พนักงานบัญชี กับ นักบัญชี ต่างกันอย่างไร

นักบัญชี

นักบัญชี

อยากเป็นนักบัญชีต้องรู้ ไขข้อสงสัยเรื่องนักบัญชี

           

สำหรับใครที่เป็นนักบัญชีอยู่แล้ว หรือกำลังมีความใฝ่ฝันว่าอยากจะเป็นนักบัญชีควรจะต้องรู้จักกับเส้นทางของการเป็นนักบัญชีเสียก่อน เพราะการเป็นนักบัญชีแท้จริงแล้วไม่ได้ทักงานอยู่แค่กับตัวเลขเท่านั้น แต่รวมไปถึงการทำงานที่ครอบคลุมไปถึงความรับผิดชอบและหน้าที่ต่าง ๆ อีกหลายอย่างด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การเป็นนักบัญชียังสามารถทำสายงานที่เกี่ยวข้องได้ไม่ว่าจะเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี หรือที่เราเรียกว่าเป็น Audit ก็ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันนี้เราจะไขข้อสงสัยทุกเรื่องเกี่ยวกับการเป็นนักบัญชีว่ามีอะไรกันบ้าง ไปดูกันได้เลย

นักบัญชี คืออะไร ?

งานบัญชี (Accounting) เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางบัญชี รวมถึงการบันทึก จัดเก็บ รวบรวม และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทางบัญชี  บันทึกรายรับรายจ่าย ตลอดจน การจัดทำรายงานทางการเงิน

ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าว เรียกว่า “นักบัญชี” ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เรียนจบมาทางสายงานบัญชี และต้องมีประสบการณ์ด้านบัญชีมาพอสมควร ซึ่งนักบัญชีคือผู้จัดการงานบัญชีของบุคคล องค์กรธุรกิจ โดยดูแลทั้งรายรับรายจ่าย รายการเดินบัญชีให้ถูกต้องและทันเวลา เพื่อให้ทราบถึงผลการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับกำไรและขาดทุน การทำบัญชีเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ เพื่อเป็นแนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต

นักบัญชีมีลักษณะงานอย่างไร ?

  1. การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) เน้นการนำเสนอแก่ทั้งบุคคลภายในและภายนอกธุรกิจองค์กร ได้แก่ บุคคลในภายในบริษัททั่วไปลูกจ้าง สามารถดูรายการบันทึกบัญชีได้ นำเสนอแก่นักลงทุน นำเสนอแก่เจ้าหนี้ นำเสนอแก่ผู้ถือหุ้น หน่วยงานราชการเช่น กรมสรรพากร เป็นต้น
  2. การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting) เพื่อนำเสนอแก่คนภายในองค์กรในระดับผู้บริหารโดยเฉพาะ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน วางกลยุทธ์องค์กรได้ ลักษณะข้อมูลเป็นข้อมูลเฉพาะเพื่อให้สะดวกต่อการเรียกดูข้อมูลเพื่อประชุมเพื่อวางแผน ฯลฯ ขององค์กรต่อไปได้ ได้แก่ กรรมการบริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก เป็นต้น

ประเภทงานของการเป็นนักบัญชี มี 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่

  1. งานบัญชีของธุรกิจ (Private Accounting) คือ ลักษณะงานบัญชีแบบบัญชีทั่วไป หรือเป็นนักบัญชีที่รับทำให้แก่บริษัทเอกชนทั่วไปโดยจะมีตำแหน่งงานเฉพาะในบริษัทเอกชน หรือทำงานในสำนักงานบัญชีสักแห่ง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นนักบัญชีส่วนใหญ่เลยที่ได้ทำงานบัญชีธุรกิจเอกชน เพราะธุรกิจหน่วยงานเอกชนมีความต้องการนักบัญชีสังกัดของตนเองค่อนข้างสูง ยิ่งนักบัญชีที่มีประสบการณ์ก็จะถูกซื้อตัวผ่านหน่วยงานธุรกิจได้เช่นกัน
  2. งานบัญชีสาธารณะ (Public Accounting) คือ งานบัญชีอิสระ ที่ผู้ทำบัญชีจะให้บริการด้านการบัญชีโดยไม่ต้องเป็นลูกจ้างของหน่วยงาน หรือองค์กรใด โดยนักบัญชีสามารถรับทำอาชีพนักบัญชีอิสระตัวเองได้เลย เช่น เป็นนักบัญชีอิสระรับทำบัญชีเฉพาะด้าน รับจดบันทึกบัญชี ไม่ต้องขึ้นอยู่กับองค์กรใด โดยจะสามารถรับทำบัญชีได้ในหลายหน่วยงานองค์กร แต่นักบัญชีจะต้องรักษาความลับของแต่ละหน่วยงานให้ได้ นอกจากนี้การเป็นนักบัญชีอิสระยังสามารถเลือกรับงานสอนได้เอง โดยจะต้องมีวินัยการทำงานการเป็นนักบัญชีอิสระอย่างมาก เพราะถือว่าไม่ได้สังกัดหน่วยงานธุรกิจไหนเลย
  3. งานบัญชีของรัฐบาล (Governmental Accounting) คือ ลักษณะงานบัญชีที่ทำให้กับหน่วยงานรัฐบาล โดยนักบัญชี จะมีฐานะเป็นข้าราชการประจำของหน่วยงานราชการนั้น โดยการเข้าทำงานจะต้องกับหน่วยงานของรัฐฯ จะต้องผ่านการคัดเลือกไม่ว่าจะต้องผ่านการสอบคัดเลือก หรือสอบสัมภาษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เข้าทำงานหน่วยงานรัฐฯ

