โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร มีอะไรบ้าง

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านการคมนาคม ขนส่งและสื่อสาร ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการปรับปรุงเส้นทาง เพื่อการเดินทางและขนส่งผลิตผลได้สะดวก ทำให้ชนบทสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ง่ายขึ้น นำความเจริญไปสู่ชนบท ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

โครงการแรกคือ โครงการสร้างถนน เข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ต.หินเหล็กไฟ (ปัจจุบันคือต.ทับใต้) จ.ประจวบคีรีขันธ์ จนกระทั่งโครงการสะพานพระราม 8 ที่ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการสัญจรของประชาชนในกรุงเทพฯให้ได้รับความสะดวกยังผลสู่ภาพรวมของประเทศ ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ


ดังพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2537 ความว่า

“สำหรับการจราจรเครื่องมือนั้น สำคัญที่สุดคือถนน ก็ต้องมีถนนที่เหมาะสมที่เครื่องควบคุมการจราจร ไม่ใช่เรื่องของรัฐศาสตร์ หรือของตำรวจ หรือของศาล เป็นเรื่องของวิศวกรรมก็จะต้องให้ดีขึ้น คือหมายความว่าทำให้ถนนดีขึ้นให้สอดคล้อง ซึ่งเป็นการบ้านที่หนักสุด เพราะว่ากรุงเทพฯ ได้สร้างมาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว ไม่ได้มีแผนผังเมืองที่จริงจัง ก็มีการผังเมืองของทางการ แต่ว่าก็ไม่ได้ประโยชน์มากนักเพราะว่าคนไทย ตามชื่อคนไทยคืออิสระบังคับกันไม่ได้ จะสร้างอะไรก็สร้าง อยากจะสร้างเดี๋ยวนี้ก็สร้างก็ไปขวางกับคนอื่น คือขวางทางอื่นอันนี้ก็เลยแก้ไม่ได้… “

สร้างถนนในท้องถิ่นชนบท


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงศึกษาและวางแผนปรับปรุงการคมนาคมและขนส่งในชนบท ทรงพิจารณาประโยชน์ที่จะเกิดแก่ท้องถิ่นเป็นหลัก จากนั้นจะเสด็จฯ ไปยังพื้นที่นั้นๆ เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลมาประกอบการพิจารณาลักษณะการเชื่อมต่อ และแนวของถนน แล้วจะพระราชทานให้หน่วยงานที่เหมาะสมรับไปดำเนินการต่อไป

ในระหว่างการก่อสร้าง พระองค์จะเสด็จฯ ไปตรวจสอบและพระราชทานคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นครั้งคราว

หลังจากมีการสร้างถนนชนบทในโครงการพระราชดำริแล้ว ก็จะมีงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามมา อาทิ การพัฒนาแหล่งน้ำ การฝึกอาชีพ การขยายพื้นที่เพาะปลูก และการปรับปรุงการตลาด รวมถึงโครงการเพื่อการสื่อสาร

เช่น สายโทรศัพท์ การคมนาคมที่ศูนย์พัฒนาเกือบทุกแห่งมีความลำบากมาก โดยเฉพาะในที่ราบสูง ซึ่งชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ ทางโครงการต้องจัดหารถบรรทุกนำผลิตผลไปยังโรงคัดเลือกที่เชียงใหม่ หรือโรงงานอาหารสำเร็จรูปของโครงการในบางพื้นที่ ทรงแนะนำให้ชาวไทยภูเขาร่วมกันออกแรง และบริจาคเงินสร้างถนนเพื่อการติดต่อกับหมู่บ้านอื่นและในเมือง ซึ่งโครงการหลวงได้ให้เงินช่วยเหลือบ้างเป็นบางกรณี

ทางคู่ขนานลอยฟ้า


โครงการพระราชดำริทางคู่ขนานลอยฟ้า หรือทางยกระดับลอยฟ้าบรมราชชนนี เป็นอีกหนึ่งโครงการพระราชดำริที่แสดงให้เห็นถึง พระปรีชาญาณที่ทรงมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจราจรและน้ำพระทัยอันเปี่ยมล้น ด้วยพระเมตตากรุณาที่ทรงมีต่อพสกนิกร

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โรงพยาบาลศิริราช ช่วงเดือนมิ.ย.2538 ได้ทอดพระเนตร เห็นปัญหาการจราจรที่ติดขัดอย่างมาก ที่บริเวณสะพานสมเด็จ พระปิ่นเกล้าต่อเนื่องไปจนถึงถนนบรมราชชนนี

จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี เป็นทางยกระดับ กว้าง 4 ช่องจราจร ระยะทาง 14 กิโลเมตร คร่อมและคู่ขนานไปกับถนนบรมราชชนนี จากสี่แยก อรุณอมรินทร์ถึงย่านพุทธมณฑล สาย 2

