ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ บันทึกบัญชี

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ประโยชน์เพิ่ม ที่นายจ้างให้และภาระภาษีสำหรับพนักงาน

                       ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน  ในแง่ของกฎหมายภาษีอากรแล้ว บรรดาประโยชน์เพิ่มหรือสวัสดิการที่พนักงานได้รับจากนายจ้าง อาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานและต้องนำไปรวมเสียภาษีกับสินจ้างพวก เงินเดือน/ค่าจ้าง ตามความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรมาตรา 29 ที่ระบุว่า

เงินได้พึงประเมิน “ให้รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน” โดยพิจารณาได้จากประเภทขอเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

สวัสดิการบางประเภทที่พนักงาน ที่กิจการบันทึกเป็น ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งพนักงาน ได้รับจากกิจการอาจจะไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข

1. เป็นการปฎิบัติให้พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อาจจะแตกต่างกันตามลำดับขั้นของพนักงานได้ แต่ต้องไม่แตกต่างกันในระดับขั้นเดียวกัน  เงื่อนไขนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัท / กิจการไม่ได้เลือกปฏิบัติ ไม่ได้ให้เป็นการส่วนตัว(ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม)

2. สวัสดิการบางอย่างต้องมีระเบียบปฏิบัติอย่างชัดเจน พนักงานรับรู้กันทุกคน

3. ผลประโยชน์ให้พนักงานบางกรณีต้องมีการทำหนังสือรับรู้ หรือได้รับการอนุมัติจากกรรมการเป็นลายลักษณ์อักษร เอกสารประกอบชัดเจน ถูกต้อง พร้อมทั้งเอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นตรงตามที่ได้รับการอนุมัติ

กล่าวโดยสรุปรายจ่าย ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน ที่เรียกกันว่า ค่าสวัสดิการ หากเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กำหนดไว้เป็นการทั่วไปที่มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติย่อมถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากรแต่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับนั้นถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร

ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน : สวัสดิการ ผลประโยชน์เพิ่ม​

ข้อหารือทางภาษี ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน

กค 0706/9276 กรณีเงินค่าสวัสดิการของพนักงาน จัดงานปีใหม่

ข้อหารือ

: บริษัท ก. จำกัด มีระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการของพนักงาน กล่าวคือ

บริษัทฯ มีนโยบายคิดค่าสวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนและทุกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทดลองงาน พนักงานรายวันหรือพนักงานรายเดือนที่ยังคงสภาพเป็นพนักงานของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน

และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการต่างๆ เช่น งานกีฬาสี การจัดงานเลี้ยงเทศกาลปีใหม่ ฯลฯ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรงทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าชุดเครื่องแบบของพนักงาน

การคิดเงินสวัสดิการพนักงาน จะคิดให้ในอัตราคนละ 3,000 บาท พนักงานทั้งสิ้น 257 คน รวมเงินสวัสดิการจำนวน 771,000 บาท (เจ็ดแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) จะถูกจ่ายจากบัญชีของบริษัทฯ เป็นยอดเดียว และนำเงินทั้งหมดเก็บเข้าไว้ในบัญชี “คณะกรรมการสวัสดิการ”

โดยบัญชีดังกล่าวจะแยกออกจากบัญชีของบริษัทฯ มีคณะกรรมการซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากลูกจ้างในบริษัทฯ ตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นผู้ดูแลบัญชีสวัสดิการพนักงานดังกล่าวและเป็นผู้ควบคุมเรื่องการเบิกจ่าย มีการทำบัญชีเก็บไว้เป็นหลักฐาน

จึงขอหารือว่า

1. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินสวัสดิการให้พนักงาน จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่

2. ค่าสวัสดิการ ที่ให้กับพนักงานดังกล่าวนั้น จะถือเป็นรายได้ของพนักงานแต่ละคนซึ่งต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย

: 1. กรณีบริษัทฯ ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีคณะกรรมการสวัสดิการ และคณะกรรมการฯ ได้นำเงินดังกล่าวไปจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน

กรณีจึงเข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มอันถือเป็น  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งพนักงานผู้ได้รับสวัสดิการดังกล่าวต้องนำประโยชน์ที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

เว้นแต่สวัสดิการจัดเลี้ยงในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากร

2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานตาม 1. ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา

บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

- สวัสดิการงานปีใหม่เป็นค่าใช้จ่ายกิจการ พนักงานไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

