ภัยจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นอย่างไร

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโลกของเราตอนนี้เข้าสู่ยุค 4.0 หรือ ยุค IOT อย่างแท้จริง สังคมโลกโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรม แนวคิด และการดำเนินชีวิตของคนยุคนี้อย่างมาก เฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ สามอย่างนี้กลายเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทรงอิทธิพลที่สุด จนทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป มันเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

การนอกใจ การหย่าร้าง

สังคมออนไลน์ที่กว้างไกล ทำให้เราสามารถพบเจอคนใหม่ๆได้มากขึ้นโอกาสที่เราจะได้เจอคู่รักก็เป็นไปได้มากขึ้นด้วย ฟังดูเหมือนจะดีใช่ไหม แต่ความจริงแล้วไม่เป็นอย่างนั้นเลย การได้เจอคนใหม่ได้ง่ายนี่แหละ กลายเป็นช่องโหว่รูใหญ่ของครอบครัวทีเดียว การนอกใจกันของคู่รักหนุ่มสาว จนถึงคู่ที่แต่งงานแล้ว มีมากขึ้นหลายคนพบคนรักใหม่จากการเล่นสื่อสังคมโซเชียลต่างๆนี่แหละ

คนใกล้กลายเป็นคนไกล

สังคมก้มหน้าดูจะเป็นคนที่บอกถึงสภาพสังคมตอนนี้ของไทยเราได้ดีที่สุด เชื่อไหมว่าโทรศัพท์ทำให้คนในครอบครัวที่ควรจะเป็นคนใกล้ชิดกันกลายเป็นคนห่างไกลกันไปแล้ว แต่ละคนต่างก็มีโลกเป็นของตัวเอง หลายครอบครัวเวลาจะเรียกกินข้าวอาจจะต้องใช้วิธีการไลน์หากันแทนที่จะเดินไปเรียก ฟังดูตลกแต่มันเป็นเรื่องจริงนะ เรื่องนี้หากไม่รีบแก้ไขอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัวในอนาคตได้

ความเชื่อแบบสุดโต่ง

การเล่นเฟส ไลน์ ทวิตเตอร์ หรือสังคมโซเชียลอะไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะมีเมนูการตั้งกลุ่ม ก๊วน ของตัวเองขึ้นมาด้วย ทางหนึ่งก็เพื่อเปิดรับคนที่มีความชื่นชอบ มีรสนิยมในเรื่องนั้นเหมือนกัน อย่างเช่น คนชอบฟุตบอล คนชอบกันพลา เป็นต้น แต่อีกทางหนึ่งมันก็เป็นการตั้งกลุ่มเพื่อฟังความเชื่อแบบสุดโต่งของตัวเอง โดยเฉพาะความคิดทางด้านการเมือง กลุ่มแบบนี้ก็อันตรายมากพอสมควรเช่นกัน ลองนึกภาพคนที่เข้ากลุ่มการเมืองที่มีความเชื่อแบบสุดโต่งดูสิ

เครื่องมือชี้นำผู้คน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมโซเชียลกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดอย่างหนึ่งของสังคมยุคนี้ หลายคนพอเห็นข่าวหน้าฟีดที่แชร์กันมาก็พร้อมที่จะเชื่อแล้วบอกต่อไปแบบขาดการพิจารณาให้รอบคอบ กว่าจะรู้ว่าสิ่งที่แชร์กันไปมานั่นผิดไม่จริงหลายคนก็เชื่อตามนั้นไปแล้ว จะบอกว่าสังคมโซเชียลเป็นเครื่องมือชี้นำผู้คนก็ไม่ผิดมากนัก เอาง่ายๆช่วงเลือกตั้งที่ผ่านมาการนำเสนอข้อมูลบนโลกโซเชียลเยอะมากทั้งจริงและเท็จ ปนกันสับสนไปหมด

