ต้องใส่ใจรายละเอียดต่างกันไปดังนี้

  • 1.1 การฝึกอบรมพนักงานใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษา : การฝึกอบรมสำหรับเด็กจบใหม่อาจจะต้องใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนพื้นฐาน และไม่ควรยากจนเกินไปนัก เพื่อให้เขาเริ่มปรับตัวในการทำงานได้ดี สำหรับเด็กจบใหม่อาจต้องปูพื้นฐานเรื่องวัฒนธรรมองค์กร ระบบ ระเบียบ ตลอดจนความรู้เบื้องต้นต่างๆ

Internship Program

ปัจจุบันการฝึกงานสำหรับนิสิตนักศึกษาเริ่มมีความเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น บางองค์กรจัดโปรแกรมการฝึกงานที่เสมือนทำงานจริงไม่ต่างจาก Orientation Training เลย โดยนิสิตนักศึกษาจะได้ทดลองทำงานจริงไปพร้อมกับเรียนรู้องค์กร ตลอดจนฝึกอบรมในด้านต่างๆ โปรแกรมการฝึกงานที่จริงจังนี้บริษัทสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับทั้งคนภายนอกและเหล่าคนรุ่นใหม่ไปพร้อมกันด้วย ทั้งยังเป็นบททดสอบความสามารถที่ดี และองค์กรก็ใช้การฝึกงานนี้เป็นกระบวนการสรรหาพนักงานไปในตัว ใครที่มีศักยภาพก็มักจะได้จ้างงานต่อหลังจากเข้าโปรแกรมการฝึกงานเสร็จ ปัจจุบันมีโครงการฝึกงานที่เป็นจริงเป็นจังน่าสนใจมากมายหลากหลายสาขา บริษัทที่มีโครงการที่ดีก็ย่อมต้องมีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และต้องทำการคัดเลือกไม่ต่างจากการคัดเลือกคนเข้าทำงานในบริษัทเลยทีเดียว โดยตัวอย่างของโครงการที่น่าสนใจก็ได้แก่

  • Growing with AIS (GA) : เป็นโครงการฝึกงานภาคฤดูร้อนกับยักษ์ใหญ่อย่าง AIS และเป็นหนึ่งในโครงการฝึกงาน Internship with AIS ที่ได้รับความสนใจอย่างดีเยี่ยมทีเดียว โดย AIS พัฒนาโครงการฝึกงานในรูปแบบที่มีการฝึกฝนอบรมอย่างจริงจังมานาน เปิดรับในทุกสาขาอาชีพ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพของตนได้ทุกรูปแบบ
  • a team junior : โครงการฝึกงานที่ไม่เหมือนใครและได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่อย่างมากนี้เป็นโปรแกรมการฝึกงานที่สร้างสรรค์โดยนิตยสาร a day เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้ทดลองทำงานนิตยสารจริงในรูปแบบ On Job Training ที่เด็กฝึกงานที่ได้รับการคัดเลือกทุกคนจะต้องทำนิตยสารของทีมออกมาวางตลาดขายจริงเป็นประจำทุกปี
  • SCB Internship : สำหรับสายงานธนาคาร โครงการฝึกงานธนาคารไทยพาณิชย์ก็เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ได้รับความสนใจจากนิสิตนักศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะในโครงการจะมีการฝึกงานอย่างจริงจัง มีการอบรมต่างๆ รวมถึงการฝึกงานแบบ On Job Training ด้วย

