ประเภทของนโยบายการเงิน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ อะไรบ้าง

นโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted monetary policy) มีบทบาทช่วยเสริมและเติมเต็มกลไกการทำงานของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่าง ‘สมดุล’ เนื่องจากมีจุดเด่นในการดูแลและป้องกันความเสี่ยงเฉพาะจุด ซึ่งช่วยลดทอนผลลบข้างเคียงในวงกว้างที่อาจมีต่อเสถียรภาพระบบการเงิน ปัจจุบันไทยได้เริ่มมีการใช้นโยบายการเงินแบบเจาะจงเป้าหมายแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังเน้นเฉพาะเครื่องมือที่ดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน  ซึ่งได้แก่ มาตรการกำกับดูแลรายสถาบันการเงิน (Microprudential measures) และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (Macroprudential measures) ขณะที่เครื่องมือสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการเงินผ่อนคลายแบบเจาะจงเป้าหมาย (Targeted monetary easing) ยังมีจำกัด

ท่ามกลางขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy space) ที่จำกัด กอรปกับประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ลดลง Targeted monetary easing จะเป็นมิติใหม่ของเครื่องมือนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตกระจายตัวทั่วถึงในทุกภาคส่วนและยั่งยืน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมและเติมเต็มการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 3 ประการ ประการแรก ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินบรรลุเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพอย่างสมดุลโดยดูแลทั้งเสถียรภาพราคาและเสถียรภาพระบบการเงินควบคู่กัน ประการที่สอง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายในมิติเชิงคุณภาพนอกเหนือจากเชิงปริมาณ ท่ามกลางข้อจำกัดที่ทำให้ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินด้อยลง รวมถึงขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่ค่อนข้างจำกัดในปัจจุบัน ประการสุดท้าย เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายเชิงรุก (Proactive measure) ช่วยสนับสนุนบางภาคเศรษฐกิจที่สมควรได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษแม้ในยามที่เศรษฐกิจยังไม่ประสบปัญหา แตกต่างจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบปกติที่มีลักษณะเชิงรับซึ่งมักจะตอบสนองหลังจากเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างชัดเจน (Countercyclical measure)

ความหมายของนโยบายการเงิน

นโยบายการเงิน หมายถึง  เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ธนาคารกลางพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมดูแลปริมาณเงินและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยเพื่อบรรลุ เป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ  

ลักษณะการดำเนินนโยบายการเงินนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ  นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (restrictive monetary policy) ซึ่งจะมีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการเงินเพื่อทำให้ปริมาณเงิน มีขนาดเล็กลงและมักใช้กับระบบเศรษฐกิจที่มีปัญหาต่างๆ เช่น ภาวะราคาสินค้าสูงขึ้นทำให้ประชาชนมีการใช้จ่ายมากกว่าความสามารถในการผลิตของระบบเศรษฐกิจโดยบทบาทของนโยบายการเงินแบบเข้มงวดนั้นจะมีส่วนช่วยลดความร้อนแรงในระบบเศรษฐกิจ  

ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือ  นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (easy monetary policy) เป็นลักษณะของนโยบายการเงินที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการฟื้นตัวโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการเงิน เพื่อทำให้ปริมาณเงินมีขนาดใหญ่ขึ้นและมักใช้ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา  ซึ่งมีการลงทุน การผลิตและการใช้จ่ายของประชาชนอยู่ในระดับต่ำ  

ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกใช้นโยบายการเงินในลักษณะต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศในขณะนั้น ๆ เป็นสำคัญ

เป้าหมายของนโยบายการเงิน

การดำเนินนโยบายการเงินนั้นจะเน้นเป้าหมายหลัก 6 ประการ  ดังนี้

1.  การรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้า

การที่จะรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้าไว้ได้นั้น  ในระบบเศรษฐกิจจะต้องมีปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของผลผลิตในระยะยาว  โดยระดับราคาสินค้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง  โดยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือระดับราคาสินค้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยลดลงอย่างต่อเนื่องจนก่อให้เกิดภาวะเงินฝืด  

