ปัจจัยใดที่ส่งผลลดการหลั่งของฮอร์โมน ADH

โดยมีผลมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone) ซึ่งก่อให้เกิดอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรงแม้จะดื่มน้ำเข้าไปแล้วก็ตาม ส่งผลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากผิดปกติ และปัสสาวะออกมามากกว่าที่ควรจะเป็น ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นปัสสาวะมากถึงวันละ 20 ลิตรได้

โรคเบาจืดแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

  • โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง (Cranial Diabetes Insipidus) เป็นชนิดของโรคเบาจืดที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดจากความเสียหายของต่อมใต้สมอง หรือสมองส่วนไฮโปทาลามัส มีหลายสาเหตุ เช่น ผลพวงจากการติดเชื้อที่สมอง การผ่าตัด เนื้องอกที่สมอง หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ จนทำให้สมองส่วนไฮโปทาลามัสไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการปัสสาวะได้
  • โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของไต (Nephrogenic Diabetes Insipidus) เป็นโรคที่เกิดจากระบบการทำงานของไตไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกได้ โดยเป็นผลจากความเสียหายของไต หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ลิเทียม ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโรคเบาจืดอีก 2 ชนิดที่พบได้น้อย ได้แก่ โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของกลไกควบคุมการกระหายน้ำ (Dipsogenic Diabetes Insipidus) ซึ่งเกิดจากความผิดปกตของกลไกการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการกระหายน้ำภายในสมอง และโรคเบาจืดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Insipidus)

เบาจืดรักษาให้หายได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ซึ่งยิ่งรักษาเร็วก็จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

อาการเบาจืด

อาการที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดของผู้ป่วยโรคเบาจืด มี 2 อาการหลัก ๆ ได้แก่

กระหายน้ำบ่อยผิดปกติ ผู้ป่วยจะกระหายน้ำ และรู้สึกเหมือนกระหายน้ำตลอดเวลาแม้ว่าจะดื่มน้ำเข้าไปในปริมาณที่มากแล้วก็ตาม

ปัสสาวะบ่อยและมากกว่าปกติ โรคเบาจืดจะทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยขึ้น บางรายอาจปัสสาวะทุก ๆ 15 - 20 นาที และปัสสาวะที่ออกมามีสีอ่อน มีลักษณะเจือจาง นอกจากนี้ ปริมาณของปัสสาวะที่ออกมาจะมากกว่าคนปกติ ซึ่งปกติแล้วคนทั่วไปจะปัสสาวะไม่เกินวันละ 3 ลิตร แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคเบาจืดจะปัสสาวะออกมามากกว่าวันละ 3 ลิตร ในรายที่อาการรุนแรงอาจปัสสาวะได้ถึงวันละ 20 ลิตร นอกจากนี้ ปัญหาปัสสาวะมากยังส่งผลต่อการนอนหลับ อาจทำให้นอนหลับได้ไม่สนิท จนทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย และมีปัญหาเรื่องสมาธิ อีกทั้งยังอาจทำให้ผู้ป่วยเด็กเกิดปัญหาปัสสาวะรดที่นอนได้อีกด้วย

ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กเล็กที่ยังพูดไม่ได้ อาการที่ผู้ปกครองจะสังเกตเห็นได้ ได้แก่

  • ร้องไห้ผิดปกติ
  • หงุดหงิดง่าย
  • มีอัตราการเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น
  • ร่างกายมีอุณหภูมิสูง
  • น้ำหนักลดผิดปกติ

หากเป็นเด็กโต ก็อาจปัสสาวะรดที่นอน ความอยากอาหารลดลง และรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา ซึ่งผู้ปกครองจะต้องสังเกตอย่างใกล้ชิดเพื่อหาความผิดปกติ เพราะหากเด็กปัสสาวะมากผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ แต่ถ้าเด็กมีอาการแค่เพียงปัสสาวะรดที่นอน ควรสังเกตอาการร่วมด้วยเพราะอาการปัสสาวะรดที่นอนอาจไม่เกี่ยวข้องกับเบาจืดโดยตรง