  • 1.2 การฝึกอบรมพนักงานใหม่ที่มีประสบการทำงานแล้ว : สำหรับพนักงานใหม่ที่เคยผ่านงานมาแล้ว อาจไม่ต้องมีการฝึกอบรมในเรื่องพื้นฐานมาก แต่โฟกัสไปที่การฝึกอบรมเรื่องานเลยเพื่อให้พร้อมทำงานให้เร็วที่สุด หรือไม่หากเป็นงานที่คุ้นเคยอยู่แล้วก็อาจฝึกแบบทำงานจริงเพื่อให้พนักงานใหม่ได้ลองปรับตัวให้เข้ากับระบบการทำงานของบริษัท เป็นต้น สำหรับพนักงานใหม่นี้อาจเพิ่มเติมเรื่องวัฒนธรรมองค์กร และระบบ ระเบียบ การทำงานเข้าไปด้วย
  • 1.3 การฝึกอบรมพนักงานใหม่ที่ย้ายหน่วยงานภายในองค์กร : สำหรับพนักงานในองค์กรที่มีการย้ายแผนกหรือหน่วยงานที่ไม่ต้องเทรนด์เรื่องความสามารถเฉพาะทาง อาจไม่ต้องทำการฝึกอบรมอะไรมาก และอาจไม่ต้องมีการชี้แจงเรื่องวัฒนธรรมองค์กรใหม่ อาจมุ่งไปที่เรื่องการฝึกทักษะในการทำงานโดยตรง หรือให้ฝึกไปพร้อมกับการทำงานจริงเพื่อเป็นการปรับตัวไปเลย

2. การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเดิมให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น (Skill Development Training)

การฝึกอบรมลักษณะนี้เป็นการเพิ่มพูนทักษะการทำงานของพนักงานให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรโดยรวมด้วย การฝึกอบรมในส่วนนี้อาจเป็นการฝึกอบรบเฉพาะทางที่ไม่เหมือนกัน ฝ่าย HR ควรสั่งเกตศักยภาพของพนักงานแต่ละคน รวมถึงภาพรวมของแต่ละแผนก ว่าควรเสริมการอบรมตรงจุดใดด้วย

3. การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่ (Unfamiliar Knowledge Training) 

การฝึกอบรมลักษณะนี้คือการเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับพนักงานในองค์กร โดยควรเป็นองค์ความรู้ที่เขาไม่คุ้นเคยหรือมีทักษะมาก่อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้นั้นก็ควรเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานในบริษัท และทำให้องค์กรก้าวหน้าด้วย ฝ่าย HR ควรหูตากว้างไกลอยู่เสมอ สรรหาการอบรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานไม่หยุดอยู่กับที่ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีความก้าวหน้าก็ทำให้พนักงานมุ่งมั่นในการทำงานได้ยิ่งขึ้นด้วย

Management Training

อีกหนึ่งการอบรมที่สำคัญก็คือการอบรมระดับบริหารจัดการ เพราะบรรดาหัวหน้างานต่างๆ นอกจากจะต้องบริหารเรื่องงานแล้วยังต้องบริหารเรื่องบุคคลด้วย จริงอยู่ที่ว่าบางคนอาจเก่งเรื่องงานแต่ไม่เก่งเรื่องคน แต่ฝ่าย HR เองก็สามารถช่วยส่งเสริมสนับสนุนเรื่องนี้ได้เช่นกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารงานบุคคลได้ดียิ่งขึ้น เพราะหัวหน้าที่ดีนั้นจะทำให้ลูกน้องอย่างทำงานร่วมด้วยไปนานๆ ลดอัตราการลาออก และทำให้ฝ่าย HR ทำงานได้สะดวกขึ้น ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระในการบริหารงานบุคคลได้ดีอีกด้วย

 

HR ที่มีข้อสงสัยหรือมีคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

Q. คิดว่าเราควรปรับแผนพัฒนาบุคคลอย่างไรบ้างในปี 2021 จากผลกระทบของ covid

โควิคส่งผลกระทบกับเราในหลากหลายทางมาก ก็เลยต้องกลับมาจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่เราจะมาโฟกัสกันใหม่ เลยอยากฟังไอเดียจากเพื่อนๆ ในหลากหลายบริษัทว่ามีการปรับแผนไปอย่างไรบ้าง อะไรที่ยังคงทำอยู่และอะไรที่ต้องเปลี่ยนไปแบบพลิกหน้ามือคะ