คุณสมบัตินักบัญชี

คุณสมบัติอะไร ..ที่ทำให้คุณเป็นนักบัญชีที่ดี

คุณสมบัตินักบัญชี

หากพูดถึงอาชีพนักบัญชีทุกคนก็คงจะนึกถึงนักบัญชีที่ต้องทำงานอยู่กับการทำงานกับเอกสารตัวเลขหรือคอมพิวเตอร์โปรแกรมเพียงเท่านั้น แท้จริงแล้วนักบัญชีนั้นจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติหลายประการเพื่อทำให้นักบัญชีนั้นเป็นบัญชีที่ดีและมีคุณภาพหรือเรียกง่ายๆว่าเป็นนักบัญชีที่มีจรรยาบรรณของอาชีพนักบัญชีที่ดีนั้นเอง เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นจรรยาบรรณในอาชีพครู จรรยาบรรณในอาชีพหมอและพยาบาล เป็นต้น นักบัญชีที่ดีได้จะต้องมีคุณสมบัตินักบัญชีเหล่านี้เพื่อให้บุคคลเป็นนักบัญชีที่ เรียกได้ว่ามีศักยภาพในการเป็นนักบัญชีที่ดีอย่างเต็มตัวได้นั่นเอง

  1. ซื่อสัตย์ในวิชาชีพ

กล่าวคือนักบัญชีจะต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเอง  คำว่าซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของนักบัญชีจึงหมายความรวมไปถึงซื่อสัตย์ในอาชีพ นักบัญชีต้องซื่อสัตย์ในตัวเองไม่ว่าบริษัทหรือองค์กรที่ทำงานร่วมด้วยจะทราบข้อมูลเชิงลึกขนาดไหนนักบัญชีก็ต้องให้ข้อมูลอย่างเป็นความจริงตรงไปตรงมารวมทั้งนักบัญชีจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือความลับของบริษัท หรือแสดงตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินให้กับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องคนอื่นได้รู้ข้อมูลเป็นอันขาด ไม่ใช่แค่กระปุกคนภายนอกแต่หมายถึงในบริษัทเองด้วยเช่นกันนักบัญชีจะต้องให้ข้อมูลเท่าที่จำเป็นและเฉพาะกับบุคคลที่ได้ทำการตกลงกับบริษัทไว้แล้วเท่านั้น

  1. รอบคอบและรับผิดชอบ

กล่าวคือในการทำงานจำเป็นจะต้องอาศัยความละเอียดความรู้ความสามารถประกอบกับความรอบคอบจะทำงานอย่างลวก ๆ ให้เสร็จโดยเร็วโดยไม่ได้ไต่ตรองหรือพิจารณาอย่างถี่ถ้วนหากไม่แน่ใจนักบัญชีไม่ควรนำเสนอข้อมูลที่มีโอกาสผิดพลาด เพราะอาจจะส่งผลถึงการทำงานในระยะยาวทั้งต่ออาชีพนักบัญชีรวมทั้งบุคคลที่ทำงานร่วมด้วย นักบัญชีจะต้องรอบคอบด้วยการเก็บหลักฐานเอกสารอยู่เสมอ รวมทั้งจะต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานในหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี

  1. มุ่งมั่นตั้งใจและอดทน

อาจจะฟังดูเป็นคำที่ปกติไม่มีอะไรมากมายแต่แท้จริงแล้วในการทำงานระบบบัญชีจะต้องอาศัยความตั้งใจในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดีประกอบกับความอดทนจะย่อท้อแล้วทิ้งงานไปการคันไม่ได้เด็ดขาด