สาเหตุของเบาจืด

โรคเบาจืดแต่ละชนิดมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone: ADH) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ไตจัดการกับสมดุลน้ำในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากฮอร์โมนชนิดนี้ลดต่ำลงจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ เนื่องจากไตขับน้ำที่บริโภคเข้าไปออกมาเป็นปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ระดับฮอร์โมนนี้ไม่เพียงพอต่อร่างกายได้แก่

โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง (Central Diabetes Insipidus) เกิดจากความเสียหายของต่อมใต้สมอง หรือสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) โดยความเสียหายนี้จะส่งผลให้สมองไม่สามารถผลิต สะสม และหลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกได้เป็นปกติ และหากฮอร์โมนชนิดนี้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการก็จะทำให้ของเหลวจำนวนมากถูกกำจัดออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ต่อมใต้สมองและสมองส่วนดังกล่าวเกิดความเสียหาย ได้แก่

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคบางชนิดที่ส่งผลให้สมองบวม
  • การผ่าตัด
  • เนื้องอกที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส หรือต่อมใต้สมอง
  • การสูญเสียเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงต่อมใต้สมอง
  • ความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งเกิดขึ้นได้น้อย

โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของไต (Nephrogenic Diabetes Insipidus) เกิดจากความผิดปกติของไตที่ส่งผลให้ไตไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกได้ ความเสียหายของไตที่เกิดอาจเกิดขึ้นได้จาก

  • การใช้ยา เช่น ลิเทียม (lithium) เตตร้าไซคลิน หรือยาต้านไวรัสบางชนิด
  • ระดับแคลเซียมในร่างกายสูงมากเกินไป
  • โพแทสเซียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ
  • โรคไตเรื้อรัง
  • ทางเดินปัสสาวะอุดตัน

นอกจากนี้ โรคเบาจืดอีก 2 ชนิดที่พบได้น้อย อาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน โรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของกลไกควบคุมการกระหายน้ำ เกิดจากการสูญเสียการทำงานของระบบควบคุมความกระหายน้ำในร่างกายที่อยู่บริเวณสมองส่วนไฮโปทาลามัส และอาจเกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพจิต หรือการใช้ยาได้ ส่วนโรคเบาจืดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มีสาเหตุเกิดจากเอ็นไซม์บางตัวที่ถูกสร้างขึ้นจากรกเข้าไปทำให้ไตตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกลดลง จนก่อให้เกิดโรคเบาจืดได้

การวินิจฉัยโรคเบาจืด

ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการได้เองในเบื้องต้น หากเริ่มมีอาการกระหายน้ำมากผิดปกติ แม้จะดื่มน้ำไปแล้วก็ตาม ร่วมกับอาการปัสสาวะบ่อยและมากจนผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะเริ่มต้นจากการซักประวัติของผู้ป่วยถึงการรักษาที่ผ่านมา อาการที่กำลังเป็นอยู่ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง และเกิดขึ้นมานานเท่าไรแล้ว และในระหว่างการซักประวัติ หากผู้ป่วยเคยใช้ยาหรือกำลังใช้ยาเพื่อการรักษาอาการบางอย่างควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อนำไปประกอบการวินิจฉัยโรค จากนั้นหากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคเบาจืด แพทย์จะสั่งตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่