 

A. ควรมีการจัดสรรทรัพยากรใช้ให้มีความคุ้มค่า หมายถึง เงิน คน เครื่องจักร วัตถุดิบ และการบริหารจัดการ คนที่เป็นผู้บริหาร หัวหน้างาน หรือผู้ที่มีส่วนในการบริหารงาน จำเป็นจะต้องมีการวินิจฉัยองค์กร ว่าปัจจุบัน มีถานณ์การเป็นอย่างไร เพื่อวางแผนกับสถานการณ์โควิดซึ่งไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อไหร่…

รูปแบบของการฝึกปฎิบัติงานในองค์กร

รูปแบบของการฝึกปฎิบัติงานในองค์กรนั้นมีอยู่ 4 ลักษณะใหญ่ๆ ด้วยกัน ฝ่ายบุคคลสามารถพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่ารูปแบบใดเหมาะกับการฝึกปฎิบัติงานในแต่ละคนหรือแต่ละตำแหน่งมากที่สุด

การฝึกปฎิบัติงานไปพร้อมการทำงานจริง (On Job Training / OJT)

การฝึกปฎิบัติงานลักษณะนี้คือการให้พนักงานคนนั้นๆ ได้ทดลองทำงานจริงไปพร้อมกับการเรียนรู้เลย โดยใช้ประสบการณ์เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการทำงาน การฝึกปฎิบัติลักษณะนี้มักจะเหมาะกับธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยงสูง หรือไม่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทางมากนัก รวมถึงมีแนวโน้มในการสร้างความเสียหายน้อยให้กับสังคมหรือคนทั่วไป

 

 ข้อดี 

  • ไม่ต้องเสียเวลาในการฝึกปฎิบัติงานนาน
  • ได้ทดสอบความสามารถและวัดศักยภาพในการทำงานจริง
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม

 ข้อเสีย 

  • อาจเกิดผลเสียหรือผลกระทบต่อธุรกิจได้ง่าย เพราะเป็นการทำงานจริง
  • หากเป็นงานที่มีความเสี่ยง ต้องใช้ความสามารถเฉพาะทาง มีโอกาสสร้างปัญหาได้สูง
  • ไม่สามารถปกปิดความลับของบริษัทได้ เพราะต้องเปิดเผยทั้งหมดในการทำงานจริง
  • ไม่มีเวลาปรับพื้นฐานในเรื่องอื่นๆ ที่จำเป็น
  • เป็นการทำงานแบบลองผิดลองถูก อาจไม่มีเวลาในการสอนงาน หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
  • ระบบการทำงานในองค์รวมอาจไม่ดี

CHECK!!

ทำอย่างไรให้การฝึกปฎิบัติงานไปพร้อมการทำงานจริง (On Job Training : OJT) มีประสิทธิภาพมากที่สุด 

การฝึกปฎิบัติงานแบบแยกส่วน (Off Job Training)

การฝึกปฎิบัติงานลักษณะนี้มักจะเป็นการฝึกที่แยกส่วนจากการทำงานจริง ซึ่งมักเป็นการเตรียมตัวและฝึกฝนความชำนาญก่อนการเริ่มทำงานจริง การฝึกลักษณะนี้บางครั้งอาจเป็นเพียงการปูพื้นฐานความรู้ ระบบการทำงานในองค์รวม ก่อนที่แต่ละคนจะเริ่มทำงานจริง หรือบางครั้งก็เป็นการจัดการฝึกฝนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความสามารถเฉพาะทางทั้งหลาย เพื่อเวลาทำงานจริงจะได้พร้อมและเกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด บางครั้งอาจจะเป็นการทำงานเสมือนจริง ในสถานการณ์ที่จำลองขึ้น หรือบางครั้งก็เป็นการอบรมการใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ก่อนที่จะลงมือปฎิบัติงานจริง เป็นต้น การฝึกปฎิบัติลักษณะนี้เหมาะกับงานที่มีความเสี่ยงสูง ต้องการความชัดเจน แน่นอน ตลอดจนงานที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต แต่บางครั้งองค์กรใหญ่ๆ ก็อาจมีการฝึกงานลักษณะนี้เป็นพื้นฐานในงานทุกรูปแบบอยู่แล้ว โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการเริ่มต้นงานใดๆ