            วันนี้คุณสมบัติของนักบัญชีที่ดีเหล่านี้จะต้องอาศัยความมุ่งมั่นและตั้งใจรวมไปทั้งจิตใจของนักบัญชีเองที่จะต้องรักในอาชีพของการเป็นนักบัญชีที่ดี ไม่ใช่แค่การคำนึงถึงผลประโยชน์แต่ตัวเองรับเงินเดือนและทำงานแต่ตัวเลขบัญชีเท่านั้น ถ้าเช่นนั้นนักบัญชีก็ไม่ต่างอะไรกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นนักบัญชีที่ดีจะต้องเอาความเป็นมนุษย์ผสมผสานรวมลงไปกับการทำงานในอาชีพบัญชีได้เป็นอย่างดีการทำงานอาชีพบัญชีจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับตัวของนักบัญชีเอง รวมทั้งสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดกับตัวของผู้ที่ทำงานร่วมด้วยเช่นกัน

นักบัญชีทำงานอะไร

หน้าที่นักบัญชี

เลือกเป็นนักบัญชีแล้ว ต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง

ใครหลายคนคงคิดว่านักบัญชีก็คงทำงานเหมือน ๆ กัน แค่ทำงานอยู่แต่กับตัวเลขเท่านั้น ทำเรื่องเกี่ยวกับงบการเงิน การบัญชีทั่วไปไม่ต่างกันมาก แท้จริงแล้วสำหรับนักบัญชีนั้นจะมีหน้าที่ด้วยกันหลายอย่างซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของนักบัญชีเป็นหลักด้วยเช่นกัน และตำแหน่งของการทำงานนักบัญชีนั้นก็จะมีเหมือนตำแหน่งย่อย ๆ หลายตำแหน่งด้วยกัน ก่อนอื่นเลยเราต้องไปรู้จักกับนักบัญชีกันก่อนว่าเมื่อได้ตัดสินใจเรียนบริการธุรกิจ โดยเลือกเรียนด้านบัญชีการเงินแล้วจะมีสายงานหลัก ๆ อะไรกันบ้าง และเมื่อได้รู้จักกับสายงานแล้วก็จะชี้แจงหน้าที่ของนักบัญชีในตำแหน่งนั้นในลำดับถัดไป

เมื่อเลือกอาชีพเป็นนักบัญชีนักการเงินแล้ว ก็จะมองเห็นภาพได้ว่าสามารถเลือกเส้นทางอาชีพสายตรงได้ 4 สายหลักๆ ดังต่อไปนี้

  1. สายการธนาคาร (Banking)

มีหน้าที่ทำงานเป็นนักการเงินมีตั้งแต่การปล่อยสินเชื่อธนาคาร ขายประกันภัยให้ธนาคาร แนะนำสินเชื่อให้ลูกค้า วิเคราะห์เครดิต วิเคราะห์ธุรกิจและโครงการ การจัดวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า ต้องอาศัยทั้งความรู้การปล่อยสินเชื่อ งานบริหารเงิน ทั้งเงินบาทและสกุลต่างประเทศ การเป็นดีลเลอร์และเทรดเดอร์ โดยจะต้องมีไหวพริบการตัดสินใจ เพื่อเป็นที่ปรึกษาได้ด้วยเช่นกัน หากมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ด้วยจะมีประโยชน์อย่างมาก

  1. การเงินของบริษัท (Corporate Finance)

นักบัญชี นักการเงินที่ทำหน้าที่นี้จะเป็นเสมือนกระเป๋าเงินให้กับองค์กรธุรกิจ ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างมาก เพราะไม่ได้ถูกมองว่าเป็นแค่นักบัญชีเท่านั้น แต่อาจจะมีความสำคัญถึงขั้นเป็น Partner ให้ผู้บริหารด้วยเช่นกัน หน้าที่เริ่มตั้งแต่การจัดหาเงินเพื่อนำเงินมาใช้บริหารจัดการของบริษัท โดยจะแบ่งเป็นใช้เงินทุน (Equity) ใช้เงินกู้ยืม (Debt) หรือใช้เครดิตทางการค้า (Supplier’s Credit) รวมทั้งดูแลการใช้เงินและจ่ายเงินของธุรกิจองค์กร เรียกง่าย ๆ ว่าดูแลการเงินของบริษัทนั้นเอง

  1. สายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ (Securities and Investment Banking)