เสด็จฯทรงวางศิลาฤกษ์เริ่มโครงการในวันที่ 16 เม.ย.2539 และเสด็จฯทรงเปิดทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 21 เม.ย.2541 เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาจราจรบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร ที่ส่งผลต่อไปถึงถนนราชดำเนินและถนนหลานหลวง

นอกจากนี้ยังเพิ่มความคล่องตัวให้กับยานพาหนะที่จะใช้เส้นทางนี้เดินทางสู่ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ระหว่างชานเมืองอื่นๆ ให้มีการจราจรสะดวก คล่องตัว ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและปัญหาสุขภาพจิตอันเนื่องมาจากการจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี

สะพานพระราม 8


โครงการสะพานพระราม 8 หนึ่งในโครงการจตุรทิศ ที่ทรงมี พระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2538 เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “โครงการสะพานพระราม 8” เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8 และเริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.2545 ช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ

ถนนเลียบรถไฟสายใต้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงใช้ช่วงเวลาเสด็จฯไปโรงพยาบาลศิริราช ทรงศึกษาสภาพพื้นที่บริเวณ โดยรอบอย่างละเอียด จึงมีพระราชดำริว่า สามารถขยายแนวถนนเลียบทางรถไฟสายธนบุรี จากช่วงปลายถนนอิสรภาพ ถึงถนนจรัญสนิทวงศ์

ทางกรุงเทพมหานครรับสนองแนวพระราชดำริ ได้ขออนุญาตใช้ที่ดินริมทางรถไฟสายธนบุรีในเขตบางกอกน้อย ช่วงปลายถนนอิสรภาพถึงถนนจรัญสนิทวงศ์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ช่องจราจร มีระยะทาง 610 เมตร มีเขตทางกว้าง 10 เมตร

เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. 2536 งบประมาณ 16.5 ล้านบาท และได้เปิดการจราจรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2537 พระราชทานนามถนนสายนี้ว่า ถนนสุทธาวาส ตามชื่อวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณดังกล่าว

ถนนสุทธาวาส ได้ช่วยบรรเทาปริมาณรถยนต์ที่ผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ บรรจบกับถนนพรานนก(สามแยกไฟฉาย) ให้น้อยลง ทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น และถนนสายนี้ยังไปสู่จุดชุมชนใน ย่านสำคัญๆ เช่น สถานีรถไฟสายธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ตลาดพรานนกได้อีกด้วย

จราจรในพระราชดำริ


โครงการจราจรพระราชดำริ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2536 จุดเริ่มต้นของโครงการนี้เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพฯ

จึงทรงมีพระราชดำริที่จะแก้ไขปัญหาให้ทุเลาลงด้วยการพระราชทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 8 ล้านบาท ให้กรมตำรวจ (ขณะนั้น) นำไปซื้อรถจักรยานยนต์เป็น “หน่วยเคลื่อนที่เร็ว” ทำหน้าที่สายตรวจจราจร รวมทั้งค่าใช้จ่ายซื้อวิทยุสื่อสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง

นอกจากนี้ ตำรวจจราจรในโครงการพระราชดำรินี้ ต้องผ่านการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับ บาดเจ็บ หรือมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก่อนถึงโรงพยาบาลด้วย

ที่มา – สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

โครงการด้านการสื่อสาร มีอะไรบ้าง

ตุลาคม 12, 2017 Kasin Charuwan Trendy 8,525. Facebook. Twitter..
1. วิทยุสื่อสาร ... .
2. วิทยุกระจายเสียง ... .
3. คอมพิวเตอร์ ... .
4. ดาวเทียม ... .
5. ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง ... .
6. ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยบนคอมพิวเตอร์ ... .
7. ตรวจสภาวะอากาศผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ... .
8. พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์.

โครงการในพระราชดำริมีอะไรบ้าง

1. โครงการแกล้งดิน.
2. โครงการปลูกหญ้าแฝก.
3. โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน.
4. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.
5. ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล.
6. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่.
7. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา.
8. โครงการฝนหลวง.

โครงการด้านคมนาคมโครงการแรกดำเนินการในพื้นที่ใด ? *

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาคม การสื่อสารและเทคโนโลยีจะเกี่ยวกับการปรับปรุงถนนหนทางทั้งในชนบทที่อยู่ ห่างไกลความเจริญ เพื่อใช้สัญจรไปมาและนำสินค้าออกมาจำหน่ายภายนอกได้โดยสะดวก ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนามโครงการแรกคือโครงการสร้างถนน เข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ(ปัจจุบันคือตำบลทับใต้ ...

โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ มีอะไรบ้าง

โครงการหลวงพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขา ... .
ปลานิลจิตรลดา ... .
โคนมพระราชทาน ... .
กุ้งก้ามแดงพระราชทาน ... .
พันธุ์ข้าวพระราชทาน ... .
โรงเรียนพระดาบส ... .
ศูนย์ฝึกหัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า ... .
ศูนย์ฝึกอาชีพพระราชทาน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้