 ข้อดี 

  • เกิดความผิดพลาดได้น้อย เพราะทุกคนได้ทดลองทำงานมาอย่างเชี่ยวชาญก่อนเริ่มงานจริง
  • พนักงานมีองค์ความรู้พื้นฐานที่แน่น ตลอดจนมีทักษะชำนาญการที่ดี
  • พนักงานเกิดความมั่นใจในการทำงาน ส่งผลให้ทำงานได้ดี
  • งานมีประสิทธิภาพมากกว่า
  • มีเวลาในการเรียนรู้ ถามไถ่ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
  • องค์กรทำงานเป็นระบบเดียวกันได้ดีกว่า

 ข้อเสีย 

  • กินเวลาในการฝึกอบรมที่นาน ทำให้เสียเวลาได้
  • ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง

การฝึกปฎิบัติงานแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Development Job Training) 

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไกลยิ่งขึ้น และทุกองค์กรต้องการประหยัดเวลาให้มากที่สุด การฝึกปฎิบัติงานในรูปแบบเรียนรู้ด้วยตนเองนี้จึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ฝ่าย HR (และฝ่ายต่างๆ) อาจจะจัดทำชุดการเรียนรู้ด้วยตัวเองไว้ให้พนักงานแต่ละแผนกเรียนรู้ไปตามความถนัดที่ต่างกัน หรืออาจเป็นการสร้างระบบ E-Learning แบบออนไลน์ ที่เป็นชุดการเรียนรู้ให้พนักงานทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในทุกสถานที่ ทั้งนี้การทำ E-Learning มักเป็นความรู้พื้นฐานขององค์กรที่พนักงานสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแบบไม่ยากนัก หรือเป็นชุดเรียนรู้ที่จะช่วยเสริมทักษะสำหรับการทำงานในแต่ละตำแหน่งที่จะช่วยเพิ่งศักยภาพตลอดจนปรับความเข้าใจและระบบการทำงานให้ตรงกัน การฝึกปฎิบัติงานลักษณะนี้มักจะเหมาะกับงานทั่วๆ ไป ที่ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องทักษะมากนัก ขณะเดียวกันก็เหมาะกับการเทรนด์ที่มีองค์ความรู้มากๆ เพราะใน E-Learning สามารถบรรจุความรู้ลงไปได้ และผู้เรียนสามารถย้อนกลับมาดูได้ตามต้องการ หรือใช้เวลาเรียนรู้ได้ตามต้องการ

ข้อดี 

  • องค์กรไม่เสียเวลาในการอบรมปฎิบัติงาน
  • พนักงานสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามเวลาที่สะดวก
  • ประหยัดงบประมาณในระยะยาว เพราะองค์ความรู้สามารถใช้ซ้ำและอธิบายได้ไม่จำกัดเวลาหรือจำนวนคนที่รับรู้
  • บริหารจัดการสื่อได้ง่าย สร้างสรรค์สื่อให้มีความน่าสนใจได้ไม่จำกัดรูปแบบ
  • สร้างความเข้าใจได้ดี

 ข้อเสีย 

  • ขาดการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
  • ไม่มีการถามตอบ หรือทำให้พนักงานไม่กล้าสักถาม
  • ควบคุมองค์ความรู้และความลับของบริษัทได้ยาก
  • ควบคุมเวลาการเรียนรู้ได้ยาก ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความสนใจของแต่ละบุคคล