ตัวอย่างเช่นเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และวาณิชธนากรจะต้องทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ลูกค้า ทำหน้าที่จัดโครงสร้างทางการเงิน หรือทำหน้าที่ด้าน Corporate Finance ดูแลการเงินของบริษัทอาจไม่สามารถดสินใจได้ แต่จะเป็นการให้คำแนะนำให้กับบริษัท

  1. สายจัดการลงทุน (Fund Management)

การทำงานที่เกี่ยวกับจัดการลงทุนเป็นงานวิเคราะห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสายบริหารเงิน หรืออาจจะจัดการลงทุนเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์กรที่มีเงินเหลือ เช่น ธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานสายจัดการลงทุนเพื่อให้องค์กรบริษัทอื่นได้ เช่น องทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย

            นอกจากสายงานอาชีพเหล่านี้แล้วยังสามารถทำงานอาชีพหน้าที่อื่นได้ ตัวอย่างสายงานอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ครูสอนงานบัญชีการเงิน นักการเงินอิสระ เป็นต้น

ทักษะนักบัญชี

4 ทักษะของนักบัญชีที่ต้องมี เพื่อปิดบัญชีให้ทันและมีประสิทธิภาพ

            อย่างที่ทราบกันดีว่าตำแหน่งนักบัญชีนั้นต้องมีความละเอียด รอบคอบ รวมทั้งความรู้ความสามารถมากพอ จึงจะสามารถนำทักษะ ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่นั้นมาเพื่อช่วยในการทำระบบบัญชีและรวมทั้งเพื่อปิดบัญชีให้ทันกำหนดได้ ทั้งนี้ทักษะที่นักบัญชีต้องมีเพื่อปิดบัญชีให้เสร็จสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพจะต้องประกอบไปด้วยทักษะอะไรบ้าง ไม่รอช้าเราไปดูกันเลย

  1. ขั้นตอนแรกนักบัญชีจะต้องวันกำหนดส่งให้ดี

สำหรับขั้นตอนที่ 1 นี้ผู้ที่ทำบัญชีทุกคนก่อนที่จะมีการปิดบัญชีจะต้องทำการยืนยันวันที่กำหนดส่งซึ่งเป็นวันสำคัญในการที่จำเป็นจะต้องยื่นเอกสาร เช่นจะมีการปิดงบการเงินงวดวันที่ 31 ธันวาคม วันสุดท้ายของการยื่นงบการเงินได้ก็คือวันที่  31 พฤษภาคม แล้ววันสุดท้ายของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล  150 วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งนับเป็นแบบยื่นออนไลน์ก็จะสามารถขยายเวลาเพิ่มขึ้นไปได้อีกประมาณ 8 วัน เป็นต้น Deadline ซึ่งเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับผู้ที่ทำระบบบัญชีทุกคนทักษะของนักบัญชีในข้อนี้จึงจำเป็นจะต้องขาดไม่ได้เป็นอันขาดจะต้องคอยเช็ควันกำหนดส่งงานหรือวันเดธไลน์ในการทำเอกสารต่างๆให้ชัดเจน

  1. ต้องมีทักษะในการตกลงทำเอกสารที่ชัดเจน

กล่าวคือ เอกสารเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการทำระบบบัญชีในทุกอย่างเพราะการส่งเอกสารให้ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบการจะต้องส่งมอบเอกสารให้นักบัญชีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นักบัญชีจึงต้องมีความชัดเจนจะสร้างความคลุมเครือให้กับบริษัทธุรกิจหรือผู้ประกอบการไม่ได้เด็ดขาดจะต้องมีความพร้อมในเรื่องการเตรียมเอกสารจะต้องสามารถแนะนำเอกสารให้กับผู้ประกอบการได้ว่าเตรียมเอกสารอย่างไรถึงจะถูกต้อง รวมทั้งจะต้องสามารถที่จะตกลงทำเอกสารระบุวันรับเอกสารได้อย่างชัดเจนเพื่อเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่ายด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่นบริษัทจะต้องส่งเอกสารอะไรให้กับนักบัญชีบ้างนักบัญชีจะต้องแจ้งผู้ประกอบการเช่น รายการเดินบัญชีธนาคารของบริษัท เอกสารบัญชีประจำเดือนในเดือนสุดท้ายของบริษัท เป็นต้น