-ของรางวัลที่ให้พนักงานทุกคนในงานขอคืนภาษีซื้อได้ และต้องนำส่งภาษีขาย แต่ถ้าเป็นการแจกเงิน มูลค่าตามสมควรจะไม่มีภาระภาษีเกิดขึ้น-

0702/1131 สวัสดิการ จัดเลี้ยงปีใหม่ ทำบุญ

ข้อหารือ

บริษัทฯ มีประเพณีประจำปี จัดทำบุญเลี้ยงพระในวันสงกรานต์ วันปีใหม่ และทำบุญเปิดกิจการใหม่ โดยงานบุญดังกล่าวได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ตลอดจนสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้กับพนักงานของบริษัทฯ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตั้งแต่ ปี 2555 ถึงปีปัจจุบัน

บริษัทฯ จึงขอทราบว่า บริษัทฯ จะนำรายจ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้หรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

1. กรณีการทำบุญประจำปีตามประเพณี หากบริษัทฯ มีระเบียบเกี่ยวกับการจัดงานทำบุญประจำปีตามประเพณีดังกล่าว ที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไปในบริษัทฯ โดยจัดทำขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ตลอดจนสร้างความสามัคคีกลมเกลียวให้กับพนักงานบริษัทฯ รายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการโดยตรง

งานทำบุญบริษัทฯ ตามประเพณีบริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร 

เงินทำบุญใส่ซอง ไม่สามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายกิจการได้ ต้องห้ามเพราะเป็นรายจ่ายส่วนตัว

2. กรณีบริษัทฯ ทำบุญเปิดกิจการใหม่ เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีซื้อ กรณีการจัดงานปีใหม่ และค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่

ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดงานปีใหม่ และค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่ เป็นภาษีซื้อต้องห้ามหรือไม่ และค่าของขวัญพนักงานต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าจัดงานปีใหม่ ถือเป็นสวัสดิการที่บริษัทมอบให้แก่พนักงาน ย่อมเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของบริษัท จึงนำมาหักออกจากภาษีขายได้


          ส่วนภาษีซื้อที่เกิดจากค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่ เป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของบริษัท จึงต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร 


           อย่างไรก็ดี หากเป็นของขวัญจับสลากในงานเลี้ยงให้แก่พนักงานทุกคนในลักษณะสวัสดิการ โดยไม่เลือกปฏิบัติให้กับพนักงานบางคน ย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับการเลี้ยงพนักงาน จึงถือว่าเป็นประเภทสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของบริษัทย่อมนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้


          ทั้งนี้  ของขวัญจับสลาก ซึ่งเป็นสวัสดิการของพนักงานดังกล่าวนั้น  ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากถือเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่จำต้องจัดทำใบกำกับภาษี ตามข้อ 2(10) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542ฯ ;

กค 0706/9052 ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเครดิตภาษีซื้อของค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ

ข้อหารือ


        บริษัทฯ หารือกรณีค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ดังต่อไปนี้


        บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่


        1. บริษัทฯ ให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลกับพนักงาน
        2. บริษัทฯ ให้ของเยี่ยมไข้เป็นสวัสดิการกับพนักงานในกรณีพนักงานเจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
        3. บริษัทฯ เลี้ยงอาหารและจับของรางวัลเป็นสวัสดิการให้กับพนักงานในวันปีใหม่


แนววินิจฉัย


        บริษัทฯ ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ให้สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลกับพนักงานให้ของเยี่ยมพนักงานผู้เจ็บป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป

การเลี้ยงอาหารและจับของรางวัลแก่พนักงานในวันปีใหม่ หากค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับสวัสดิการที่บริษัทฯให้แก่พนักงานทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ และมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนย่อมเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการบริษัทฯมีสิทธินำภาษีซื้อมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0706/6969 จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน

เลขที่หนังสือ :กค 0706/6969

วันที่:13 กรกฎาคม 2550

เรื่อง:ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน

ข้อกฎหมาย:มาตรา 65 ตรี (3) และมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ:

บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในกิจธุระของบริษัทฯ ตามอัตราที่กำหนดและประกาศให้พนักงานทราบทุกสิ้นเดือน โดยบริษัทฯใช้อัตราราคาน้ำมันที่สูงที่สุดในเดือนนั้น ๆ ของกระทรวงพลังงานมาคำนวณเพื่อจ่ายคืนแก่พนักงานเดือนละครั้ง และต้องระบุรายละเอียดการเดินทางและกิจธุระที่ทำในหน้าที่ของพนักงานพร้อมใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันที่จ่ายจริง บริษัทฯ หารือว่า