  • การตรวจปัสสาวะ แพทย์จะนำเอาตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจเพื่อความเข้มข้นของปัสสาวะ ซึ่งหากผู้ป่วยเป็นโรคเบาจืด ปัสสาวะจะประกอบไปด้วยน้ำมากกว่าของเสีย
  • การตรวจด้วยการงดน้ำ แพทย์จะตรวจโดยให้ผู้ป่วยงดดื่มน้ำหรือของเหลวอื่นหลายชั่วโมง เพื่อดูระดับของการตอบสนองของร่างกาย โดยระหว่างการตรวจ แพทย์จะวัดปริมาณปัสสาวะของผู้ป่วย  และอาจเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Antidiuretic Hormone: ADH) นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจนำตัวอย่างเลือดและปัสสาวะที่ได้ไปตรวจหาปริมาณน้ำตาลและเกลือแร่ต่าง ๆ ซึ่งหากผู้ป่วยเป็นโรคเบาจืด ปริมาณปัสสาวะจะมาก ปัสสาวะจะเจือจาง แต่ถ้าหากภายในเลือดและปัสสาวะมีน้ำตาลสูงผู้ป่วยก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะป่วยด้วยโรคเบาหวานมากกว่าโรคเบาจืด
  • การทดสอบด้วยฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก (Vasopressin Test) หลังจากตรวจด้วยการงดน้ำแล้ว แพทย์อาจให้ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกในปริมาณเล็กน้อย โดยมักฉีดเข้าทางหลอดเลือด ซึ่งวิธีนี้ทำให้แพทย์เห็นการตอบสนองที่ร่างกายมีต่อฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ระบุชนิดของโรคเบาจืดได้ดียิ่งขึ้น
  • การตรวจด้วยวิธีการสแกนเอ็มอาร์ไอ (MRI Scan) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยในกรณีที่แพทย์สันนิษฐานว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคเบาจืดชนิดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง แพทย์จะเห็นความผิดปกติของสมองส่วนไฮโปทาลามัส หรือต่อมใต้สมองได้

การรักษาเบาจืด

วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเบาจืด โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณปัสสาวะที่ผู้ป่วยปัสสาวะในแต่ละวัน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างภาวะขาดน้ำ วิธีฏิบัติคือ พกน้ำดื่มติดตัวอยู่เสมอ และหมั่นจิบน้ำบ่อย ๆ ในปริมาณที่แพทย์กำหนดเพื่อควบคุมปริมาณปัสสาวะ และไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรพกหลักฐานที่แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการป่วยของโรคเบาจืด เนื่องจากภาวะขาดน้ำอาจจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายได้  ขณะที่การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้อาการทุเลาลง หรือยับยั้งไม่ให้อาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น และการรักษาที่มักใช้มีดังต่อไปนี้

การรักษาโรคเบาจืดที่เกิดจากจากความผิดปกติของสมอง  เนื่องจากโรคเบาจืดชนิดนี้เกิดจากระดับฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกไม่เพียงพอ ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การทดแทนปริมาณฮอร์โมนที่ขาดไป ด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีชื่อว่าเดสโมเพรสซิน (Desmopressin) แต่ถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องรักษา และเพิ่มปริมาณการดื่มน้ำให้มากขึ้นแทน โดยในการรักษาแพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้ยาชนิดพ่น ยารับประทาน หรือยาฉีดในการรักษาขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ป่วย ทว่าหากผู้ป่วยมีความผิดปกติของต่อมใต้สมอง หรือสมองส่วนไฮโปทาลามัส เช่น มีเนื้องอก แพทย์จะต้องรักษาความผิดปกติเหล่านั้นให้หายก่อน

ทั้งนี้ในการใช้ยาเดสโมเพรสซินเป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อย แต่ก็ยังอาจพบอาการบางอย่างจากการใช้ยาได้ เช่น

  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง
  • คัดจมูก
  • เลือดกำเดาไหล

ทว่าหากผู้ป่วยใช้ยาเกินขนาด หรือดื่มน้ำขณะรับประทานยามากเกินไป ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับน้ำมากเกินไปจนเป็นเหตุให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้
  • มีอาการท้องผูก

และยังอาจทำให้เกิดภาวะโซเดียมในร่างกายต่ำ (Hyponatraemia) ซึ่งมีอาการที่สังเกตได้คือ ปวดศีรษะอย่างรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานาน มีอาการมึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยจะต้องสังเกตตนเองอย่างใกล้ชิด และหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นผู้ป่วยควรหยุดยาและรีบแจ้งแพทย์โดยทันที

การรักษาโรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของไต ในการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคเบาจืดชนิดนี้ หากเกิดขึ้นจากการใช้ยา การหยุดใช้ยาที่เป็นสาเหตุอาจทำให้อาการทุเลาลงได้ แต่ก็ไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ อีกทั้งหากอาการเบาจืดไม่รุนแรง ก็อาจไม่ต้องทำการรักษา แต่แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแทน เช่น รับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำ เพื่อช่วยให้ปริมาณปัสสาวะลดลง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขนาดน้ำ นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งจ่ายยาไฮโดรคลอโรไทเอไซด์ (Hydrochlorothiazide) ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะ แต่มีฤทธิ์ในการลดการกรองเลือดของไตลงด้วย ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะลดน้อยลงเมื่อไช้ยาไปสักระยะ หรือ NSAIDs อย่าง ไอบูโพรเฟน เพื่อช่วยลดปริมาณปัสสาวะ และอาจใช้ยาอื่นร่วมด้วย วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

การรักษาโรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของกลไกควบคุมการกระหายน้ำ และโรคเบาจืดที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่ลดปริมาณของเหลวที่บริโภคเข้าไป และอาจสั่งใช้ฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกสังเคราะห์ เพื่อช่วยให้ปริมาณปัสสาวะลดลงด้วย ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการทางจิตร่วมด้วย การรักษาอาการทางจิตก็สามารถช่วยให้โรคเบาจืดทุเลาลงได้เช่นกัน และหากการใช้ยาไม่สามารถช่วยได้ก็อาจต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นแทน เพื่อปริมาณลดปัสสาวะลง

ภาวะแทรกซ้อนของเบาจืด

โรคเบาจืดหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจนำไปสู่อาการที่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วยได้ โดยภาวะแทรกซ้อนที่มักพบในผู้ป่วยโรคเบาจืด ได้แก่

ภาวะขาดน้ำ เป็นอาการที่มักพบได้ในผู้ป่วยเบาจืด เนื่องจากความผิดปกติของโรคอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับน้ำไม่เพียงพอแม้จะดื่มน้ำเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม ซึ่งหากรุนแรงมาก ๆ ก็เป็นอันตราย โดยในเบื้องต้นสามารถสังเกตอาการของภาวะขาดน้ำได้จากอาการดังต่อไปนี้

  • หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
  • ปวดศีรษะ
  • ปากและริมฝีปากแห้ง
  • ตาลึกโบ๋
  • มีอาการมึนงง และหงุดหงิดง่าย

ภาวะขาดน้ำจากโรคเบาจืดสามารถรักษาได้ด้วยการปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย แต่ถ้าหากอาการรุนแรงมากๆ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับสารน้ำผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้นโดยเร็ว

ภาวะเกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุล นอกจากภาวะขาดน้ำแล้ว การปัสสาวะบ่อย ๆ ซึ่งเป็นอาการของโรคเบาจืดยังอาจนำมาสู่การสูญเสียเกลือแร่และแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายที่ทำให้สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ กระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ได้อีกด้วย

  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • มึนงง หงุดหงิดง่าย
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ความอยากอาหารลดลง
  • คลื่นไส้
  • กล้ามเนื้อเป็นตะคริว

อาการนี้เป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด เนื่องจากหากระดับเกลือแร่ในร่างกายต่ำมาก ๆ อาจทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติอย่างรุนแรง และทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันโรคเบาจืด

เนื่องจากโรคเบาจืดเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากฮอร์โมนภายในร่างกาย จึงไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงโรคเบาจืดได้ ด้วยการป้องกันสาเหตุที่อาจส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติและกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง เช่น  การหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น หรือรับประทานยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ นอกจากนี้หากพบว่ามีอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับศีรษะและสมอง หรือมีอาการอื่น ๆ เช่น ปัสสาวะบ่อยและมากผิดปกติ หรือกระหายน้ำตลอดเวลาก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด หากพบว่ามีอาการที่อาจส่งผลให้เกิดโรคเบาจืดจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้