  1. ทักษะการสื่อสารต้องดีเพื่อสื่อสารให้ผู้ประกอบการหรือธุรกิจองค์กรเข้าใจง่าย

ในการทำบัญชีอาจจะมีภาษาทางด้านบัญชีในการทำงานแต่ในการสื่อสารกับลูกค้าหรือผู้ประกอบการเพื่อแจ้งข้อมูลที่รับการตรวจสอบหรือการบันทึกบัญชี ต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจนเข้าใจง่ายและตรงไปตรงมารวมกระทั่งนักบัญชีจะต้องชี้แจงอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องของผลประกอบการและภาษีที่ต้องชำระหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ร่วมด้วย นักบัญชีไม่ควรคิดว่าเรื่องนี้ผู้ประกอบการรู้อยู่แล้วหรือธุรกิจจะต้องรู้แต่นักบัญชีจะต้องชี้แจงเพื่ออธิบายรายละเอียดได้เป็นอย่างดี

  1. ทักษะการวางแผนและทำงานร่วมกับผู้สอบบัญชี หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้

ในการทำงานทางด้านระบบบัญชีนั้นนักบัญชีไม่ได้ทำงานเพียงคนเดียวอยู่แล้วเพราะฉะนั้นผู้สอบบัญชีเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการปิดงบการเงินเพราะจะต้องมีหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินประจำปี ดังนั้นนักบัญชีจะต้องมีการทำงานที่มีขั้นตอนตั้งแต่วางแผนไปจนถึงตกลงและเตรียมตัวในการทำเอกสารต่าง ๆ ร่วมกับทั้งผู้ประกอบการผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ตรวจสอบบัญชี ดังนั้นนักบัญชีต้องไม่มองว่าตัวเองทำงานแค่ระบบบัญชีกับคนที่ตัวเองสนใจเท่านั้นแต่นักบัญชีจะต้องทำงานแบบประสานงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน

แล้วนักบัญชีได้เงินเดือนเท่าไร เงินเดือนนักบัญชีสูงมากจริงหรือไม่?

นักบัญชีถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญในทุกแวดวงธุรกิจองค์กร ขาดนักบัญชีไปไม่ได้อย่างเด็ดขาดเพราะถือเป็นบุคคลที่จะช่วยทำให้องค์กรได้ทราบถึงข้อมูลเชิงลึกและการบันทึกข้อมูลทางด้านการเงินโดยทั่วไปของบริษัทได้ด้วย ไม่ว่าจะภาครัฐและภาคเอกชนองค์กรขนาดเล็กและองค์กรขนาดใหญ่ล้วนแต่ต้องการนักบัญชีเพื่อไปช่วยในการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับนักบัญชีมืออาชีพหรือนักบัญชีมือสมัครเล่นหรือนักบัญชีที่เพิ่งจบใหม่คงมีคำถามว่าปัจจุบันนี้อาชีพนักบัญชีมีเงินเดือนอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ วันนี้เราจึงนำตัวอย่างของรายได้ของนักบัญชีที่ใช้กันโดยทั่วไปทั้งนักบัญชีมือใหม่และนักบัญชีมืออาชีพ ว่ามีฐานเงินเดือนอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ เพื่อเป็นเกณฑ์ให้กับนักบัญชีโดยทั่วไปได้ทราบกันว่าแท้จริงแล้วนักบัญชีนั้นจะได้เงินเดือนเท่าไหร่กัน

กลุ่มงานนักบัญชีที่ไม่มีประสบการณ์ (เป็นเด็กจบใหม่) สามารถแบ่งประเภทนักบัญชีออกเป็นตำแหน่งงาน ดังต่อไปนี้

  1. เจ้าหน้าที่บัญชี (Accounting Executive / Officer)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  15,000 – 25,000 บาท

  1. ผู้ช่วยฝ่ายบัญชี (Accounting Assistant)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  15,000 – 25,000 บาท

  1. นักวิเคราะห์บัญชี (Accounting Analyst)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  18,000 – 25,000 บาท

  1. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  20,000 – 28,000 บาท

            สำหรับฐานเงินเดือนของผู้ที่มีประสบการณ์หรือเรียกง่ายๆว่าเป็นเด็กจบใหม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสังกัดองค์กรหรือบริษัทที่ทำงานร่วมด้วยเช่นกันหากนักบัญชีเข้าไปในทำงานบริษัทที่เป็นเอกชนและต้องควบตำแหน่งถึง 2 ตำแหน่งฐานเงินเดือนก็อาจจะไม่ได้เป็นฐานเงินเดือนดังกล่าวข้างต้นก็ได้เช่นกัน

กลุ่มงานนักบัญชีที่มีประสบการณ์ สามารถแบ่งประเภทนักบัญชีออกเป็นตำแหน่งงาน ดังต่อไปนี้

  1. เจ้าหน้าที่บัญชี (Accounting Executive / Officer)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  28,000 – 40,000 บาท

  1. ผู้ช่วยฝ่ายบัญชี (Accounting Assistant)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  28,000 – 40,000 บาท