แม้ว่าสังคมออนไลน์ โลกโซเชียลจะเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้เราพบเจอ พูดคุยกับเพื่อน คนรู้จัก ได้มากมายแม้จะอยู่ห่างไกลกัน แต่เราเองก็ต้องเลือกใช้มันอย่างมีสติด้วย ไม่งั้นเราเองที่จะกลายเป็นเหยื่อของโลกโซเชียลโดยไม่รู้ตัว

เป็นที่รู้กันดีว่าในยุคปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก และสื่อดังกล่าวก็เปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ อย่างในกรณีที่มีการเผยแพร่เนื้อหาแสดงออกถึงความรุนแรง เช่น การทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือการถ่ายทอดสดแสดงการฆ่าตัวตาย เป็นต้น ล้วนเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข

ในส่วนของปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์และปัญหาการฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กันหรือไม่นั้น

แพทย์ระบุว่าการเผยแพร่ข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงรวมถึงการฆ่าตัวตาย ส่งผลโดยตรงในเรื่องของการเรียนรู้ในสังคม โดยเฉพาะอิทธิพลที่มีต่อเด็กและวัยรุ่นที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่มีทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดีพอ อาจมีการเลียนแบบพฤติกรรมได้ เนื่องจากคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของการฆ่าตัวตายก็ต้องมีปัจจัยหลายอย่างร่วมด้วย นอกเหนือจากเลียนแบบพฤติกรรมตามเนื้อหาที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยปัญหาที่เกิดมากที่สุดมักเกิดกับวัยรุ่นโดยเฉพาะ เนื่องจากความสามารถของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการยับยั้งชั่งใจยังพัฒนาได้ไม่เท่ากับด้านของอารมณ์ ทำให้ขาดความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ในวัยรุ่นเองก็มีความเครียดที่ค่อนข้างหลากหลาย เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายด้าน ทั้งในด้านสรีระที่เปลี่ยนไป หรือในด้านความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้นจากในวัยเด็ก รวมถึงเรื่องเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อเด็กวัยนี้ค่อนข้างมาก เริ่มมีความรัก หรือมีความสนใจบางอย่างเป็นพิเศษ ส่งผลให้เกิดความเครียดและการแสดงออกทางพฤติกรรมได้ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ก็มีส่วนต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมค่อนข้างมาก

การดูแลเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์สำหรับเด็กวัยรุ่นคือ

ผู้ปกครองควรเฝ้าสังเกตอยู่ห่างๆ อาจใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเด็กแต่ไม่ควรแสดงตัวตนมากนัก เนื่องจากการแสดงตัวมากไปอาจทำให้เด็กถอยหนีซึ่งส่งผลต่อการควบคุมที่ยากขึ้น คอยสังเกตดูว่าเด็กมีความสนใจในด้านไหน กดไลค์เนื้อหาประเภทใด และคอยให้คำแนะนำตามความเหมาะสม รวมถึงผู้ปกครองควรกำหนดเงื่อนไขการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเด็ก เพื่อควบคุมปริมาณการใช้งานไม่ให้มากจนเกินไปและส่งผลเสียในที่สุด

ในเรื่องของการถ่ายทอดสดฆ่าตัวตายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงการเผยแพร่ข้อความที่เป็นสัญญาณในการฆ่าตัวตาย ที่ปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากผลสำรวจพบว่ามีการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือไม่ และพบว่าคนที่มีพฤติกรรมเผยแพร่เนื้อหาทำนองนี้ อาจเกิดจากแรงจูงใจบางอย่าง เช่น การได้รับคอมเมนต์ หรือการได้รับการกดไลค์ รวมถึงผู้เผยแพร่อาจมีอาการทางจิตเวชอย่างอื่นร่วมด้วย จึงส่งผลให้มีพฤติกรรมการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งภาวะที่น่าสนใจและควรทำความรู้จัก

เกี่ยวข้องกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และอาการทางจิตเวชเรียกว่า Facebook Depression Syndrome หรือภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค ซึ่งจะมีลักษณะ ดังนี้

