นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลมีอะไรบ้าง

              โดยสรุปการทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น รัฐจะใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือ นโยบายการคลังจะระบุถึงมาตรการทางด้านการคลังสำหรับการทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจ ตามปกติรัฐบาลจะใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือสำคัญของนโยบายการคลังในการทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

              นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง การดำเนินมาตรการของเจ้าหน้าที่ทางการเงินในการควบคุมปริมาณเงิน (Money Supply) และปริมาณสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาะเศรษฐกิจในขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราดอกเบี้ยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเป้าหมายหลักของการดำเนินมาตรการทางการเงินได้แก่ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศการจ้างงาน และการรักษาดุลยภาพทางการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งโดยปกตินโยบายการเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมี 2 ลักษณะ คือ
                1. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Expantionary Monetary Policy) จะถูกนำมาใช้เมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว สภาพคล่องในระบบตึงตัว อัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีการจ้างงานไม่เต็มที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการในลักษณะที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มสูงขึ้นหรือขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อาทิ การซื้อคืนพันธบัตร การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate) และการผ่อนคลายมาตรการทางการเงินอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินมาตรการต่างๆ ดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับตัวลดลง ทำให้การลงทุนและเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
               2. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Restrictive Monetary Policy) จะถูกนำมาใช้เมื่อระบบเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจขยายตัวเร็วเกินกว่าที่ทรัพยากรในประเทศจะสามารถรองรับได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบลดลง อาทิ การนำพันธบัตรออกขาย การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน การกำหนดสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก การควบคุมการขยายตัวของสินเชื่อ และในกรณีที่รุนแรงที่สุด คือ การเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายการดำเนินนโยบายในลักษณะนี้จะทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนและเศรษฐกิจชะลอตัวลงในที่สุด
               นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) หมายถึง การดำเนินมาตรการของรัฐทางด้านการรับจ่ายเงิน และการก่อหนี้สาธารณะผ่านกระบวนการงบประมาณและภาษี เพื่อรักษาเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งโดยปกติแล้วการดำเนินนโยบายการคลังมักจะเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการจ้างงานเป็นสำคัญ
               เครื่องมือสำคัญในการใช้นโยบายการคลังเพื่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ ภาษี (Taxation) และการใช้จ่ายของรัฐ (Government Expenditure) โดยนโยบายทางด้านภาษีจะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นหรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลเพื่อโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจก็จะมีส่วนในการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเพิ่มอุปสงค์รวมให้สูงขึ้นได้
               ในช่วงที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือตกต่ำ รัฐบาลอาจลดภาษีเพื่อเพิ่มอำนาจซื้อของภาคเอกชน หรือเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นอุปสงค์หรือความต้องการ (Demand) ให้เพิ่มสูงขึ้นในทางตรงกันข้ามหากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะร้อนแรง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก รัฐบาลจะดำเนินนโยบายในทิศทางตรงกันข้าม คือ การเพิ่มอัตราภาษีและลดการใช้จ่ายลง เพื่อลดการบริโภคและการใช้จ่ายโดยรวมลงเป็นการชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ และลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อ
               การดำเนินนโยบายการคลังในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้นำมาตรการทางด้านภาษีมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ และลดช่องว่างระหว่างเงินออมและเงินลงทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ในระยะยาว มาตรการดังกล่าว ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรในช่วงต้นปี 2538 การลดภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาว 5 ปี ขึ้นไปที่มีวัตถุประสงค์การฝากเพื่อการศึกษา เพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย และเพื่อยังชีพหลังเกษียณ จาก 15% เหลือ 10% ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบัญชีเงินฝากรายย่อยที่มีวงเงินดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท เป็นต้น มาตรการดังกล่าวจะส่งเสริมการขยายตัวของเงินออมในประเทศระยะยาวได้ นอกจากนี้ในการจัดทำงบประมาณปี 2539 รัฐบาลก็ใช้งบประมาณแบบสมดุล ซึ่งการจัดทำงบประมาณในลักษณะดังกล่าวโดยหลักจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อให้สูงขึ้น
              ในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจเลือกดำเนินนโยบายการเงินหรือนโยบายการคลังอย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้นโยบายการทั้งสองควบคู่กันไป ทั้งนี้ขึ้นกับว่ามาตรการใดมีความเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาในภาวะแวดล้อมนั้น ๆ มากกว่ากัน หรือก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงที่สุด อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายดังกล่าวจะก่อให้เกิดประสิทธิผลเพียงใดยังขึ้นอยู่กับ ความรู้ความเข้าใจถึงกลไกต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจของผู้ใช้นโยบายและประชาชน ตลอดจนความสามารถในการพยากรณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ หากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายและประชาชนมีความรู้ความเข้าใจกลไกการทำงานต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ผลของมาตรการต่าง ๆ ที่ถูกเลือกมาใช้อย่างเหมาะสมก็จะบรรลุตามวัตถุประสงค์ หรือหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลและพยากรณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สามารถทำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ก็จะทำให้ฝ่ายบริหารรับทราบปัญหาที่แท้จริงของเศรษฐกิจได้
              การใช้นโยบายการคลังจะได้ผลดีเพียงใด ต้องอาศัยปัจจัยบางประการในการสนับสนุนช่วยเหลือ เช่น ความเข้าใจอันดีถึงการใช้นโยบายการคลังอย่างเหมาะสมของฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และประชาชนรวมทั้งความสามารถในการพยากรณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ถ้านโยบายการคลังที่ออกมามีความเหมาะสมและประสบความสำเร็จ กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็จะมากขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีความต้องการในการขยายการผลิตออกไป ภาวะการลงทุนของประเทศก็จะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล คือข้อใด

นโยบายทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งเอาไว้ นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ นโยบายทางการเงิน และนโยบายทางการคลัง การดำเนินบทบาทและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล มีเป้าหมายคือ เพื่อให้ประชาชนได้รับสวัสดิการมากที่สุด โดยที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ...

นโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง

ประเภทของนโยบายเศรษฐกิจ นโยบายที่ออกแบบมาเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์การพัฒนา นโยบายที่จัดการกับการกระจายรายได้ ทรัพย์สิน และ/หรือ ความมั่งคั่ง ตลอดจน นโยบายข้อบังคับ นโยบายต่อต้านการรวมกันผูกขาด นโยบายอุตสาหกรรม และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบอาศัยเทคโนโลยี

นโยบายของรัฐบาลมีอะไรบ้าง

นโยบายที่1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ นโยบายที่2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ นโยบายที่3 การลดความเหลื่อมล้าของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ นโยบายที่4 การศึกษาและเรียนรู้การทะนุบารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายที่5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน นโยบายที่ ...

เป้าหมายหลักของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมีอะไรบ้าง

เป้าหมายทางเศรษฐกิจในเชิงมหภาคของรัฐบาล ในแต่ละประเทศ มักจะพบเสมอ ว่ามีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ เป้าหมายเกี่ยวกับการจ้างงานสูงสุด เป้าหมายเกี่ยวกับ ความเป็นธรรมของระดับราคาสินค้า และเป้าหมายเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของระบบ เศรษฐกิจและมีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ในประเทศมีความ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้