  1. นักวิเคราะห์บัญชี (Accounting Analyst)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  30,000 – 50,000 บาท

  1. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor)

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ  30,000 – 60,000 บาท

            ทั้งนี้ในเรื่องของเงินเดือนของนักบัญชีที่มีประสบการณ์จะได้เพิ่มตามวุฒิการศึกษาประกอบกับประสบการณ์ที่ได้ทำงานมารวมทั้งตำแหน่งงานที่ได้ทำงานในขณะนั้นด้วยเช่นกันหากนักบัญชีมีความรู้ความสามารถและผ่านประสบการณ์การทำงานมาในหลายบริษัทหรือหลายการทำงานในตำแหน่งนักบัญชีก็อาจจะมีเงินเดือนที่มากไปถึงระดับหลักแสนเลยก็เป็นได้ 

อย่างไรก็ตามในการเป็นนักบัญชีนั้นขึ้นอยู่กับสังกัดบริษัทหรือองค์กรด้วยเช่นกัน ความแตกต่างในเรื่องของรายได้นั้นก็คือขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆเรื่อง ทั้งประสบการณ์ บริษัทองค์กร เป็นต้น ยังไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น

การบัญชีการเงิน (Financial Accounting)

            คงมีหลายคนหรือบางคนสับสนว่านักบัญชีการเงินกับนักบัญชีการบริหารเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรเพราะฟังดูแล้วก็ควรจะทำงานคล้ายๆกันแต่ทั้งนี้การทำงานของนักบัญชีการเงินและบัญชีการบริหารนั้นมีความแตกต่างกันหลายประการด้วยกันในเรื่องวัตถุประสงค์และหลักการทำงานก็มีความแตกต่างกัน ถึงนักบัญชีการเงินหรือได้ไงว่าเป็นการทำงานด้านบัญชีการเงิน (Financial Accounting) คนอื่นเราต้องรู้จักความหมายของการบัญชีการเงินกันก่อน

            ความหมายของการบัญชีการเงิน (Financial Accounting)

การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำข้อมูลทางการบัญชีโดยทั่วไป เพื่อนำข้อมูลทางบัญชีเหล่านั้นเสนอต่อบุคคลภายในหน่วยงานองค์กรเฉพาะแห่ง อาทิเช่น มีการจักทำงบบัญชีการเงินเพื่อเสนอต่อผู้บริหารของหน่วยงาน ABC หรือกรณีมีการจัดทำบัญชีขึ้นเพื่อนำเสนอต่อบุคคลภายนอกหน่วยงานเพื่อให้ทราบข้อมูลบางส่วน เช่น นำเสนอข้อมูลงบกระแสเงินสดหรืออื่น ๆ ต่อนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน ข้อมูลแสดงต่อเจ้าหนี้ ข้อมูลที่จัดทำขึ้นเพื่อเปิดเผยต่อหน่วยงานของรัฐอย่างกรมสรรพากร รวมทั้งจัดทำข้อมูลบัญชีขึ้นเพื่อให้บุคคลภายนอกทั่วไปที่ต้องการข้อมูลทางการเงินไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ โดยในการจัดทำข้อมูลทางการบัญชีการเงินจะต้องมีการจัดทำไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ได้กำหนดเอาไว้แล้วเท่านั้น และจะต้องเป็นที่รับรองโดยทั่วไปด้วย จะไม่สามารถคิดแบบใหม่ขึ้นมาเองได้ เพื่อให้ความเข้าใจในการอ่านหรือตรวจสอบงานบัญชีที่ได้จัดทำ รวมทั้งการส่งมอบงานบัญชีการเงินที่จัดทำขึ้นเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความเข้าใจตรงกัน

            แล้วบัญชีบริหารต่างจากการบัญชีการเงินอย่างไร

โดยทั่วไปแล้วนักบัญชีการเงินจะต้องทำบัญชีการเงินขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในงบการเงินต่าง ๆ โดยจะต้องนำข้อมูลทั้งหมดที่มีมาทำระบบบัญชีขึ้น ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น และนักบัญชีการเงินจะมีการทำบัญชีการเงินเพื่อให้ทั้งคนในองค์กรหรือคนนอกองค์กรได้ดูข้อมูลได้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับการบัญชีบริหารหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Management Accounting เป็นการทำบัญชีขึ้นเฉพาะเพื่อนำเสนอต่อบุคคลภายในองค์กรซึ่งเป็นในระดับผู้บริการเท่านั้น ดังนั้นข้อมูลจะเป็นการดึงข้อมูลที่ได้สรุปมาแล้วบางส่วนเพื่อช่วยให้นักบริหารในองค์กรสามารถวางแผนและตัดสินใจดำเนินการอะไรบางอย่างต่อไปได้ ทั้งนี้นักบริการโดยทั่วไปแล้วจะขอเรียกดูข้อมูลเพียงบางส่วนซึ่งผู้ที่ทำงานบัญชีบริหารก็ต้องมีความเข้าใจเรื่องการบริหารว่าข้อมูลส่วนใดที่มีความจำเป็นและสำคัญที่สุดเพื่อช่วยประกอบการวางแผนได้บ้าง