2.  การจ้างงานเต็มที่ 

การจ้างงานเต็มที่นับได้ว่าเป็นจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่สำคัญ เนื่องจากการว่างงานในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดผลเสีย                       ในทางเศรษฐกิจเท่านั้น  แต่ยังก่อให้เกิดผลเสียในทางสังคม โดยเฉพาะปัญหา                  ความอดอยากและปัญหาอาชญากรรม 

3.  การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

 การใช้นโยบายการเงินเพื่อรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นจะต้องมี             การขยายตัวของศักยภาพในการผลิตสินค้าและบริการของประเทศอย่างต่อเนื่องในระยะยาว  โดยประเทศมีความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการออกมาสนองความต้องการของ ประชาชนได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลาเพื่อให้ประชาชนภายในประเทศนั้น ๆ ได้มีสินค้าและบริการใช้อย่างเพียงพอ  

4.  การมีความสมดุลในดุลการชำระเงิน 

การขาดดุลหรือการเกินดุลการชำระเงินอย่างรุนแรงจะมีผลกระทบต่อเงินสำรองระหว่างประเทศ  ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่าเงินของประเทศขาดเสถียรภาพ  โดยนโยบายการเงินจะมีบทบาทในการรักษาค่าภายนอกของเงินของประเทศและช่วยทำให้ระดับอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไม่แตกต่างไปจากระดับอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศมากจนเกินไป  เพื่อเป็นการป้องกันการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศและการไหลออกของเงินทุนภายในประเทศ

            5.  การรักษาเสถียรภาพของอัตราดอกเบี้ย

โดยระดับอัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงผันผวนมากจนเกินไปจนก่อให้เกิดผลกระทบต่อปริมาณเงินภายในประเทศ  ซึ่งระดับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไปจนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือภาวะเงินฝืดที่รุนแรง  ซึ่งจะเป็นระดับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น

6.  การรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงิน

เนื่องจากการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยทำให้เกิดความไม่แน่นอนสำหรับสถาบันการเงิน ถ้าอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากจะทำให้เกิดปัญหาแก่สถาบันการเงินในตลาดการเงินเนื่องจากจะทำให้การระดมเงินทุนของสถาบันการเงินมีต้นทุนที่สูง 

เครื่องมือของนโยบายการเงิน

ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ  ธนาคารกลางหรือเจ้าหน้าที่                 ทางการเงินของประเทศจะมีการนำเครื่องมือของนโยบายการเงินในลักษณะต่าง ๆ มาใช้                ทั้งนี้เพื่อทำให้ปริมาณเงินมีขนาดพอเหมาะกับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา  โดยไม่เกิดความผันผวนมากจนเกินไป  ซึ่งเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยเครื่องมือของนโยบายการเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ  คือ  

1.  การควบคุมทางปริมาณหรือการควบคุมโดยทั่วไป

เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมทางปริมาณ ได้แก่

1.1  การซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาด (open market operations หรือ OMO) การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเป็นหน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง  โดยธนาคารกลางมีอำนาจในการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาลในตลาด                 ซึ่งในประเทศที่ตลาดการเงินมีระดับการพัฒนาในระดับสูง  ธนาคารกลางจะซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านผู้ค้าหลักทรัพย์  แต่ในประเทศที่ตลาดการเงินยังมีการพัฒนาในระดับต่ำธนาคารกลาง             จะทำการซื้อขายหลักทรัพย์โดยตรงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ                          