1.บริษัทฯ จะบันทึกค่าน้ำมันที่จ่ายให้กับพนักงานเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

2.พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย:

1.กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้บริษัทฯ ถือเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯบริษัทฯ มีสิทธินำค่าน้ำมันดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปเกินกว่าจำนวนที่พนักงานของบริษัทฯ ได้จ่ายไปจริง ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

2.กรณีพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมัน ในกรณีนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จะต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วยประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และมีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน

เลขตู้:70/35139

กค 0702/3384 การจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงาน และคณะกรรมการ

ข้อหารือ :บริษัท ส. (บริษัทฯ)ประกอบกิจการซื้อขายคอมพิวเตอร์ และรับบริการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ บริษัทฯ ได้มีการจ่ายเงินให้กับบุคคล ดังนี้

 1. การจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่พนักงานของบริษัทฯ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงานและจูงใจ ให้พนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสพิเศษโดยจะพิจารณาและประเมินผล การทำงานของพนักงานแต่ละคนในช่วงที่ผ่านมา ในรอบปีนั้นจากคะแนนที่หัวหน้างานและจากคณะกรรมการ- บริหารบริษัทฯ ประเมิน

  2. การจ่ายเงินโบนัสพิเศษให้แก่คณะกรรมการบริหาร เพื่อให้การบริหารบรรลุเป้าหมายและเพื่อ ประโยชน์สูงสุดขององค์กร บริษัทฯ จึงกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสพิเศษให้แก่คณะกรรมการบริหารเป็น อัตราร้อยละตามยอดขายเป็นลักษณะขั้นบันไดตามยอดขายที่สามารถทำได้ตามเป้ายอดขายแต่ละขั้น ตามที่ คณะกรรมการบริหารสามารถบริหารกิจการได้โดยเกณฑ์ในแต่ละปีจะมีการทบทวนและกำหนดเป็นมติทุก ๆ ปีในช่วงต้นปีนั้น ๆ

    แนววินิจฉัย :


กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินโบนัสพิเศษให้แก่พนักงาน และคณะกรรมการบริหาร ตามหลักเกณฑ์การจ่าย เงินโบนัสพิเศษของบริษัทฯที่คณะกรรมการบริหารกำหนดในแต่ละปี โดยพิจารณาจากผลการงานการขาย และ การทำประโยชน์ให้แก่กิจการของบริษัทฯ การจ่ายเงินโบนัสพิเศษดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธิถือเป็นรายจ่ายในการ คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0706/10504 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่ารักษาพยาบาล

ข้อหารือ


บริษัทฯ ได้จัดสวัสดิการให้แก่พนักงานเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล โดยระเบียบของบริษัทฯ กำหนดวงเงิน กรณีเจ็บป่วยทั่วไปของพนักงานทุกระดับไว้ไม่เกินคนละ 40,000 บาทต่อปี แต่ปรากฏว่า ในบางกรณีค่ารักษามีจำนวนเกิน 40,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทฯ แต่เนื่องจากพนักงานผู้นั้น เป็นผู้ที่ทำงานให้กับบริษัทฯ มาเป็นเวลานานและเป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในการปฏิบัติงานของบริษัทฯเป็นอย่างมาก บริษัทฯ จึงให้ความช่วยเหลือในค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมด บริษัทฯ จึงขอทราบว่า

1. ค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงานในส่วนที่มากกว่า 40,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทฯ บริษัทฯ มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทฯ ได้หรือไม่

2. ค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงานตามจำนวนที่พนักงานได้จ่ายไปจริงในการรักษาพยาบาล พนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2(4) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 149 (พ.ศ. 2523)ฯ ใช่หรือไม่

 แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัทฯ มีระเบียบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานทุกระดับไว้ไม่เกินคนละ 40,000 บาทต่อปี เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้พนักงานคนใดเกิน 40,000 บาท ซึ่งเกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบของบริษัทฯ เงินค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เกิน 40,000 บาท ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวและมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพา

บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธินำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎาก

2. ค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(4)(ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509

0702/1121 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินค่าโทรศัพท์และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้พนักงาน

ข้อหารือ

บริษัทฯ มีระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ให้กับพนักงานบางหน่วยงานของบริษัทฯ ที่มีความจำเป็นต้องออกไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ และได้นำโทรศัพท์และรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการทำงาน โดยบริษัทฯ ได้มีการจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