ดังนั้นข้อมูลบัญชีการบริหารจะมักเป็นข้อมูลที่สรุปไม่เน้นรายละเอียดเน้นเชิงลึกเพื่อประกอบการตัดสินใจและสร้างกลยุทธ์ ส่วนข้อมูลบัญชีการเงินจะมีความละเอียดกว่าและสามารถดูเชิงลึกได้ ซึ่งจะให้ประโยชน์ที่ต่างกันกับบุคคลที่ต่างกันนั้นเอง

อยากเป็นนักบัญชี ต้องจบคณะอะไร?

อยากเป็นนักบัญชีต้องจบคณะ

ใครที่ต้องการทำงานสายบัญชีจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าสายงานบัญชีไม่ได้เปิดกว้างให้กับคนที่เรียนจบมาจากสาขาอื่น เนื่องจากงานบัญชีเป็นงานเฉพาะทาง ที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของงานอย่างลึกซึ้ง เพราะสายงานบัญชีไม่สามารถฝึกหัดกันได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว เหมือนสายงานอื่น ๆ การเป็นนักบัญชีต้องอาศัยความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญประมาณหนึ่งเลยเพื่อให้สามารถเป็นนักบัญชีที่ดีได้ สามารถทำงานเป็นนักบัญชีที่มีจรรยาบรรณต่องานวิชาชีพของตนเอง

ผู้ที่หางานบัญชีควรเป็นผู้ที่จบการศึกษามาจากคณะต่าง ๆ ดังนี้

  1. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (สาขาการบัญชี)
  2. คณะเศรษฐศาสตร์ (สาขาการบัญชี)
  3. คณะบริหารธุรกิจ (สาขาการบัญชี)
  4. คณะสังคมศาสตร์ (สาขาการบัญชี)
  5. คณะวิทยาการจัดการ (สาขาวิชาการบัญชีบริหาร)
  6. คณะบริหารศาสตร์ (สาขาการบัญชี)

จบแล้ว ทำงานตำแหน่งอะไรได้บ้าง?

  1. นักบัญชี / พนักงานบัญชีอยู่ในสำนักงานบัญชี (มีหน้าที่ดูแลบัญชีต่าง ๆ ของบริษัทที่มาจ้าง ซึ่งหนึ่งคนอาจจะดูแลบัญชีมากกว่า 1 บริษัท)
  2. ที่ปรึกษาทางบัญชี / ผู้ตรวจสอบบัญชี / ผู้สอบภาษี
  3. ผู้วางระบบหรือเขียนโปรแกรมบัญชี
  4. นักวิเคราะห์ต้นทุน
  5. เจ้าหน้าที่ทางการเงิน / เจ้าหน้าที่ทางการตลาด
  6. เจ้าหน้าที่ของธนาคาร / เจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์
  7. วิทยากร / ผู้สอน วิชาบัญชี
  8. ภาษีอากร
  9. นักการตลาด / นักวิจัยการตลาด / นักลงทุน และอื่น ๆ 

เช็คมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านการบัญชี

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
  • คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
  • คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ
  • คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อย่างไรก็ตามตัวอย่างคณะและสาขาดังกล่าวอาจจะมีการอัพเดตข้อมูลได้ เพื่อให้ได้อัพเดต ผู้ที่สนใจเลือกคณะเข้าเรียนจึงควรเข้าไปที่เว็บไซด์ของสถาบันโดยตรงก่อนการสมัครเรียน

มาทำความรู้จักกับนักบัญชีที่มีชื่อเสียงระดับโลก

            แม้ว่าบนโลกจะมีนักบัญชีการเงินที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญมากมายอย่างนับไม่ถ้วน แต่หากพูดถึงบุคคลที่ได้รับการยกย่องเป็นนักบัญชีในระดับโลกจริง ๆ ก็ไม่ได้มีจำนวนที่มากมายเท่าไรนัก เพราะนักบัญชีการเงินที่เป็นนักบัญชีระดับโลกมักจะเป็นคนที่ทำชื่อเสียงให้กับองค์กรหน่วยงาน หรือกระทั่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมานั้นเอง กล่าวคือการเป็นนักบัญชีการเงินระดับโลกนั้นไม่ได้มีความง่ายดายเท่าไรนัก เพราะจำเป็นจะต้องมีทักษะเรื่องอื่นเพื่อช่วยให้สามารถจัดการบริหารองค์กร หรือการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี และจะมีใครกันบ้าง ไปดูกันเลย