1.2  อัตรารับช่วงซื้อลด (rediscount rate)  เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางเก็บล่วงหน้าจากธนาคารพาณิชย์  เมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อลดไปขายลดให้กับธนาคารกลาง  ซึ่งเมื่อธนาคารพาณิชย์เกิดปัญหาขาดแคลนเงินสดสำรอง  อาจมีการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น  การลดการขยายสินเชื่อ การขายหลักทรัพย์ในตลาดเพื่อเพิ่มเงินสดสำรอง  การขอกู้จากธนาคารพาณิชย์ด้วยกันและการขอกู้ยืมจากธนาคารกลาง  โดยธนาคารกลางสามารถเพิ่มหรือลดอัตรารับช่วงซื้อลด เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินได้  โดยหากธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดลงก็จะส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมได้มากขึ้น  ดังนั้นเงินสดสำรองจึงเพิ่มขึ้นทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้นและปริมาณเงินเพิ่มสูงขึ้น  ธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดแสดงว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังเผชิญกับภาวะเงินฝืดธนาคารกลางจึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายเพิ่ม              การขยายตัวของสินเชื่อ

1.3  อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (bank rate)  เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์  ซึ่งโดยปกติเป็นการกู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน  โดยธนาคารกลางจะทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์  นอกจากจะทำหน้าที่รับฝากเงินของธนาคารพาณิชย์แล้ว  ธนาคารกลางยังทำหน้าที่เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายแก่ธนาคารพาณิชย์  

1.4  อัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (legal reserve ratio)  การที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถสร้างเงินฝากได้มากน้อยเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับเงินสดสำรองส่วนเกินที่              ธนาคารพาณิชย์มีอยู่และอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายที่ต้องดำรง  ซึ่งอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่ธนาคารกลางมีอำนาจในการกำหนดและเปลี่ยนแปลง             การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องสำรองเงินตามกฎหมายนั้นเป็นเงื่อนไขที่ธนาคารพาณิชย์ต้องฝากเงินสดสำรองนี้ไว้กับธนาคารกลาง โดยไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนแต่อย่างใด           

2.  การควบคุมทางคุณภาพหรือด้วยวิธีเลือกสรร

คือการใช้วิธีการจำกัดการให้กู้ของผู้ให้กู้ยืมโดยตรง  ซึ่งจะไม่คำนึงว่าธนาคารพาณิชย์จะมีเงินสดสำรองอยู่ในปริมาณมากน้อยเพียงใด  โดยธนาคารกลางจะมีการวางเงื่อนไขในการจำกัดเฉพาะเครดิตบางชนิด

3.  การชักชวนธนาคารพาณิชย์ให้ปฏิบัติตาม

เป็นวิธีการที่ธนาคารกลาง ขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อให้มีความสอดคล้องกับนโยบายโดยส่วนรวมของประเทศ  โดยอาจใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการโดยการใช้วิธีขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามนโยบายของธนาคารกลาง  ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางอาจพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารพาณิชย์และทำการขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามนโยบายบางประการที่ธนาคารกลางมีความเห็นว่าเหมาะสม

นโยบาย การเงิน มีความสําคัญอย่างไร

นโยบายการเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและราคาสินค้าและบริการ การปรับขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการเรียกว่าอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ธปท. จึงดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ และระบบการเงินมี ...

นโยบายการเงินแบบขยายตัว มีอะไรบ้าง

แบบขยายตัวจะท าโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งจะมีผลทาให้เงินสด สารองของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น และท าให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น การขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม (Moral suasion) เช่น การขอให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทที่มี

ประเภทของนโยบายการคลังมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ลักษณะของนโยบายการคลังแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะคือ หนึ่งนโยบายการคลังแบบ อัตโนมัติ(Autonomic Change) และนโยบายการคลังแบบตั้งใจ (Discretionary Change) การก าหนด ลักษณะนโยบายการคลังของแต่ละประเทศต้องค านึงถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลที่แบ่งได้ เป็นสามประการ คือ หนึ่งช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรมีความเป็นธรรม สองรักษาเสถียรภาพทาง ...

นโยบายทางการเงินคืออะไร

นโยบายการเงิน คือ มาตรการทางการเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารกลาง(แบงก์ชาติ) เป็นผู้ควบคุมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น หากเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดนั้น ธนาคารกลางจะประกาศนโยบายทางการเงินออกมา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เงินฝืดหรือเงินเฟ้อมากเกินไป โดยนโยบายการเงินหลักๆแบ่งได้ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้