  1. มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นสุขของเพื่อนๆ ใน Facebook
  2. ตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของกิจกรรมชีวิตประจำวันของผู้อื่น
  3. มักเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของตนเองกับเพื่อนๆ อยู่เสมอ
  4. มักเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  5. รู้สึกกระวนกระวายใจเมื่อไม่สามารถเช็คข้อความข่าวสาร หรือสถานะของตัวเองได้เหมือนที่ทำเป็นปกติ
  6. มักอัพเดทสถานะแบบดึงดูด หรือโพสต์บทความต่างๆ เช่น ข้อความขำขัน ข้อความแหลมคม

ทั้งนี้ทั้งนั้นอาการดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาณของการเกิดภาวะซึมเศร้าจากเฟสบุ๊ค แต่ยังไม่ใช่ผลวินิจฉัยทางโรคจิตเวช และผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวอาจมีอาการป่วยทางจิตเวชอยู่แล้ว เช่น ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วมาใช้งาน Facebook จึงมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะซึมเศร้า แต่อาจไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นจาก Facebook เสียทีเดียว

ในด้านของปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นยังมีความสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าด้วย รวมถึงอาการทางจิตเวชอื่นๆ เช่น วิตกกังวล ก้าวร้าวรุนแรง มีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น แต่ยังไม่จัดว่าเป็นโรคเสียทีเดียว เพียงแต่ส่งผลให้มีบุคลิกในอีกรูปแบบหนึ่ง สืบเนื่องมาจากการเสพติดสื่อออนไลน์

การควบคุมปริมาณการฆ่าตัวตายที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์

คนในครอบครัวคือบทบาทที่สำคัญที่สุด โดยการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของคนในครอบครัว สังเกตว่านิสัยใจคอเปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร หรือมีอาการเก็บตัวหรือไม่ รวมถึงการเรียนถดถอยลงไหม ไปจนถึงพฤติกรรมการทานอาหาร การเข้านอน และที่สำคัญคือปริมาณการใช้สื่อออนไลน์ในปริมาณที่มากเกินไปหรือเปล่า

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อส่งผลด้านบวก

คือควรเลือกสื่อที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เหมาะสมกับการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย และใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป รวมถึงพยายามดูแลคนในครอบครัวไม่ให้ละเลยความรับผิดชอบในภาระหน้าที่ต่างๆ อย่างการเรียนหรือการทำงานบ้าน อันเนื่องมาจากการเสพติดสื่อออนไลน์

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Big Story ปัญหาการใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่นกับปัญหาสุขภาพจิต” ได้ที่นี่

YouTube: //youtu.be/dhf5tCRVSKA

ฆ่าตัวตาย ติดโซเชียล ออนไลน์ สังคมออนไลน์ Facebook Depression Syndrome ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ค สื่อสังคมออนไลน์

ภัยจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีอะไรบ้าง

ผลกระทบจาก Cyberbullying ที่มีต่อเด็ก ๆ อาจมีตั้งแต่สร้างความรำคาญ ความเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนรู้สึกเบื่อชีวิต ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่อยากพบเจอใคร โดยมีเรื่องที่ถูกรังแกตามมาหลอกหลอนเป็นระยะ หรือบางรายอาจมีความเครียดอย่างหนัก ทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ และอาจร้ายแรงถึงขั้นไม่อยากมีชีวิตอยู่ เป็นผลให้รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย

ข้อใดคือข้อเสียของการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

1. เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ 2. สังคมออนไลน์เป็นสังคมที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณอาจถูกหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดพบกันเพื่อจุดประสงค์ร้ายได้

อันตรายจากโซเชียลมีอะไรบ้าง

โซเชียลมีเดีย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะเสพติดได้ (Social Addiction) ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ และยังเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า เครียด สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้ เสพติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป ส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

ข้อใดเป็นข้อดีของเครือข่ายสังคมออนไลน์

ข้อดีของSocial networks เครือข่ายสังคมออนไลน์ 1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ 2. เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกันตอบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้