            ต่างประเทศ

  • Frederick Whinney

นักบัญชีที่มีชื่อเสียงของบริษัท Whinney Smith & Whinney ในประเทศอังกฤษ ศตวรรษที่ 19 ในปี ค.ศ. 1849 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษกำลังเฟื่องฟู

  • พี่น้องนักบัญชีตระกูล Ernst คือ Alwin และ Theodore

บริษัทตรวจสอบบัญชีชื่อว่า Ernst & Ernst ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา

            ประเทศไทย

  • นางสาวพรรทิตา รัตนจีนะ

นักบัญชีไทยที่มีชื่อเสียงได้รับรางวัลที่ประเทศสิงค์โปร์ Procter & Gamble (P&G) Singapore ได้รับรางวัล Pearl Act as Owner โดยจบการศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาการจัดการ สาขาวิชาการบัญชี รุ่นที่ 2 รหัส 46

  • คุณบุญเลิศ กมลชนกกุล

ตำแหน่งผู้สอบบัญชี ซึ่งหลายคนต้องทำควาเมข้าใจว่าเรียนจบในสายบัญชี สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ไม่ใช่แค่นักบัญชีเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นผู้สอบบัญชีได้ด้วยเช่นกัน โดยจบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ปริญญาโทด้านบัญชีที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นก็ไปเรียนต่อที่ Leicester Polytechnic (ปัจจุบันคือ De Montfort University) ที่ประเทศอังกฤษ 2 ปี ก็จบปริญญาตรีด้านบัญชีและการเงิน (Accounting and Finance)  

            ตัวอย่างนักบัญชีที่มีชื่อเสียงข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาชีพบัญชีเท่านั้น ยังมีนักบัญชีที่มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในอีกหลายคนที่ยังไม่ได้นำมาเสนอในบทความนี้

            ทั้งนี้ใครหลายคนอาจจะมองว่าอาชีพนักบัญชีมีความจำกัดในการเติบโตทางด้านสายอาชีพหรือที่เรียกว่า Career Path ซึ่งเราจะสามารถยกตัวอย่างของคุณบุญเลิศ กมลชนกกุล ที่ทำตำแหน่งผู้สอบบัญชี Audit Assistant โดยเริ่มแรกทำตำแหน่งเป็นสอบบัญชีได้ประมาณ 3 ปี หลังจากนั้นคุณบุญเลิศ กมลชนกกุลก็ได้เติบโตเป็นระดับ Senior Auditor หลังจากนั้นก็ได้ขยับเป็น Manager ในการทำงานอาชีพขณะนั้น ซึ่งการมาถึงตำแหน่งนี้จะต้องอาศัยเรื่องทักษะการบริการจัดการที่ต้องมีทักษะความสามารถประมาณหนึ่ง นอกจากนี้ยังต้องมีความสามารถจัดการเรื่องอื่น ๆ จัดการเรื่องของเวลา จัดการเรื่องของคน จัดการเรื่องของทีม ตามคำกล่าวของคุณบุญเลิศ กมลชนกกุล และจากตำแหน่ง Senior Manager ก็จะเป็นตำแหน่ง Director และจะมีจะมีโอกาสขึ้นเป็น Partner ขององค์กรได้

สรุป

            อย่างไรก็ตามอาชีพหรือเส้นทางของการเป็นนักบัญชีนั้นเรียกได้ว่าเรียนมาอย่างไรก็ใช้งานได้แบบนั้นเลย เพราะเป็นสายงานที่ไม่ได้เหมือนกับสายสังคม มีความเฉพาะตัวของสายงาน มีหน้าที่ความถนัดและความสามารถที่ต้องใช้งานอย่างชัดเจน ดังนั้นเมื่อคุณได้อ่านบทความนี้จนจบแล้วคงได้คำตอบของการเป็นนักบัญชีที่คุณต้องการเป็นอย่างดี ซึ่งก็ต้องอย่าลืมลืมการทำงานนักบัญชีนั้นต้องตระหนักถึงจรรยาบรรณในวิชาชีพนี้ด้วยเช่นกัน

อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 13 กันยายน 2022

 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้