การฝึกปฎิบัติงานแบบผสมผสาน (Mixed Pattern Job Training)

บางครั้งบางลักษณะงานอาจต้องการการฝึกฝนแบบผสมผสานทั้งแบบ การฝึกปฎิบัติงานไปพร้อมการทำงานจริง (On Job Training / OJT) หรือ การฝึกปฎิบัติงานแบบแยกส่วน (Off Job Training) เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอย่างชำนาญและเริ่มต้นทำงานจริงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะสายงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตทั้งหลาย ที่การผิดพลาดแม้เพียงน้อยนิดอาจสร้างผลกระทบอันใหญ่หลวงในหลายมิติได้ นอกจากนี้องค์กรยุคปัจจุบัน (โดยเฉพาะองค์กรระดับใหญ่) ยังเสริมการฝึกปฎิบัติงานแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Development Job Training) เข้ามาด้วย ทั้งแบบบังคับให้เรียนรู้ตามตำแหน่งงาน และแบบศูนย์เรียนรู้รวมที่แชร์ความรู้ให้พนักงานสามารถเลือกเรียนรู้ได้ด้วยความสนใจของตนเอง และสิ่งที่ตัวเองต้องการพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้น

 ข้อดี 

  • พนักงานมีองค์ความรู้ที่รอบด้าน ครบ แน่น พร้อมในการปฎิบัติงาน
  • พนักงานมีตัวเลือกในการพัฒนาศักยภาพหลากหลายรูปแบบ ไม่น่าเบื่อ
  • ธุรกิจมีความเสี่ยงน้อยลง
  • พนักงานมีศักยภาพ องค์กรมีประสิทธิภาพ
  • องค์กรมีการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ

 ข้อเสีย 

  • ใช้งบประมาณที่สูง
  • ใช้เวลาในกระบวนการที่ค่อนข้างนาน

การอบรมเชิงปฎิบัติการ (Workshop)

การฝึกฝนปฎิบัติการที่กำลังได้รับความนิยมและกระจายไปยังทุกสายงานมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือ “การอบรมเชิงปฎิบัติการ (Workshop)” ซึ่งการฝึกฝนลักษณะนี้มักจะอยู่ระหว่าง การฝึกปฎิบัติงานไปพร้อมการทำงานจริง (On Job Training / OJT) กับ การฝึกปฎิบัติงานแบบแยกส่วน (Off Job Training) คือมักจะเป็นคอร์สเสริม เพิ่มเติมความสามารถ อาจไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมที่เป็นหลักหรือเป็นจริงเป็นจังนัก แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นคอร์สเร่งด่วนที่เป็นจริงเป็นจังและจำเป็นสำหรับบางสายงานได้เช่นกัน การทำ Workshop นี้มักเป็นกิจกรรมพิเศษที่ไม่ได้ทำร่วมกับการทำงานจริง และมักจะใช้เวลาไม่นานเท่ากับการฝึกปฎิบัติงานแบบแยกส่วน รวมถึงใช้เวลาไม่นานในการเตรียมงานสำหรับสร้างกิจกรรมฝึกฝนในรูปแบบนี้ด้วย หัวใจสำคัญของการทำ Workshop ก็คือการได้ลงมือทำงานจริง หรือลงมือทดลองปฎิบัติจริง ที่ไม่ใช่แค่การนั่งฟังบรรยายเฉยๆ และทำให้การฝึกฝนปฎิบัติการนั่นไม่เกิดความน่าเบื่อ

CHECK!!

การฝึกอบรมแบบระบบห้องเรียน (Classroom Training)

ทำไมต้องมีการฝึกอบรม

โลกยุคนี้หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงเร็วมาก องค์ความรู้หลายอย่างก็เปลี่ยนอย่างว่องไวไปตามกัน ตลอดจนการแข่งขันของบริษัทต่างๆ ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นการฝึกอบรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะแต่ละองค์กรต่างก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สุดอยู่เสมอ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้