๑.ค่าโทรศัพท์ให้เบิกได้ตามจริงแต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ให้พนักงานนำใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์ฉบับจริงมาแสดงทุกครั้งที่ทำการขอเบิกจ่ายเงิน

๒.ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ และค่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ (พ.ร.บ.) ให้พนักงานเบิกได้ตามจริง โดยนำใบเสร็จรับเงินฉบับจริงมาแสดงทุกครั้งที่ทำการขอเบิกจ่ายเงิน

๓.ค่าน้ำมันรถยนต์มีรายงานการเดินทางและใบเสร็จรับเงินฉบับจริงมาแสดง

๔.ค่าบำรุงรักษาและค่าเสื่อมราคารถยนต์เหมาจ่ายเป็นรายเดือน บริษัทฯ ขอทราบว่า เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าว ให้กับพนักงาน บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่ อย่างไร

ข้อหารือ

๑.กรณีตาม ๑. เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าโทรศัพท์ให้แก่พนักงาน เนื่องจากพนักงานได้นำโทรศัพท์ส่วนตัวมาใช้ในกิจการของบริษัทฯ ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินของบริษัทฯ นั้น

หากบริษัทฯ มีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยชัดแจ้งว่า ค่าโทรศัพท์นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการแล้วกรณีดังกล่าว ไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน ฉะนั้น เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าโทรศัพท์คืนให้พนักงานบริษัทฯ ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด 

๒.กรณีตาม ๒. และ ๓. เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันรถยนต์ดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒(๑) แห่งประมวลรัษฎากร

พนักงานต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วย

ประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์โดยมีหนังสืออนุญาต พร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ไหนถึงไหน ระยะทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน

ส่วนกรณีเงินค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ค่า พ.ร.บ. และค่าน้ำมันรถยนต์ที่บริษัทฯ ได้จ่ายให้พนักงานส่วนที่นอกเหนือจากกรณีดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องนำไปรวมคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๒ แห่งประมวลรัษฎากร

๓.กรณีตาม ๔. ค่าบำรุงรักษาและค่าเสื่อมราคารถยนต์เหมาจ่ายเป็นรายเดือนเข้าลักษณะเป็นค่าพาหนะที่บริษัทฯ จ่ายให้แก่พนักงานโดยคิดคำนวณมาจากค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน และค่าใช้จ่ายที่กำหนดแน่นอน เป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

ย่อมไม่อยู่ในความหมายของมาตรา ๔๒(๑) แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงาน บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้และนำส่งตามมาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๒ แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0702/392 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีจัดสวัสดิการแจกทุนการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงาน

ข้อหารือ

บริษัทฯ มีนโยบายจัดสวัสดิการแจกทุนการศึกษาให้แก่บุตรพนักงานของบริษัทฯ ตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาลจนถึง ระดับปริญญาตรีทั้งในสถานศึกษาของรัฐบาลและสถานศึกษาของเอกชน โดยพนักงานต้องมีอายุการทำงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป บุตรทุกคนของพนักงานที่จะได้รับทุนการศึกษาต้องกำลังศึกษาอยู่ มีผลการเรียนดีอยู่ในเกณฑ์เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.75 ขึ้นไป นโยบายแจกทุนการศึกษาประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปีทุนละ 2,000 บาท ถึง 4,000 บาท

นโยบายแจกทุนการศึกษา ดังกล่าว ผู้บริหารของบริษัทฯ ได้มีการประชุมหารือกับหน่วยงานของบริษัทฯ และได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ใน การรับทุน แต่ยังมิได้บรรจุในระเบียบของบริษัทฯ ในรอบปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ยังไม่มีการแจกทุนการศึกษา

บริษัทฯ จึงขอ ทราบว่า การแจกทุนการศึกษาแก่บุตรพนักงานของบริษัทฯ จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

   แนววินิจฉัย

กรณีบริษัทฯ มีนโยบายจัดสวัสดิการแจกทุนการศึกษาให้แก่บุตรของพนักงาน หากบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติของ บริษัทฯที่ชัดเจนใช้บังคับสำหรับพนักงานทั้งองค์กรและจำนวนเงินไม่สูงจนเกินสมควร

บริษัทฯ มีสิทธินำรายจ่ายดังกล่าว ไปหักในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0706/6969 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน

ข้อหารือ

        บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในกิจธุระของบริษัทฯ ตามอัตราที่กำหนดและประกาศให้พนักงานทราบทุกสิ้นเดือน โดยบริษัทฯใช้อัตราราคาน้ำมันที่สูงที่สุดในเดือนนั้น ๆ ของกระทรวงพลังงานมาคำนวณเพื่อจ่ายคืนแก่พนักงานเดือนละครั้ง และต้องระบุรายละเอียดการเดินทางและกิจธุระที่ทำในหน้าที่ของพนักงานพร้อมใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันที่จ่ายจริง บริษัทฯ หารือว่า

        1. บริษัทฯ จะบันทึกค่าน้ำมันที่จ่ายให้กับพนักงานเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

        2. พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย

        1. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้บริษัทฯ ถือเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯบริษัทฯ มีสิทธินำค่าน้ำมันดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

          สำหรับค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปเกินกว่าจำนวนที่พนักงานของบริษัทฯ ได้จ่ายไปจริง ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

        2. กรณีพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันในกรณีนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จะต้องมีหลักฐาน

 1.  การใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและ

 2. ได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วยประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และ

 3. มีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 47/2537 กรณีเครื่องแบบของพนักงาน

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 47/2537

เรื่อง  ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำสินค้าไปใช้ในการบริหารงานของกิจการกรณีเครื่องแบบของพนักงาน

ข้อ 1  กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับเครื่องแบบของพนักงาน โดยผู้ประกอบการเป็นฝ่ายจัดหาให้พนักงานใช้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อันจะเข้าเงื่อนไขว่าเป็นการนำสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรงนั้น ต้องเป็นกรณีดังต่อไปนี้ :  เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของกิจการ ไม่ต้องห้าม

                        (1) เป็นเครื่องแบบที่ใช้เฉพาะงานหรือห้องปฏิบัติงานโดยเฉพาะในปริมาณไม่เกินสมควร ซึ่งไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่พนักงาน และเมื่อพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้วต้องเก็บรักษาไว้ที่สถานที่ประกอบการ หรือให้พนักงานนำออกไปจากสถานประกอบการได้เพียงเพื่อการซักฟอกหรือทำความสะอาด เป็นต้น

                        (2) เป็นเครื่องแบบที่พนักงานแต่ละคนต้องแต่งอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันในจำนวนคนมากพอสมควร ซึ่งประชาชนทั่วไปเมื่อพบเห็นสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นเครื่องแบบของพนักงานของผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ ไม่ว่าพนักงานแต่ละคนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตัดเย็บเอง หรือผู้ประกอบการเป็นผู้จ่ายให้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงานในจำนวนคนละไม่เกินปีละ 2 ชุด เสื้อนอกไม่เกินปีละ 1 ตัว แต่ไม่รวมถึงรองเท้า ชุดชั้นใน หรือเครื่องแต่งตัวอย่างอื่น

                        การจ่ายสิ่งของดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบการต้องลงรายการให้ชัดเจน ดังนี้

                              (ก) กรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ผลิตสิ่งของดังกล่าว ผู้ประกอบการต้องลงรายการจ่ายในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ในช่องหมายเหตุว่า จ่ายเพื่อตัดเย็บเครื่องแบบ เสื้อนอก ของพนักงาน แล้วแต่กรณี

                              (ข) กรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ซื้อหรือสั่งจ้างทำสิ่งของดังกล่าว เพื่อนำมาจ่ายให้แก่พนักงาน ให้ผู้ประกอบการลงรายการในรายงานภาษีซื้อ ในช่องรายการใต้รายการสินค้าหรือบริการว่า เพื่อจ่ายให้แก่พนักงานตัดเย็บเครื่องแบบ เสื้อนอก หรือใช้เป็นเครื่องแบบของพนักงาน แล้วแต่กรณี

                ข้อ 2  สำหรับค่าใช้จ่ายตามข้อ 1 ผู้ประกอบการหรือนายจ้างสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ แล้วแต่กรณี

กค 0811/1846 ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม

ข้อหารือ
: สมาชิกของหอการค้าไทยซึ่งเป็นนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการอบรมสำหรับพนักงานให้กับ สถาบันการศึกษาที่จัดอบรมตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กรณีผู้ทำบัญชีที่ขาด คุณสมบัติตามมาตรา 7(6) แห่งพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าว (ไม่มีคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือปริญญาตรีทางบัญชี) จะต้องเข้าอบรมและสำเร็จการอบรมจึงจะสามารถเป็นผู้ทำบัญชีได้ต่อไปอีก 8 ปี สมาชิกของหอการค้าไทยได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าตำรา จึงขอทราบว่า


1. การจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้สถาบันการศึกษาของทางราชการ สถาบันการศึกษาของ เอกชน หรือสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่

ถ้าได้จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้ ตามมาตรา5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538 หรือไม่


2. ใบเสร็จรับเงินที่สถาบันการศึกษาออกให้ควรระบุชื่อของบริษัทผู้จ่ายเงินหรือชื่อของผู้เข้า รับการอบรม


3. หากพนักงานจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวล่วงหน้าไปก่อน โดยใบเสร็จระบุชื่อของพนักงาน พนักงานจะขอเบิกย้อนหลังได้หรือไม่ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทนายจ้าง


4. ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานผู้เข้ารับการอบรมหรือไม่


แนววินิจฉัย


: 1. กรณีตาม 1. หากสมาชิกของหอการค้าไทยเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่าย ค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการอบรมในสถาบันการศึกษาของทางราชการ สถาบันการศึกษาของ เอกชนหรือสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรายจ่ายเพื่อประโยชน์ในการ ดำเนินกิจการ จึงนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13)
แห่งประมวลรัษฎากร แต่จะได้รับสิทธิในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้าง ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาของทางราชการ เท่านั้น

ส่วนการจ่ายค่าใช้จ่ายในการศึกษาหรือฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาของเอกชน และสมาคมนัก บัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538


2. กรณีตาม 2. ใบเสร็จรับเงินที่สถาบันการศึกษาออกให้จะต้องระบุชื่อของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้ารับ การศึกษาหรือฝึกอบรม


3. กรณีตาม 3. กรณีที่พนักงานจ่ายค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมไปก่อน โดยใบเสร็จระบุชื่อของพนักงาน ต่อมาจึงมาขอเบิกจากบริษัทนายจ้างในภายหลัง

หากบริษัทนายจ้าง พิสูจน์ได้ว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้จ่ายไปเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของบริษัทนายจ้าง ย่อมถือ เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่ง   ประมวลรัษฎากร


4. กรณีตาม 4. หากบริษัทฯ จ่ายค่าใช้จ่ายในการส่งพนักงานเข้ารับการอบรมดังกล่าวเพื่อ เป็นประโยชน์แก่การดำเนินกิจการของ

บริษัทฯ ไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงานผู้เข้ารับการอบรม

กค 0702/2065 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสวัสดิการพนักงาน - เบี้ยประกันภัยกลุ่ม ประกันสุขภาพ การตรวจสุขภาพประจำปี ค่าวัคซีน

ข้อหารือ

           ๒. บริษัทฯ ระบุสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ โดยระบุไว้ในคู่มือพนักงาน ซึ่งการให้สวัสดิการดังกล่าวเป็นการให้สวัสดิการโดยทั่วไปแก่พนักงานทุกคน ดังนี้ ผ

                ๒.๑ การตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัทฯ พนักงานประจำของบริษัทฯ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด

                ๒.๒ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ พนักงานประจำของบริษัทฯ และสมาชิกครอบครัวสามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด

                ๒.๓ เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร พนักงานประจำของบริษัทฯ ทั้งหญิงและชาย สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด

                ๒.๔ เงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรม โดยพนักงานที่ไม่สามารถมีบุตรได้เอง ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม สามารถได้รับเงินช่วยเหลือตามวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด

                ๒.๕ การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตและทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรแบบกลุ่ม และการจ่ายเบี้ยประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์ โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต สูญเสียอวัยวะบางส่วน หรือทุพพลภาพถาวร ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น

                ๒.๖ การจ่ายค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรงแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์ โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบโรคร้ายแรงที่ระบุในกรมธรรม์ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น

           บริษัทฯ จึงหารือว่า พนักงานบริษัทฯ ที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวข้างต้น จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำผลประโยชน์ที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ และบริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการให้สวัสดิการแก่พนักงานดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

แนววินิจฉัย

  

๑. กรณีการตรวจสุขภาพประจำปีตาม ๒.๑ และเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตรตาม ๒.๓

หากบริษัทฯ ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปและเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ ถือเป็น ค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้าง จ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง

ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒ (๑๗) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ ๒ (๔) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙

           ๒. กรณีค่าฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ ซึ่งมิใช่วัคซีนที่ใช้รักษาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ตาม ๒.๒ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามข้อ ๒ (๔) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๕๖ แห่งประมวลรัษฎากร

-- การฉีดวัคซีน ไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล ถือเป็นประโยชน์เพิ่มพนักงาน 40(1)--

           ๓. กรณีเงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรมตาม ๒.๔ มิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้ ตามข้อ ๒ (๔) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๓๙ แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา ๕๖ แห่งประมวลรัษฎากร

           ๔. กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประกันตาม ๒.๕ และ ๒.๖ หากบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน ๑ ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างแล้ว เงินได้เท่าที่บริษัทฯ ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันดังกล่าว ได้รับยกเว้นตามข้อ ๒ (๗๗) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ

           ๕. กรณีบริษัทฯ จ่ายสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน หากบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สวัสดิการดังกล่าวที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป บริษัทฯ มีสิทธินำเงินที่จ่ายไปนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๖๕ ตรี (๓) และ (๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร

กค 0702/4944 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีนายจ้างจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม

มาตรา 42(7) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (77)

ข้อหารือ

          

บริษัท ก. (บริษัทฯ) ได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้กับพนักงาน ซึ่งถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งของบริษัทฯ คุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลหากเกิดอุบัติเหตุทั้งในและนอกเวลาทำงานและมีค่าทดแทนหากทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต

โดยบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยแทนลูกจ้างให้บริษัทประกันภัย สำหรับระยะเวลาคุ้มครองหนึ่งปี

บริษัทฯ เป็นผู้ถือกรมธรรม์ พนักงานเป็นผู้เอาประกัน บริษัทฯ เป็นผู้รับประโยชน์    ในกรมธรรม์ระบุว่า ค่าทดแทนสำหรับการเสียชีวิต

บริษัทฯ ขอทราบว่า เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์ที่พนักงานจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

แนววินิจฉัย

          กรณีบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนลูกจ้างให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการ ในราชอาณาจักร สำหรับประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างแล้ว

เงินได้เท่าที่บริษัทฯ ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานได้รับยกเว้นข้อ ๒ (77) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549

ปี2562 เลขที่หนังสือ : 0702/6449 บัตรรับประทานอาหาร สินค้าบางประเภท กรมธรรม์ประกันภัย แต้มดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการให้พนักงานเลือกรับสวัสดิการ

เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง
ข้อกฎหมาย : มาตรา 42 (17) กฎกระทรวง 126ฯ ข้อ 2 (77)
ข้อหารือ

          บริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ทั้งในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ บริษัทฯ ได้จัดสวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ ให้พนักงานสามารถเลือกได้ โดยบริษัทฯ จะให้แต้มแก่พนักงานเพื่อใช้แลกสวัสดิการที่ต้องการ เช่น บัตรรับประทานอาหาร สินค้าบางประเภท กรมธรรม์ประกันภัย แต้มดังกล่าวถูกกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการให้พนักงานเลือกรับสวัสดิการ และไม่มีมูลค่ารวมทั้งไม่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้ บริษัทฯ ขอหารือว่า กรณีที่พนักงานนำแต้มมาแลกเป็นกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล โดยบริษัทฯ ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ดังกล่าว เป็นเงินได้ที่พนักงานได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

          กรณีที่บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานที่นำแต้มมาแลกตามข้อเท็จจริงดังกล่าว หากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายแทนนั้นเป็นการจ่ายให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างเฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย หรือสำหรับลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศเป็นครั้งคราว เบี้ยประกันภัยดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่พนักงานได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (77) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ข้อ 2  ให้กำหนดเงินได้ต่อไปนี้เป็นเงินได้ตาม (17) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496

(4) เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ 
                                         (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย 
                                         (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

(34) เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อไป และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกินหนึ่งตัวต่อปี

                                      “เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกาย รวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีที่มีค่าเช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก
                                      “เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ชุดไทยพระราชทานและเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 194 (พ.ศ. 2537) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 เป็นต้นไป)

 “(77) เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับ


                                      (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย
                                      (ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว
                                       ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 263 (พ.ศ. 2549) ใช้บังคับ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป)

Related Articles | บทความที่คุณอาจสนใจ

ค่าเช่ารถยนต์ : ภาษีมูลค่าเพิ่ม VS ภาษีเงินได้นิติบุคคล รับทำบัญชี

สิ่งที่ควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ มีกี่ประเภท และจดทะเบียนอย่างไร

ใบกำกับภาษี คืออะไร อะไรคือการปลอม ใบกำกับภาษี

สำนักงานบัญชี Bee-Accountant รับทำบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี เช่น TRcloud EXPRESS Flowaccount Imoney

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินชดเชยในการใช้พาหนะในการเ […]

การเวนคืน ที่ดิน กรณีนิติบุคคล ต่างจากกรณีบุคคลธรรมดาอย่างไร กฎหมายได้ยกเว้นภาษีเทียบเท่าบุคคลธรรมดาหรือไม่ ข้อหารือที่ตอบทุกคำถาม

สำนักงานบัญชี Bee-Accountant รับทำบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี เช่น TRcloud EXPRESS Flowaccount Imoney

รับสอนทำบัญชี บัตรเครดิต โปรแกรมบัญชี Express เบื้องต้น […]

รับทำบัญชี ขายของออนไลน์ shoppee lazada บัญชี ภาษี ต้อง […]

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ บันทึกบัญชี ยื่นภาษีอย่างไรให้สรรพา […]

งบกำไรขาดทุน : รายได้ ค่าใช้จ่าย เบื้องต้น งบกำไรขาดทุน […]

ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน – ค่าใช้จ่ายไม่มีบิล ใบ […]

สินค้าฝากขาย การบันทึกบัญชี ภาษี สินค้าฝากขาย การบันทึก […]

สินค้าขาดจากรายงาน สินค้าเกินจากรายงานข้อผิดพลาดในงบการ […]

สินค้าฝากขาย การบันทึกบัญชี ภาษี สินค้าฝากขาย การบันทึก […]

บัญชีกิจการโรงแรม Homestay GuestHouse Hostel กิจการโรงแ […]

การเวนคืน ที่ดิน กรณีนิติบุคคล ต่างจากกรณีบุคคลธรรมดาอย่างไร กฎหมายได้ยกเว้นภาษีเทียบเท่าบุคคลธรรมดาหรือไม่ ข้อหารือที่ตอบทุกคำถาม

สวัสดิการพนักงาน ที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างฟรี ค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่

บัญชี ภาษี กิจการนำเข้าส่งออก # Export Import บัญชี ภาษ […]

รับบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป (Trading Company) รับทำ […]

สรุปความรู้เบื้องต้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม สรุปความรู้เบื้องต […]

ผู้ทำบัญชี CPD ของกิจการ หน้าที่ความรับผิดชอบ ผู้ทำบัญช […]

รับทำบัญชี ปั๊มน้ำมัน และส่งภาษี อย่างไรให้ถูกต้อง รับท […]

สำนักงานบัญชี Bee-Accountant รับทำบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี เช่น TRcloud EXPRESS Flowaccount Imoney

การเวนคืน ที่ดิน กรณีนิติบุคคล ต่างจากกรณีบุคคลธรรมดาอย่างไร กฎหมายได้ยกเว้นภาษีเทียบเท่าบุคคลธรรมดาหรือไม่ ข้อหารือที่ตอบทุกคำถาม

เงินทดรองจ่าย ชิปปิ้ง กิจการนำเข้าส่งออก – โปรแกร […]

บิลซื้อ บิลขาย คืออะไร นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่​

บัญชีภาษี สัญญาจ้างทำของ สัญญาซื้อขาย​ บัญชีภาษี สัญญาจ […]

ภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าทดลองใช้ วิธีปฏิบัติตามแนวทางสรรพ […]

รับสอนบัญชี ภาษี เบื้องต้น สำหรับกิจการซื้อมาขายไป และ […]

บทความ

และผู้คนยังค้นหา ประกันชีวิตกลุ่ม หัก ณ ที่จ่าย ทำประกันให้กรรมการ ตัวอย่างการบันทึกบัญชี ประกันชีวิต สวัสดิการพนักงาน ภาษีมาตรา 42 13กค 0702/10407 สวัสดิการพนักงาน บัญชี ภาษี ตารางสรุปการเสียภาษี กรณีสวัสดิการพนักงาน ค่าอาหารพนักงาน ลงบัญชี การบันทึกบัญชี สวัสดิการพนักงาน พาพนักงานไปเที่ยว ลงบัญชี สวัสดิการพนักงาน สรรพากร ค่าสวัสดิการพนักงาน คือ สวัสดิการ ชุดพนักงาน พาพนักงานไปเที่ยวต่างประเทศ ภาษี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้